ชนะคนอื่นเป็นร้อย ยังไม่ยากเท่าชนะตนแค่คนเดียว...
ห้วงเวลาของชีวิต “การฆ่าตัวตาย”

ห้วงเวลาของชีวิต
ในความเป็นมนุษย์ปุถุชนธรรมดา เกิดมามีทั้งสุขและทุกข์ บางช่วงเวลาของชีวิตอาจมีปัญหาจนทำให้เกิดความอ่อนแออ่อนล้าอยู่บ้าง ในช่วงนี้คนเราต้องการใครสักคนมาช่วยประคับประคอง และให้กำลังใจเพื่อเอาชนะปัญหาที่ถาโถมเข้ามาในชีวิต เพื่อสามารถผ่านพ้นไปได้ บางคนอาจจะไม่สามารถปรับตัวได้ อยู่กับความทุกข์ตามลำพังไม่มีใครช่วยเหลือ มองไปทางไหนก็ไม่เห็นทางออก จึงนำไปสู่การตัดสินใจทำร้ายตนเองในที่สุด โดยลืมไปว่าผลของการกระทำดังกล่าว ก่อให้เกิดความโศกเศร้าเสียใจเพียงใดต่อบุคคลรอบข้าง ดังนั้น เราควรเริ่มใส่ใจดูแลสุขภาพจิตกันและกันตั้งแต่วันนี้ เพราะกำลังใจ คำปลอบใจ คือสายใยต่อชีวิต ที่ช่วยเติมเต็มให้มีชีวิตอยู่ต่อไป ในเวลาที่คนเรามีความทุกข์ ต่างต้องการความช่วยเหลือ ความเห็นอกเห็นใจ ความเอื้ออาทร ความเข้าใจจากคนรอบข้าง หากคนรอบตัวท่านมีความทุกข์ อย่าลืมให้ความใส่ใจกับเขา อย่าปล่อยให้เขาต้องเผชิญความทุกข์ตามลำพัง จนไม่สามารถหาทางออกหรือแก้ไขปัญหานั้นได้จนนำไปสู่โศกนาฏกรรมในที่สุด

“การฆ่าตัวตาย”

เป็นการกระทำที่ทำให้ตนเองเสียชีวิตโดยเจตนา อาจเกิดมาจากภาวะความเสียใจอย่างมาก เช่น สูญเสียคนรัก หรือภาวะความเครียดที่ไม่สามารถหาทางออกได้ จึงคิดสั้นโดยการฆ่าตัวตายเพื่อหนีปัญหา ภาวะดังกล่าวเกิดขึ้นได้ กับคนทุกเพศทุกวัย ปรากฏอยู่ในสังคมและชุมชนต่างๆ อยู่เสมอ อย่างไรก็ตามเราสามารถป้องกันได้ หากทุกคนเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกัน ช่วยเหลือแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างจริงจัง

“ทำไมคนเราถึงคิดฆ่าตัวตาย”

    - มองไปทางไหนก็เห็นแต่ปัญหา ไม่เห็นทางออก เจอแต่ทางตัน
    - ซึมเศร้า หมดอาลัยตายอยาก หดหู่ ท้อแท้
    - รู้สึกไร้ค่า ไร้ความหวัง ไม่มีใครช่วยได้
    - ป่วยเป็นโรคจิต หลงผิดคิดว่ามีคนสั่งให้ไปตาย หรือระแวงว่าจะมีคนมาฆ่า เลยอยากตายไปให้พ้น
    - ติดเหล้า ติดยา ไม่ได้เสพก็ทรมาน พอเสพจนเมาก็ขาดสติ ไม่มีใครอยากเหลียวแล
    - มีความทุกข์ทรมานจากความเจ็บป่วยทางกาย จนไม่สามารถทนได้ จึงฆ่าตัวตายเพื่อให้พ้นทุกข์ ฯลฯ

