สิงหาคม 2551

 
 
 
 
 
1
2
3
4
6
7
8
10
11
12
13
15
16
17
19
21
22
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog
เขียน (ภาษาอังกฤษ) ยังไงให้เก่ง
เขียน (ภาษาอังกฤษ) ยังไงให้เก่ง


สองสัปดาห์ที่ผ่านมาเราได้กล่าวถึงการพัฒนาทักษะการพูดและการฟังภาษาอังกฤษกันไปแล้ว สัปดาห์นี้เราจะขอกล่าวถึงเทคนิคเล็ก ๆ น้อย ๆ ในการพัฒนาทักษะการเขียนภาษาอังกฤษของเราให้ไม่เพียงแค่ “พอสื่อสารได้” แต่เป็น “สื่อสารได้อย่างถูกต้องตามกาลเทศะ” ด้วย “กาล” ก็คือ “เวลา” และ ”เทศะ” หมายถึง “เทศกาล” นั่นก็คือ “สถานะการณ์” นั่นเอง

การที่เราจะเขียนอะไรสักอย่างไม่ว่าจะเป็นภาษาไทย หรือภาษาอังกฤษ เพื่อให้ถูกต้องตามกาลเทศะนั้น ที่เราต้องคำนึงถึงก่อนเป็นอย่างแรก ก็คือเราจะเขียนเรื่องอะไร เขียนทำไม (วัตถุประสงค์ในการเขียน) และใครเป็นผู้อ่าน ที่เราต้องทราบสิ่งเหล่านี้ก่อนก็เพื่อที่เราจะได้เลือกคำที่เหมาะสมกับการเขียนนั้น ๆ เช่น ถ้าเขียน Essay ส่งอาจารย์ ก็ต้องเป็นคำศัพท์ทางวิชาการ (technical terms) ที่เหมาะสมกับเรื่องนั้น ๆ หรือหากงานของเราคือเขียนจดหมายโต้ตอบทางธุรกิจคำที่ควรเลือกใช้ก็จะต้องเป็นคำศัพท์ทางธุรกิจ (Business vocabulary) กล่าวคือแทนที่เราจะใช้คำว่า “make” หรือ “do” ซึ่งแปลว่า “ทำ” เราควรใช้คำว่า “perform” หรือ “conduct” ที่มีความหมายเหมือนกันแต่เป็นคำที่ใช้ในทางธุรกิจ ซึ่งจะทำให้บทความหรือจดหมายที่เราเขียนนั้นดู Professional มากขึ้นนั่นเอง

