Group Blog
 
<<
มกราคม 2552
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
4 มกราคม 2552
 
All Blogs
 

ชนบทไทยในภาพเขียน










ภาพเขียนเกี่ยวกับชนบทไทยที่คุ้นเคยเมื่อ 20-30 ปีมาแล้ว


ในสมัยที่การสื่อสารยังไม่ก้าวหน้าเหมือนสมัยนี้ โอกาสในการรับรู้งานศิลปะเกี่ยวกับภาพเขียนมีน้อยมาก การรับรู้แรกๆสุดของเด็กต่างจังหวัด จะเป็นภาพวิวในชนบท มักเห็นจากภาพ ส.ค.ส. หรืออ่านการสอนศิลปะในหนังสือเกี่ยวกับภาพดารา ของคุณเปี๊ยก โปสเตอร์

ภาพวิวของทุ่งนา ป่าเขา จึงเข้ามาอยู่ในหัวของเด็กๆตั้งแต่ชั้นประถม การวาดภาพส่งครูส่วนใหญ่ไม่พ้นแนวนี้ จะเป็นภาพบ้านทรงไทยมุงจาก อยู่ริมลำห้วยธรรมชาติ หรือปลูกกระท่อมรุกล้ำไปในหนองน้ำ มีคนใส่เสื้อสีแดงมองเห็นไกลๆ ที่ขาดไม่ได้คือกองฟาง ภูเขา ทุ่งนา

เมื่อผมเข้าเรียนต่อมัธยมปลายในเมืองกรุง จึงได้เห็นภาพสีน้ำมันของจริงจากร้านแกลอรี่แถวประตูน้ำ เคยไปยืนดูช่างวาดอยู่นานๆ บางครั้งก็ถามขั้นตอนจากผู้วาด แบบครูพักลักจำ แล้วกลับมาลองผิดลองถูกที่บ้าน ครั้งหนึ่งไปดูงานแสดงศิลปะที่ใช้นิ้วมือวาดภาพสีน้ำมันโดยไม่ใช้พู่กัน จึงลองมาทำดูบ้าง ใส่ถุงมือละเลงสีบนเฟรมกันเดี๋ยวนั้น

สมัยก่อนเฟรมหรือผ้าใบลงสีพื้นแล้ว ทำขายกันไม่กี่ราย หากต้องการขนาดที่เราต้องการอาจไม่มี จึงต้องขึงเฟรมเอง โดยซื้อผ้าใบที่ลงสีรองพื้นแล้ว มาขึงลงบนกรอบไม้ บางครั้งก็ให้ร้านทำกรอบรูปช่วยขึง แต่ไม่ถูกใจ เพราะร้านจะทำหย่อน

ปัจจุบันมี บริษัทผลิตสียี่ห้อดังๆของยุโรป เฟรมผ้าใบสำเร็จรูปหลายขนาด ภู่กัน น้ำมันผสมสี มาผลิตในจีน มีห้างสรรพสินค้าใหญ่ๆ ของไทย นำเข้าวัสดุที่ใช้ทำงานศิลปะที่ว่าจากจีน คนทำงานศิลปะจึงมีวัสดุให้เลือกทดลองได้หลากหลาย ราคาน่าจะถูกกว่าของนำเข้าจากยุโรป

ราวปี สองปีมานี้ มีการนำภาพเขียนสีน้ำมันจำนวนมาก จากฝีมือช่างเขียนจีนเข้ามาขายที่ห้างสรรพสินค้าในไทย ผมเข้าใจว่าภาพเขียนเหล่านี้ น่าจะวาดจากภาพถ่ายทิวทัศน์ในไทย เช่น ตลาดน้ำ วิวชนบท ป่าไม้ น้ำตก แล้วส่งเข้ามาขายพร้อมกรอบในราคาถูก เข้าไปดูใกล้ๆแล้ว ฝีมือใช้ได้ทีเดียว ในใจก็นึกเป็นห่วงช่างเขียนของไทยว่าจะต้องผลิตงานเชิงพาณิชย์ศิลป์หนีภาพเขียนที่มาจากจีนได้อย่างไร




 

Create Date : 04 มกราคม 2552
37 comments
Last Update : 4 มกราคม 2552 12:39:06 น.
Counter : 27820 Pageviews.

 

เป็นเหมือนกันเลยค่ะ

ตอนเด็กๆเวลาวาดภาพส่งคุณครู

จะต้องวาดภาพภูเขาสองลูก มีกระท่อม มีต้นมะพร้าวแล้วก็มีดวงอาทิตย์

วาดทีไรก็เป็นแบบนั้นทุกที

 

โดย: หยุ่ยยุ้ย 4 มกราคม 2552 12:50:50 น.  

