Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2554
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728 
 
12 กุมภาพันธ์ 2554
 
All Blogs
 

โรงเรียนการบิน (ตอนที่ 1)





การฝึกและการศึกษาวิชาการบินอันถือเป็นจุดเริ่มแรกของโรงเรียนการบินนั้นอาจกล่าวว่าเริ่มขึ้นเกือบจะพร้อมกับกำเนิดกองทัพอากาศ คือเมือ พ.ศ. 2454 กระทรวงกลาโหมพิจารณาเห็นความสำคัญของการบิน ซึ่งนานาประเทศกำลังให้ความสนใจกันมาก เวลานั้น จึงส่งนายทหาร 3 นาย ไปศึกษาวิชาการบินที่ฝรั่งเศส คือ

นายพันตรี หลวงศักดิ์ศัลยาวุธ (สุณี สุวรรณประเทีป) ผู้บังคับกองพันพิเศษ กองพลที่ 5
นายร้อยเอก หลวงอาวุธสิขิการ (หลง สิงศุข) ผู้รั้งผู้บังคับกองพันพิเศษ กองพลที่ 8
นายร้อยโท ทิพย์ เกตุทัต ผู้บัญชาการกองร้อยที่ 2 โรงเรียนนายร้อยชั้นมัธยม

ทั้งสามท่านออกเิดินทางเมื่อ 28 ก.ค.2454 ทำการฝึกและศึกษาจนสำเร็จ นายพันตรี หลวงศักดิ์ศัลยาวุธ ฝึกด้วยเครื่องบินชนิดปีก 2 ชั้น เบรเกต์ (Biplane Brequet) นายร้อยเอก หลวงอาวุธสิขิกร ฝึกด้วยเครื่องบินปีกชั้นเดียวนิเออปอร์ต(Monoplane Nieuport) นายร้อย ทิพย์ เกตุทัต ฝึกด้วยเครื่องบินนิเออปอรต์ ระหว่างนั้นทั้งสามท่านมีโอกาสได้ชมการแข่งขัน เครื่องบิน และตรวจเครื่องยนต์สำหรับเครื่องบินที่กระทรวงกลาโหมสั่งซื้อไว้ เมื่อจบการศึกษาได้เดินทางจากฝรั่งเศส แวะชมกิจการโรงเรียนการบินของอังกฤษที่ Upavon Wilts และของรัสเซียที่ Gatchina แล้วกลับถึงกรุงเทพฯ เมื่อ 2 พ.ย. 2456





การฝึกศิษย์การบินเป็นภารกิจของแผนกการบิน

เมื่อทั้งสามท่านสำเร็จกาศึกษาวิชาการบินกลับมาแล้ว ใน พ.ศ. 2456 กระทรวงกลาโหมได้จัดตั้งแผนกการบินอันเป็นรากฐานเดิมซึ่งพัฒนามาเป็นกองทัพอากาศในปัจจุบันขึ้นที่ตำบลปทุมวันโดยให้แผนการบินอยู่ในบังคับบัญาของจเรทหารช่าง สนาบนินคือบริเวณที่เป็นสนามราชกรีฑาสโมสรในปัจจุบัน เวลานั้นบุคคลท่ปฏิบัติหน้าที่นักบินโดยแท้จริงมีเพียงนายทหารนักบินทั้งสามที่จบวิชาการบินจากฝรั่งเศส นับว่าไม่เพียงพอเพราะต้องทำหน้าที่ปกครองบังคับบัญชาและอำนวยการด้วย จึงต้องการรับบุคคลเข้าเป็นศิษย์การบินชั้นประถม ฝึกไปจนกว่าจะมีความสามารถเพียงพอที่จะทำหน้าที่นักินอื่นๆได้ เมื่อ 25 ม.ค. 2457 กรมจเรการช่างทหารบกจึงมีหนังสือถึงกรมเสนาธิการทหารบก ประกาศรับสมัครนายทหารชั้นสัญญาบัตรเข้ารับการฝึกหัดเป็นนักบิน มีนายทหารในกรมต่างๆสมัครและกระทรวงกลสดหมบรรจุเป็นศิษย์การบินชุดแรกรวม 8 นาย ตามคำสั่ง 292/26827 คือ

นานร้อยโท เริญ ประจำการทหารบกช่าง กองพันน้อยทหารบกที่ 1
นายร้อยโท เหม ยศธร ประจำกรมทหารบกราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
นายร้อนตรี นพ เพญกุล ประจำกรมทหารบกราบที่ 1 มหาดเล้กรักษาำระองค์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
นายร้อยตรี ปลื้ม สุคนธ์สาร ประจำกรมทหารบกราบที่ 11 รักษาพระองค์
นายร้อยตรี สวาสดิ์ ประจำกรมทหารบกราบที่ 11 รักษาพระองค์
นายร้อยตรี หนอม ประจำกรมทหารบกราบที่ 2 รักษาพระองค์
นายร้อยตรี ปิ่น มหาสมิติ ประจำกรมทหารบกราบที่ 12 รักษาพระองค์
นายร้อยตรี จ่าง นิตินันท์ ประจำกรมทหารบกราบที่ 3 รักษาพระองค์

นับเป็นครั้งแรกที่มีการฝึกและศึกษาวิชาการบินในประเทศไทย โดยครูฝึกคนไทย มีการอำนวยการฝึกและศึกษาตามหลักสูตรที่กำหนดขึ้น โดยนายทหารไทยทั้งสามท่าน ซึ่งต่อมาได้รับการเทิดทูนเป็นบุพการีของกองทัพอากาศ

ที่มาของข้อมูล : ทำเนียบศิษย์การบิน-นักบิน กองทัพอากาศ




 

Create Date : 12 กุมภาพันธ์ 2554
4 comments
Last Update : 2 เมษายน 2554 16:35:23 น.
Counter : 5167 Pageviews.

