Group Blog
 
<<
กันยายน 2555
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30 
 
4 กันยายน 2555
 
All Blogs
 

มะเฟือง กลับมาเฟื่องอีกครั้ง



ผมรู้จักมะเฟืองตั้งแต่เด็กๆ ในโรงเรียนชั้นประถม คุณยายแก่ๆเอามาขาย คงไม่ใช่ปลูกเพื่อการค้าแน่ๆ เพราะในสมัยนั้นไม่เคยมีสวนมะเฟืองอยู่ในมโนภาพ น่าจะเป็นต้นไม้ที่ปลูกไว้เพื่อเก็บผลไว้กินเล่นมากกว่า

เว้นมาหลายสิบปี มะเฟืองที่หายหน้าหายตาไป เริ่มกลับมาให้เห็นมากขึ้น หาซื้อได้ตามตลาดสดทั่วไป มันเป็นผลไม้ที่แปลก หากหั่นมาในจานเป็นรูปดาวห้าแฉก เท่าไหร่เท่ากัน บางที ๓-๔ ผลก็ยังไม่รู้สึกอิ่ม

ระยะหลังๆมานี้ มะเฟืองขึ้นโต๊ะอาหรของผม เบียดผลไม้ชนิดอื่นชิดซ้ายไปเลย เมื่อเห็นความอวบอิ่มของมะเฟือง ก็เชื่ออยู่ในใจว่าน่าจะมีประโยชน์ต่อร่างกายมากกว่าโทษ

แต่พอลงมือค้นคว้าจะเขียนเรื่องมะเฟือง ไปพบว่าสารเคมีบางตัวจากมะเฟืองอาจทำให้ไตมีปัญหาได้ เล่นเอาแฟนพันธุ์แท้ของมะเฟืองอย่างผมวิตกจริตไปพักหนึ่ง

ข้อมูลจาก สสส. สำนักงานกองทุนส่งเสริมสุขภาพ เขาบอกว่า (ตัวอักษรสีน้ำเงิน)

....ผลการศึกษาปัจจัยการเกิดโรคไต พบว่าขึ้นอยู่กับชนิดมะเฟือง..มะเฟืองเปรี้ยวมีโอกาสเกิดโรคมากกว่ามะเฟืองชนิดหวาน เนื่องจากมีปริมาณกรดออกซาลิคมากกว่า "ถ้ารับประทานผลสดหรือผลไม้คั้น จะมีโอกาสเกิดโรคมากกว่า แต่ถ้าผ่านการดอง หรือแปรรูปหรือเจือจางในน้ำเชื่อม เช่น...ในน้ำมะเฟืองสำเร็จรูป จะทำให้ปริมาณออกซาเลตลดน้อยลง"

ปริมาณที่รับประทาน พบว่าระดับออกซาเลต ที่เป็นพิษต่อร่างกายมีค่าตั้งแต่ 2-30 กรัมของปริมาณออกซาเลต...ผลมะเฟืองเปรี้ยวมีออกซาเลต ประมาณ 0.8 กรัม ในขณะที่มะเฟืองหวานมีออกซาเลต 0.2 กรัม สำหรับผู้ป่วยที่มีโรคไตอยู่เดิมอาจมีไตวายเฉียบพลัน จากการรับประทานมะเฟืองเพียงเล็กน้อย

นอกจากนี้ ระดับความรุนแรงยังขึ้นอยู่กับภาวะพร่องหรือขาดน้ำ จากการรายงานผู้ป่วยที่มีภาวะไตวายหลังรับประทานมะเฟือง พบว่าผู้ป่วยดื่มน้ำมะเฟืองหลังจากการทำงานหนักหรือสูญเสียเหงื่อมาก จะยิ่งมีโอกาสเกิดโรคมากขึ้น เนื่องจากผลึกแคลเซียมออกซาเลตจะอิ่มตัว และตกผลึกง่ายขึ้นในเนื้อไต



อ่านแล้วชักใจคอไม่ดี จึงหาข้อมูลเพื่อสนับสนุนการกินมะเฟืองบ้าง ได้ข้อมูลจากเว็บหมอชาวบ้านค่อนข้างละเอียด ขอเอามาเพียงบางส่วนที่เพียงพอจะเฉลยความสงสัย ตามนี้ครับ (อักษรสีฟ้าทั้งหมด)

สายพันธุ์มะเฟือง

ต้นมะเฟืองมีรูปทรงสวยงาม ปลูกเป็นไม้ประดับก็ได้ หรือปลูกเป็นไม้เก็บผลก็ดี
ประเทศไทยปลูกมะเฟืองกันหลายสายพันธุ์ ได้แก่


