Group Blog
 
 
กันยายน 2553
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
 
4 กันยายน 2553
 
All Blogs
 
บันทึกของทหารไทยที่ไปในสงครามโลกครั้งที่ 1 ภาค 1




ทหารอาสาไปสงครามโลกครั้งที่ 1 ณ ประเทศฝรั่งเศส ของกองบินทหารบก จัดเป็น 4 กองใหญ่ ในภาพเป็นทหารเพียง 2 กองใหญ่ ทหารทั้งหมดถ่ายรูปไว้ก่อนออกเดินทางจากดอนเมือง แต่งกายเครื่องแบบปกติ เสื้อราชการสีเทาและสีขาว เมื่อ พฤษภาคม 2461


กระทรวงกลาโหม มีคำสั่งให้ทหารอาสาสงครามในยุโรป แต่งเครื่องแบบสีกากีแกมเขียว ตามที่กำหนดขึ้นใหม่ ตั้งแต่วันที่ 25 พฤษภาคม 2461 ก่อนออกเดินทางไปจากพระนคร นับเป็นครั้งแรกที่ทหารเริ่มใช้เสื้อกางเกงสีกากีแกมเขียวในกองทัพบก


เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 1 ยุติลง กองบินทหารบก และกองทหารบกรถยนต์ ได้สวนสนามฉลองชัยชนะในเมืองหลวงประเทศยุโรปหลายประเทศ ในภาพเป็นการสวนสนามผ่านประตูชัย กรุงปารีส เมื่อ 14 กรกฎาคม 2462


สิบเอกเคลือบ เกษร ประดับเหรียญงานพระราชทานสงครามยุโรป


ภาพเหรียญงานพระราชทานสงครามยุโรป พ.ศ. 2461

สิบเอกเคลือบ เกษร เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2425 ที่บ้านดอนสุรา อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี เป็นบุตรของหมื่นฤทธิรุทธระวังภัย (ดอกไม้) และนางฤทธิรุทธระวังภัย (อ่ำ) เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ขณะนั้นรับราชการเป็นสัตวแพทย์ ได้อาสาสมัครเป็นทหารไปในงานพระราชสงครามครั้งนั้น สังกัดกรมทหารราบที่ 14 เดินทางไปยุโรปวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2461 กลับวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2462

ท่านได้จดบันทึกแหล่เทศน์ตั้งแต่เรือออกเดินทางจนถึงเสร็จสงครามและเดินทางกลับประเทศไทย ในสนามรบท่านเคยร้องแหล่เทศน์ให้เพื่อนฝูงฟังเป็นที่สนุกครึกครื้น

สิบเอกเคลือบได้เทศน์แหล่ที่แต่งไว้ทูลเกล้าถวายในหลวงรัชกาลที่ 6 ทรงโปรดและทรงพอพระทัยยิ่งนัก ถึงกับเสด็จจากที่ประทับประทานพระหัตถ์สัมผัสมือกับท่าน อันเป็นพระมหากรุณาคุณเป็นเกียรติอย่างสูงยิ่ง และได้พระราชทานเงินรางวัลอีกหนึ่งชั่งหรือ 80 บาท นับว่าเป็นจำนวนที่มากที่เดียวในสมัยนั้น

นอกจากนี้แล้ว สิบเอกเคลือบยังได้นำแหล่เทศน์นี้ไปร้องให้ทหารกรมกองต่างๆฟัง เป็นที่ชื่นชอบกันมาก มักจะมีผู้บริจากทรัพย์ให้คล้ายกับเงินกัณฑ์เทศน์เป็นจำนวนเงินไม่น้อย

แหล่เทศน์นี้เคยพิมพ์ขายถึง 5,000 เล่ม ภาค 1 ราคาเล่มละ 75 สตางค์ ภาค 2 ราคา 50 สตางค์ เมื่อปี พ.ศ. 2462 ได้รับความนิยมจากผู้อ่านจำนวนมาก

ท่านได้เสียชีวิตเมื่อ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2501 ด้วยอุปัทวเหตุทางรถยนต์
ต่อไปนี้เป็นงานเขียนแหล่เทศน์ประวัติ กองทหารรถยนต์ ซึ่งไปในงานพระราชสงครามทวีปยุโรป โดย สิบเอกเคลือบ เกษร






























































































Create Date : 04 กันยายน 2553
Last Update : 12 มิถุนายน 2554 15:51:45 น. 25 comments
Counter : 12846 Pageviews.