“สัญญาณเตือนต่อการฆ่าตัวตาย”
บุคคลที่มีความคิดจะทำร้ายตนเอง มักส่งสัญญาณบางอย่างออกมาเพื่อร้องขอความช่วยเหลือจากบุคคลใกล้ชิด ดังนี้
    - แยกตัวไม่พูดกับใคร
    - มีคนในครอบครัวฆ่าตัวตายมาก่อน
    - ติดเหล้าหรือยาเสพติด
    - ทรมานจากโรคจนต้องพึ่งยารักษาประจำและนอนไม่หลับติดกันเป็นเวลานานๆ
    - ประสบปัญหาชีวิต เช่น ล้มละลาย สูญเสียคนรักกะทันหัน เป็นโรคเรื้อรังพิการจากอุบัติเหตุ
    - แยกตัวไม่พูดกับใคร
    - มีอารมณ์ขึ้นๆ ลงๆ ที่น่าระวังคือ เมื่ออารมณ์เปลี่ยนแปลงเป็นตรงกันข้าม จากซึมเศร้าหรือหงุดหงิดมานาน กลับดูสบายใจอย่างผิดหูผิดตา ช่วงนี้อาจเป็นไปได้ว่าแสดงว่าเขารวบรวมความกล้าและตัดสินใจแน่นอนแล้วว่าจะฆ่าตัวตาย
    - เวลาพูดมีน้ำสียงวิตกกังวล สีหน้าเศร้าหมอง
    - ชอบพูดเปรยๆว่าอยากตาย ไม่อยากมีชีวิตอยู่ ไม่มีค่า ไม่มีใครรัก ไม่มีใครสนใจ
    - การทำพินัยกรรมในเวลาที่ยังไม่สมควร เป็นต้น
    - เดินไปเยี่ยมเยียนคนรู้จักโดยที่ไม่ได้ทำมาก่อนเหมือนบอกลา
    - มีแผนฆ่าตัวตายที่แน่นอน โดยดูได้จากแจกจ่ายของรักของหวง พูดจาฝากฝังคนข้างหลัง จัดการงานหรือทรัพย์สินให้เรียบร้อย เป็นต้น
    - เคยพยายามฆ่าตัวตายมาแล้ว เช่น กินยานอนหลับ กินสารเคมี กระโดดตึก แขวนคอ ยิงตัวตาย เป็นต้น

ลักษณะของผู้ที่เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย
    1. มีโรคทางกาย พบว่าโรคทางกายโรคใดโรคหนึ่ง ใน 3 โรคต่อไปนี้มีปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้คิดฆ่าตัวตาย
      - โรคที่รักษาไม่หาย โดยเฉพาะโรคเอดส์
      - โรคทางกายระยะสุดท้าย เช่น มะเร็ง ไตวาย
      - โรคที่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดทรมาน
    2. โรคทางจิตเวชโรคใดโรคหนึ่งใน 4 โรคต่อไปนี้มีปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้คิดฆ่าตัวตาย
      - โรคซึมเศร้า
      - โรคจิต ที่มีความหวาดระแวง หลงผิดคิดว่าคนปองร้าย หูแว่ว ประสาทหลอน
      - ผู้ติดสุรา มักมีความรู้สึกว่าตนเองไม่มีค่าเป็นพื้นฐานอยู่แล้ว ประกอบกับฤทธิ์ของสุราที่มีผลต่อสมอง เมื่อเผชิญปัญหาชีวิตอาจแก้ปัญหาด้วยการฆ่าตัวตายได้
      - บุคลิกภาพผิดปกติ มักเป็นกลุ่มผู้มีอารมณ์อ่อนไหว ไม่มั่นคง หุนหัน หรือสนใจแต่ตนเองเรียกร้องความสนใจจากผู้อื่นทำให้คิดสั้นได้
    3. เคยมีประวัติพยายามฆ่าตัวตาย
    4. มีความตั้งใจคิดฆ่าตัวตายชัดเจน เช่น
      - ทำในสถานที่หรือเวลาที่ยากต่อการพบเห็นหรือช่วยเหลือ
      - เตรียมการเรื่องทรัพย์สิน จดหมายลาตาย
      - เตรียมการเรื่องฆ่าตัวตาย เช่น หาซื้อยามาสะสมไว้
      - ใช้วิธีการฆ่าตัวตายที่รุนแรง
    5. เจตนาฆ่าตัวตายแต่ไม่สำเร็จ เช่น กินยาฆ่าแมลง ผูกคอ เชือดข้อมือ กระโดดตึก เป็นต้น