ทำอย่างไรเราจึงจะสามารถเลือกคำศัพท์มาใช้ให้เหมาะสมกับเนื้อเรื่อง, วัตถุประสงค์, และผู้อ่าน (Target Audiences) ของเรา เริ่มจาก “เนื้อเรื่อง” ก่อนนะคะ ก่อนที่เราจะสามารถเลือกคำที่เหมาะสมได้ เราต้องมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องนั้น ๆ เป็นอย่างดี เข้าใจความหมายของคำที่เราจะเลือกมาใช้เป็นอย่างดีเช่นกัน เพื่อให้เราเข้าใจเรื่องราว, ความหมายของคำและวิธีการใช้คำ ๆ นั้นให้สอดคล้องกับเรื่องที่เราจะเขียน ทำได้ง่าย ๆ โดยการหาบทความ หรือหนังสือ (textbook) เกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ มาอ่าน เพื่อเป็นการหาข้อมูลสำหรับเขียนด้วย เลือกคำให้เหมาะสมกับ “วัตถุประสงค์” ในการเขียน ก็คือ เขียนบทความ หรือจดหมายนี้ขึ้นเพื่ออะไร เช่น เพื่อส่งงานเป็นการบ้าน เพื่อรายงานผลการวิจัย เพื่อสื่อสารหรือสอบถามเพื่อนร่วมงาน เพื่อขอความช่วยเหลือจากบุคคลอื่น เป็นต้น วัตถุประสงค์ต่าง ๆ กัน คำศัพท์หรือรูปแบบประโยคที่ควรใช้ ก็จะแตกต่างกันไปด้วย เช่น ถ้าเราเขียนบทความ (Essay) เพื่อเป็นการบ้าน คำที่เราใช้ก็ควรเป็นคำศัพท์ที่เราใช้ในบทเรียน วิชานั้น ๆ ซึ่งค่อนข้างจะเป็น Academic writing ค่ะซึ่งจะแตกต่างกับการเขียนภาษาอังกฤษทั่วไปตรงที่ Academic writing จะต้องชัดเจน ไม่กำกวม เขียนโดยเริ่มจากบทนำ เนื้อเรื่อง และสรุป เสมอ นอกจากนี้ยังต้องมี Thesis statement หรือ main ideas ของแต่ละย่อหน้าให้ชัดเจน เราควรเลือกคำศัพท์ที่เป็น Technical terms สำหรับเรื่องนั้น ๆ และเราควรทำความเข้าใจคำ ๆ นั้นให้ดีทั้งความหมาย และการใช้คำ แต่หากเราเขียนจดหมาย หรืออีเมลเพื่อสื่อสาร พูดคุยกับเพื่อน หรือเพื่อนร่วมงาน คำศัพท์ที่เราใช้ ก็ควรเป็นคำศัพท์ง่าย ๆ ธรรมดา ๆ ที่เราใช้กันทั่วไปในบทสนทนานั่นเอง แต่หากเป็นการเขียนอีเมลถึงหัวหน้างาน ก็ควรใช้คำศัพท์ที่ชัดเจน ถ้าเป็น Technical terms ก็ควรใช้ Terms นั้น ๆ ให้ถูกต้อง คำขึ้นต้นลงท้ายก็ต้องแสดงถึงลำดับชั้นของบุคคลที่เราเขียนถีง เป็นต้น ซึ่งก็เกี่ยวโยงมาถึงว่าใครเป็น “ผู้อ่าน” หรือ “ผู้รับสาร” ของเรานั่นเอง การที่เราจะเลือกคำศัพท์ให้ผู้อ่านสามารถอ่านแล้วเข้าใจได้นั้นไม่ง่ายนะคะ โดยเฉพาะเมื่อเราเขียนบทความหรือรายงานที่ใครก็สามารถเข้ามาอ่านได้ เราจึงต้องทำการคาดการณ์ก่อนว่า ใครบ้างจะเป็นผู้อ่านตามเป้าหมายของเรา เช่นบทความการบ้าน ผู้อ่านที่แน่นอนของเราก็คืออาจารย์ หรือผู้ตรวจการบ้าน รายงานผลประกอบการผประจำปี (Annual Report) ผู้อ่านคือผู้ถือหุ้น ผู้บริหาร และผู้ที่สนใจที่จะลงทุนในบริษัทเป็นต้น เมื่อผู้อ่านไม่ใช่คนกลุ่มเดียวกัน สิ่งที่เราต้องคำนึงถึงก็คือ เลือกใช้คำศัพท์ที่ไม่ยากจนเกินไป เพื่อให้ผู้อ่านอ่านแล้วเข้าใจได้ แต่ก็ต้องไม่ง่ายจนเกินไป ควรเลือกใช้ Technical terms ตามความเหมาะสม

