ใดใดในโลกล้วนอนิจจัง โปรดอย่าตั้งอยู่ในความประมาท (งดรับ Tag ค่ะ)

 
สิงหาคม 2548
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
20 สิงหาคม 2548
 

ทางแห่งความรู้แจ้ง




เราเข้าใจว่า การเดินทางสู่ความรู้แจ้งนี้ อาจมีได้ หลายแบบ หลายวิธี หลายเทคนิค ขึ้นอยู่กับจริต คือ ความชอบของแต่ละคน ว่าจะไปยังไง
ยกตัวอย่าง จากกรุงเทพ แล้วคุณจะไปเชียงใหม่ คุณจะเดินไป นั่งรถยนต์ไป นั่งรถไฟไป หรือนั่งเครื่องบินไป คุณก็สามารถไปถึงได้เหมือนกัน
แต่อาจจะเร็ว จะช้าต่างกันเท่านั้น และบางคนก็อาจไม่มีวันถึงเลย เพราะไม่ออกเดินทางสักทีก็มี

จากความเข้าใจ จากประสพการณ์การปฏิบัติ และ การเรียนรู้ และศึกษา เกี่ยวกับทางแห่งความรู้แจ้งนี้
เราขอสรุปตามความเข้าใจของเราดังนี้
(ความเห็นส่วนตัว..หลายท่านอาจมีความเห็นที่แตกต่างจะเสนอแนะมุมมองก็ได้ค่ะ)

พระพุทธเจ้า ท่านบอกหนทางสู่ความรู้แจ้งให้พวกเราทั้งหลาย เปรียบดังท่านบอกแผนที่เดินทางให้
บางคนก็อ่านแผนที่แล้ว อ่านแล้วอ่านอีก จน คิดว่ารู้แจ่มแจ้ง แต่ ก็ไม่ออกเดินทางสักที
บางคนได้ฟังคร่าวๆ ก็ออกเดินทางเลย อาจเดินผิด เดินถูก หรือหลงทางบ้าง แต่ก็ยังดีกว่าไม่ออกเดิน
บางคน ได้ฟังแล้วปัญญาเกิด เดินถูกทางตลอด ก็จะถึงเร็ว

ท่านว่า คนเรา มี 4 จำพวก
1) มามืดไปมืด -- เกิดมาชีวิตมีแต่ความมืดมน ตายไปก็มืดมน ไม่มีดวงตาเห็นธรรม ไม่ทำความดี ตายไปจึงไปสู่ภพภูมิที่แย่เช่นเดิม
2) มาสว่างไปมืด -- เกิดมาชีวิตแสนสบาย อยู่ในสภาพแวดล้อม ที่น่าจะเกิดปัญญา แต่ ทำตัวไม่ดี ตายไปจึงไปสู่ภพภูมิที่แย่
3) มามืดไปสว่าง -- เกิดมาอาจจะลำบากยากแค้น แต่ชีวิตมีการพัฒนา ได้เกิดปัญญา รู้จักทำความดี ตายไปจึงไปสู่ภพภูมิที่ดีขึ้น
4) มาสว่างไปสว่าง -- เกิดมาชีวิตมีความสบาย และยังสะสมบุญ ทำความดี มีปัญญา เห็นธรรม ตายไปจึงไปสู่ภพภูมิที่ดีขึ้น
ขอให้พวกเราทั้งหลายอยู่ในกลุ่มที่ 3 หรือ 4 นะคะ สาธุ


พระพุทธเจ้าท่านสอน ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ (อริยสัจจ์ 4)คือ
1) ทุกข์ - สภาวะทุกข์ เช่น เกิด แก่ ตาย และ ปกิณณกะทุกข์ เช่น เศร้าโศก ทุกข์ ทรมาน เจ็บปวด
พลัดพลากจากของรัก ประสบกับสิ่งที่ไม่รัก ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้น
2) สมุทัย - เหตุแห่งทุกข์
3) นิโรธ - ความดับทุกข์
4) มรรค - ทางสู่ความดับทุกข์


ทางสู่ความดับทุกข์ ซึ่งคือ มรรค มีองค์ 8
1) สัมมาทิฏฐิ = ความเห็นชอบ (ปัญญา)
2) สัมมาสังกัปปะ = ดำริชอบ (ปัญญา)
3) สัมมาวาจา = เจรจาชอบ (ศีล)
4) สัมมากัมมันตะ= การงานชอบ (ศีล)
5) สัมมาอาชีวะ = เลี้ยงชีพชอบ (ศีล)
6) สัมมาวายามะ = เพียรชอบ (สมาธิ)
7) สัมมาสติ = ระลึกชอบ (สมาธิ)
8) สัมมาสมาธิ = ตั้งมั่นชอบ (สมาธิ)