มะเฟืองเปรี้ยว เป็นพันธุ์ดั้งเดิมของประเทศไทย มีทั้งชนิดผลใหญ่และเล็ก


มะเฟืองพันธุ์ไต้หวัน ขนาดผลใหญ่พอประมาณ กลีบผลบาง ขอบบิด มีรสหวาน


มะเฟืองพันธุ์กวางตุ้ง มีสีขาวนวล ขอบกลีบผลสีเขียว มีรสหวาน


มะเฟืองพันธุ์มาเลเซีย ผลมีขนาดใหญ่ เนื้อฉ่ำน้ำ น้ำหนักมาก มีรสหวานอมเปรี้ยว
มะเฟืองสามารถกินเป็นผลไม้ก็ได้ ปรุงเป็นกับข้าวก็ดี
การกินมะเฟืองของคนไทยมีหลายรูปแบบ เช่น กินผลมะเฟืองสด ใช้เป็นเครื่องเคียงอาหาร (เครื่องเคียงแหนมเนือง) หรือจะแปรรูปเป็นน้ำผลไม้

ใบอ่อนของมะเฟืองกินเป็นผักได้


ที่ต่างประเทศนำมะเฟืองมาปรุงอาหารและเครื่องดื่มหลายชนิด พบทั้งเป็นส่วนประกอบในสลัดกุ้งก้ามกราม เป็นเครื่องเคียงอาหารเนื้อสัตว์ (ปลา หมู ไก่) ใช้แทนสับปะรดในอาหารจำพวกผัดผัก และเมนูอาหารอบ ปรุงผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ เช่น ทำแยม ทาร์ตและเค้ก และพบในเครื่องดื่มต่างๆ

สรรพคุณทางยา
ภูมิปัญญาไทยมีการใช้มะเฟืองสืบทอดกันมา ดังนี้

ผลมะเฟือง ดับกระหาย แก้ร้อนใน ลดความร้อนภายในร่างกาย บรรเทาอาการของนิ่วในทางเดินปัสสาวะ ขับเสมหะ ใช้ขจัดรังแค บำรุงเส้นผม ช่วยให้เลือดแข็งตัวง่าย ช่วยระงับความฟุ้งซ่าน ช่วยให้หลับง่ายขึ้น และบรรเทาอาการเลือดออกตามไรฟัน


ใบและราก ปรุงกินเป็นยาดับพิษร้อน แก้ไข้ ใบสดตำใช้พอกตุ่มอีสุกอีใสและกลากเกลื้อน
ใบต้มน้ำอาบแก้ตุ่มคัน

ใบอ่อนและรากมะพร้าว ผสมรวมกันต้มดื่มแก้ไข้หวัดใหญ่

แก่นและราก ต้มกินแก้ท้องร่วง แก้เส้นเอ็นอักเสบ

ข้อควรระวัง

มะเฟืองมีกรดออกซาลิกสูง ผู้ป่วยโรคไตและผู้ป่วยที่ต้องฟอกไตไม่ควรกินมะเฟืองเพราะจะเกิดอาการข้างเคียงและเจ็บป่วยมากได้ นอกจากนี้แล้วมะเฟืองมีฤทธิ์ต้านการทำงานของเอนไซม์ไซโทโครม พี 450 ซึ่งมีหน้าที่ในการกำจัดยาหลายชนิด เชื่อว่าโพรไซยาไนดินบี 1 และบี 2 และ/หรือโมเลกุล 3 ซึ่งประกอบด้วยคาทีชินและ/หรืออีพิคาทีชินเป็นสารที่ออกฤทธิ์ดังกล่าว ผู้ป่วยที่กินยาลดไขมันและยาคลายเครียดตามคำแนะนำแพทย์จึงไม่ควรบริโภคมะเฟือง

ประโยชน์ต่อสุขภาพ

มะเฟืองมีคุณสมบัติในการต้านออกซิเดชันสูง มีสารกลุ่มโพลีฟีนอลซึ่งมีฤทธิ์ต้านออกซิเดชันมาก สารสำคัญในกลุ่มนี้ที่พบในมะเฟือง ได้แก่ กรดแอสคอบิก อีพิคาทีชิน และกรดแกลลิกในรูปของแกลโลแทนนิน

สารสำคัญที่แสดงฤทธิ์ต้านออกซิเดชันจากมะเฟือง คือ โพรแอนโทไซยาไนดินในรูปของโมเลกุลคู่ โมเลกุล 3 4 5 (dimers, trimers, tetramers and pentamers) ของคาทีชินหรืออีพิคาทีชิน


นอกจากนี้ มะเฟืองมีวิตามินซีมาก บรรเทาโรคเลือดออกตามไรฟัน มะเฟืองมีปริมาณพลังงาน น้ำตาลและเกลือโซเดียมต่ำ เหมาะกับการกินเพื่อควบคุมน้ำหนัก คุมน้ำตาลในเลือด หรือลดความอ้วน มีกรดผลไม้มาก ใช้เป็นส่วนผสมของเครื่องสำอางชำระล้างผิวกายและป้องกันการเกิดสิว


ฤทธิ์ลดน้ำตาลและสร้างไกลโคเจน


งานวิจัยจากประเทศบราซิลในปีนี้พบว่าอนุพันธ์กลูโคไพแรนโนไซด์ของเอพิจีนิน (apigenin-6-C-beta-l-fucopyranoside) ที่ได้จากผลมะเฟืองมีผลทันทีในการลดน้ำตาลในเลือดของหนูที่เป็นเบาหวาน ไกลโคไซด์ดังกล่าวกระตุ้นการหลั่งอินซูลินชนิดที่ถูกกระตุ้นโดยกลูโคส และมีผลในการสังเคราะห์ไกลโคเจนในกล้ามเนื้อ soleus

