อ๊ะ....อ๊ะ....อย่าแอบดูอย่างเดียวจิ เข้าไปทักทายกันที่ "หน้าเกริ่นนำ" หน่อยนะจ๊ะ
Group Blog
 
<<
ธันวาคม 2551
 
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
10 ธันวาคม 2551
 
All Blogs
 

ไตเติล ตอนที่20899 (ตรูจะเขียนถึงมั้ยเนี่ย ) วัสดุปิดขอบ

งานเฟอร์นิเจอร์ KD แบรนด์ชื่อดัง หลายๆแบรนด์ ที่เรามักพูดถึงกัน

ส่วนใหญ่ จะถูกผลิตมาจากแผ่นไม้ประเภทต่างๆ แล้วแต่รุ่น, แล้วแต่ราคา

หรือแม้งานขึ้นโครง ที่ช่างรับเหมา มักนิยมทำกันก็ตามแต่



ถ้าเพื่อนๆ ได้อ่าน และได้เห็นรูป ใน ไตเติล ตอนที่2 มีอะไร ใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ไม้บ้างล่ะ

และ ไตเติล ตอนที่3 Finishing สำหรับเฟอร์นิเจอร์ทั้งหลาย









จะเห็นได้ว่า ถึงแม้จะมีการปิดผิวสำเร็จมาเรียบร้อยแล้วก็ตาม

แต่ทว่า ที่สันขอบตรงความหนา จะไม่มีการปิดผิวไว้


สาเหตุมาจาก แผ่นไม้เหล่านั้น จะต้องถูกตัด ให้ได้ขนาด ตามแต่ละชิ้นงานที่ต้องการ


ดังนั้น....... ถึงแม้ จะมีการปิดผิวตรงขอบมาให้

ก็ไม่มีความหมายยยยย................




เพราะฉนั้น หลังจากแผ่นไม้ ถูกตัดขนาด เป็นชิ้นงานตามต้องการแล้ว

แผ่นไม้ต่างๆ เหล่านั้น จะถูกนำไปตกแต่ง, หลอกลวง, ปิดบัง
( ตรูพูดอารายยยออกไปฟระเนี่ย )

สรุปว่า ปิดเพื่อความสวยงามละกัน

โดยส่วนมาก จะใช้วัสดุปิดขอบ ที่เหมือนผิวหน้ามากที่สุด (หรือวัสดุตัวเดียวกัน )

เช่น ถ้าเป็นไม้หรืองานขึ้นโครงไม้จริง อาจจะอัดขอบด้วยคิ้วไม้จริง

หรือไม่ก็ปิดขอบด้วยวีเนียร์





แต่สำหรับพวกวัตถุดิบ ประเภทแผ่นผลิตภัณฑ์ ที่เคลือบเมลามีน

หรือพวกปิดลามิเนทนั้น มีตัวเลือกเป็นวัสดุที่นิยมใช้งานเพิ่มขึ้น

และเรามักเห็น วัสดุปิดขอบประเภทนี้ ใช้กับงาน KD แบรนด์ดังๆ ต่างๆ


นั่นก็คือ เอดจ์พีวีซี





เอดจ์พีวีซี เหล่านี้ จะมีหลากสีสัน

หลากลวดลาย โดยส่วนมาก จะอิงตามประเภทของแผ่นลามิเนท

หรือลวดลายของเมลามีน ที่มีการจำหน่าย ตามท้องตลาด


โดยจะนำมาปิดตรงสันขอบของชิ้นงาน

ก่อนที่จะส่งไปประกอบเป็นตัวสินค้าต่อไป

โดยจะมีขนาดหน้ากว้าง ของเอดจ์ หลายขนาดต่างๆกัน

ตามความหนา ของแผ่นผลิตภัณฑ์ ที่มีขายตามท้องตลาด

เช่น 15, 22, 25, 28, 30 หรือ 42 มม.

