สิงหาคม 2551

 
 
 
 
 
1
2
3
4
6
7
8
10
11
12
13
15
16
17
19
21
22
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog
Listening … Listening ทำไมมันยากอย่างนี้นะ
Listening … Listening ทำไมมันยากอย่างนี้นะ


ช่วงนี้หลาย ๆ เราคนไทยคงได้ฟังข่าวการเมืองที่เป็นปัญหามาจากการพูด, การฟัง และการตีความภาษาอังกฤษของผู้ใหญ่ในบ้านเมืองเรากันมาบ้างนะคะ จะเห็นได้ว่าที่มาของ Debate คราวนี้ที่เป็นไปได้ก็คือ (1) คนพูดเลือกใช้คำที่ไม่ชัดเจน สามารถตีความได้หลายอย่าง ทำให้คนฟัง คนแปล หรือคนตีความ รับสารแล้วแปลออกมาต่าง ๆ กัน หรือ (2) คนฟัง คนแปล หรือคนตีความ ขอเรียกว่า “ผู้รับสาร” นะคะ รับสารแล้วแปลอย่างมีอคติ (หรือไม่?) แล้วถามว่าใครผิด ตามความเห็นส่วนตัวนะคะ ผิดทุกคนค่ะ คนพูดผิดที่ไม่คิดให้ดีก่อนพูด ผิดที่เลือกใช้คำที่ไม่ชัดเจนจนสามารถตีความได้หลายแง่มุม (อย่างน้อย 3 แบบที่ท่านกรุณานำมาแสดงในวันแถลงข่าว) ผู้รับสารก็อาจผิดที่เมื่อรับสารแล้วแปลอย่างมีอคติ พยายามที่จะจับผิดผู้พูดค่ะ
เรื่องนี้เป็นอุทาหรณ์ที่ดีสำหรับเราทุกคนนะคะ ไม่ว่าท่านใดจะผิด แต่บทเรียนที่เราได้จากเรื่องนี้แน่ ๆ คือ หากเราจะพูดอะไร เราควรจะคิดให้ดี ๆ ก่อนพูด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเราพูดหรือฟังภาษาที่ไม่ใช่ภาษาแม่ของเรา ฉบับที่แล้วเราพูดถึงทักษะการพูดไปแล้วนะคะว่า Fluency = Accuracy + Correct pronunciation ไม่ใช่ Speed หรือ Accent นะคะ ถ้าผู้พูดสามารถพูดได้อย่าง Fluent ก็จะไม่เกิดปัญหาในการสื่อสารว่าผู้รับสารจะแปลสารในทางที่ไม่ตรงกับเจตนาของผู้พูด แต่นั่นก็ต้องหมายความว่าผู้รับสารจะต้องมีความรู้ความเข้าใจความหมายของคำ สำนวน รูปประโยค และไวยกรณ์ ในภาษานั้น ๆ ในระดับดีด้วย