ผลในการสังเคราะห์ไกลโคเจนในกล้ามเนื้อถูกยับยั้ง เมื่อมีการใช้สารยับยั้งการส่งผ่านสัญญาณสู่อินซูลิน (insulin signal transduction inhibitor) ฟลาโวนอยด์จากมะเฟืองจึงมีฤทธิ์เป็นทั้ง antihyperglycemic (insulin secretion) และ insulinomimetic (glycogen synthesis)

เส้นใยอาหารจากมะเฟือง

งานวิจัยจากไต้หวันพบว่าเนื้อผลของมะเฟืองมีปริมาณเส้นใยไม่ละลายน้ำสูง ส่วนใหญ่เป็นเพ็กทินและเฮมิเซลลูโลส เส้นใยเหล่านี้มีค่าทางเคมีและกายภาพ ได้แก่ ค่าการอุ้มน้ำ คุณสมบัติในการบวม การแลกเปลี่ยนสารมีประจุ สูงกว่าค่าที่ได้จากเซลลูโลส ปัจจัยดังกล่าวทำให้เส้นใยมะเฟืองมีความสามารถในการดูดซับกลูโคส และลดการทำงานของเอนไซม์อะไมเลส จึงน่าจะช่วยคุมปริมาณน้ำตาลในเลือดหลังอาหารได้

งานวิจัยดังกล่าวจึงแนะนำให้ใช้เส้นใยจากผลมะเฟืองเป็นสารพลังงานต่ำที่ทำให้อิ่มเร็ว ใช้กินโดยตรงหรือเข้าสู่กระบวนการผลิตเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารก็ได้

จึงขอแนะนำผู้ป่วยเบาหวานและผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนักให้เลือกกินมะเฟืองผลไม้อุดมค่าชนิดนี้


คนที่มีสุขภาพดีอยู่แล้วก็น่าจะเพิ่มคุณค่าของมะเฟืองเป็นรายการผลไม้ประจำวันได้เพราะมะเฟืองให้ผลตลอดปี

และอีกข้อมูลหนึ่ง  จากเว็บไซต์ของสำนักโภชนา กรมอนามัย ไม่เคยพูดถึงมะเฟืองว่ามีกรดออกซาเลตมากมายแต่อย่างใด และไม่พูดถึงมะเฟืองเลย ตามนี้ครับ

ปริมาณ  Oxalic  acid  ในผักต่างๆ

ชื่อ                       Oxalic  acid (มก. / 100 กรัม)

กระชาย                         223.2
ขิงอ่อน                             38.0 
คึ่นช่าย                              7.7 
 คูณ                                93.2 
 ดอกกุยช่าย                     3.6 
 ดอกแค                             8.8 
 ดอกโสน                         11.3 
 ตะไคร้                            21.8 
 แตงกวา                           1.1 
 แตงร้าน                            2.9 
 ตำลึง                                8.0 
 ต้นหอม                            5.3 
 ถั่วฝักยาว                      35.0 
 ใบกระเจี๊ยบ                 389.5 
ใบชะพลู                    1,088.4 
ใบชะมวง                        45.4 
 ใบทองหลาง                    4.3 
 ใบบัวบก                           7.5 
 ใบแมงลัก                       56.7 
 ใบยอ                           387.6 
 ใบสะระแหน่                   14.8 
 ใบโหระพา                   128.1 
 บวบเหลี่ยม                      3.1 
 บวบหอม                          2.3  
ผักกะเฉด                        36.3 
 ผักกาดขาว                      6.5 
 ผักกาดหอม                     7.4  
ผักคะน้า                           7.5 
ผักชีฝรั่ง                           5.6 
 ผักตับเต่า                    165.6 
 ผักบุ้งขาว                     22.5 
 ผักบุ้งจีน                        57.5 
 ผักปัง                          385.3 
 ผักหวาน                       56.8 
 ฝักกระเจี๊ยบ                  11.9 
 พังพวย                        243.9 
 พริกขี้หนู (เม็ดใหญ่)     47.3  
พริกชี้ฟ้าเขียว                 8.6 
 พริกชี้ฟ้าแดง                  7.6 
 ฟักทอง                           5.2 
 แฟง                               24.2 
 มันแกว                          37.6 
 มันเทศ (แดง)              229.9 
 มะเขือไข่เต่า                 29.9 
 มะเขือเทศลูกเล็ก           4.6 
 มะเขือยาว                      5.0 
 ยอดกระถิน                   51.0 
 ยอดแค                         94.8 
 ยอดพริกชี้ฟ้า             761.7 
 ยอดมะม่วงอ่อน          185.3 
 สายบัว                         73.6

ปริมาณ Oxalic acid  ในผลไม้

ชื่อ                           Oxalic  acid (มก. / 100 กรัม)

กล้วยไข่                      109.3 
เผือก                              7.1 
พุทรา                          107.4 
สัปปะรด                      137.2

ปริมาณ  Oxalic  acid  ในผักต่างประเทศ

ชื่อ                             Oxalic  acid (มก. / 100 กรัม) 