นอกจากคำศัพท์แล้วอีกอย่างหนึ่งที่สำคัญก็คือ “รูปแบบการเขียน” จะเป็น Active voice หรือ Passive voice นั่นเอง หลักใหญ่ๆ ก็คือ โดยมากเราจะใช้ Passive voice ประโยคที่เราไม่ต้องการเน้นประธานของประโยค หรือ ผู้กระทำนั่นเอง ที่เห็นชัด ๆ ก็คือ การทดลองหรือกระบวนการผลิตต่าง ๆ ที่จะเน้นไปที่กิริยา และกรรมมากกว่าผู้กระทำ อีกอย่างหนึ่งที่เราต้องพิจารณาให้ดี ๆ ก่อนเขียนก็คือ Tenses หลักของบทความที่เราจะเขียน ว่าเป็นอดีต (Past), ปัจจุปัน (Present) หรืออนาคต (Future) หรือจะเป็น Perfect tenses ซึ่งเมื่อเราระบุแล้วว่า Tense หลักที่เราจะใช้คืออะไร เราจะต้องเขียนเล่าเรื่องราวนั้น ๆ ด้วย Tenses ย่อยที่เกี่ยวข้องกัน พยายามเขียนให้ “เวลา” ของเรื่องที่เราเขียนตรงกับที่เราต้องการ เช่นถ้าเป็นเรื่องของอดีตเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ก็ควรใช้ Present perfect tense อีกอย่างหนึ่งที่เราควรพึงระวังในการใช้ก็คือ “Present simple tense” Tense นี้จะใช้ก็ต่อเมื่อเรากล่าวถึง “Facts” หรือ “ความจริง” เท่านั้น เช่น The sun rises, หรือ I am hungry เป็นต้น Tense เป็นสิ่งสำคัญสำหรับการเขียนอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นการบอกว่าสิ่งที่เราเขียนถึงเป็นเหตุการณที่เกิดขึ้น ณ เวลาใด ๆ แล้วมีการเชื่อมต่อเหตุการณ์ต่าง ๆ อย่างไร

จากที่กล่าวมาข้างต้น สามารถสรุปเป็นเทคนิคง่าย ๆ สำหรับการเขียนที่ดี ได้ดังนี้:
1. หยุด! อย่าแก้ไข (Put off editing) – เมื่อเริ่มต้นเขียน ควรเขียนไปเรื่อย ๆ สร้างสรรค์เรื่องราวที่เราต้องการขียน ตามวัตถุประสงค์ไปจนจบ โดยไม่กลับมาแก้ไขหากไม่จำเป็น (เก็บไว้เรียบเรียง แก้ไข หลังจากที่เขียนเสร็จแล้ว)
2. เขียนในสิ่งที่เรารู้จริง (Write what you know) – เขียนในสิ่งที่เรารู้และเข้าใจดีแล้ว ทั้งคำศัพท์ เรื่องราว และ Tenses
3. ค้นคว้าอ้างอิง (Research) – เรื่องที่เราไม่ทราบควรจะทำการค้นคว้าก่อนหรือในขณะที่เขียน เพื่อให้เราสามารถเขียนถึงเรื่องราวนั้น ๆ ได้อย่างถูกต้องและน่าเชื่อถือ หรือหากเราทราบเรื่องราวนั้น ๆ แต่การมีแหล่งอ้างอิงก็จะสามารถสร้างความน่าเชื่อถือให้กับบทความของเราได้มากขึ้น
4. กำหนดโครงสร้างหรือส่วนประกอบที่เราจะเขียน (Use a structure) – ก่อนที่เราจะเขียน เราควรมี Outline ว่าเราจะเขียนอะไรก่อน ซึ่งอาจมาจากเรื่องราวที่เราเขียนจากข้อ 1 ก่อนที่เราจะนำมาเรียบเรียงใหม่ เพิ่มเติมด้วยสิ่งที่เราค้นคว้ามา เป็นต้น การมี Outline หรือ โครงสร้างของเรื่องที่เราจะเขียนก่อน จะเป็นประโยชน์ในการเขียนให้เป็นเรื่องเดียวกัน ไม่พูดถึงเรื่องโน้น เรื่องนี้เปะปะไปทั่ว
5. เลือกใช้คำกิริยา และคำนามที่ชัดเจน (Use strong verbs and nouns) – นั่นคือเลือกใช้คำ ๆ เดียว ควรหลีกเลี่ยงคำที่ประกอบไปด้วยคำหลาย ๆ คำ เช่น “Out of date” ควรเลือกใช้ “Obsolete” หรือ “Outdate” เป็นต้น นอกจากนี้ ควรเลือกคำนามที่กล่าวถึงบุคคล สิ่งของ หรือสถานที่นั้น ๆ ให้ชัดเจน ไม่กำกวม
6. ระวังการใช้คำคุณศัพท์ต่าง ๆ (Be wary of adverbs and adjectives) – เมื่อเราใช้คำกิริยา และคำนามที่ชัดเจน เราสามารถตัดการใช้คำคุณศัพท์ต่าง ๆ ออกไปได้มากมาย หากเราจำเป็นต้องใช้ เราควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าคำคุณศัพท์นั้น ๆ เป็น Adverb หรือ Adjective โดยมาก Adverb จะเป็นคำที่ลงท้ายด้วย ly
7. ตรวจสอบให้แน่ใจว่าตัวสะกด, เครื่องหมายวรรคตอน, และไวยกรณ์ถูกต้อง (Use correct spelling, punctuation, and grammar) – หากไม่แน่ใจควรเปิด Dictionary เพื่อให้แน่ใจว่าเราสำกดถูกต้องหรือไม่
8. ลงรายละเอียด (Work the details) – เขียนรายละเอียดให้ชัดเจน ชื่อเฉพาะ และ technical terms ให้ถูกต้องชัดเจน
9. ตัด, ตัด, ตัด (Cut, cut, cut) – หลังจากลงรายละเอียดเรียบร้อยแล้ว ขั้นต่อไปก็คือ ตัด ตัด ตัด ค่ะ ตัดข้อความ รายละเอียด ที่เราเขียนไปให้กระชับได้ใจความ ไม่ซ้ำซ้อนจนน่าเบื่อ
10. ตรวจสอบแก้ไข (Find an editor) – ก่อนส่งบทความ จดหมาย หรือรายงานที่เราเขียน เราควรอ่านข้อความทั้งหมดอีกรอบ (ควรอ่านออกเสียง) แล้วดูว่าเราอ่านเข้าใจไหม อ่านแล้วลื่นไหม มีส่วนใดกำกวม ซ้ำซ้อน หรือไม่ ตัวสะกดถูกต้องไหม ไวยกรณ์ การใช้คำต่าง ๆ ถูกต้องหรือไม่ หากไม่ถูกต้องควรแก้ไขก่อนส่ง