 
โอ...

ยอดเลยครับคุณอิม เอามาลงให้ดูทั้งเล่มเลย

อ่านดูคร่าว ๆ ตอนต้นแล้ว น่าสนใจไม่น้อย

รุ่นเราแม้จะมีอายุไม่น้อย แต่ก็คงไม่ทันรุ่นสงครามโลกทั้งสองครั้งกระมัง

กว่าจะได้ลืมตาดูโลก ก็หลังสงครามไปแล้ว

เรียกว่าเกิดมาในยุค baby boom

จะได้รู้เรื่องสงครามโลก ก็จากคนเฒ่าคนแก่เท่านั้น

นี่ได้มาอ่านบันทึกจากทหารไทยที่ได้ไปสงครามโลกจริง ๆ

แถมเขียนเป็นร้อยกรองสละสลวยเสียด้วย

จึงนับเป็นเรื่องน่าสนุกและประเทืองปัญญาดีแท้

ขออนุญาตเซฟไปนั่งอ่านนอนอ่านนะครับ

สังเกตว่า บทแหล่เทศน์ที่ผู้แต่งแต่งขึ้นนี้

ใช้รูปแบบกลอนหัวแตก คล้ายกับเพลงฉ่อย และเพลงพื้นบ้านอื่น ๆ ของไทยหลายชนิด

กลอนแบบนี้ ไม่เคร่งครัดสัมผัสนัก อาศัยการร้องให้ลงจังหวะเป็นสำคัญ จะมีรับสัมผัสเพียงตอนท้ายบทให้ลื่นไหลต่อเนื่องเท่านั้น

ซึ่งก็สอดคล้องกับการนำเสนอเนื้อหาที่เป็นการบันทึกเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่ได้ไปประสบมา

จากรูป แสดงให้เห็นเครื่องแบบทหารไทยในยุคนั้น

เห็นบั้งติดไหล่แล้ว ถึงกับทึ่งในความใหญ่โตโอราฬ

ถ้าบั้งทหารตำรวจสมัยนี้เทียบได้กับหางปลาทู

บั้งทหารสมัยนั้น คงจะใกล้เคียงกับหางปลาทะเลน้ำลึกตัวใหญ่ ๆ เป็นแน่

ดูแล้วก็แปลกตาดีนะครับ...


โดย: ลุงแว่น วันที่: 4 กันยายน 2553 เวลา:11:05:38 น.  

 
สวัสดีครับพี่

ผมมีเวลาไม่เยอะในแต่ละวัน
พู่กันเดียวเหมาะกับผมที่สุดเลยครับ









โดย: กะว่าก๋า วันที่: 4 กันยายน 2553 เวลา:12:08:01 น.  

 
เป็นข้อความที่ดีคะ อ่านแล้วน่าสงสารคนไทยจัง แต่ทำไงได้ส่วนน้อยย่อมเสียสละให้ส่วนใหญ่ ซึ่งนี่ก็เป็นค่านิยมที่ถูกปลูกกฝังจากคนหลายๆ ยุคหลายสมัย


โดย: มัย IP: 124.122.94.117 วันที่: 4 กันยายน 2553 เวลา:14:38:35 น.  

 
ไม่ว่ายุคสมัยใด มักจะมีปัญญาชนฉลาดเก่งกล้าแบบนี้เสมอนะคะ คุณหมอท่านนี้มีความรู้และเขียนออกมาได้ดีมาก ภาษาโบราณสวยงามจริงๆ ดีใจค่ะที่คุณอิมนำกลับมาเผยแผ่ในเราๆได้อ่านกัน เอาเรื่องแบบนี้มาให้อ่านอีกนะคะ


โดย: ตู่อยู่ไไไกล (ความสุขของนิ้วน้อย ) วันที่: 4 กันยายน 2553 เวลา:15:00:33 น.  

