ชนะคนอื่นเป็นร้อย ยังไม่ยากเท่าชนะตนแค่คนเดียว...
ร่างกายของมนุษย์ตอน กระเพาะอาหาร (Stomach)


ภาพแสดงกระเพาะอาหารและการแบ่งส่วนต่างๆ ของกระเพาะอาหาร
ที่มา Agur AMR. and Lee MJ. Grant's atlas of anatomy 10th ed. Philadelphia: Wolters Kluwer, 1999: 235-250.

อธิบายภาพ
จากภาพ แสดงการแบ่งกระเพาะอาหารออกเป็นส่วนต่างๆ จะเห็นว่าที่ขอบของกระเพาะอาหารที่เป็น Lesser curvater จะมี Lesser omentum ซึ่งเป็น Ligament ยึดกระเพาะอาหารกับตับ และที่ขอบกระเพาะอาหารส่วน Greater curvater จะมี Greater omentum ห้อยอยู่ ซึ่ง Greater omentum นี้ทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้ลำไส้หรืออวัยวะภายในช่องท้องยึดติดกับผนังหน้าท้อง และทำหน้าที่ปกป้องในช่องท้องกรณีที่มีการอักเสบ หรือการทะลุของอวัยวะในช่องท้อง

กระเพาะอาหาร (Stomach)
    กระเพาะอาหาร (Stomach) เป็นอวัยวะที่ตั้งอยู่ในช่องท้องใต้กระบังลม ทางชายโครงด้านซ้ายมีรูปร่างคล้ายตัว J ปลายบนติดต่อกับหลอดอาหาร ปลายล่างติดต่อกับลำไส้เล็กส่วนต้น (Duodenum) รูปร่างและขนาดของกระเพาะอาหารสามารถเปลี่ยนแปลงและขึ้นอยู่กับ จำนวนของอาหารที่รับประทานเข้าไปและอวัยวะอื่นๆ ที่อยู่ใกล้เคียง ภายในกระเพาะอาหารมี Gastric fluid และ Mucin หล่อลื่นอยู่ตลอดเวลา
กระเพาะอาหารแบ่งออกเป็นส่วนๆ ดังนี้
    1. Cardia หรือ Fundus คือส่วนบนที่ต่อกับหลอดอาหาร
    2. Body คือส่วนกลางของกระเพาะอาหาร
    3. Pylorus คือส่วนปลายล่างของกระเพาะอาหารต่อกับส่วน Duodenum ของลำไส้เล็ก
        ช่องเปิดของกระเพาะอาหารมี 2 ช่อง คือ ช่องเปิดที่ปลายบนที่ติดต่อกับหลอดอาหาร เรียกว่า Cardiac opening และช่องเปิดที่ปลายล่างติดต่อกับส่วน Duodenum ของลำไส้เล็ก เรียกว่า Pyloric opening ที่ช่องเปิดทั้งสองจะมีกล้ามเนื้อรูปวงแหวนอยู่โดยรอบ เรียกว่า Sphincter ซึ่งทำให้ช่องปิดเมื่อกล้ามเนื้อหดตัว อาหารจึงถูกเก็บไว้ในกระเพาะอาหารได้


ที่มา Frederich H. Martini. Edwin F. Bartholomew. Essentials of anatomy and physiology. U.S.A., Prentice-Hall , Inc. 1997.

 กระเพาะอาหารมี 2 ริม (Curvatures) คือ
      1. ริมบนสั้น เรียกว่า Lesser curvatures มีรอยคอดเรียกว่า Angular notch
      2. ริมล่างยาว เรียกว่า Greater curvatures
          ที่ริมบนมีเยื่อ Peritoneum ขึงขึ้นไปถึง Liver เยื่อผืนนี้เรียกว่า Lesser omentum และที่ริมล่างมีเยื่อชนิดเดียวกันนี้ห้อยลงมามีลักษณะคล้ายม่านคลุมอยู่ข้างหน้าลำไส้ เรียกว่า Greater omentum