ผักโขม  (Amaranth)       1,090
ผักโขม  (Spinach)            970
หน่อไม้ฝรั่ง (Asparagus)  130
บรอคโคลี่ (Broccoli)         190
ผักกาด (Cabbage)           100
แครอท (Carrot)                 500
มันสำปะหลัง (Cassava) 1,260
ดอกกะหล่ำ (Cauliflower) 150

มะเขือ (Eggplant)              190
กระเทียม (Garlic)               360
ผักชีฝรั่ง (Parsley)          1700
หัวไชเท้า (Radish)            480
ผักกระเฉด (Watercress)  3 10
มันฝรั่ง (Sweet potato)     240
มะเขือเทศ (Tomato)           50

แล้วอย่างนี้ การกินมะเฟืองที่มีกรดออกซาลิกผลละประมาณ 200 มก.  (บางข้อมูลบอกว่าใน ๑๐๐ กรัมของมะเฟืองมีกรดออกซาลิกไม่ถึง ๑๐๐ มก.) กับการกินใบชะพู ที่มีกรดออกซาลิค 1088 มก. ต่อ ๑๐๐ กรัม หรือสับปะรด พุทรา กล้วยไข่ อย่างไหนควรต้องบันยะบันยันกว่ากัน




 

Create Date : 04 กันยายน 2555
23 comments
Last Update : 10 พฤษภาคม 2557 20:54:43 น.
Counter : 10680 Pageviews.

 

นับครั้งได้เลยว่าตั้งแต่เด็กจนโตกินมะเฟืองไม่ถึง 5 ครั้งได้มั้้งค่ะ

เพราะไม่ชอบของเปี้ยว

++++++++++

พรุ่งนี้วิ่งมาใหม่ค่ะ

 

โดย: โอน่าจอมซ่าส์ 4 กันยายน 2555 20:16:23 น.  

 

มาแก้คำผิดค่ะ เปรี้ยว

 

โดย: โอน่าจอมซ่าส์ 4 กันยายน 2555 20:31:53 น.  

 

บันทึกการโหวตเรียบร้อยแล้วค่ะ



บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
Insignia_Museum Diarist ดู Blog

ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 3 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น

+++++++++

ทานสดๆเลยหรือมีจิ้มพริกกะเกลือค่ะ

 

โดย: โอน่าจอมซ่าส์ 5 กันยายน 2555 0:31:18 น.  

 

สวัสดีค่ะคุณอืม
เดี๋ยวนี้หาทานยาก มีใส่ในแหนมเนือง

บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
ทองกาญจนา Travel Blog ดู Blog
ปรัซซี่ Food Blog ดู Blog
Insignia_Museum Diarist ดู Blog

ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 3 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น

 

โดย: pantawan 5 กันยายน 2555 1:52:50 น.  

 

ผมเองก็เพิ่งทราบครับว่ามะเฟืองมีกรดออกซาลิกสูง บ้านผมไม่มีมะเฟืองครับ แต่บ้านนอกในอดีตมี คนก็ไม่ค่อยกินกันหรอก สุกเหลืองร่วงเต็มต้น ผมเพิ่งรู้จักกินน้ำมะเฟืองตอนอายุมากแล้ว ปั่นแล้วกรองกากออก ทำกินเอง รู้สึกมันอร่อยดีมีวิตามินซีสูง ก็แค่นี้

แต่มะเฟืองหวานที่เขาขายกันผลโตๆราคาไม่ได้ถูกเลยนะคุณอิม ปอกเปลือกนอกออก หั่นเป็นรูปดาว แช่ตู้เย็นอร่อยสุดไปเลย

 

โดย: ปลายแป้นพิมพ์ 5 กันยายน 2555 6:18:41 น.  

 

เราไม่ได้ทานประจำทุกวัน

ทานโน่นนี่ให้ได้อาหารหลายหลากน่าจะดีนะคะ

ปลอบใจตัวเองที่ชอบทานแหนมเนืองค่ะ

 

โดย: tuk-tuk@korat 5 กันยายน 2555 11:12:17 น.  

 




More Wednesday Comments

--------------------------
ฝนตกทั้งวันทั้งคืนเลย วันนี้เป้นหวัดเลยค่ะแต่ไม่มากเท่าไรทานยาสกัดไว้แล้ว ......งกลัวน้ำท่วมจังเลยค่ะ น้ำในแม่น้ำขึ้นสูงแล้วด้วยที่อ่างทอง คิดถึงอยู่เสมอค่ะคุณIM

 

โดย: เกศสุริยง 5 กันยายน 2555 13:46:11 น.  

 

ชอบมากๆเลยค่ะ เป็นผลไม้ที่หาทานค่อนข้างยากนิดนึงค่ะ
ถ้าเห็นเป็นต้องซื้อมาทานทุกครั้งเลยค่ะ เคล็ดลับของความงามเลยค่ะ 555
แวะมาทักทายคุณอิมยามเย็น มีความสุขมากๆนะคะ ^_^

 

โดย: andrex09 5 กันยายน 2555 16:40:38 น.  