ซึ่งจะเห็นว่าหลักใหญ่ๆ ก็เป็นเรื่องของ ศีล สมาธิ และปัญญา(ไตรสิกขา) นั่นเอง
การจะสู่ความรู้แจ้ง ต้องมีไตรสิกขาครบ จะขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้
เพราะการมีศีล จะส่งเสริมให้ มีสมาธิเกิดได้ดี และ การมีสมาธิดี ก็จะส่งเสริมให้เกิดปัญญาได้
จะสังเกตได้ว่า ถ้ารักษาศีลบริสุทธิ์(อย่างน้อยศีล 5)ยิ่งศีลบริสุทธิ์ สมาธิก็ยิ่งบริสุทธิ์ ปัญญาก็ยิ่งบริสุทธิ์
ตัดการติดต่อสมาคมกับโลกภายนอก ฝึกปฏิบัติ ณ สถานปฏิบัติธรรม จะส่งเสริมให้สมาธิตั้งมั่นได้ดี
และ ภาวนาเพื่อให้เกิดปัญญาได้ดีกว่า ทำเองอยู่ที่บ้าน ซึ่งมีสิ่งล่อตาล่อใจเยอะ เช่นทีวี วิทยุ ซึ่งทำให้ใจฟุ้งซ่านง่าย
ดังนั้น ภิกษุ ภิกษุณี แม่ชี หรือ ผู้ปฏิบัติธรรม ในสถานปฏิบัติ จะมีโอกาสที่ดีกว่าในการรู้แจ้ง เพราะอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีกว่า
อีกทั้งท่านเหล่านั้นเปรียบเสมือนทำหน้าที่แสวงหาความหลุดพ้น เต็มเวลาการทำงาน
หากประชาชนคนธรรมดา ต้องทำงานหาเลี้ยงชีพตนแล้ว การแสวงหาทางหลุดพ้นจึงเสมือนเป็นงานอดิเรก
อย่างไรก็ตาม ทุกคนมีสิทธิ์ ถึงซึ่งความรู้แจ้งได้ เพราะธรรมะเป็นความจริงเสมอ และพิสูจน์ได้
หากแต่ละคนต้องพิสูจน์ด้วยตนเอง ไม่มีใครทำแทนใครได้
หากท่านดำเนินตนตามหนทางที่พระพุทธเจ้าท่านสอนไว้ อย่างพากเพียร และถูกต้อง(สัมมา)ตรงตามคำสอนของพระพุทธเจ้า สักวันหนึ่งก็อาจถึงซึ่งพระนิพพานได้

การที่จะหลุดพ้นไม่กลับมาเวียนว่ายตายเกิดอีก นั้น พระพุทธเจ้า ท่านได้สอนเรื่องปฏิจจสมุปบาทไว้ คือ

ปฏิจจสมุปบาท อนุโลม

เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร
เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป
เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ
เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ
เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ
เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส
เป็นอันว่ากองทุกข์ทั้งมวลนั่นย่อมเกิด ด้วยประการฉะนี้.


ปฏิจจสมุปบาท ปฏิโลม

อนึ่ง เพราะอวิชชานั่นแหละดับโดยไม่เหลือด้วยมรรคคือวิราคะ สังขารจึงดับ
เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ
เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ
เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ
เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ
เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ
เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ
เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ
เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ
เพราะภพดับ ชาติจึงดับ
เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส จึงดับ
เป็นอันว่ากองทุกข์ทั้งมวลนั่นย่อมดับ ด้วยประการฉะนี้.


การจะแก้ปัญหา ถ้าเราไม่ได้แก้ที่ต้นเหตุ ปัญหาก็จะผุดขึ้นมาเรื่อยๆ ตลอดๆ ไม่หมดไปเสียที
ดังการตัดต้นไม้ ถ้าตัดลำต้น หรือ กิ่งก้านออกไป ต้นไม้นั้นก็อาจโตขึ้นอีกได้ ดังนั้นจึงต้องขุดราก ถอนโคน
เผารากและโคนนั้นทิ้งเลย ต้นไม้นั้นจึงไม่สามารถโตขึ้นได้อีก
ดังนั้น สาเหตุของการเกิดภพ ชาติ ต้นตอที่แท้จริงก็คือ อวิชชา เราต้องดับอวิชชาได้ ภพ ชาติ จึงจะดับไป

อวิชชา คือความไม่รู้ ความไม่รู้จริง ไม่รู้แจ้ง ในเรื่องของชีวิต ของสังขาร ของบาปบุญ รู้เรื่องของการเกิดดับฯ
การไม่รู้เช่นนี้ก่อให้เกิดกิเลส ตัณหา ราคะ โลภะ โทสะ โมหะ ถ้าแก้ความไม่รู้ได้ ก็จะไม่มีตัณหาและอุปาทาน ก็จะหมดซึ่งกิเลสทั้งปวง

แล้วทำอย่างไร เราถึงจะรู้ล่ะ??? (หมดอวิชชา เกิดปัญญา)

หนทางแห่งการเกิดปัญญามี 3 วิธีคือ
1) สุตมยปัญญา ปัญญาที่เกิดจากการได้รับฟัง ได้เห็น ได้ประสบมาด้วยตนเองจากประสบการณ์ต่าง ๆ
เช่น การได้รับทราบจากหนังสือ จากการฟังการสอนของครู จากการเห็นผู้อื่นทำ ฯลฯ
2) จินตามยปัญญา ปัญญาที่เกิดจากการคิดพิจารณา ไตร่ตรอง วิเคราะห์ วิจารณ์ต่าง ๆ
เช่น การแก้ปัญหาโจทย์เลขคณิต การทดลองวิทยาศาสตร์ การค้นคว้าวิจัย ฯลฯ
3) ภาวนามยปัญญา ปัญญาที่เกิดจากการภาวนา อบรมจิตของตนเองให้มีความสะอาด สงบ และ
เกิดธรรมะปัญญา จนเกิดการรู้แจ้ง

