Group Blog
 
<<
มกราคม 2555
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
7 มกราคม 2555
 
All Blogs
 
พุทธปรัชญา 25 ศตวรรษ



เมื่อปลายปี พ.ศ. 2554 ผมได้นำชีวประวัติและผลงานของอาจารย์สมัคร บุราวาศ ไวในบล็อก เมื่อไปรื้อค้นหนังสือของท่านที่ผมเคยตามซื้อตามเก็บมาตั้งแต่สมัยเป็นนักศึกษา นับแล้วมีครบเกือบทุกเล่ม สำหรับ "พุทธปรัชญา 25 ศตวรรษ" ผมยังไม่เคยเห็น ไม่เคยอ่าน เมื่อสัปดาห์ก่อน ไปพบหนังสือเล่มนี้ที่ร้านซีเอ็ด อยู่ในชั้นหนังสือสูงมากเกือบเอื้อมไม่ถึง ต้องขอขอบคุณสำนักพิมพ์ศยาม ที่นำมาพิมพ์ใหม่ ซึ่งเป็นการพิมพ์ครั้งที่ 3







เข้าใจว่าการเรียบเรียงหนังสือเล่มนี้ อยู่ในช่วงที่อาจารย์สมัครเจอมรสุมชีวิตมาอย่างหนักหน่วง ได้ผ่านการฝึกฝนทางปฏิบัติจากพระอาจารย์ทางวิปัสสนาจากสำนักวัดมหาธาตุ ประกอบด้วยความรู้ทางวิทยาศาสตร์ธรรมชาติและสังคมแทรกบางช่วงบางตอน รวมทั้งวิวัฒนาการของมนุษยชาติและความเป็นมา อีกทั้งความคิดที่ตกผลึกแล้วในระดับหนึ่ง จึงเสนอผลงานเขียนที่น่าสนใจเล่มนี้ออกมาได้ ซึ่งน่าจะตอบคำถามของคนในยุคปัจจุบันให้หายข้องใจได้บ้าง ท่านเขียนหนังสือเล่มนี้เสร็จในปี พ.ศ. 2499 เมื่ออายุ 40 ปี

ท่านกล่าวไว้ในคำนำ ตอนหนึ่งว่า " สำหรับตัวข้าพเจ้าเอง ได้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานภายใต้ท่านอาจารย์เจ้าคุณอุดมวิชาญาณเถระ กับพระอาจารย์แพง อนุตตโร และได้เกิดดวงตาเห็นธรรมพอสมควร ทั้งได้เห็นภาวะรูปธรรมในกาย อันไม่เคยได้เห็นมาก่อนเลย รวมทั้งได้ทราบธรรมชาติของจิตด้วยตัวเอง และได้ชิมรสพระนิพพานชั่วขณะด้วย จึงนับได้ว่าศึกษาพระพุทธศาสนาถึงขั้นอุดมแล้วผู้หนึ่ง ดังนี้ความเข้าใจในพระอภิธรรมจึงเกิดขึ้น และก็เป็นความกรุณายิ่งของทางราชการและวัดมหาธาตุที่ได้จัดพระอาจารย์หนู ปุณญวนโต และพระใบฏีกาเส็ง ยสินธโร มาสอนอธิธรรมแก่นักโทษการเมืองในแดน 6 ต่อไปอีก อันเป็นการทำให้ความรู้ในพุทธศาสนาของข้าพเจ้าสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ข้าพเจ้าได้เจริญวิปัสสนาและเรียนอภิธรรมมากระทั่งถึงวาระกึ่งพุทธกาล จึงรวบรวมความคิดไว้อีกครั้งหนึ่ง เป็นพุทธปรัชชญากึ่งพุทธกาล ดังอยู่ในมือท่านผู้อ่าน ณ บัดนี้..."