 

วันนี้มาโหวตค่ะ

Insignia_Museum Diarist ดู Blog

 

โดย: tuk-tuk@korat 6 กันยายน 2555 10:12:38 น.  

 

ขอขอบคุณข้อมูลที่เป็นประโยชน์มากค่ะ
เพราะโดนใจเหมือนกันค่ะ
ที่บ้านก็ชอบทานมะเฟืองกัน
แต่ก็ไม่ซื้อทานกันบ่อยๆ
เพราะคุณแม่บอกทานมากเลือดจะจาง
แต่หนูว่าทุกอย่างนั่นแหละค่ะ
มากไปก็ไม่ดีทั้งนั้นนะคะ

 

โดย: hellojaae (hellojaae ) 6 กันยายน 2555 13:15:40 น.  

 



แวะมาทักทายคุณอิม และโหวตให้ด้วยค่ะ ^_^

 

โดย: andrex09 6 กันยายน 2555 13:30:11 น.  

 

อ่านตอนแรกก็ตกใจเพราะกำลัง
ได้ยินความนิยมของการทานมะเฟือง
ในกลุ่มเพื่อน แต่อ่านตอนท้ายแล้ว
ค่อยยังชั่วหน่อยค่ะ อ้าว....พูดเหมือน
กันเลย

 

โดย: AppleWi 6 กันยายน 2555 14:09:54 น.  

 

บ้านผมปลูกมะเฟือง แต่ไม่เคยกินเลยครับ ไม่ชอบรสชาติของมัน

 

โดย: คุณต่อ (toor36 ) 6 กันยายน 2555 23:48:03 น.  

 

บ้านผมปลูกมะเฟือง แต่ไม่เคยกินเลยครับ ไม่ชอบรสชาติของมัน

+

 

โดย: คุณต่อ (toor36 ) 6 กันยายน 2555 23:48:21 น.  

 

สวัสดีค่ะคุณอิม
แวะมาเยี่ยม อยากทานมะเฟือง
แต่ก่อนที่บ้านย่าก็มี ยังได้ทานตอนเด็กๆ เดี๋ยวนี้หาทานยาก ไม่เคยเห็นขายมีเลย

 

โดย: pantawan 7 กันยายน 2555 0:15:54 น.  

 



ค่ะคุณอิม ถ้าสถานที่นั้นไม่ได้เป็นแหล่งท่องเที่ยวมีทำหน้าตาให้กับจังหวัด หรือหน่วยงาน
ก็ไม่มีการดูแลเป็นพิเศษหรอกค่ะ ดิฉันอยากให้เห็นความเป็นจริงก็เลยถ่ายภาพแบบไม่ต้องจัดพร๊อบค่ะ 555
กลายเป็นเรื่องปกติไปแล้วค่ะ แต่ก็น่าเสียดายกับธรรมชาติสวยๆค่ะ ชุมชนไม่ช่วยกันแล้วใครจะมาช่วย
ผลที่ได้ก็คือชุมชนของพวกเค้าเองล่ะค่ะ แวะมาทักทายคุณอิมยามสายวันศุกร์ มีความสุขมากๆนะคะ ^_^

 

โดย: andrex09 7 กันยายน 2555 11:01:33 น.  

 

บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
Insignia_Museum Diarist ดู Blog
มัชชาร Fanclub Blog ดู Blog
โอน่าจอมซ่าส์ Travel Blog ดู Blog

ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 3 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น
---------------------
แวะมาส่งกำลังใจให้คุณIMค่ะ

 

โดย: เกศสุริยง 7 กันยายน 2555 14:58:25 น.  

 

ตั้งแต่เกิดมาทุกคนจะถูกปลูกฝังให้กินผัก ผลไม้ เยอะ ๆ ทั้งที่บางคนก็ไม่เคยรู้เลยว่า ในผัก ผลไม้ ที่กินเข้าไปนั้นมีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างไร หรืออาจจะมีสารอะไรบ้างที่เป็นพิษต่อร่างกาย

ท่านผู้อ่านรู้หรือไม่ว่า ผัก ผลไม้ บางชนิดที่เรากินเข้าไปทุกวัน มี “กรดออก ซาลิก” อยู่หากเรากินเข้าไปในปริมาณ มาก ๆ มันอาจจะไปจับกับแคลเซียม ทำให้เกิดนิ่วได้

เกี่ยวกับเรื่องนี้ นพ.กฤษดา ศิรามพุช ผอ.สถาบันเวชศาสตร์อายุร วัฒน์นานาชาติ กล่าวว่า ในผักต่าง ๆ จะมีกรดออกซาลิกมาก โดยเฉพาะ ยอดผัก ใบ หรือต้นอ่อน

กรดออกซาลิก มีอยู่ในผักหลายชนิด ได้แก่ ใบชะพลู ยอดพริกชี้ฟ้า ผักปลัง ผักโขม ผักชีฝรั่ง ผักกระเฉด หัวไชเท้า ใบโหระพา หน่อไม้ฝรั่ง บรอกโคลี ผักกาด แครอท มันสำปะหลัง ดอกกะหล่ำ มะเขือ กระเทียม