พฤติกรรมการฆ่าตัวตาย
เราอาจแบ่งพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับการฆ่าตัวตายตามผลลัพธ์ของการกระทำเป็น 4 ลักษณะตามความรุนแรงและความตั้งใจดังนี้
    - ความคิดในการฆ่าตัวตาย หมายถึง การมีความคิดที่จะทำร้ายตนเอง
    - การแสร้งกระทำการฆ่าตัวตาย หมายถึง การที่ผู้กระทำการทำร้ายตนเองทำไปโดยมีเจตนาเพียงเพื่อเรียกร้องความสนใจ โดยมิได้มีความตั้งใจที่จะตายจริง
    - การพยายามฆ่าตัวตาย หมายถึง ผู้กระทำรอดชีวิตทั้งๆ ที่ผู้กระทำมีความตั้งใจจริงที่จะทำร้ายตนเอง
    - การฆ่าตัวตายสำเร็จ หมายถึง การกระทำนั้นทำให้ผู้กระทำถึงแก่ชีวิต

แบบคัดกรอง ผู้ที่เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย (su-9)
แบบสอบถามฉบับนี้ใช้ในการประเมินผู้ที่เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย โดยสอบถามว่ามีเหตุการณ์ อาการ หรือความคิด ความรู้สึก และพฤติกรรมดังต่อไปนี้หรือไม่ โดยการเครื่องหมายถูก ตามคำตอบที่ตรงตามความเป็นจริงกับตัวท่าน
    1. ใน 1 ปีที่ผ่านมา ท่านดื่มสุราหนักเพื่อลดความทุกข์ใจ (ไม่มี, มี)
    2. ใน 1 เดือนที่ผ่านมา ท่านมีการสูญเสียสิ่งอันเป็นที่รัก (คนรัก สุขภาพ ทรัพย์สินเงินทอง ชื่อเสียง หน้าที่การงาน การเรียน ฯลฯ) (ไม่มี, มี)
    3. ใน 1 เดือนที่ผ่านมา ท่านทุกข์ทรมานกับโรคร้ายแรงหรือโรคเรื้อรัง (ไม่มี, มี)
    4. ใน 1 เดือนที่ผ่านมา ท่านเป็นทุกข์อย่างมากจนไม่อยากมีชีวิตอยู่ต่อไป (ไม่มี, มี)
    5. ใน 1 เดือนที่ผ่านมา ท่านมีการวางแผนถึงวิธีการฆ่าตัวตาย (ถ้าตอบว่ามีให้ระบุวิธีการ.........) (ไม่มี, มี)
    6. ท่านได้เขียนจดหมายสั่งลา หรือบอกให้คนใกล้ชิดทราบถึงความคิดฆ่าตัวตายของท่าน (ไม่มี, มี)
    7. ใน 1 ปีที่ผ่านมา ท่านเคยทำร้ายตนเองหรือพยายามฆ่าตัวตาย (ไม่มี, มี)
    8. ขณะนี้ท่านกำลังคิดฆ่าตัวตาย (ไม่มี, มี)
    9. ท่านคิดจะลงมือฆ่าตัวตายโดยไม่บอกให้ใครทราบ (ไม่มี, มี)

วิธีการให้คะแนน
ตอบว่า
มี เท่ากับ 1 คะแนน
ไม่มี เท่ากับ 0 คะแนน

การแปลผล
ถ้าตอบว่า มี 1 ข้อ หรือ 1 คะแนนขึ้นไป หมายถึง มีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย ควรขอรับการปรึกษาจากหน่วยงานสาธารณสุขใกล้บ้าน

ความต้องการด้านจิตใจของผู้คิดฆ่าตัวตาย
    - ความเห็นอกเห็นใจ ผู้เข้าใจปัญหาและความรู้สึกของเขา แต่ไม่ต้องการถูกซ้ำเติมจากคนรอบข้าง
    - คนที่หวังดี ยินดีรับฟังและช่วยเหลืออย่างจริงใจ
    - ระบายความทุกข์ออกมาทางใดทางหนึ่ง เช่น พูด เขียน หรือร้องไห้
    - คนที่มีเวลาให้กับเขา ให้ความสนใจและเอาใจใส่ดูแล เนื่องจากเขาจะมีความรู้สึกเหงา และโดดเดี่ยวมากกว่าปกติ
    - กรณีผู้ป่วยมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เช่น เรียกร้องความสนใจ วุ่นวาย หวาดระแวง แสดงถึงความต้องการให้ผู้อื่นเข้าใจเหตุผลของการกระทำนั้นๆ