 
ดีใจที่ได้อ่านค่ะ พี่อิม เรื่องราวเหล่านี้ไม่ได้หากันได้ง่ายๆนัก ได้เห็นบริบทของยุคสมัยชัดเจนอย่างยิ่ง
ปล.จะเอารูปที่4ในยุคปัจจุบันมาเทียบให้ดูนะคะ เคยถ่ายไว้ต้องหาดูก่อน


โดย: โปแป้ง (popang ) วันที่: 4 กันยายน 2553 เวลา:18:05:45 น.  

 
สวัสดีค่ะ

เครื่องแบบทหารสีกากีแกมเขียว.....เอ ! ปัจจุบันกากีแกมเขียวเหรอ ไม่ใช่นะ ยังงค่ะ เฉลยด้วย

"แหล่เทศน์ประวัติ กองทหารรถยนต์" เยี่ยมมาก ไปค้นมาจากไหนคะ ของหายากทีเดียว ทำให้ทราบถึงเหตุการณ์ตอนนั้นอย่างชัดเจน .....แต่แหล่ไม่เป็น ทำไงดีล่ะ....

ขอบคุณนะคะสำหรับความรู้ที่ได้รับ ........


โดย: nathanon วันที่: 4 กันยายน 2553 เวลา:20:51:18 น.  

 
ตอบคุณครูแอ๊ว (nathanon) ผมเข้าใจว่าสีกากีแกมเขียวน่าจะคล้ายกับสีเขียวขี้ม้าในปัจจุบันแต่สีอ่อนกว่ามาก ดูจากภาพขาวดำจึงไม่เข้มมากครับ


โดย: Insignia_Museum วันที่: 4 กันยายน 2553 เวลา:22:07:43 น.  

 
ยาวเชียวครับ แต่ได้ความรู้ใส่สมองอีกตรึมเลย

ขอบคุณที่สรรหาเรื่องดีๆมาให้ชมครับคุณอิม


โดย: ปลายแป้นพิมพ์ วันที่: 4 กันยายน 2553 เวลา:22:22:22 น.  

 
ขอบคุณครับ อ่านไม่หมด แต่คนแหล่ช่างเก่งจริงๆ สนุกไปด้วยเลย

วันหลังต้องแวะมาอ่านให้จบ


โดย: แมวหง่าว (chaiwatmsu ) วันที่: 5 กันยายน 2553 เวลา:5:48:16 น.  

 
มาช้าดีกว่าไม่มานะครับ

มาอ่านเคร่า ๆ แล้วถูกจริตผมมากทีเดียว คงต้องมาอ่านอีกหลายรอบแล้วก็ขอก็อปไปด้วยนะครับ มีประโยชน์มาก ๆ อ่านสนุก

สิ่งหนึ่งซึ่งลุงหาคำตอบมานาน มีวิทยากร(นักเขียนหย่าย)ถามครู ๆ ที่เข้าอบรมการเขียนหนังสือเด็ก ที่โรงแรมบางกอกพาเลช ประมาณปี พ.ศ.๒๕๓๕ ว่า

"ทำไมเวลาเขียนหนังสือจะต้องเขียนแต่เป็นกลอน"

ครู ๆ ที่เข้าอบรมตอบไม่ได้ ผมก็ตอบไม่ได้ แต่บังเอิญว่างานของผมที่ทำเผยแพร่ช่วงนั้นมีแต่ร้อยแก้ว จึงรอดตัวไป

ต่อมาผมจึงค่อย ๆ ได้คำตอบว่า การเขียนร้อยกรองนั้นยาก พวกผลงานแบบร้อยกรองถ้าไม่ระดับ "มืออาชีพ" แบบฐะปะณีย์ นาครทรรพ หรือ ปัจจุบันก็ ระดับซีไรท์ ซีรอง... จะไม่ผ่าน ครูทำผลงานเป็นกลอนจึงตกกันเป็นแถว

ถามว่าคติ และอคติ บบนี้ ดีไหม ถูกต้องไหม ตอนนี้ผมฟันได้เลยว่า "ไม่ถูก"

การเขียนร้อยกรอง ควรปล่อยให้เขียนได้โดยอิสระ ไม่ควรเคร่งฉันทลักษ์มากเกินไป ถ้ายึดแบบนั้นกลอนต่าง ๆ จะหายไปหมดจากสังคมไทย ตอนนี้ก็มี "กลอนเปล่า" มาแทนแล้ว ได้รางวัลพานแว่นฟ้าด้วย