ในผักบางชนิดนอกจากจะมีกรดออกซาลิกมากแล้ว จะมีแคลเซียมอยู่ในตัวมันเองเยอะด้วย ก็ยิ่งจะรวมตัวกัน และทำให้เกิดนิ่วได้ง่ายขึ้น

ส่วนผลไม้ที่มีกรดออกซาลิก ได้แก่ สับปะรด กล้วยไข่ พุทรา

การกินผักและผลไม้ที่มีกรดออกซาลิก มาก ๆ มันจะไปจับกับแร่ธาตุตัวอื่น ๆ กลายเป็นผลึกออกซาเลต เช่น จับกับแคลเซียม ก็จะกลายเป็น แคลเซียมออกซาเลต จับกับโซเดียม ก็จะกลายเป็น โซเดียมออกซาเลต

กรดออกซาลิกจะชอบไปจับแคลเซียม ทำให้เกิดแคลเซียมออกซาเลตได้ง่าย ยิ่งในปัจจุบันคนชอบกินแคลเซียมเม็ด กรดออกซาลิกก็จะไปจับกับแคลเซียมที่กินเข้าไป หรือไปจับกับแคลเซียมในกระดูก ทำให้เกิดผลึกนิ่ว กระดูกงอก กระดูกย้อย พอกระดูกของคนเราถูกดึงแคลเซียมออกไป กระดูกก็จะพรุนง่าย ทำให้มีหินปูนงอกตามเนื้อเยื่อต่าง ๆ เอกซเรย์แล้วอาจจะเจอกระดูกงอกตรงนั้นตรงนี้ กลายเป็นก้อนนิ่วเลยก็ได้

ความจริงร่างกายสามารถขับกรดออกซาลิกออกมาทางปัสสาวะได้ แต่ในคนที่มีปัญหาเรื่องไต ไม่ควรกินเพราะร่างกายจะไม่สามารถขับกรดออกซาลิก ออกมาได้หรือขับออกมาได้น้อย ทำให้เกิดนิ่วในไต หรือกระเพาะปัสสาวะได้ คนที่กินแคลเซียมเม็ด ก็ไม่ควรกินผักที่มีกรดออกซาลิก หรือถ้ากินผักที่มีกรดออกซาลิก ก็ไม่ควรกินร่วมกับอาหารที่มีแคลเซียม เพราะอาจจะเพิ่มความเสี่ยงขึ้นได้

ดังนั้นการกินผัก ผลไม้ ที่มีกรดออกซาลิก ไม่ควรกินในปริมาณที่มากเป็นกิโลกรัม หรือกินติดต่อกันเป็นเวลานาน หรือกินร่วมกับอาหารที่มีแคลเซียม

อย่างไรก็ตามผัก และผลไม้ ที่กล่าวมา แม้จะมีกรดออกซาลิก ที่อาจเป็นโทษต่อร่างกาย แต่ประโยชน์ด้านอื่นก็มีเช่นกัน เช่น มีวิตามิน แร่ธาตุที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย หรือมีคลอโรฟิลล์เยอะ ซึ่งคลอโรฟิลล์จะช่วยนำสารอาหารเข้าไปในร่างกาย ช่วยชะลอเซลล์ที่เสื่อมได้ หลักสำคัญในการกิน คือ กินอาหารที่หลากหลาย ไม่ควรกินอะไรซ้ำ ๆ โดยเฉพาะยอดผัก มีสีเขียวจัด กลิ่นฉุน กลิ่นแรง.

ข้อมูลจากหนังสือพิมพ์เดลินิวส์

 

โดย: Insignia_Museum 9 กันยายน 2555 9:33:43 น.  

 

การหาปริมาณกรดออกซาลิกในผักพื้นบ้านชนิดต่างๆ โดยวิธีตกตะกอนแคลเซียมออกซาเลต โดยบุญมี นากรณ์