 

กลับมาย้อนอ่าน 3 ตอนค่ะ

 

โดย: tuk-tuk@korat 5 เมษายน 2554 13:57:49 น.  

 

๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๕๘ ภายหลังจากที่ กระทรวงกลาโหมออกคำสั่ง ที่ ๒๙๒ / ๒๖๘๒๗ ลงวันที่ ๒๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๕๗ ให้บรรจุบุคคลซึ่งสมัครเข้าศึกษาวิชาการบิน เป็นศิษย์การบินชั้นปฐมชุดแรก ๘ คน นั้นพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ให้รับข้าราชการ ฝ่ายพลเรือน คือ นายสนิท (พราว บุญยรัตพันธ์) เข้าศึกษาวิชาการบิน ในวันนี้อีก ๑ คน รวมมีศิษย์การบินรุ่นแรก ๙ คน

๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๘ มีศิษย์การบินชั้นปฐมชุดแรก สอบไล่ได้ตามหลักสูตรเลื่อนขึ้นเป็นศิษย์การบินชั้นมัธยมรุ่นแรก และรับเงินเดือนเพิ่มพิเศษเดือนละ ๓๐.- บาท จำนวน ๒ คน คือ
ร้อยโท ปลื้ม สุคนธสาร ร้อยตรี นพ เพ็ญกูล
ส่วนอีกสามท่านสอบได้ในครั้งต่อมา ประกอบด้วย
ร้อยโท เหม ยศธร ร้อยตรี ปิ่น มหาสมิติ
ร้อยตรี ช่วง นิตินันท์
ส่วนที่เหลือสอบไม่ผ่าน ถือว่ามีนักบินรุ่นแรกที่จบการศึกษาการบินในประเทศเพียง ๕ คน

๗ เมษายน พ.ศ.๒๔๕๙ กระทรวงกลาโหม ขยายการรับศิษย์การบิน โดยนอกจากจะคัดเลือกนายทหารสัญญาบัตรจากกรมกองต่าง ๆ แล้ว ยังได้คัดเลือกนายสิบ พลทหารช่างเครื่อง บางคนที่มีคุณลักษณะ และคุณสมบัติที่จะเป็นนักบินได้เข้าบรรจุเป็นนักบินจำนวนหนึ่ง ในการนี้ ได้คัดเลือกให้ “นายสิบโท โทน ใยบัวเทศ” เข้ารับการศึกษาวิชาการบิน เป็นศิษย์การบินชั้นปฐมในรุ่นที่สอง และสำเร็จการบิน เป็น “นักบินหมายเลข ๖”

 

โดย: รัชต์ รัตนวิจารณ์ IP: 119.46.176.222 8 กุมภาพันธ์ 2555 14:03:24 น.  

 

“นายสิบโท โทน ใยบัวเทศ” เข้ารับการศึกษาวิชาการบิน เป็นศิษย์การบินชั้นปฐมในรุ่นที่สอง และสำเร็จการบิน เป็น “นักบินหมายเลข ๖”
ภายหลัง ผู้บังคับบัญชาเปลี่ยนนามสกุลสิบโท โทน ใยบัวเทศ ให้เป็น “บินดี” (สิบโท โทน บินดี) เป็นนายทหาร ชั้นประทวนคนแรกของประเทศไทย และมีโอกาสได้เข้ารับการศึกษาตามหลักสูตรวิชาการบินที่ฝรั่งเศส เป็นนักบินฝีมือดีของกองบินทหารบก เคยสร้างชื่อเสียงในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๑ ด้วยการบินผาดแผลงโชว์ฝรั่งที่เมืองโป (Pau) และเมือง อาวอร์ด (Avord) ในฝรั่งเศส เป็นคนที่ ๓ ที่ขึ้นทำการบินผาดแผลงในขณะที่ฝรั่งทำการบินแล้วตกลงมาเสียชีวิตก่อนหน้า ๒ คน
(ภายหลังได้รับบรรดาศักดิ์ว่า “นายร้อยเอก หลวงสันทัตยนตรกรรม” ปลดออกจากราชการเนื่องจากเหตุการณ์กบฏบวรเดช ปี ๒๔๗๖)

เรื่องราวตอนหนึ่งของ "สิบโท โทน บินดี" ถูกเอาไปสร้างเป็นภาพยนตร์เรื่อง "แรกบิน" ที่มี ศรราม เทพพิทักษ์ เป็นตัวดำเนินเรื่อง นั่นเองครับ

 

โดย: รัชต์ รัตนวิจารณ์ IP: 119.46.176.222 8 กุมภาพันธ์ 2555 14:06:30 น.  

 

ขอบคุณรัชต์ครับที่แวะมาเยี่ยมแล้วยังให้ข้อมูลที่น่าสนใจมากครับ

 

โดย: Insignia_Museum 8 กุมภาพันธ์ 2555 22:53:26 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


Insignia_Museum
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 66 คน [?]




ความตั้งใจในการทำบล็อกเปลี่ยนไปตามกาลเวลา เริ่มต้นด้วยการเขียนถึงถิ่นที่อยู่ในวัยเด็ก ต่อมาเป็นเรื่องเครื่องหมายต่างๆ เรื่องศิลปะ ภาพถ่ายในยุคก่อนๆ อาหารการกิน และอะไรต่อมิอะไรที่ประสบพบเห็น สนใจอะไรขึ้นมาก็อยากรู้ให้มากขึ้น กลุ่มเนื้อหาจึงแตกแขนงไปเรื่อยๆ
New Comments
Friends' blogs
[Add Insignia_Museum's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.