 

สวัสดีปีใหม่ค่ะ

 

โดย: mungkood 4 มกราคม 2552 12:57:53 น.  

 

 

โดย: beautyswan 4 มกราคม 2552 13:02:09 น.  

 

 

โดย: pet.sp 4 มกราคม 2552 13:31:18 น.  

 

ภาพแรกขาดดวงอาทิตย์หรือดวงจันทร์ไปนะคะ
ไม่งั้นย้อนยุคตัวเอง คิดถึงชั่วโมงวาดเขียนตอนเรียนชั้นประถม

ในอดีตวิชาวาดเขียน ไม่ได้เป็นที่ใฝ่ปองของผู้หลักผู้ใหญ่เลย ส่วนมากจะมุ่งคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ แม้แต่ภาษาไทยก็ยังถูกเมิน ปัจจุบัน ใครวาดภาพเก่ง รับทรัพย์ไม่หวาดไม่ไหว เช่นเดียวกับวิชาขับร้องและนาฏศิลป์ได้รับการดูถูกดูแคลนอย่างมาก ปัจจุบันมาอันดับหนึ่งแล้ว เด็กส่วนมากอยากเป็นนักร้อง นักแสดง และนักข่าว

โลกมันเปลี่ยนไป แต่ ขอวัฒนธรรมไทยที่ดีงามคงอยู่คู่คนไทยและประเทศชาติสืบต่อไปแล้วกัน

 

โดย: nathanon 4 มกราคม 2552 13:33:00 น.  

 

หวัดดีปีใหม่ คร้าบ

 

โดย: niceguyfinishlast 4 มกราคม 2552 15:40:22 น.  

 

สวัสดีปีใหม่ 2552 ค่ะ...
ภาพชนบทไทย เหมือนภาพเขียนสีน้ำนุ่มตาดีนะคะ

 

โดย: Devonshire 4 มกราคม 2552 16:07:58 น.  

 

สวยจังเลยค่ะ

 

โดย: Jolisa 4 มกราคม 2552 17:23:31 น.  

 

สวัสดีปีใหม่ ครับ


ภาพ สวย งาม ดี ครับ


ชอบ ชอบ ชอบ

 

โดย: พนบ. 4 มกราคม 2552 17:52:40 น.  

 

ภาพงามทุกภาพเลยค่ะ แต่เดี๋ยวนี้ก็ยังเห็นภาพลักษณะนี้ทำออกมาเป็นสคส.อยู่ วันนี้ก็ซื้อมาสองภาพ บรรยากาศของภาพก็ไม่ต่างกันเท่าไหร่เลยค่ะ ถ้าไม่ลืม ไว้จะสแกนภาพมาให้ดูค่ะ

 

โดย: haiku 4 มกราคม 2552 22:00:42 น.  

 

เคยพบพี่คนนึง
เขียนภาพแนวนี้
ดูว่าง่ายๆ
ธรรมดา
แต่ลองดูจริงๆ
ต้องเข้าใจชีวิตของชนบทจริง
จึงจะถ่ายทอดมาได้
คารวะๆ

 

โดย: (@-@) (ตาพรานบุญ ) 5 มกราคม 2552 0:24:53 น.  

 

 

โดย: J u s t S e a S c a p e 5 มกราคม 2552 1:44:01 น.  

 

สวัสดีปีใหม่ค่ะ
จีนนี่เค้าบุกตลาดเราทุกอย่างเลยนะคะ
แต่ของแบบนี้ถ้าไม่มีการแข่งขันก็ไม่เกิดการพัฒนา
ปีใหม่แล้วก็ว่าจะพัฒนาตัวเองเหมือนกัน.......

เอาพระมาให้เป็นสิริมงคลต้นปีนะคะ

 

โดย: อันต้า 5 มกราคม 2552 9:00:44 น.  

 

เข้ามาบ้านนี้แล้วชื่นใจ
เหมือนได้เดินกลับไปบ้านเองแต่เก่าก่อน...