การวิจัยครั้งนี้ได้หาปริมาณกรดออกซาลิกในผักพื้นบ้าน จำนวน 20 ชนิด ได้แก่ กระถินบ้าน กระโดนป่า กระโดนน้ำ ผักพายเล็ก ผักเม็ก ผักบุ้งไทย ผักหนาม กระเจียวแดง ผักโขม ชะพลู ชะอม ผักติ้ว มะเขือลาย อีหล่ำ สะเดา ผักผ่อง ผักแพว กระเฉดน้ำ โหระพาและมะเขือยาว โดยเก็บตัวอย่างผักจำนวน 2 ครั้งห่างกัน 1 เดือน แล้วนำส่วนที่รับประทานได้ของผักสดตัวอย่างประมาณ 25 กรัม มาย่อยสลายด้วยกรดผสมเข้มข้นระหว่างกรดไนตริกและกรดไฮโดรคลอริก และตกตะกอนกับสารละลายแคลเซียมอะซีเตตอิ่มตัวที่ pH ประมาณ 8 ได้ตะกอนเกลือแคลเซียมออกซาเลต ละลายและทำตะกอนให้บริสุทธิ์ด้วยสารละลายกรดแอซิติก จะได้ตะกอนแคลเซียมออกซาเลต ละลายตะกอนด้วยกรดซัลฟุริกเข้มข้น และไตเตรตหา ปริมาณกรดออกซาลิกกับสารละลายมาตรฐานโปตัสเซียมเปอร์แมงกาเนต 0.01 M ผลปรากฏว่า ผักพื้นบ้านจำนวน20 ชนิด มีปริมาณกรดออกซาลิกแตกต่างกัน โดยผักกระโดนป่า มีปริมาณ กรดออกซาลิกเฉลี่ยสูงสุดคือ 2,923.14 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม ส่วนผักที่มีปริมาณกรดออกซาลิกเฉลี่ยรองลงมา ได้แก่ ผักติ้ว 2,262.94 ผักเม็ก 1,871.87 สะเดา 1,818.03 กระถินบ้าน 1,743.44 กระโดนน้ำ 1,702.67 และผักแพว 1,158.05 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม ซึ่งทั้งหมดมีปริมาณกรดออกซาลิกมากกว่า 1,000 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม ส่วนผักพื้นบ้านที่มีปริมาณกรดออกซาลิกเฉลี่ยต่ำกว่า 1,000 มิลลิกรัม 100 กรัม โดยเรียงลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ ผักโขม ชะพลู อีหล่ำ กระเฉดน้ำ โหระพา กระเจียวแดง ชะอม ผักบุ้งไทย มะเขือยาว ผักหนาม ผักพายเล็ก ผักผ่อง และมะเขือลาย โดยมีปริมาณกรดออกซาลิกเฉลี่ย 912.35, 751.15, 682.73, 549.60, 416.22, 408.58, 327.02, 296.47, 251.65, 224,68, 200.91, 89.79 และ 89.27 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม ตามลำดับ

 

โดย: Insignia_Museum 22 กันยายน 2555 23:25:00 น.  

 

ผักพื้นเมืองภาคกลางและภาคตะวันตกที่ได้ตรวจหาผลึกแคลเซียมออกซาเลททั้งหมด 51 ชนิด แบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่มีผลึกมาก ปานกลาง และน้อย

กลุ่มที่มีผลึกมาก ได้แก่ กระสัง กระทือ ขิง ขมิ้นขาว แขยง คัดเค้า บอน ผักปราบ ปอกระเจา ผักเป็ดแดง แพงพวย พลูคาว พริกขี้หนู แสงจันทร์ และ อทก

กลุ่มที่มีผลึกปานกลาง ได้แก่ กลอย โกสน ขี้เหล็กป่า ผักหนาม ผักเป็ดขาว มะม่วงหิมพานต์ มันเทศ มะตูม มะรุม เล็บครุฑใบใหญ่ เหลียง สลิด สะเดา และ หูเสือ

กลุ่มที่มีผลึกน้อย ได้แก่ กระเม็ง กระดอม กระถิน ขี้เหล็กบ้าน ชะอม ดาวกระจาย ตำลึง ถั่วพู ถั่วพร้า ถั่วพุ่ม ผักกาดน้ำ ผักคราดหัวแหวน ผักบุ้งน้ำ กระโดนน้ำ ผักกูดขาว ผักคึก (กระท้อน) ผักแป้น มันสำปะหลัง มหากาฬ มะขาม มันต่อเผือก ฟักทอง