การเกิดปํญญาชนิด 1,2 อาจมีอยู่ได้ทั่วไป ความรู้เหล่านั้นอาจมีมาคู่โลกอยู่ก่อนแล้ว
ส่วนปัญญาชนิดที่ 3 นั้นเป็น ปัญญาที่พระพุทธเจ้า พบแล้วนำมาสอนพวกเรา

ประตูแห่งการรับรู้ของคนเรามี 6 ทาง
1) ตา เห็นรูป
2) หู ได้ยินเสียง
3) จมูก ได้กลิ่น
4) ลิ้น ลิ้มรส
5) กาย รู้สัมผัส
6) ใจ รู้ธรรมารมณ์ คือ อารมณ์ที่เกิดกับใจ


การปฏิบัติวิปัสนาก็คือ การปฏิบัติให้เกิดการรู้เห็นแจ้ง รู้สัจธรรมตามความเป็นจริง
ซึ่งก็คือ ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา ความไม่เที่ยง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เห็น ณ ปัจจุบัน
ไม่ใช่การคิดสรุปเอา จากอดีต หรือ อนาคต แต่เป็นการประจักษ์แจ้งถึงความไม่เที่ยงต่อหน้าต่อตา
เปลี่ยนแปลงให้เห็นเป็นปัจจุบัน

หากคุณมีความทุกข์ เช่น เศร้าใจเพราะเหตุใดก็ตาม ถ้าหากคุณเปลี่ยนความสนใจเสียเช่น ไปดูหนัง ฟังเพลงแทน
หรือ บริกรรมคำพูดใดๆ จนจิตนิ่งสงบ เพื่อลืมเรื่องที่ทุกข์อยู่ นี้ไม่ใช่การดับทุกข์ หากแต่เป็นการหลีกทุกข์ หรือหลบหลีกทุกข์เพียงชั่วขณะ
ทุกข์นั้นยังไม่ได้ดับหายไปไหน มันจะไปตกตะกอน สั่งสม นอนเนื่องในจิตใต้สำนึกของคุณ ฝั่งอยู่ในจิต ในกายคุณ
หากการสังเกตเห็นทุกข์ โดยคุณทำความรู้ตัวว่าคุณกำลังทุกข์อยู่ สังเกตไปเรื่อยๆ คุณจะเห็นว่า ทุกข์ของคุณน้อยลงไปเรื่อยๆ จนหมดไป
นี้ถึงจะเป็นการดับทุกข์นั้นจริงๆ

การที่คุณมีทุกข์ แล้วคุณไปทำสิ่งที่แย่ๆ (เพราะเกิดอวิชา ความไม่รู้) โดยหวังว่าจะลืมทุกข์เช่น ดื่มสุรา
ก็เปรียบเสมือน คุณสร้างความมืดมนในตน เพราะจิตของคุณจะมีโลภะ โทสะ หรือ โมหะ(สร้างสังขารในตน)
ยิ่งกระทำการสิ่งใด เพื่อตอบสนองความรู้สึก หรืออารมณ์ที่เกิดขึ้นก็เสมือนยิ่งสะสมสังขารในตนมากขึ้นๆ
วงเวียนแห่งทุกข์ ก็ยิ่งสะสมขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นเราจึงต้องมีสติ สังเกตรู้ ทุกสิ่ง ทุกอย่างที่เกิดขึ้น กับร่างกาย และจิตใจของเรา
และต้องรู้อย่างถูกต้อง ถึงจะนำไปสู่หนทางแห่งความดับทุกข์ได้

สิ่งสำคัญที่จะถือว่าเรารู้อย่างถูกต้อง
1) การมีสติ(สังเกต)รู้( Awareness)รู้ตัวทั่วพร้อม สามารถรับรู้ความรู้สึกได้คมชัดทุกประตูแห่งการรับรู้ รู้อย่างเป็นธรรมชาติ ไม่ต้องปรุงแต่ง
2) สามารถวางอุเบกขา เมื่อมีอารมณ์ที่มากระทบ โดยสามารถทำใจเป็นกลาง
ไม่กระเพื่อม ไม่ตอบโต้ และไม่เกิด ราคะ/โลภะ (craving) โทสะ(aversion) โมหะ (Ignorance)
(Equanimity = The ability to be aware of
all that you experience of every sensation with out reacting,
with out trying new kinds of craving and aversion,
not creating missery for yourself.)