ส.ค.ส.ภาพวาดเหล่านี้ สมัยเด็กๆก็มองผ่านไปแบบไร้ค่า
ซื้อมาส่งให้เพื่อน แต่ไม่เคยมองลึกไปกว่านั้น

แต่พอเวลาผ่านไป ความคิดตกตะกอน
ก็เห็นคุณค่าของศิลปินที่...ถ้าคุณไม่มีจิตวิญญาณความเป็นคนไทยแท้ๆ คุณคงถ่ายทอดภาพชนบทไทยไม่ได้แบบนี้แน่ๆ...งดงามจริงๆ

ว่าไปแล้ว ศิลปินเหล่านี้ คือผู้ปิดทองหลังพระจริงๆ
ไม่รู้เลยค่ะว่า ชื่อเรียงเสียงไรกันบ้าง

 

โดย: ทากชมพู 5 มกราคม 2552 9:38:43 น.  

 

เอาส.ค.ส.ที่ซื้อมาให้ดูค่ะเราว่าลักษณะภาพคล้ายๆกันเลยนะคะ



 

โดย: haiku 5 มกราคม 2552 22:54:28 น.  

 

สวัสดีปีใหม่นะคะ ชอบภาพแบบนี้จังเลย ถึงจะเก่าแต่ก็ยังดูสวยเหมือนใหม่อยู่เสมอ ขอให้อนุลักษณ์งานเก่าๆ แบบนี้ไว้ต่อไปนะคะ

 

โดย: ไผ่สวนตาล 6 มกราคม 2552 11:42:33 น.  

 

ชอบรูปที่สองจังค่ะ..อยากใช้ชีวิตแบบนี้(สักพัก)อยู่นานไม่ได้..ยังติดแสงสีอยู่..

ขอบคุณนะค๊ะที่ช่วยเฉลยข้อข้องใขของนัทให้..เนี่ยไปไหนไม่เคยจำทาง ได้แต่ตื่นเต้น ถ่ายรูป และก็ถ่ายรูป ไม่เคยดูสักทีว่าเค๊าพาไปไหน..

มีความสุขมากๆค๊า

 

โดย: Why England 6 มกราคม 2552 17:28:06 น.  

 

ชอบค่ะเมื่อก่อนจะมีส.ค.ส แนวนี้ตลอดเลย
ชอบชีวิตชนบท สงสัยแก่แล้วอ่ะ

ไม่ชอบความวุ่นวายเท่าไร
ถ้าเลือกได้จะไปอยู่ต่างจังหวัด

 

โดย: Fullgold 6 มกราคม 2552 22:43:27 น.  

 

นครวัดเหรอค่ะ ชั้นในห้ามขึ้นค่ะ

แต่ได้ชมรอบนอก ก็อลังการณ์มากๆ
นางอัปสรา เยอะมากมาย มีทัพสยาม ทัพละโว้ด้วยค่ะ
แต่ยังไม่ได้ลง เที่ยวเป็นที่สุดท้าย แบตหมดอีกค่ะ
เสียดาย พราะวันที่สองเที่ยวที่สำคัญทั้งนั้นเลย
หมือนเที่ยวไม่ทั่วค่ะ

ทั้งบายน นครธม บัณทายสรี ตาพรม นครวัด
อัดวันเดียวหมดเลย พอถึงนครวัด แบตอ่อนแล้วค่ะ
เลยได้รูปมาน้อย

แต่บันทายสรี ตาพรม บายน ได้มาเอะอยู่ค่ะ

 

โดย: Fullgold 6 มกราคม 2552 23:34:41 น.  

 

สวัสดีปีใหม่ 2552 ครับคุณ Insignia_Museum ขอให้มีความสุขความเจริญตลอดปีใหม่นะครับ...

ไม่ได้แวะเข้ามาเยี่ยมเยียนเสียนาน แม้แต่บล็อกของตัวเองก็ไม่ได้อัพนานแล้ว เข้ามาอีกที เจอรายงานว่าโดนก็อปบล็อกอีกแล้ว เกิดอาการเซ็งขึ้นมาตะหงิด ๆ เชียวละ...

ส.ค.ส. รูปวิวชนบทนี่ นับเป็นส.ค.ส. สุดคล้าสสิคของคนไทยในยุคหนึ่งทีเดียว มีวางจำหน่ายทั่วไปราคาแผ่นละ 1 บาท เรียกว่าคิดไม่ออกว่าจะส่งรูปอะไรเป็นส.ค.ส. ก็ส่งรูปวิวแบบไทย ๆ นี่แหละ ส่งให้ได้ทุกเพศทุกวัยทีเดียวเชียว