หากจะสรุปเนื้อความทั้งหมด เห็นทีจะเขียนบล็อกนี้ไม่เสร็จในเวลาที่ต้องการ หรืออาจได้เนื้อความที่ไม่ครบถ้วน ผมจึงขอเพียงแต่คัดลอกบางหัวข้อ บางหน้ามาให้อ่านกันครับ

ที่มาแห่งปัญญาของพระพุทธเจ้า

สิ่งที่พ้นวิสัยความคิดของมนุษย์ คืออาจิณไตยและมี 4 ประการ คือ พุทธวิสัย ญานวิสัย กรรมวิบาก และโลกจินตา ในอาจิณไตย 4 ประการนี้ พุทธวิสัย ได้แก่ ความเป็นไปและอานุภาพของพุทธคุณทั้งหลาย มีสัพพัญญุตญาณ เป็นต้น พระสัพพัญญุตญาณนี้เป็นความรู้อันสมบูรณ์ของพระพุทธเจ้า ซึ่งคนเราสามัญไม่อาจหยั่งรู้ได้ พูดง่ายๆ คือ คิดไม่ออก คิดไม่ถึง ขืนไปคิดก็มีส่วนแห่งความบ้าคลั่ง-คับแค้นใจไปเปล่าๆ

อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาลัทธิศาสนาและปรัชญาของชนชาติต่างๆในอดีต ประกอบกับการขุดค้นทางโบราณคดี พบเมืองต่างๆ แห่งอารยธรรมโบราณในลุ่มน้ำไนล์ ยูเฟรตีส ไทกริส และลุ่มน้ำสินธุ เราก็สามารถวาดภาพวิวัฒนาการทางปัญญาของพระพุทธเจ้าได้คร่าวๆ ซึ่งฉายให้เห็นที่มาแห่งปัญญาของพระพุทธเจ้า เราไม่ได้กล้าหาญพอถึงกับจะบอกได้ว่า พระปัญญาของพระองค์ทั้งสิ้นทั้งปวงนั้นมีประการใดบ้าง แต่เราพอจะค้นดูจากประวัติศาสตร์รู้ความได้ว่า พระบรมศาสดาของเราทรงได้ลัทธิอะไรมาปรับปรุงแก้ไขเป็นสัพพัญญุตญาณของพระองค์ หากมีผู้หนึ่งผู้ใดคิดว่าพระพุทธเจ้าของเรา ทรงคิดความรู้ทุกสิ่งทุกประการในพระอภิธรรมขึ้นมาเอง ก็น่าจะผิดถนัด เพราะในพระสูตรหลายแห่งมีข้อความระบุว่า พระพุทธเจ้าในอดีตหลายองค์ ได้ทรงประสาทคำสอนทางพุทธศาสนาไว้แก่โลก และองค์ของเรานี้เป็นผู้ทรงรวบรวมนำมาเผยแพร่แก่มนุษยชาติ

การศึกษาที่มาแห่งปัญญาของพระพุทธเจ้ายังช่วยให้เราได้ทราบว่า ความรู้อย่างไรเป็นความรู้ใหม่แท้ๆ ที่พระบรมศาสดาของเราทรงประสาทให้แก่โลกด้วย...

ความจริงแท้ของพุทธปรัชญาคือรูปนาม

ปรัชญาทุกระบบ เริ่มต้นด้วยการถามตัวเองว่า ความแท้จริงอันติมะ (Ultimate reality) หรือความจริงแท้ที่ไม่แปรผันเป็นอื่นนั้น คืออะไร เพราะรู้ว่าเมื่อรู้ว่าความจริงแท้คืออะไรแล้ว ก็อาจล่วงรู้ถึงความจริงอื่นๆ ที่เกิดขึ้นโดยอาศัยความแท้นั้นได้ ปรัชญาฝ่ายจิตนิยมตอบว่า ความจริงแท้คือจิต ทุกสิ่งทุกอย่างอาศัยจิตเกิดทั้งสิ้น ปรัชญาฝ่านสสารนิยม หรือวัตถุนิยมว่า ความจริงแท้คือสสาร ทุกสิ่งทุกอย่างอาศัยสสารเกิดทั้งนั้น คำว่าจิต กับ สสาร นี้ ทางพุทธปรัชญาเรียกว่า นาม กับ รูป ส่วนความแท้จริงอันติมะนั้น ทางพุทธปรัชญาเรียกว่า ปรมัตถธรรม หรือ พระปรมัตถ์ ซึ่งตามอรรถพยัญชนะ แปลว่า เนื้อความอันยิ่งใหญ่ คำว่า "ปรัชญา" หมายถึงวิชาที่ว่าด้วยความจริงอันยิ่งใหญ่นั่นเอง...