โครงสร้างของผนังกระเพาะอาหาร ประกอบด้วยเนื้อเยื่อ 4 ชั้น คือ
      1. ชั้นนอกสุด เรียกว่า Serous coat
      2. ชั้นที่สอง เป็นชั้นกล้ามเนื้อ (Muscular coat) จะเรียงตัวกันเป็น 3 ชั้น คือ ชั้นนอกสุดจะเรียงตัวกันเป็น Longitudinal layer ชั้นกลางเรียงตัวกันเป็นแบบ Circular layer ชั้นในสุดจะเรียงตัวกันเป็นแบบ Oblique layer ซึ่งจะช่วยในการหดตัวของกระเพาะอาหาร
      3. Submucous coat ในชั้นนี้ประกอบไปด้วยหลอดเลือดมากมาย
      4. Mucous coat ชั้นนี้หนาที่สุดเป็น Mucous membrane ปกคลุมด้วยเนื้อเยื่อชนิด Simple columnar epithelium มีลักษณะเป็นรอยย่น (Folds) เพื่อที่จะขยายได้เมื่ออาหารเต็มกระเพาะ และในชั้นนี้มี Gastric glands อยู่กระจายทั่วไปเป็นจำนวนมาก และมีรูเล็กๆ เป็นท่อมาเปิดที่พื้นของ Mucous membrane



ที่มา Todd R. Olson. A.D.A.M. Student atlas of anatomy. Williams & Wilkins A Warverly company. Canada. 1996.

ต่อมในกระเพาะอาหาร ( Gastric glands) มี 3 ชนิด คือ
     1. Cardiac glands มีหน้าที่ขับ Mucin
     2. Peptic glands ต่อมนี้ประกอบด้วยเซลล์ 3 ชนิด คือ
         ก. Chief cells ที่ทำหน้าที่หลั่ง Pepsinogen
         ข. Parietal cells ทำหน้าที่สร้างและหลั่งกรดเกลือ (HCL) รวมทั้ง Intrinsic factors ต่างๆ กรดเกลือมีหน้าที่ฆ่าแบคทีเรีย ที่ปะปนมากับอาหารทำให้อาหารไม่บูดเน่า หรือไม่เกิดการติดเชื้อขึ้น นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เป็นตัวกระตุ้นการเปลี่ยน Pepsinogen ให้เป็น Pepsin ที่ใช้ในการย่อยโปรตีนอีกด้วย
             Intrinsic factors เป็นสารประเภท Glycoprotein จะทำหน้าที่รวมกับ Vitamin B12 แล้วทำให้ vitamin B12 ถูกดูดซึมได้ดีที่ Ileum เพราะ Vitamin B12 เป็นสารที่มีความจำเป็นต่อการสร้างเม็ดเลือดแดง (RBC) โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเจริญของ Nucleus ถ้าขาด Intrinsic factor ในรายที่เป็นแผลในกระเพาะอาหารเรื้อรังมากๆ ก็จะทำให้ร่างกายขาด vitamin B12 ซึ่งจะทำให้เกิด โรคโลหิตจางชนิด Pernicious anemia ได้
         ค. Mucous neck cells ทำหน้าที่หลั่งน้ำเมือก (Mucous) ออกมาเคลือบกระเพาะอาหารเพื่อป้องกันการถูกย่อย
     3. Pyloric glands มีหน้าที่ขับ Pepsinogen และ Mucin
          ที่กระเพาะอาหารมี Vagus nerve ซึ่งเป็นทั้ง Motor nerve และ Secretory nerve และมี Intrinsic nerve plexus อยู่ในกระเพาะอาหาร โดยมี Symphathetic fibers ซึ่งมี Transmit pain fibers และส่ง Impulse ที่ห้ามไม่ให้กระเพาะอาหารผลิตน้ำย่อยด้วย


ที่มา Todd R. Olson. A.D.A.M. Student atlas of anatomy. Williams & Wilkins A Warverly company. Canada. 1996.