เราสามารถสังเกต (observation) การรับรู้โดยหลักของสติปัฐฐานสี่ คือ
1) กาย - การสังเกตุการรับรู้ ที่เกิดจากกายนี้
2) เวทนา - การสังเกตอารมณ์ ความรู้สึกที่เกิดขึ้น
3) จิต - การสังเกตจิต
4) ธรรม - สังเกตธรรมที่เกิดขึ้น


เช่น บอกว่า คุณลองสังเกตที่ไหล่ซ้ายของคุณสิโดยไม่ต้องมอง คุณก็สามารถนำความสนใจของคุณไปอยู่ที่ไหลซ้ายได้
สามารถทำการรับรู้ ณ บริเวณไหล่ซ้ายได้ ว่าคุณเกิดการรับรู้อย่างไรบ้าง หรือ เช่น
ถ้ายุงกำลังเกาะอยู่ที่แขนของคุณ คุณก็สามารถ รู้สึกได้ที่กาย เมื่อคุณ รู้สึกแล้ว ถ้าคุณเอามือไปปัด ก็แปลว่าคุณกำลังทำปฏิกิริยา ตอบสนองต่อความรู้สึกที่คุณรับรู้อยู่ หากคุณสามารถวางเฉยต่อไปได้ คุณก็อาจสังเกตเห็นได้ว่า ยุงกำลังกัดคุณ แล้วคุณก็รู้สึกเจ็บขึ้นมา(เวทนา)(นี้คือ คุณเห็นสัจจะธรรมว่าทุกข์ เกิดขึ้น) จิตคุณก็จะเริ่มมีปฏิกิริยาตอบสนอง เช่น เกาดีมั้ย ตบยุงดีมั้ย หรือเฉยๆดี (จิต)
และถ้าคุณสังเกตต่อไปเรื่อยๆ คุณก็จะเห็นว่าคุณเจ็บมากเป็นระยะเวลาหนึ่ง(ตั้งอยู่) เมื่อเวลาผ่านไป อาการเจ็บ ก็บรรเทาลงไปเรื่อยๆ จนหายได้ (ดับไป)
คุณก็เห็นความไม่เที่ยง (ธรรม - ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา)

เราสามารถปฏิบัติตามหลักสติปัฐฐานสี่ ได้ทุกขณะของชีวิต ไม่ว่า จะเป็น การ ยืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม เห็น คิด ฝึกที่จะมีสติ รู้ตัวชัดขึ้นเรื่อยๆ
ว่า เรากำลังทำอะไรอยู่ สังเกตลมหายใจ ว่าลมหายใจเข้า หรือ ออก ยาว หรือ สั้น สังเกต ว่าลมหายใจเข้า ทางจมูกข้างไหน
การทำสมาธิ และการสังเกตทั่วไปเหล่านี้อาจจะ มีมาก่อนสมัยพระพุทธเจ้า แต่สิ่งที่ค้นพบโดยพระพุทธเจ้าเท่านั้น ก็คือ การสังเกตร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งโดยการภาวนา เพื่อให้เกิดปัญญา
พระพุทธเจ้าทรงสอนให้ทำสอนให้เรารู้จัก การภาวนา เพื่อเกิด ภาวนามยปัญญา

เทคนิคการทำภาวนา พระพุทธเจ้าทรงยกย่อง อานาปานาสติ โดยเฉพาะในขั้นต้น ให้สังเกตรู้ลม หายใจ เข้าออก ให้รู้ชัดเจน ลมเข้า ก็รู้ชัด ลมออก ก็รู้ชัด ไม่ต้องไปบังคับ หรือเปลี่ยนแปลง การหายใจ ปล่อยให้การหายใจเป็นอย่างธรรมชาติ
ช่วงแรกให้จดจ่อความสนใจอยู่ที่ปลายจมูก เพื่อสังเกตลม ก่อน สติจะคมขึ้น และเป็นสมาธิขึ้นเมื่อ สังเกตรู้ลมนานขึ้น นานขึ้น

หลังจาก จิตเป็นสมาธิ ไม่ฟุ้งซ่าน ก็เจริญวิปัสสนากรรมฐาน สังเกตการรับรู้ ณ ทุกส่วนของร่างกาย
ตั้งแต่ศีรษะ จรด ปลายเท้า ตั้งแต่ปลายเท้าจรดศีรษะ ซึ่งมีหลายเทคนิคที่สามารถนำมาใช้ได้ แล้วแต่จริต
ซึ่งการฝึกนี้ หากยิ่งมีสติคม ฝึกไปเรื่อยๆ จะเห็นชัด สังเกตรู้ได้ชัดขึ้น ๆ ไม่ว่าจะมีอะไรมาสัมผัสจะส่วนไหนของร่างกาย สัมผัสจิตใจ ก็ฝึกให้รู้ชัด คล่องแคล่ว ว่องไว
ก็ต้องฝึกรู้เรื่อยๆ