วิปัสนนากรรมมัฏฐาน ในแง่วิทยาและสุขภาพ

ผู้ที่ผ่านการฝึกหัดเจริญวิปัสสนาภาวนามา กระทั่งได้ฟังเทศน์ลำดับญาณแล้วนั้น หากมีความรู้ทางสรีรวิทยาอยู่บ้าง จะรู้สึกได้ทันทีว่า วิปัสสนากัมมัฏฐานเป็นการกระทำทางสรีรวิทยาอย่างหนึ่ง ซึ่งพึงเรียกว่า การฝึกหายใจ ให้ใช้ลมหายใจน้อยลง และให้การหายใจเป็นไปอย่างสม่ำเสมอ ในการนี้หัวใจจะเต้นเบาลงตามไปด้วย อันเป็นเหตุให้เกิดภาวะครึ่งหลับครึ่งตื่นแก่ร่ายกาย ในภาวะอย่างนี้ ความรู้สึกทางทวารต่างๆ จะสิ้นลงด้วย แต่เฉพาะในวิปัสสนากัมมัฏฐานเท่านั้น มโนทวารจึงจะปิด หากเป็นการทรงเจ้าหรือเข้าญาณไปชมนรกสวรรค์แล้ว ภาวะอันจิตตกอยู่ในภวังค์หรือภาวะอัปปนาสมาธินี้ กลับทำให้มโนทวารเปิดร่า และมีจินตนาการออกมามากมายไป...

ตรรกวิทยาของพระพุทธเจ้า

ตรรกวิทยาของพระพุทธเจ้ามีด้วยหรือ ? ข้อนี้พุทธศาสนิกชน โดยมากย่อมถามขึ้น และควรถามเพราะไม่ปรากฏระบุไว้ ณ ที่ใดเลย ในพระไตรปิฎกว่า พระพุทธเจ้าทรงใช้คำว่าตรรกวิทยา แต่ข้าพเจ้าเห็นว่า พระอภิธรรมมีคำสอนที่พึ่งเรียกได้ว่า ตรรกวิทยาของพระพุทธเจ้า นี่คือปัฐฐาน นอกจากนี้ ยังมีคำสอนของพระพุทธองค์อีกหลายเรื่อง ซึ่งควรนำมารวบรวมไว้ใต้หัวข้อตรรกวิทยา เพื่อความแจ่มกระจ่างในการศึกษาพระอภิธรรมด้วยเหตุนี้ บทความในบทนี้จึงมีขึ้นได้

อย่างไรก็ตามขอได้โปรดทราบไว้ด้วยว่า พระพุทธศาสนาไม่นิยม การเก็งความจริงทางปรัชญา ไม่นิยมการเล่นลิ้น หรือแสดงคารม ด้วยตรรก ตรรกวิทยาของพระพุทธเจ้าไม่ได้มีไว้สำหรับเดาความจริง หากมีไว้เพื่อให้เราได้รู้ว่า อะไรเป็นเหตุ อะไรเป็นผล อะไรเป็นความเกี่ยวข้อง หรือ ปัจจัย เหตุและผลเกิดอย่างไร ดับอย่างไร เหตุใกล้ชิดคืออะไร ความรู้เหล่านี้ได้จากการมีดวงตาเห็นธรรม เห็นสภาวะที่เป็นจริง ทั้งที่เป็นเหตุและผล จึงมิใช่การคิดไปจากเหตุ อันเป็นจิตญาณอย่างหนึ่ง ซึ่งอาจไม่ให้ความจริงแก่เรา

ขอขยายตัวอย่าง เช่น เมื่ออาจารย์วิปัสสนาบอกว่าการขาดสติในการวิปัสสนา จะเป็นเหตุให้อารมณ์กิเลสผุดขึ้นในจิตใจได้ ถ้าเรารู้ความจริงแต่เพียงว่า มีการขาดสติ เราจะเก็งความจริงไม่ถูกเลยเป็นอันขาดว่า อารมณ์กิเลสจะเกิดขึ้นจากนั้น เรารู้ได้ดังนี้ก็โดยรับรู้มาเป็นสุตญาณ หรือโดยเจริญวิปัสสนาเห็นความจริงเอง ซึ่งดีกว่าสุญตาเป็นอันมาก สุตญาณก็คือเหตุผลที่ผู้อื่นประสบมาก่อน แล้วมาบอกเราให้ทราบนั่นเอง ท่านผู้อ่านที่ได้รับความรู้จากหนังสือนี้ก็ได้แค่สุตญาณ นอกจากท่านจะ
ผ่านการเจริญวิปัสสนาภาวนามาแล้ว...




Create Date : 07 มกราคม 2555
Last Update : 7 มกราคม 2555 13:22:03 น. 8 comments
Counter : 2315 Pageviews.