มีอยู่ยุคหนึ่ง นอกจากส.ค.ส. รูปวิวอย่างที่ว่ามาแล้ว ยังมีส.ค.ส. สำหรับหนุ่ม ๆ สาว ๆ ที่กำลังอินเลิฟ ที่ฮิตที่สุดก็รูปหัวใจ หรือดอกกุหลาบสีแดง ๆ มีข้อความหวาน ๆ ประมาณ "รักนี้นิรันดร" อะไรทำนองนี้ แผ่นส.ค.ส. โรยด้วยกากเพชร ระยิบระยับ เปิดข้างในก็ยังเจอกลอนหวานจ๋อยเสียอีกบท คู่รักคู่สวีทยุคก่อน มักจะส่งให้แก่กันในวันปีใหม่ โดยใช้เป็นสื่อกลางเผยความในใจแก่กัน เพราะยุคนั้นยังไม่มีวันวาเลนไทน์ ไม่มีการ์ดวาเลนไทน์ให้ส่งเหมือนทุกวันนี้

เทศกาลปีใหม่ และส.ค.ส. ในยุคนั้นจึงมีความสำคัญลึกซึ้งสำหรับคนไทยกว่าทุกวันนี้มาก

ว่ากันถึงเรื่อง ส.ค.ส. หรือการ์ดอวยพรวันปีใหม่ ทำให้คิดถึงการ์ดอีกสองสามชนิดที่เคยเป็นที่นิยมกันเมื่อสักยี่สิบกว่าปีก่อน ไม่รู้ว่าคุณ Insignia_Museum จะมีให้ชมหรือไม่

อันแรกเลย เป็นการ์ดอวยพรที่เป็นแผ่นเสียงเล่นเพลงได้ด้วย แม้รูปร่างจะเป็นการ์ดอวยพร เป็นรูปวิวทิวทัศน์หรือรูปเด็กน่ารัก ๆ แต่ตรงกลางจะมีรูเหมือนแผ่นเสียงทั่วไป และมีร่องเสียงเป็นวงกลม ผู้ที่ได้รับต้องมีเครื่องเล่นแผ่นเสียง หรือที่ยุคหนึ่งเรียกกันติดปากว่า "เครื่องปิกอัพ"

พอเอาไปเล่น ก็มักจะมีเพลงเกี่ยวกับปีใหม่ ทั้งเพลงไทย เพลงต่างประเทศ ดังออกมา สนนราคาก็นับว่าแพงเอาการสำหรับค่าเงินในยุคนั้น เพราะราคาต่อแผ่น ตกแผ่นละสิบกว่าบาท ถึงยี่สิบกว่าบาทเชียวละ (โปรดระลึกไว้ว่า ตอนนั้น ก๋วยเตียวชามใหญ่พิเศษ ชามละ 5 บาทเองนะครับ)

การ์ดอีกแบบที่คิดถึงขึ้นมา คือการ์ดสามมิติ เป็นรูปภาพสามมิติ ทั้งรูปวิว รูปคน รูปสาวงามในชุดวาบหวิว

พอพลิกตะแคงรูปสามมิติแบบนี้ไปมา จะเห็นรูปนั้นเคลื่อนไหวได้ เช่น บุคคลในรูปอาจยักคิ้วหลิ่วตา หรือเคลื่อนไหวท่าทางต่าง ๆ เป็นที่อัศจรรย์ใจ

บัตรอวยพรแบบนี้ราคาแพงเหมือนกัน แผ่นละ 7-10 บาท พวกเด็ก ๆ ชอบกันนักละ แต่ต้องเป็นเด็กที่มีเงินสักหน่อย จึงจะมีปัญญาซื้อหามาส่งให้เพื่อน เพราะมันแพงอย่างที่ว่า

อ้าว ทำไปทำมาเลยคุยเสียเพลิน เกือบจะคิดว่าเขียนบล็อกของตัวเองเสียแล้วไหมล่ะ ขออภัยครับ

นาน ๆ เข้ามาทีก็เลยพาลจะบ้าน้ำลายไปหน่อย งั้นขอตัวก่อนนะครับ สวัสดีปีใหม่อีกรอบครับ

 

โดย: ลุงแว่น 7 มกราคม 2552 8:16:35 น.  

 

เข้ามาร่วมเก็บเกี่ยวบรรยากาศชนบทไทย สมัยทุ่งท่า นาน้ำ สะอาดใส เคยเห็นทิวทัศน์ตามรถสองแถวก็มีรูปทิวทัศน์เหมือนกัน แล้วยังเขียน "รับทัศนาจรนำเด้อ" อีกด้วย

 

โดย: sarntee 7 มกราคม 2552 13:48:39 น.  