หากนั่งสมาธิแล้วอธิษฐานจิตอย่างแรงกล้าว่าภายในหนึ่งชั่วโมงที่นั่งสมาธิ คุณจะไม่ขยับ
แน่ละคุณต้องสามารถรับรู้ความรู้สึก เจ็บ ปวด ตึงเครียด ณ จุดต่างๆ ของร่างกาย
คุณก็ทำการสังเกตไปเรื่อยๆ
เคลื่อนความสนใจของการสังเกต อย่างเป็นระบบ จากส่วนหนึ่ง ของร่างกาย แล้วก็ขยับไปส่วนอื่น เป็นระบบ ระเบียบ
เรียงไปเรื่อยๆ จน ทั่วทั้งกาย
แล้วก็วนซ้ำการสังเกตไปเรื่อยๆ ไม่จำเป็นต้องสังเกตรู้ที่จุดใดจุดหนึ่งนานเกินไป
คุณจะพบว่า ณ จุดที่คุณรู้สึกเจ็บปวดมากๆ ณ รอบแรก ที่ทำความสนใจมาสังเกตรู้ความรู้สึก ณ ตำแหน่งนั้นๆ
มี การเปลี่ยนไปเรื่อยๆ
ตั้งแต่เจ็บมาก จนลดลง ลดลงเรื่อยๆ จนกระทั่งหายไป
นี่คือ ธรรมะ ที่คุณ สังเกตเห็น คือ ทุกข์ เกิด และ ดับไป
นี้เป็นประสบการณ์การรู้เห็นทุกข์ของคุณด้วยตัวเองจริงๆ ไม่ใช่ได้ยินเขาเล่า จำเขามา
หากคุณทำการสังเกต โดยไม่เข้าไปแทรกแซง การรู้เห็นนั้นด้วย การขยับ หรือ ปัดแมลง หรือคิด
ก็เปรียบเสมือน คุณหยุดการสร้างสังขาร
การที่คุณสามารถรักษาจิตไม่ให้เกิด ราคะ โลภะ โทสะ โมหะ เมื่อมีสิ่งกระทบกาย กระทบใจคุณ
ก็เหมือนคุณหยุดการสร้างสังขารในปัจจุบัน

แต่คนส่วนมากมีกิเลส สังขาร สะสมเป็นตะกอนนอนเนื่องอยู่ในจิตใต้สำนึกของทุกคน ติดมาไม่รู้กี่ภพกี่ชาติ
การเจริญภาวนามยปัญญา เปรียบเสมือน การทำให้ตะกอนแห่งสังขาร อวิชชานั้นลอยขึ้นมา
และเมื่อคุณสามารถสังเกตเห็น และ วางอุเบกขาได้ อวิชชา และ สังขารนั้นก็จะดับไป
ดังที่ว่าเป็นการทำใจให้บริสุทธิ์ขึ้นเรื่อยๆ

การที่ฝึกสังเกตกาย สังเกตใจ เรื่อยๆนี้ คุณจะรู้ทุกข์ และเห็นธรรม
ฝึกให้การสังเกตรู้ ณ ทุกส่วนของร่างกายให้รู้ชัด
ไม่ว่าจะมีการรับรู้ที่ไหน ก็สามารถรับรู้ได้โดยรวดเร็ว
ฝึกจนก้าวหน้าไปเรื่อยๆ จะ รู้เรื่องของ ขันธ์5 ธาตุ 4 ดินน้ำลมไฟ ฯลฯ รู้ด้วยประสพการณ์ของตัวเอง
โดยไม่ใช่การคิด แต่รู้ได้ด้วยการปฏิบัติ
ทุกคนต้องปฏิบัติด้วยตัวเอง ยถาภูตา จึงจะรู้ และเห็นได้ด้วยตัวเอง
ซึ่งเป็นหนทางนำไปสู่ความรู้แจ้ง

ปฏิปทาที่นำไปสู่ความรู้แจ้งนั้น จาก สมถธรรม-วิปัสสนาธรรม ของหลวงตามหาบัว กล่าวไว้ว่า
การพิจารณาเมื่อถึงจิตมีความสงบได้พอประมาณแล้ว เมื่อหยุดจากการภาวนาเพื่อความสงบนั้นก็พิจารณาทางด้านปัญญา เป็นคนละวาระ ไม่ใช่วาระเดียวกัน เวลาพิจารณาทางด้านปัญญาก็ให้เป็นการพิจารณาทางด้านปัญญาจริง ๆ ไม่ต้องห่วงสมาธิ
ในขณะที่เพื่อความเป็นสมาธิเพื่อความสงบใจก็ไม่ต้องห่วงปัญญา ให้ทำงานคนละเวลาไม่ให้ก้าวก่ายกัน
ไม่ให้เป็นห่วง ห่วงหน้าห่วงหลัง
ปฏิปทาที่ราบรื่นท่านเรียกว่า อปัณณกปฏิปทา การปฏิบัติไม่ผิด คืออย่างนี้ในทางภาคจิตใจ
ทางภาคจิตตภาวนาพิจารณาอย่างนั้น คือการก้าวเดินออกด้วยปัญญาแล้วเข้าสู่ความสงบเป็นครั้งเป็นคราว