ผมอ่านที่คุณอิมเอามาลงนี้ทำให้นึกโยงไปถึงรุ่นแม่ของผม ผมเกิดปีสงครามโลกครั้งที่สอง ปี ๒๔๘๔ พอดี และเห็นการอ่านเขียนของคนสมัยนั้น จนกระทั่งผมอายุ ๘-๑๗ ปี เห็นคนที่ชอบเขียนและอ่าน จะอ่านแต่ที่เขียนเป็นกลอนเท่านั้น (หนังสือพิมพ์จากส่วนกลางยังไม่ค่อยมี) แม่ผมคนหนึ่งที่ชอบซื้อหนังสือกลอนมาอ่าน ราคาเล่มละ ๕๐ สตางค์ ถึง ๑ บาท อ่านท่องให้ผมฟังเข้าหูจนพลอยรักการอ่านไปด้วย สมัยนั้นชาวบ้านคนใดอยากหาเงิน พระสงฆ์องค์เจ้าตามวัด อยากหาเงินสร้างโน่นสร้างนี่จะเขียนกลอนขาย เรื่องที่เขียนมีทั้งศาสนา เหตุการณ์บ้านเมือง น้ำท่วม เรือล่ม การเดินทางท่องเที่ยว ฯลฯ เขียนได้หมด ใช้ภาษาถิ่นปนด้วย เช่นว่า

"ฝ่ายชูกชก 'หยกจา' รีบคลาคลาด จิตหมายมาดมุ่งเอาเขาวงกต" นี่พระนักธรรมเอกเขียน "หยกจา คือ หยาจก" หรือยาจกในภาษากลางที่แปลว่า "ยากจน เข็ญใจ

เขียนเสร็จไปจ้างพิมพ์ ไม่มีรูป ไม่มีสีสัน ปกมักสีแดง ๆ "เหมือนหนังสือวัดเกาะ เพราะหนักหนา" ข้างในสีขาวกระดาษปรู๊ฟธรรมดา

พิมพ์เสร็จวิธีขายคือเอาไปเดินเร่ตามตลาดนัด อ่านแบบขับหนังตะลุงไปด้วย ใครฟังสำนวนกลอนแล้วติดใจ จะชมว่า หรอย ๆ แล้วก็ซื้อไปอ่าน

ที่ๆ มีคนเดินอ่านขายเป็นประจำเช่นที่วัดพระมหาธาตุนครศรีธรรมราช ตลาดท่าแพ ใกล้บ้านแม่ผม

มาตอนนี้ถูกเรียกว่า "กลอนชาวบ้าน" วงการนักเขียน ไม่ค่อยมีใครเอามากล่าวถึง ผมเสียดายมาก ที่ชมกันปัจจุบันมีแต่กลอนใหม่ ๆ อ่านไม่รู้เรื่องก็มี แบบว่าไพเราะเกิน

คำถามที่วิทยากรในกรุงเทพฯถามครู ๆ ว่า "ทำไมต้องเขียนเป็นกลอน" ผมได้คำตอบในอีกหลายปีต่อมาว่า "เพราะกลอนมีมาแต่โบราณ การอ่านที่เป็นกลอนจำง่ายและมีรสชาติมากกว่าร้อยแก้ว"

แต่ทำไมต้องไปจำกัดว่า จะต้องฉันทลักษณ์ เป๊ะ ๆ แบบ น.ม.ส.เขียนเท่านั้น กลอนแหล่ที่คุณอิมเอามาโพสต์นี่ ไม่สัมผัสเป๊ะ ๆ แต่ก็น่าอ่านกว่าร้อยแก้วมากมาย

เพราะเรา (ใครล่ะ ก็วงการนักเขียนปัจจุบันนั่นแหละ)คอยกีดกันว่าเขียนกลอนต้องอย่างนั้นอย่างนี้ ถ้าไม่ระดับมหากวีแล้วก็บอกว่า "อย่าเขียนเลย"

ผลงานครู ๆ ที่เขียนเป็นกลอน คณะกรรมการจึงไม่ค่อยให้ผ่าน แถมสำทับมาว่า "ถ้าไม่แน่จริงอย่าเขียนมานะ" แบบนี้จบเลยครับ

สรุปว่าชอบแบบนี้ และจะมาอ่านอีกหรือก็อปไปครับ




โดย: ลุงบูลย์ (pantamuang ) วันที่: 5 กันยายน 2553 เวลา:12:19:12 น.  