 
พี่อินอย่าลืมลงเรื่องปัญญาวิวัฒน์ ของท่านสมัคร ด้วยนะคะ ถ้าพี่อ่านแล้ว เอาแบบสรุปก็ได้ค่ะ

ส่วนเรื่องศาสนา หนูเหมือนยังบาปหนาอยู่ค่ะ อ่านแล้วยังไม่เข้าหัวเท่าไรนัก

หนูได้ตื่นเต้นฉลองปีใหม่ คือล้มฝ่าเท้าหัก ใส่เฝือกเดินขาเป๋เรียบร้อยแล้ว

ไม่รู้ว่าไปสาบานอะไรไว้ แล้วไม่ได้แก้ เลยจัดหนักให้เลย 555


โดย: kimmybangkok วันที่: 7 มกราคม 2555 เวลา:12:13:49 น.  

 


โดย: biocellulose วันที่: 7 มกราคม 2555 เวลา:18:06:39 น.  

 
ได้รับของแล้วครับ...ขอบคุณพี่มากๆนะครับ

พี่เอาเข็มเอี่ยมละออหรือเปล่าครับเดี๋ยวผมส่งไปหา



โดย: teek61 วันที่: 7 มกราคม 2555 เวลา:18:31:41 น.  

 
สวัสดีค่ะ ขอบคุณสำหรับคำอวยพรนะคะ

จริตที่ว่ามาข้างต้น มีครบเลยค่ะ แก้ยากซะด้วยทั้งที่รู้ตัวอยู่ ^^


โดย: namfaseefoon วันที่: 7 มกราคม 2555 เวลา:21:17:53 น.  

 
วันนี้จิตตกพอดีเลยค่ะ


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 8 มกราคม 2555 เวลา:0:27:49 น.  

 
สวัสดีปีใหม่ค่ะ คลองในภาพคือ คลองดำเนินสะดวกคือ บริเวณหลักแปด ต.สี่หมื่น


โดย: พรานอักษร วันที่: 8 มกราคม 2555 เวลา:19:16:50 น.  

 
สวัสดีปีใหม่ค่ะคุณอาอิม
ด้วยความที่หนูเป็นคนชอบอ่านหนังสือ
อ่านได้ทุกประเภททุกแนว แนวธรรมมะ
พุทธศาสนาหนูก็อ่านเช่นกันค่ะ
แต่จะอ่านอะไร ส่วนใหญ่แล้วแต่สภาวะจิตในช่วงนั้นๆ
ที่คุณอาไปเม้นท์ไว้ที่บล๊อกเรื่องสารคดีเป็ดปักกิ่ง
วันเสาร์เมื่อวานหนูก็ได้ดูเช่นกันค่ะ
ใจหนึ่งดูไปก็สงสารเป็ดที่เกิดมาเป็นเป็ดปักกิ่ง
จึงมีเวลาอยู่บนโลกนี้ได้เพียง70วัน
แอบคิดไปถึงสัตว์อื่นๆด้วยค่ะ
ใจก็อยากเป็นมังสาวิรัติไปเลย เพราะ หมู ไก่ ปู
ทุกๆสัตว์ก็มีชีวิตทั้งนั้น แต่กิเลสก็ยังหนาอยู่มากค่ะ
ยังติดใจในรสชาติต่างๆ ด้านลบเลยชนะด้านบวก
กลายเป็นคิดว่า ถ้าไปเมืองจีนจะไปลองกินร้านนี้ดูบ้าง
(ซะงั้น)



โดย: hellojaae (hellojaae ) วันที่: 8 มกราคม 2555 เวลา:19:30:46 น.  

 

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Insignia_Museum
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 66 คน [?]




ความตั้งใจในการทำบล็อกเปลี่ยนไปตามกาลเวลา เริ่มต้นด้วยการเขียนถึงถิ่นที่อยู่ในวัยเด็ก ต่อมาเป็นเรื่องเครื่องหมายต่างๆ เรื่องศิลปะ ภาพถ่ายในยุคก่อนๆ อาหารการกิน และอะไรต่อมิอะไรที่ประสบพบเห็น สนใจอะไรขึ้นมาก็อยากรู้ให้มากขึ้น กลุ่มเนื้อหาจึงแตกแขนงไปเรื่อยๆ
New Comments
Friends' blogs
[Add Insignia_Museum's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.