(หมายเหตุ ผู้เขียน เขียนตามความเข้าใจ จากการที่ได้เรียนรู้และปฏิบัติธรรมมา
และคิดว่าข้อความข้างบนเปรียบเสมือนแผนที่เดินทางเท่านั้น ผู้เขียนก็ยังต้องฝึกต่อไป เพราะผู้เขียนก็ยังเปรียบเสมือนผู้เริ่มต้นก้าวเดินเท่านั้น ยังไปไม่ถึงครึ่งทาง
ผู้เขียนไม่ได้เขียนรายละเอียดของเทคนิคการฝึกภาวนาจนชัดเจนนัก ขอให้ท่านที่สนใจไปเรียนรู้ และปฏิบัติจากสถานที่สอนต่างๆ จะดีกว่า เพราะจะได้ความเข้าใจที่ครบถ้วน ได้ทดลองปฏิบัติ ให้รู้จริง เห็นจริง ด้วยตัวเอง )

( หลายๆแห่ง สนับสนุน(สอน)การปฏิบัติแนวสติปัฐฐานสี่ ฝึกโดยไม่ใช้คำบริกรรม เช่น ศูนย์วิปัสสนาโคเอ็นกา, รายละเอียด
สำนักปฏิบัติกรรมฐาน วัดมเหยงคณ์ อยุธยา
หากต้องการศึกษาเอง ก็ลองอ่าน วิปัสสนานุบาล ของคุณดังตฤน
บางแห่งสอนให้มีคำบริกรรม ยุบหนอ พองหนอ
เช่น //run.to/thaivipassana หรือยุวพุทธิกะสมาคม
บางแห่งก็บริกรรมพุทโธ
บางแห่งก็ให้สอนดูจิต
และบางแห่งแม้ไม่ได้มีการสอนชัดเจน แต่ก็เปิดโอกาสให้ใช้สถานที่อันสัปปายะ เพื่อการฝึกฝน
เกือบทุกแห่งก็ล้วนสอนไปในทางแห่งความหลุดพ้นทั้งสิ้น ขึ้นอยู่กับว่า ผู้เรียนจะมีจริต และถนัดทางใด
ฝึกแบบไหนจะเรียนรู้และก้าวต่อไปได้เร็ว หรือ ช้า กว่ากันเท่านั้นเอง)

(** สิ่งที่ผู้เขียนยังข้องจิต อยู่นิด คือ เรื่องของคำบริกรรม เพราะมีผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบได้เทศน์เตือนเอาไว้ เช่น
หลวงตามหาบัว จิตเสื่อมเพราะขาดคำบริกรรม, จิตไม่เสื่อมเพราะสติติดแนบ , วิธีตั้งจิตให้สงบเป็นสมาธิ
และ ทางสายลูกศิษย์หลวงปู่มั่นที่ให้ใช้คำบริกรรม เพื่อให้เกิด วิตก วิจารณ์ ปิติ สุข เอกัคคตา
บางแห่งมีการสอนว่าการเจริญวิปัสนาควรเป็นไปหลังจากจิตรวมเป็นเอกัคคตาแล้ว
หากจิตของท่านยังฟุ้งมากแนะนำให้ฝึกสมาธิทางด้านสมถะไปก่อน ให้จิตตั้งมั่นอยู่กับคำบริกรรม หรือ ลมหายใจ จนเกิดสมาธิ
ดังนั้นโปรดใช้วิจารณญานของท่าน พิจจารณาจริตของท่านเอง)

อย่างไรก็ตามไม่ว่าจะปฏิบัติแนวไหน ไม่ว่าสมถะ หรือวิปัสสนา สำคัญที่สุด ขอให้ทำความดี ละเว้นความชั่ว และหมั่นทำใจให้บริสุทธิ์ สาธุ
ขอกราบครูบาอาจารย์ทุกท่าน ผู้ประสิทธิ์ ประสาทวิชา ทั้งหลาย แก่ข้าพเจ้า สาธุ


Create Date : 20 สิงหาคม 2548
Last Update : 4 ธันวาคม 2548 2:49:34 น. 26 comments
Counter : 1146 Pageviews.  
 
 
 
 
 
 

โดย: หมื่นทิพ TRAVOLTA (เทพบุตรตบะแตก!! ) วันที่: 20 สิงหาคม 2548 เวลา:2:52:38 น.  

 
 
 
ค่ะ
 
 

โดย: โอน่าจอมซ่าส์ วันที่: 20 สิงหาคม 2548 เวลา:5:05:38 น.  

 
 
 
ดีจังคะ ที่มาบอกแนวทางยังงี้ โมทนาบุญที่มาแบ่งปันธรรมะให้ได้รับรู้กันนะคะ
 
 

โดย: FC IP: 70.48.207.244 วันที่: 20 สิงหาคม 2548 เวลา:9:04:38 น.  

 
 
 


มีความสุขในวันนี้นะคะ



 
 

โดย: รักดี วันที่: 20 สิงหาคม 2548 เวลา:9:23:23 น.  

 
 
 
มาอ่านค่ะ อ่านแล้ว ต้องสำรวจตัวเองเลยเรา ชีวิต ยังมืดมนอยู่เลยค่ะ
 
 

โดย: Mehndi Laga Ke Rakhna วันที่: 20 สิงหาคม 2548 เวลา:10:37:18 น.  

 
 
 
ขอบคุณมากค่ะ

บอกกับตัวเองเสมอต้องมีสติ



...
 
 

โดย: ขอบคุณที่รักกัน (blueberry_cpie ) วันที่: 20 สิงหาคม 2548 เวลา:11:07:23 น.  