 
หวัดดีค่ะ คุณ IM

กวาดตาดูภาพก่อนค่ะ เหล่าทหารหาญของไทยหน้าตาน่าเกรงขามกันทุกคนค่ะ ป้าเดซี่ก็มองหาอยู่ว่า เอ...ตอนนั้นพวกศาสตราวุธจะหน้าตาเป็นยังไงนะ เค้ายังใช้ปืนที่มีปลายเป็นดาบอยู่รึป่าว ขนาดเครื่องบินยังมีหัวเป็นใบพัดอยู่เลยนิ

อ่านประวัติคร่าว ๆ ของสิบเอกเคลือบแล้ว บอกได้คำเดียวว่าเจ๋งมาก รับราชการเป็นสัตวแพทย์ อาสาไปสงครามโลก เมื่อไปก็ได้ให้ความบันเทิงกับเหล่าทหาร ด้วยการแหล่ ถึงขนาดเป็นที่โปรดปรานของเหนือหัว

ป้าเดซี่ว่า...บทเพลงแหล่ของท่านคงเป็นที่ถูกอกถูกใจเหล่าทหารมากมายนะคะ เพราะเอาเรื่องใกล้ตัวมาพูดถึง สมัยนี้คงต้องบอกว่า 'โดน' ค่ะ

(เปรยกับตัวเอง) ชอบฟ้อนท์โบราณแบบนี้จัง ไม่รู้จะไปหาที่ไหน


โดย: Oops! a daisy วันที่: 5 กันยายน 2553 เวลา:13:52:37 น.  

 
กระทรวงกลาโหมส่งทหารไปช่วยในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
จากที่สังเกตุลักษณะท่าทางในความภูมิใจไม่เเพ้ในปัจจุปัน
ภาพสวนสนามในกรุงปารีสสวยมาก หาชมได้ยาก
คิดว่าต้องเป็นภาพบรรพบุรุษท่านใดท่านหนี่งของคุณอิมค่ะ
ธงชาติยังเป็น" ช้าง " อยู่

ได้บรรยากาศเเละความรู้เรื่อง" สิบเอก เคลือบ เกษร " ขอบคุณมากค่ะ
เเต่สงสัยว่าท่านเป็นเเพทย์ ทำไมได้ยศเเค่สิบเอก
ถ้าเป็นสมัยนี้คงอย่างน้อย" ร้อยตรี" สำหรับปริฎยาเทียบเท่า
มาติดตามอีกอย่างสม่ำเสมอค่ะ


โดย: YUCCA IP: 75.18.207.26 วันที่: 6 กันยายน 2553 เวลา:0:17:15 น.  

 


หวัดดีค่ะคุณอิม
วาว ดีจังเลย ที่จะได้อ่านเรื่องราวแบบนี้
แต่ เดี๋ยวไว้มีเวลาก่อนค่ะ เพราะต้องอ่านนานอ่ะ
ปล. สดชื่น กับ วันแรกของสัปดาห์ นะคะ


โดย: มินทิวา วันที่: 6 กันยายน 2553 เวลา:9:43:12 น.  

 

มาเเก้คำผิด..เขิลจัง
ปริญญา -ปริฎยา

ขออภัยค่ะคุณอิม


โดย: YUCCA IP: 75.18.207.26 วันที่: 6 กันยายน 2553 เวลา:11:16:25 น.  

 
มาอ่านอีกรอบครับ เพื่อซึมซับเรื่องเก่า ๆ


โดย: ลุงบูลย์ (pantamuang ) วันที่: 6 กันยายน 2553 เวลา:13:46:03 น.  

 
ขอบคุณสำหรับคำอวยพรครับพี่อิม
และขอให้พี่มีความสุขมากๆเช่นเดียวกันนะครับ




โดย: กะว่าก๋า วันที่: 6 กันยายน 2553 เวลา:23:12:57 น.  

 


โดย: เกศสุริยง วันที่: 7 กันยายน 2553 เวลา:10:10:03 น.  