เราสามารถพัฒนาทักษะการฟังของเราได้อย่างไม่ยากนัก หากเราตั้งใจจริง อาจเริ่มจากการฟังเพลงฝรั่งแล้วลองแกะเนื้อแพลงแล้วเอามาเทียบกับเนื้อเพลงจริง ๆ ดูว่าเราฟังถูกไหม คำไหนที่เราไม่ทราบความหมายก็ต้องหาความหมาย หาทางให้เราเข้าใจมันได้ แล้วทบทวนหลาย ๆ ครั้ง จนสามารถฟังแล้วเข้าใจเนื้อเพลงทั้งเพลงได้จนไม่ต้องดูเนื้อเพลงจริง ๆ แล้วจึงค่อยเปลี่ยนเป็นเพลงอื่น ๆ อาจเริ่มต้นจากเพลงช้าจำพวก Easy listening หรือ Pop หรือสไตล์อื่น ๆ ที่เราชอบก่อน แล้วเริ่มฟังเพลงที่เร็วขึ้น แต่หากไม่ชอบฟังเพลงก็อาจดูภาพยนตร์แทนก็ได้นะคะ การฝึกโดยใช้ภาพยนตร์ก็คล้าย ๆ กันค่ะ ตอนแรกก็ดูแบบไม่มี Subtitle นะคะ ลองฟังดูก่อนว่าเข้าใจไหม แล้วก็ลองเปิด Subtitle ภาษาอังกฤษนะคะ คราวนี้ฟังแล้วเปรียบเทียบว่าสิ่งที่เราได้ยิน (สารที่เรารับ) เหมือนกับ Subtitle มากน้อยแค่ไหนนะคะ ฝึกอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ จะทำให้เราชินกับการออกเสียงภาษาอังกฤษของคนหลากประเภท หลายสำเนียง จนเราสามารถเข้าใจสิ่งที่ได้ยินอย่างทันทีทันใด (Simutanously) นอกจากนี้เรายังสามารถฝึกการออกเสียงได้อีกด้วย
หลังจากฝึกกับเพลงหรือกับภาพยนตร์จนมั่นใจระดับหนึ่งแล้ว ขั้นต่อไปที่เราควรทำก็คือพยายามหาทางให้ได้ฝึกใช้จริง ไม่ว่าจะเป็นการพูดหรือการฟัง หากไม่สามารถหาเจ้าของภาษามาช่วยฝึกได้ ก็ลองชวนเพื่อน ๆ ที่อยากฝึกทักษะเหล่านี้เช่นกัน ลองฝึกพูดคุยกันดูนะคะ ซึ่งจะง่ายกว่าการฟังเจ้าของภาษาพูด เนื่องจากลักษณะการออกเสียงของเราชาติเดียวกันจะมีสำเนียงการออกเสียงที่คล้ายกัน จึงไม่ค่อยมีปัญหาในการฟัง แล้วยังเป็นการสร้างคลังคำศัพท์ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน หรือในการทำงานของเราด้วย หลังจากฝึกพูดคุยกับเพื่อน ๆ แล้วต่อไปหากเป็นไปได้ ก็ถึงคราวที่จะต้องเสาะหา “ฝรั่งเจ้าของภาษา” เน้นนะคะ ว่าต้องเป็นเจ้าของภาษา นั่นคือ ถ้าชอบสำเนียงอังกฤษ (British English) ก็พยายามหาเพื่อนชาวอังกฤษมาช่วยฝึกนะคะ หากชอบสำเนียงอเมริกัน (American English) ก็ลองหาเพื่อนชาวอเมริกันมาช่วยนะคะ วิธีนี้จะช่วยให้เราเลียนสำเนียงของเจ้าของภาษาได้อย่างถูกต้องมากยิ่งขึ้น และคุ้นชินกับการออกเสียงคำต่าง ๆ ประโยคต่าง ๆ มากยิ่งขึ้นค่ะ

หากเมื่อเรามั่นใจแล้วว่าเราสามารถฟังได้ “ฟังได้” ในที่นี้หมายถึงเข้าใจสิ่งที่ผู้พูดต้องการสื่อสารกับเราได้เข้าใจดีแล้ว ราไม่ควรทิ้งมันไปเลยนะคะ ทักษะทางภาษาเป็นทักษะที่เราต้องฝึกฝนอยู่เสมอค่ะ หากเมื่อไรที่เราไม่แน่ใจว่าผู้พูดต้องการสื่ออะไร เราผู้ฟังควรสอบถามให้เข้าใจชัดเจนถูกต้องตามที่ผู้พูดต้องการสื่อสารนะคะ อาจใช้คำพูดว่า “Pardon, could you repeat it again?”, “Did you say ….?”, “Do you mean …?” เป็นต้น การที่เราฟังเขาไม่เข้าใจเราอาจขอให้เขาพูดช้าลงก็ได้ เช่น “Could you speak slowly please?”, “Slowly please”, “Pardon” เป็นต้น

สิ่งที่เราควรพึงระลึกไว้เสมอคืออย่าตีความเอาเอง ทึกทักเอาเอง หากไม่แน่ใจ ให้ถามให้แน่ใจเสียก่อน “Clarification” เป็นสิ่งจำเป็นในการสื่อสาร เพื่อให้เกิด “Accuracy” ผู้ฟังรับสารได้ถูกต้องตรงกับสิ่งที่ผู้พูดต้องการสื่อสาร ซึ่งเป็นเป้าหมายหลักในการสื่อสารค่ะ ทักษะการฟังและการพูดเป็นสิ่งที่มาคู่กันเสมอ เหมือนคนหูหนวกมักจะเป็นใบ้นะคะ คือเมื่อเราไม่ได้ยิน เราก็ไม่สามารถพูดได้ค่ะ นั่นคือราไม่สามารถเรียนรู้การออกเสียงได้นั่นเองค่ะ สองทักษะนี้จึงเป็นสิ่งที่เราควรฝึกฝนควบคู่กันไปค่ะ

Written by Knot



Create Date : 20 สิงหาคม 2551
Last Update : 20 สิงหาคม 2551 14:23:43 น.
Counter : 737 Pageviews.

2 comments
  
โดย: mai (maistyle ) วันที่: 20 สิงหาคม 2551 เวลา:14:39:51 น.
  
อยากมีเพื่อนคุยชาวต่างชาติ pr_cmzoo@hotmail.com
โดย: ฝ้าย IP: 58.147.46.23 วันที่: 27 ตุลาคม 2551 เวลา:14:50:33 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Knotk4
Location :
ปราจีนบุรี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



จากความฝัน ... ก่อเกิดพลัง ... ไม่หยุดยั้ง ... ทำฝันนั้น ... ให้เป็นจริง