“วิธีในการช่วยเหลือและป้องกันผู้ที่คิดทำร้ายตนเอง”
    - รับฟังปัญหาด้วยความจริงใจ ตั้งใจ ยอมรับว่าเป็นปัญหาของเขาจริงๆ แม้อาจเป็นเรื่องเล็กสำหรับเรา
    - พูดคุยแต่เรื่องที่สบายใจ ไม่ตำหนิหรือพูดซ้ำเติม เพราะจะเป็นการผลักดันให้ลงมือทำซ้ำอีก
    - สังเกตว่ามีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งตามแบบคัดกรองผู้ที่เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายหรือไม่ ถ้ามีให้เฝ้าระวังว่ามีโอกาสกระทำได้จริง ควรเข้าไปพูดคุยซักถามด้วยความเอาใจใส่พร้อมจะช่วยเหลือ
    - สอบถามว่ามีการเตรียมวิธีที่จะทำร้ายตัวเองหรือไม่อย่างไร ถ้ามิใช่คนในครอบครัว ให้บอกญาติหรือคนในครอบครัวให้คอยระวังอย่างใกล้ชิดให้อยู่ในสายตา และให้อยู่ห่างจากอุปกรณ์ ที่เขาเตรียมไว้เพื่อทำร้ายตัวเอง
    - พูดคุยให้คำปรึกษา ปลอบใจ ให้มีสติ ค่อยๆ คิดหาทางแก้ไขปัญหา อาจจะแนะนำให้ปรึกษาคนที่เขาไว้วางใจ และนับถือ เช่น ญาติ พระ ครู กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ฯลฯ
    - กระตุ้นให้ญาติให้กำลังใจ ไม่ตำหนิ หรือลดการทะเลาะเบาะแว้งลง
    - ติดต่อหาแหล่งช่วยเหลือในพื้นที่ เท่าที่จะทำได้ เช่น แหล่งฝึกอาชีพ แหล่งฟื้นฟูสมรรถภาพ แหล่งช่วยเหลือเรื่องการเงิน เช่น กรมประชาสงเคราะห์ เป็นต้น
    - กระตุ้นให้คนในชุมชนตระหนักถึงปัญหา ให้ความสนใจดูแลเฝ้าระวังซึ่งกันและกัน ไม่ปล่อยปละละเลย
    - ให้ความรู้เรื่องผลระยะยาวของสุขภาพที่เกิดจากการใช้ยา หรืออุปกรณ์ในการฆ่าตัวตายแต่ไม่สำเร็จ เช่น สมองเสื่อมจากการผูกคอตาย หรือเกิดความพิการทางกายอื่นๆ

สิ่งที่ญาติหรือผู้ใกล้ชิดไม่ควรพูดกับผู้ที่คิดฆ่าตัวตาย
     - ตายเสียได้ก็ดี
     - ไม่น่ารอดมาเลย
     - อย่าไปสนใจมากเดี๋ยวก็ทำอีก ไม่ตายจริงหรอก
     - เก่งจริงคราวหน้าก็ให้ตายจริงซิ
     - อยู่ไปก็ไม่เห็นทำประโยชน์อะไร
     - ไม่ต้องฆ่าตัวตายหรอก ยังไงก็ตายอยู่ดี
     - อยู่ไปนานก็ยิ่งจะสร้างภาระให้คนอื่น

ขอบคุณข้อมูลจาก คู่มือการป้องกันและช่วยเหลือผู้ที่เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย (สำหรับประชาชน)
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
  

 
 Smiley ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมและติชมครับ Smiley




Create Date : 05 กุมภาพันธ์ 2556
Last Update : 9 กุมภาพันธ์ 2556 21:01:45 น. 0 comments
Counter : 4146 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

kitpooh22
Location :
ตรัง Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 27 คน [?]




สวัสดีครับ
..............................
ขอบคุณที่มาเยี่ยมชม และมาเม้นให้ครับ



ขอบคุณครับ :-)
THX


วันเกิดบล็อก 25/5/2009
Google+
Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2556
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
2425262728 
 
5 กุมภาพันธ์ 2556
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add kitpooh22's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.