 
สวัสดีัวันสีชมพูค่ะ ชอบทหารสมัยเก่าจังเลยค่ะ ทหารสมัยนี้ก็ดูดี แต่มีดีน้อยไปหน่อย แวะมาบ้านนี้เห็นภาพเก่าๆ กับคนแก่ๆ อีกแล้วค่ะ แสดงว่าเจ้าของบ้านต้องไม่หนุ่มแน่ๆเลย รอมีรูปสวยๆ ก่อนนะคะ จะ่นำมาโชว์ตามคำบอกกล่าวค่ะ


โดย: ไผ่สวนตาล วันที่: 7 กันยายน 2553 เวลา:14:33:39 น.  

 
รูปภาพและตัวหนังสือ เป็นสิ่งที่เป็นหลักฐานยืนยันเป็นอย่างดีนะคะว่ามีส่ิ่งใดบ้างเกิดขึ้นในประวัติศาสตร์

อ่านแล้วให้ความรู้สึกเหนื่อยแทนการเดินทางเลยค่ะ กว่าจะข้ามน้ำข้ามทะเล กว่าจะปรับสภาพร่างกายกับคลื่นทะเล กว่าจะไปรบ

เป็นเรื่องราวที่มีค่ายิ่งค่ะ


โดย: รัชชี่ (รัชชี่ ) วันที่: 7 กันยายน 2553 เวลา:15:52:44 น.  

 


โดย: เรือนเรไร วันที่: 7 กันยายน 2553 เวลา:17:35:51 น.  

 
Comment Hi5 Glitter
ฝันดีนะคะคุณim


โดย: เกศสุริยง วันที่: 8 กันยายน 2553 เวลา:0:40:52 น.  

 
สวัสดีวันสีเขียวค่ะ ไม่ได้ทำเป็นอาชีพ ที่ทำเพราะว่ามีที่ดินอยู่แล้ว พอดีกับไปรู้จัก"ไคโตซาน" เลยต้องทดลองให้เห็นผล ว่าของเขาดีจริงรึป่าว กะว่าทำแบบเป็นตัวอย่างให้ชาวบ้านเห็นจะได้เลิกใช้สารเคมี


โดย: ไผ่สวนตาล วันที่: 8 กันยายน 2553 เวลา:14:33:20 น.  

 
ขอโทษนะคะอยากทราบว่าหนังสือเล่มนี้ยังมีขายไหมอ่ะ คือว่าตอนนี้หนูต้องการที่จะศึกษาเรื่องนี้มาทำเป็นประเด็นศึกษาน่ะคะ


โดย: นานามิ IP: 180.183.192.178 วันที่: 15 มกราคม 2558 เวลา:23:26:14 น.  

 
คือหนูอยากได้ที่เป็นรูปเล่มหนังสือน่ะค่ะเพื่อมาอ้างอิงในการศึกษาจากบันทึกของสิบเอกเคลือ เกษร ดูในมุมมองของท่านน่ะค่ะตอนที่ได้เข้าร่วมในสงครามโลกครั้งที่ 1 รบกวนตอบด้วยนะคะ


โดย: นานามิ IP: 180.183.192.178 วันที่: 15 มกราคม 2558 เวลา:23:28:02 น.  

 
หนังสือไม่มีขายครับ ทั้งสองตอนนี้สามารถเอาไปอ้างอิงได้ ไม่มีการย่อ หรือตัดออกครับ


โดย: Insignia_Museum วันที่: 16 มกราคม 2558 เวลา:22:42:24 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Insignia_Museum
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 66 คน [?]




ความตั้งใจในการทำบล็อกเปลี่ยนไปตามกาลเวลา เริ่มต้นด้วยการเขียนถึงถิ่นที่อยู่ในวัยเด็ก ต่อมาเป็นเรื่องเครื่องหมายต่างๆ เรื่องศิลปะ ภาพถ่ายในยุคก่อนๆ อาหารการกิน และอะไรต่อมิอะไรที่ประสบพบเห็น สนใจอะไรขึ้นมาก็อยากรู้ให้มากขึ้น กลุ่มเนื้อหาจึงแตกแขนงไปเรื่อยๆ
New Comments
Friends' blogs
[Add Insignia_Museum's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.