ผักที่อยู่ในกลุ่มที่มีปริมาณผลึกแคลเซียมออกซาเลทมากแสดงว่ามีสารออกซาเลทสูง จึงไม่ควรรับประทานเป็นจำนวนมากหรือบ่อยครั้ง และควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีแคลเซียมสูงในมื้อนั้นๆ ด้วย เช่น นม หรือผลิตภัณฑ์จากนม ถึงแม้ว่าผักที่อยู่ในกลุ่มมีผลึกมาก เช่น ผักโขม และชะพลู (กัญจนา และภัทรียา, 2540) มักจะมีปริมาณแคลเซียมเป็นจำนวนมาก (341 มิลลิกรัม และ 298 มิลลิกรัมต่อผักสด 100 กรัม) (นิรนาม, 2541) แต่ก็อยู่ในรูปของแคลเซียมออกซาเลท ซึ่งร่างกายไม่สามารถนำไปใช้ได้ (Will et al., 1984) หากจะรับประทานผักที่มีปริมาณผลึกมากและปานกลาง ควรรับประทานร่วมกับอาหารที่ให้โปรตีนสูง เช่น เนื้อสัตว์ ถึงเมล็ดแห้งต่างๆ หรืออาหารที่ให้ฟอสฟอรัสสูง เช่น เมล็ดแตงโม หัวมันเทศ (นิรนาม, 2544) ในขณะเดียวกันก็ควรมีกรดซิตริคหรือกรดมะนาวเข้าร่วมด้วย เพราะเกลือฟอสเฟตและเกลือซิเดรทจะเป็นตัวขัดขวางการรวมกลุ่มของผลึก หากผลึกไม่สะสมจนเป็นก้อนใหญ่ ร่างกายสามารถขับออกได้ทางปัสสาวะ และควร หลีกเลี่ยงอาหารที่มีกรดยูริคสูง เช่น สัตว์ปีก และผักบางชนิด เช่น แตงกวา หน่อไม้ ขี้เหล็ก ฯลฯ เพราะกรดยูริคจะเป็นตัวเร่งให้ผลึกรวมตัวกันได้เร็วขึ้น โอกาสการเป็นโรคนิ่วก็จะมากขึ้น (ดำรงพันธุ์ และคณะ, 2533) ได้มีการทดลองต้มผักโขมในน้ำเดือด 5 นาที ปรากฏว่าไม่พบการเปลี่ยนแปลงของผลึก (กัญจนา และภัทรียา, 2543) แต่มีรายงานว่ามีวิธีการลดปริมาณออกซาเลทในผักกะหล่ำชนิดหนึ่ง (skunk cabbage) ได้ โดยการนำไปต้มกับผงฟู (baking soda) หลายๆ ครั้ง (Garrett, 1997) วิธีนี้คงใช้กับผักบางชนิดไม่ได้ เพราะผักจะถูกต้มจนเปื่อยไม่น่ารับประทาน แต่การรับประทานผักพื้นเมืองส่วนใหญ่จะรับประทานกับน้ำพริกหรือแกงต่างๆ ซึ่งมีกะปิและกุ้งแห้งเป็นส่วนประกอบ ซึ่งมีโปรตีนที่สามารถทำให้ผลึกแตกตัวเล็กลง มีรายงานภูมิปัญญาชาวบ้านในการลดความคันของบอน โดยการนำมาต้มเคี่ยวจนเปื่อยใส่น้ำมะขามเปียกหรือใบส้มป่อยลงไปด้วย (นิรนาม, 2541) จะช่วยลดความคันลงได้ระดับหนึ่งอาจเป็นเพราะว่าบอนมีผลึกชนิดเข็ม ซึ่งปกติจะรวมตัวกันเป็นมัด (bundle of raphide) เมื่อผักเปื่อยผลึกอาจถูกทำให้แตกหักจึงลดความระคายเคืองลงได้เมื่อถูกสัมผัส แต่ความเสี่ยงในการเป็นนิ่วยังเป็นไปได้สูง หากรับประทานบ่อย ๆ หรือร่างกายอยู่ในสภาวะที่สนับสนุนการรวมกลุ่มของผลึก ดังนั้นการลดความเสี่ยงในการเป็นโรคนิ่วในทางเดินปัสสาวะ จึงต้องระมัดระวังในการบริโภคและบริโภคตามคำแนะนำ ถึงแม้ว่าการเกิดโรคจะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างแต่ถ้าระมัดระวังในการบริโภคผักที่มีออกซาเลทสูงได้ก็จะลดความเสี่ยงลงได้ระดับหนึ่ง

จากการศึกษาแคลเซียมออกซาเลทในผักโขมและใบหม่อนพันธุ์ต่างๆ พบว่า มีความแตกต่างในด้านปริมาณของผลึกในแต่ละสายพันธุ์ แสดงว่าเป็นลักษณะประจำพันธุ์ (กัญจนา และภัทรียา, 2543 และ 2545) แต่ควรศึกษาต่อไปอีกว่าถ้าเป็นผักชนิดเดียวกัน แต่ปลูกคนละภูมิประเทศหรือคนละภาคจะมีความแตกต่างกันหรือไม่

 

โดย: Insignia_Museum 22 กันยายน 2555 23:46:04 น.  

 

ในเรื่องเกี่ยวกับปริมาณออกซาเลตในพืชนี้ ข้อมูลของเว็บไซต์สำนักโภชนา กรมอนามัย เอาข้อมูลมาจาก USDA อีกทีครับ (ซึ่งเป็นเว็บเกี่ยวกับโภชนาการโดยเฉพาะของต่างชาติ ซึ่ง USDA น่าจะได้รับการยอมรับเรื่องความแม่นยำค่อนข้างสูงในระดับสากล) ซึ่งแน่นอนว่ากรมอนามัยไม่ได้ทำการวิเคราะห์เองแต่อย่างใดครับ

 

โดย: ธานิน IP: 182.53.162.93 13 มกราคม 2556 15:26:08 น.  

 

ขอบคุณครับคุณธานินที่มาช่วยให้ข้อมูล

 

โดย: Insignia_Museum 13 มกราคม 2556 18:09:34 น.  

 

ขอวิธีการทดลองหากรดออกซาลิกหน่อยค่ะ

 

โดย: yui IP: 183.89.16.202 7 ตุลาคม 2556 21:16:12 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


Insignia_Museum
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 66 คน [?]




ความตั้งใจในการทำบล็อกเปลี่ยนไปตามกาลเวลา เริ่มต้นด้วยการเขียนถึงถิ่นที่อยู่ในวัยเด็ก ต่อมาเป็นเรื่องเครื่องหมายต่างๆ เรื่องศิลปะ ภาพถ่ายในยุคก่อนๆ อาหารการกิน และอะไรต่อมิอะไรที่ประสบพบเห็น สนใจอะไรขึ้นมาก็อยากรู้ให้มากขึ้น กลุ่มเนื้อหาจึงแตกแขนงไปเรื่อยๆ
New Comments
Friends' blogs
[Add Insignia_Museum's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.