เพื่อให้ผู้ผลิต สามารถเลือกใช้งานได้ตามขนาดของชิ้นงาน





สำหรับ กรรมวิธีในการปิด จะใช้กาวเป็นตัวประสาน

ถ้าเป็นช่างรับเหมา ก็น่าจะเป็นการทา หรือพ่นกาวยางทั่วไป


แต่... ถ้าเป็นโรงงานระดับกลาง จะใช้เป็นลักษณะเครื่องปิดขอบแทน

ซึ่งอาจจะเป็น แบบแกนเดี่ยว ที่ต้องมาเก็บความเรียบร้อย ด้วย Trimming

หรือแบบสายพาน ซึ่งเก็บขอบสำเร็จในตัว





โดยเครื่องปิดขอบต่างๆ เหล่านี้ จะใช้กาวเม็ด

ต้มที่อุณหภูมิ 120 จนถึง 200 องศาเซลเซียส จนเหลว (แล้วแต่แบรนด์กาว)

เป็นตัวประสาน ระหว่างชิ้นงาน


(ซึ่งลักษณะนี้แหละครับ ผมเคยตอบไว้ในหลายๆกระทู้

ที่เข้ามาสอบถาม เกี่ยวกับ Top ของชุดครัว ว่าไม้อัด,MDF หรือ PB

สามารถทำเป็นพื้นชุดครัวได้มั้ย อยู่ที่การปิดขอบตรงนี้แหละ

ถ้าการปิดขอบ ปิดได้แน่น, กาวที่ใช้ดี จนความชื้น ไม่สามารถซึมเข้าได้

สามารถใช้งานได้แน่ๆ ครับ)




นอกจากนั้น ข้อแตกต่าง ในการเลือกใช้เอดจ์พีวีซี ยังมีอีก 1 ข้อ

นั่นก็คือ ความหนาของเอดจ์พีวีซี





ความหนาของเอดจ์ จะมีให้เลือก ตามแต่จุดประสงค์การใช้งานอยู่ครับ

( หรือว่า ตามต้นทุน มาก-น้อย นั่นแหละคร้าบบบบ 5555 )

จะเป็น 0.4, 0.5, 2 หรือ 3 มม.


โดยที่เอดจ์ความหนา 2 หรือ 3 มม. มักนิยมใช้กับชิ้นส่วนงาน

ที่ต้องถูกรับแรงกระแทกบ่อยๆ เช่น ขอบพื้นโต๊ะทำงาน, ขอบหน้าบาน





สำหรับเอดจ์บาง จะใช้ที่ชิ้นส่วนที่อยู่ภายใน

หรือชิ้นส่วน ที่ไม่ต้องโดนกระแทกบ่อยนัก เช่น กล่องลิ้นชัก, ขอบหน้าของแผงข้าง ที่มีบานบังอยู่






ทั้งหมดนี้ คือ รายละเอียดเล็กน้อย ที่อยากให้เพื่อนๆ ได้ลองรับรู้ไว้นะครับ

ถ้าอย่างไร จะเข้ามาเพิ่มเติมไว้เรื่อยๆ นะครับ





เช่นเคยครับ เข้ามาแล้ว อย่าลืมแวะทักทายกันบ้างนะครับ




 

Create Date : 10 ธันวาคม 2551
0 comments
Last Update : 20 สิงหาคม 2558 0:53:27 น.
Counter : 6951 Pageviews.


ko7vasan
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 19 คน [?]




มี 2-3 เรื่อง ที่อยากจะขอบอกเล่าเก้าสิบกันไว้ก่อน


1.ภูมิปัญญาที่เห็นในนี้ มาจากประสบการณ์การทำงานส่วนตัว

ซึ่งอาจจะไม่ตรงกับทฤษฎี ที่มีอยู่เป็นแนวทางในการศึกษาเท่านั้น


2.เพื่อป้องกันปัญหา ที่อาจจะเกิดขึ้นขอสงวนสิทธิ ในบทความ และภาพถ่ายทั้งหมด ที่มี

ถ้าผู้ใด จะนำไปเผยแผ่ขอให้ได้รับการอนุญาติ จากผมก่อน


3.การตอบปัญหา ทั้งหมด ที่มีขอให้เข้าใจนิดส์ส์ส์ส์ส์นึงว่า

ทางผม ไม่ได้เห็น,จับต้อง ชิ้นงาน หรือเฟอร์นิเจอร์

เพราะฉนั้น คำตอบที่ได้ไปพอใช้เป็นแนวทางในการแก้ปัญหาได้

แต่........ ต้องอาศัยการสังเกตุ การศึกษาของตนเองด้วยนะครับ

Google
Friends' blogs
[Add ko7vasan's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.