หน้าที่ของกระเพาะอาหาร
     1. เป็นที่เก็บกักอาหารก่อนที่จะส่งต่อผ่านไปยังลำไส้เล็ก (Storage of food) อาหารจะถูกย่อยและเปลี่ยนแปลงโดยกลวิธีต่างๆ จนกลายเป็นของเหลวเล็กน้อย เรียกว่า Chyme
     2. การเคลื่อนไหว (Gastric motility) เพื่อคลุกเคล้าอาหารให้สัมผัสกับน้ำย่อยและส่งอาหารที่อยู่ในสภาพของ Chyme ไปสู่ลำไส้เล็กเป็นระยะ ๆ ในอัตราเร็วที่พอเหมาะ ทั้งนี้เพื่อให้ลำไส้ได้มีโอกาสย่อยและดูดซึมได้ดี
     3. การขับน้ำย่อยในกระเพาะ (Gastric juice) ซึ่งเป็นน้ำใส มีคุณสมบัติเป็นกรด ความถ่วงจำเพาะ 1.002-1.003
สารคัดหลั่งของกระเพาะอาหาร
     1. กรดเกลือ(HCl) ผลิตมาจาก Parietal cell ที่แทรกใน Gastric glands ในรูปของ H+, Cl- ผ่านทาง Canaliculi
     2. สารเมือก (Mucous) ผลิตมาจาก Mucous cell ที่บุใน Gastric gland ตอนบน
     3. Pepsin หลั่งจาก Peptic cell หรือ Chief Cell
     4. Gastrin Hormon หลั่งจาก Gastric cell
การหลั่งของสารคัดหลั่งในกระเพาะอาหาร
     1. Cephalic Phase เกิดขึ้นก่อนที่อาหารจะลงสู่กระเพาะอาหาร โดยเกิดจากการเห็น การได้กลิ่น การรับรสของอาหาร หรือแม้แต่การคิดถึงอาหารที่ชอบ
     2. Gastric Phase เกิดขึ้นเมื่ออาหารตกลงไปในกระเพาะอาหาร จะไปกระตุ้น Long vagovagal reflexes, Local enteric reflexes และ Gastrin จากการที่อาหารไปทำให้ผนัง ของกระเพาะอาหารยืดออก
     3. Intestinal Phase เมื่ออาหารไปสู่ลำไส้เล็กส่วนต้น ก็มีการกระตุ้นการหลั่งน้ำย่อยโดย Gastrin hormone

         Nerve ที่มาสู่กระเพาะอาหาร ประกอบด้วย Sympathetic nerve จาก Celiac plexus ซึ่งทำหน้าที่ยับยั้งการขับ Secretion และการเกิด Peristalsis และแขนงของ Vagus nerve ซึ่งทำหน้าที่ขับ Secretion และกระตุ้นให้มี Peristalsis มากขึ้น
         หลอดโลหิต ที่มาสู่กระเพาะอาหาร ก็คือ Left gastric artery และแขนงของ Hepatic artery และ Spleenic artery ซึ่งแยกออกจาก Celiac artery

ที่่มา : //www.bcnlp.ac.th/Anatomy/page/apichat/digestive/page/stomach.html

Smileyขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมครับSmiley




Create Date : 13 กันยายน 2555
Last Update : 13 กันยายน 2555 11:02:34 น. 3 comments
Counter : 38633 Pageviews.

 
😈😈😈😈😈😈😈😈😈😈😈😈😈😈


โดย: ... IP: 119.42.85.237 วันที่: 5 มิถุนายน 2558 เวลา:11:43:35 น.  

 
wow


โดย: oooo IP: 171.96.218.148 วันที่: 2 พฤศจิกายน 2562 เวลา:14:06:14 น.  

 
ขอบคุณครับได้ประโยชน์มากๆ ขอทุกส่วนของร่างกายมนุษย์เลยนะครับ รุ้การทำงานก็ทำให้อยากดูแลร่างกายของเรามากขึ้น ไม่ตะบี้ตะบันใช้ในทางที่ผิด มอมเหล้า ลมควันให้อายุมันสั้นลง เดือดร้อนทั้งตัวเองและคนไกล้ตัว😬


โดย: Silhart IP: 125.26.172.231 วันที่: 1 ตุลาคม 2563 เวลา:20:38:09 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

kitpooh22
Location :
ตรัง Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 27 คน [?]




สวัสดีครับ
..............................
ขอบคุณที่มาเยี่ยมชม และมาเม้นให้ครับ



ขอบคุณครับ :-)
THX


วันเกิดบล็อก 25/5/2009
Google+
Group Blog
 
<<
กันยายน 2555
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30 
 
13 กันยายน 2555
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add kitpooh22's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.