เทคนิคง่าย ๆ สิบอย่างข้างต้นนั้น ไม่จำเป็นต้องทำตามลำดับนะคะ ลองทำดูนะคะ จะเห็นได้ว่าบทความ รายงาน หรือจดหมายที่เราเขียนในภาษาอังกฤษ จะออกมาดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดค่ะ การเขียนภาษาอังกฤษที่ดี ไม่ได้วัดการที่ความยาว แต่วัดกันที่ความชัดเจน การใช้คำ หลักไวยกรณ์ และเนื้อหานะคะ

By Knotk4



Create Date : 23 สิงหาคม 2551
Last Update : 23 สิงหาคม 2551 12:52:35 น.
Counter : 2917 Pageviews.

5 comments
  
เยอะจัง
โดย: kanhompung วันที่: 23 สิงหาคม 2551 เวลา:16:49:46 น.
  
กด
โดย: กด IP: 125.27.146.162 วันที่: 25 ตุลาคม 2552 เวลา:19:24:57 น.
  
ขอคุณคะ
โดย: เบ้น IP: 178.30.193.151 วันที่: 3 พฤศจิกายน 2553 เวลา:3:47:04 น.
  
very nice details about present perfect tense Thanks นะครับ
โดย: คุณ โตน วันที่: 19 กันยายน 2554 เวลา:14:30:01 น.
  
ดีมากเลยครับ ขอบคุณครับ
โดย: un IP: 58.8.87.41 วันที่: 27 พฤศจิกายน 2554 เวลา:15:26:59 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Knotk4
Location :
ปราจีนบุรี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



จากความฝัน ... ก่อเกิดพลัง ... ไม่หยุดยั้ง ... ทำฝันนั้น ... ให้เป็นจริง