 

จขบ.เคยวาดภาพด้วยเหรอคะ

เข้าไปหาที่บล็อกเก่าๆไม่เจอค่ะ...ไม่รู้อยู่ตรงไหน

อยากชื่นชมฝีมือ....ไงก็...บอกทางหน่อยนะคะ..

 

โดย: ทากชมพู 7 มกราคม 2552 18:10:43 น.  

 

ภาพที่ จขบ. วาดเอง บางภาพใช้ประกอบเรื่องครับ
อย่างภาพตลาดน้ำนี้ วาดเมื่อ พ.ศ. 2525 นานมากครับ...

 

โดย: Insignia_Museum 7 มกราคม 2552 21:07:08 น.  

 

ว้าววว โผล่มาพอดี ได้เห็นภาพวาดของคุณชาวคลอง

ตลาดน้ำดำเนินสะดวก ตั้งแต่ปี 25 เลยหรอคะนี่ ดูแม่ค้าเยอะกว่าภาพจริงที่ไปมานะคะ

หรือเป็นเพราะช่วงนั้นตลาดกำลังจะวายไม่แน่ใจ

ภาพเขียนพวกนี้ เคยเห็นสมัยเด็ก ๆ ค่ะ ตอนนี้กลายเป็น ส่ง ส.ค.ส. ทางอิเลคโทรนิกท่าจะไวกว่า

แต่ยังงัยก็คงสู้สิ่งที่ออกมาจากฝีมือและลายมือของผู้ส่งไม่ได้

ภาพนี้สวยมากค่ะ ชอบ ชอบ ไว้เอามาให้ชมอีกสิคะ ชอบดูค่ะ ^^

 

โดย: วันวานที่ผ่านมา 7 มกราคม 2552 22:07:42 น.  

 

ขอบคุณที่เข้าไปชมค่ะ
จะมาชวนอยู่พอดี



 

โดย: Fullgold 7 มกราคม 2552 23:51:16 น.  

 

เฮ่อ... อ่านแล้วน่าเห็นใจช่างเขียนภาพไทยนะครับ

ถ้าช่างเขียนภาพไทยถ้าไม่ได้เป็นศิลปินผู้ยิ่งใหญ่ทำไปงานขายได้ก็แค่พอยังชีพ และนี้ภาพเขียนจากจีนเหล่านี้... เข้ามาตีตลาดด้วย... ยิ่งไปกันใหญ่

แต่จะทำอย่างไรปีๆ หนึ่งช่างเขียนภาพไทยจะได้เป็นศิลปินผู้ยิ่งใหญ่แค่คนสองคน... คนร่ำรวยก็มุ่งที่จะไปเก็บสะสมงานศิลปินผู้ยิ่งใหญ่ และยิ่งทำให้งานเขามีราคา ศิลปินผู้ยิ่งใหญ่จึงยิ่งยิ่งใหญ่ส่วนช่างเขียนเดินดินอีกหน่อยคงเดินจมดิน...

ส่วนช่างภาพเดินดินก็คงต้องปากกัดตีนถีบต่อไป...



 

โดย: bite25 8 มกราคม 2552 10:08:05 น.  

 

ใช่เลย สมัยเด็กๆ เรามักวาดรูปวิว
มีท้องฟ้า ภูเขา กระท่อม ต้นไม้ ทางเดิน สวนดอกไม้

รูปของคุณย้อนอดีตได้จริงๆ


 

โดย: ยายเก๋า (ชมพร ) 8 มกราคม 2552 11:15:22 น.  

 

ขอบคุณสำหรับภาพวาดฝีมือจขบ.ที่เอามาให้ดูนะคะ

ภาพตลาดน้ำนี่ก็งามมากค่ะ...ละเอียดมาก

เรือแต่ละลำ แม่ค้าแต่ละคน...เก็บได้เยอะดีจริง...

ดูคับคั่ง มีชีวิตชีวามากค่ะ...

 

โดย: ทากชมพู 8 มกราคม 2552 17:36:58 น.  

 

+ โอ้! ภาพเขียนไทยๆ ในอารมณ์ย้อนยุค ช่างงามตาดีแท้ ... ขอสวัสดีปีใหม่แด่คุณ Insignia_Museum ย้อนหลังด้วยครับ มีความสุขมากๆ ครับผม

 

โดย: บลูยอชท์ 8 มกราคม 2552 17:38:54 น.  