 
 
 
หวัดดีคะ เข้ามาแล้วรู้สึกทุกข์น้อยลงจังเลยคะ ขอคุณธรรมดีดีนะคะ
 
 

โดย: asariss วันที่: 20 สิงหาคม 2548 เวลา:13:42:34 น.  

 
 
 
แวะมาสวัสดีทักทายค่ะ

อยากให้ปัญญาตัวเองเกิดเหมือนกันค่ะ เพราะช่วงนี้
ดูเหมือนปัญญาตัวชักถดถอยจังเลย
 
 

โดย: JewNid วันที่: 20 สิงหาคม 2548 เวลา:15:43:32 น.  

 
 
 
มามืดไปสว่าง

แล้วต่อไปจะสว่างไปสว่าง

หวังไว้เช่นนี้แล
 
 

โดย: zaesun วันที่: 20 สิงหาคม 2548 เวลา:17:37:04 น.  

 
 
 
1) สุตมยปัญญา ..(ขออนุญาติเสริมนิดนึงนะคะ..จากที่ได้สนทนาธรรมกับผู้ที่ศึกษามาค่ะ)..

คือ หมายความว่าฟังพระธรรมค่ะ..มาจากคำว่าสุตตะในข้อที่๑..คำสั่งสอนของพระศาสดา มีองค์ ๙, พุทธพจน์มีองค์ประกอบ ๙ อย่าง.

๑. สุตตะ (พระสูตรทั้งหลาย รวมทั้งพระวินัยปิฎกและนิทเทส)
๒. เคยยะ (ความที่มีร้อยแก้วและร้อยกรองผสมกัน ได้แก่ พระสูตรที่มีคาถาทั้งหมด)
๓. เวยยากรณะ (ไวยากรณ์ คือความร้อยแก้วล้วน ได้แก่ พระอภิธรรมปิฎกทั้งหมด และพระสูตรที่ไม่มีคาถาเป็นต้น)
๔. คาถา (ความร้อยกรองล้วน เช่น ธรรมบท เถรคาถา เถรีคาถา เป็นต้น)
๕. อุทาน (ได้แก่ พระคาถาพุทธอุทาน ๘๒ สูตร)
๖. อิติวุตตกะ (พระสูตรที่เรียกว่าอิติวุตตกะ ๑๑๐ สูตร)
๗. ชาตกะ (ชาดก ๕๕๐ เรื่อง)
๘. อัพภูตธรรม (เรื่องอัศจรรย์ คือพระสูตรที่กล่าวถึงข้ออัศจรรย์ต่างๆ)
๙. เวทัลละ (พระสูตรแบบถามตอบที่ให้เกิดความรู้และความพอใจแล้ว ซักถามยิ่งๆ ขึ้นไป เช่น จูฬเวทัลลสูตร มหาเวทัลลสูตร เป็นต้น);

เมื่อก่อนก็คิดว่า เราอ่านตำรามากๆ หรือฟังมามากๆ คือสุตมยปัญญา..แต่ตอนนี้มาทำความเข้าใจใหม่และก็เห็นด้วยเพราะ พระธรรม ธรรมะแปลว่าความจริง แปลว่าสัจจะ ซึ่งการฟังพระธรรมก็คือฟังความจริงแท้ ที่จะทำให้เรารู้เห็นตามความเป็นจริงได้..การปฏิบัติโดยการนั่งภาวนาอย่างเดียวโดยไม่ฟังพระธรรมก็ไม่เกิดปัญญาที่จะรู้แจ้ง..สิ่งที่เราฟังมานั้นถูกต้องหรือไม่อย่างไรก็คือสอบความหมายได้จากพระไตรปิฏก..

ขออนุโมทนากุศลจิตคุณกิ่งไม้ไทยค่ะ
รู้สึกดีมากที่ได้พบผู้ศึกษาธรรม ขอให้คุณกิ่งไม้ไทยเจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นนะคะ
 
 

โดย: ป่ามืด วันที่: 21 สิงหาคม 2548 เวลา:4:22:05 น.  

 
 
 
ได้ความรู้ดีจังเลยค่ะ
 
 

โดย: หัวใจสีม่วง วันที่: 22 สิงหาคม 2548 เวลา:19:56:14 น.  

 
 
 
ขอบคุณนะคะ คุณป่ามืด ที่มาช่วยเพิ่มเติมให้ค่ะ

กิ่งไม้ไทย ถนัดศึกษาด้วย การปฏิบัติ หรือฟัง มากกว่าอ่านอภิธรรมค่ะ

หนังสือเยอะ อ่านไม่ค่อยไหว
 
 

โดย: กิ่งไม้ไทย วันที่: 22 สิงหาคม 2548 เวลา:23:45:19 น.  

 
 
 
สาธุค่ะ เป่าจินต้องขอ add block นี้ซะแล้ว เพราะต้องกลับมาอ่านนะค่ะ

ขอบคุณสำหรับบทความดีดีค่ะ
 
 

โดย: เป่าจิน วันที่: 23 สิงหาคม 2548 เวลา:11:48:37 น.  

 
 
 
ขอบคุณมากค่า

ได้ความรู้กลับไปมากมาย
 
 

โดย: นางมารร้าย update วันที่: 23 สิงหาคม 2548 เวลา:14:08:59 น.  

 
 
 
อนุโมทนาค่ะ



แวะมาหารายละเอียดของท่านโคเอนก้าด้วยค่ะ


 
 

โดย: รสา รสา วันที่: 24 สิงหาคม 2548 เวลา:2:10:01 น.  

 
 
 
ขอบคุณมากค่ะ
 
 

โดย: พลอยสีรุ้ง วันที่: 24 สิงหาคม 2548 เวลา:8:27:30 น.  

 
 
 
ตอนนี้เข้าใจแล้วค่ะ ว่าทำไมเวลาคนมีปัญหา
ถึงหันหน้าเข้าทางธรรม

เพราะมันช่วยให้จิตใจเราสงบได้นั่นเอง
 
 

โดย: นางมารร้าย update วันที่: 24 สิงหาคม 2548 เวลา:15:19:28 น.  

 
 
 
อนุโมทนาค่ะ
 
 

โดย: praew IP: 61.47.96.3 วันที่: 3 กันยายน 2548 เวลา:13:43:08 น.  

 
 
 
คือเราไม่ค่อยเชื่อเรื่องพวกนี้หรอก
แต่เราก็ไม่ได้ลบหลู่อะไร
เราเชื่อแต่ตัวเองเท่านั้น...
 
 

โดย: ร้อยวลี วันที่: 2 เมษายน 2549 เวลา:5:41:21 น.  

 
 
 
เราเชื่อแต่ตัวเอง ....
 
 

โดย: ร้อยวลี วันที่: 2 เมษายน 2549 เวลา:5:41:55 น.  

 
 
 
อ่านแล้วก็ได้ความรู้ดีครับ

ดูเหมือนว่าจุดเริ่มต้นอยู่ที่การออกจากความคิด ปล่อยจิตให้สงบนิ่งไปตามลำดับ ไม่ว่าอะไรเกิดขึ้นก็ให้เฉยๆ แล้วจะเข้าถึงธรรมะภายในไปตามลำดับเอง

ไม่ว่าสมถะ หรือวิปัสสนา ก็เริ่มต้นที่จุดเดียวกัน

ขอบคุณมากครับที่เอามาลงให้อ่านกัน
 
 

โดย: เสี่ยวเหลียงจือ วันที่: 2 เมษายน 2549 เวลา:21:17:40 น.  

 
 
 
เข้ามาเยี่ยมครับ..

ผมเชื่อเรื่องเหล่านี้เหมือนกันนะ... อิอิ
 
 

โดย: wbj วันที่: 3 เมษายน 2549 เวลา:15:48:49 น.  

 
 
 
สาธุจ้า
 
 

โดย: Mocha Macchiato วันที่: 4 เมษายน 2549 เวลา:22:44:09 น.  

 
 
 
ฝึกจิตให้มีสติ แล้วสมาธิคงจะบังเกิด
แต่ก็ยังทำไม่ค่อยได้นักค่ะ

 
 

โดย: jan_tanoshii วันที่: 11 เมษายน 2549 เวลา:8:39:36 น.  

 
 
 
สุขสันต์วันสงกรานต์จ้า คิดถึงนะคะ


 
 

โดย: ฉะฉาน วันที่: 15 เมษายน 2549 เวลา:19:16:30 น.  

 
 
 
แวะมาทักทายจาก BC ค่ะ ....
 
 

โดย: ปูจ๋า (Sai~Jai ) วันที่: 17 เมษายน 2549 เวลา:12:23:09 น.  

Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

กิ่งไม้ไทย
 
Location :
Alberta Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 15 คน [?]




เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ไม่เที่ยง


* สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ 2539 ห้ามผู้ใดละเมิด หรือลอกเลียน หรือนำส่วนใดๆ ของข้อความ ,หรือ ภาพ จากบล๊อคนี้ ไปใช้ ทั้งโดยเผยแพร่ และเพื่ออ้างอิง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด * Copyright @ All Rights Reserved
* * * * บุญใดๆจากการเผยแผ่ธรรม เป็นธรรมทานนี้ ขอน้อมถวายเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา บิดา มารดา ครูบาอาจารย์ผู้มีพระคุณ พระอุปชาอาจารย์ ทั้งหมด ทุกภพทุกชาติ และพ่อหลวงพระธุดงค์ผู้ชี้ทางแห่งการพ้นทุกข์ ขอผลานิสงส์นี้ จงเป็นปัจจัยให้ข้าพเจ้าทั้งหลาย ได้อยู่ดีกินดี มีความสุขความเจริญยิ่งๆ ขึ้นไป และได้เข้าถึงซึ่งพระนิพพานในชาติปัจจุบันนี้ ด้วยเทอญฯ
Creative Commons License
http://kingmaithai.bloggang.com/ โดย กิ่งไม้ไทย นี้ ใช้ สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ใช่งานดัดแปลง 2.5 แคนาดา.
[Add กิ่งไม้ไทย's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com