 

ยังงดงมากค่ะ
ยิ่งบันทายสรีภาพแกะสลักสวยมากคมชัด



 

โดย: Fullgold 10 มกราคม 2552 0:11:16 น.  

 

สวย...ทำให้คิดถึงสมัยเด็กๆครับ

 

โดย: ค่ำคืนหน้าหนาว 10 มกราคม 2552 0:40:08 น.  

 

มาดูภาพสวยๆอีกที
ชอบค่ะ ไม่นึกว่าคนชอบเรื่องราววิชาการแบบนี้ อีกมุมก็เป็นศิลปินด้วย

......................
ว่าแต่...จขบ.วาดแต่สีน้ำมันเหรอคะ

วาดไว้เยอะมั้ย...

แล้วเคยวาดภาพสีน้ำบ้างหรือเปล่าคะ....

 

โดย: ทากชมพู 10 มกราคม 2552 8:08:12 น.  

 

เห็นภาพแล้วนึกถึง ส.ค.ส. สมัยเด็ก ๆ จริง ๆ น่ะแหละค่ะ เลยอดสงสัยไม่ได้ว่า คุณ Insignia Museum สะสมโปสการ์ดเก่า ๆ รึป่าวคะเนี่ย

 

โดย: Oops! a daisy 10 มกราคม 2552 8:32:56 น.  

 

สวัสดีปีใหม่ค่ะ
คงไม่เชยไปหน่อย ที่มาสวัสดีเอาเกือบกลางเดือนใหม่ของปีใหม่เข้าไปแล้ว ย้อนเวลาอารมณ์เหมือนบล็อกย้อนยุคของคุณ Insigniaฯ เลยนะคะ

ภาพสวยได้ใจค่ะ
ได้เห็นคุณค่าของอะไรหลายอย่างที่เรามองผ่านไป
มองข้าม..ด้วยซ้ำในบางกรณี

อารมณ์ของภาพที่สวยงามสงบนิ่งอย่างนั้นจะยังมีอยู่ในชนบทไทยวันนี้หรือไม่ สงสัยเหมือนกันนะคะ
แต่อย่างน้อย ภาพที่เห็นก็บอกว่า เคยมี..

ทุกสิ่งในชีวิตมีการเปลี่ยนแปลงเสมอ
ขอให้มีความสุข มีสติรับกับการเปลี่ยนแปลงได้
ทั้งในปีนี้ วันนี้ และทุก ๆ วันต่อจากนี้ค่ะ

ขอบคุณสำหรับภาพ ข้อความ และการระลึกถึงผ่านบล็อกอย่างสม่ำเสมอค่ะ

สวัสดีปีใหม่อีกครั้งค่ะ

 

โดย: kangsadal 10 มกราคม 2552 8:37:30 น.  

 

ขอบคุณมากค่ะ ชอบจังเลย ได้ความรู้ด้วย
กลับมาอ่านหลายอันเลย
จำได้แล้วที่เป็นบล็อกเครื่องหมายๆนี่เอง
บล็อกคุณดีจังเลยค่ะ พลาดไปได้ไงเรา
แหะๆน่าได้รางวัลบล็อกศิลปะแทนเราด้วยนะคะ จริงๆค่ะ

 

โดย: ยิปซีสีน้ำเงิน 10 กุมภาพันธ์ 2552 10:32:04 น.  

 

ตามมาดูภาพตลาดน้ำค่ะ

รายละเอียดสวยจัง
ชอบระลอกคลื่นจากพาย และเงาในน้ำ
ดูมีชีวิตชีวามากเลยค่ะ

 

โดย: HoneyLemonSoda 28 กุมภาพันธ์ 2552 21:42:00 น.  

 

ขอชมภาพด้ยคนค่ะ

 

โดย: ป้ามด 9 กุมภาพันธ์ 2553 9:44:28 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


Insignia_Museum
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 66 คน [?]




ความตั้งใจในการทำบล็อกเปลี่ยนไปตามกาลเวลา เริ่มต้นด้วยการเขียนถึงถิ่นที่อยู่ในวัยเด็ก ต่อมาเป็นเรื่องเครื่องหมายต่างๆ เรื่องศิลปะ ภาพถ่ายในยุคก่อนๆ อาหารการกิน และอะไรต่อมิอะไรที่ประสบพบเห็น สนใจอะไรขึ้นมาก็อยากรู้ให้มากขึ้น กลุ่มเนื้อหาจึงแตกแขนงไปเรื่อยๆ
New Comments
Friends' blogs
[Add Insignia_Museum's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.