ไม่ว่าฤดูร้อนปีไหนๆ กลางวันและกลางคืนที่ผ่านไป คงเป็นเวลาที่เท่ากันเสมอ
space
space
space
<<
กันยายน 2565
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
space
space
12 กันยายน 2565
space
space
space

พนมเทียน - แว่วเสียงรายา (เรื่องสั้นขนาดยาว)


แว่วเสียงรายา - พนมเทียน

"ซึ่งถ้าจะคำนวณอายุในระหว่างแต่งเรื่องนี้
ก็จะเป็นระยะต้นๆ ของการริอ่านจะเป็นนักประพันธ์ของผมทีเดียว
คือขณะที่เขียนนั้นอายุแค่ ๒๒ ปีเท่านั้น"

พนมเทียน
๒ มกราคม ๒๕๕๔

"แว่วเสียงรายาถือกำเนิดขึ้นก่อนเพชรพระอุมา ๑๑ ปี
โดยส่วนตัวผมรู้สึกว่า ผมเห็นโครงอันคร่าวรางของเพชรพระอุมาคุกรุ่นอยู่แล้วในพื้นเรื่องนี้
เป็นไปได้หรือไม่ว่า---ถึงแม้จะเงียบฉี่
แต่---แว่วเสียงรายาคือไอเดียที่มาถึงก่อน หรือเป็น precursor ของเพชรพระอุมา,
นวนิยายอีกเรื่องหนึ่งซึ่งจะสร้างชื่อเสียงให้กับพนมเทียนในเวลาต่อมา"

ผาด พาสิกรณ์
ผู้ค้นลิ้นชัก (อีกครั้ง)
๑๕ มกราคม ๒๕๕๔


จากคำนำของทั้งสองท่านข้างต้น
ผมได้อ่านครั้งแรกในเว็บไซต์ที่มีคนรีวิวไว้
สะดุดใจในส่วนผลงานที่คุณพนมเทียนท่านเขียนเมื่ออายุ 22 ปี
และสะดุดในคำว่าไอเดียที่มาถึงก่อนเพชรพระอุมา

มีคนแสดงความเห็นในกระทู้ของเว็บไซต์หนึ่ง
อ่านเรื่องราวของแว่วเสียงรายาแล้ว ทำให้นึกถึงรพินทร์ตอนพบกับเนวิน
ซึ่งเมื่อผมได้อ่านแล้ว ผมก็รู้สึกเช่นนั้นเหมือนกัน
เป็นปมที่ทำให้เราอยากรู้เรื่องราวต่อว่า
ทำไมตัวละครเขาถึงได้ประสบเหตุการณ์เช่นนั้น
แล้วอะไรที่ทำให้เขาประสบเคราะห์ถึงขนาดทำให้เป็นปม
จนต้องพลิกหน้ากระดาษ ติดตามเรื่องราวต่ออย่างกระหาย

ความรู้สึกนี้เลยครับ
เพชรพระอุมาภาคแรกตอนที่ลายแทงของมังมหานรธาปรากฎ
พูดง่ายๆ ว่าติดงอมแงมกันเลยทีเดียวครับ
ยังจำความรู้สึกแรกที่จับเพชระพระอุมาได้ไม่หาย 

แว่วเสียงรายาที่ผมพยายามจะอ่านถ้อยสำนวนอย่างช้าๆ
กะถือหนังสือเล่มกะทัดรัดไว้สักอาทิตย์
ก็เป็นอันจบในไม่กี่เพลา หลังจากปราสาทร้างได้ปรากฏ

โครงเรื่องกระชากให้อ่านต่อ
และชี้ชวนให้หยิบมาอ่านต่อ
จนจบแล้วก็ยังหยิบมาลูบๆ คลำๆ ต่อ

สำนวนแบบนี้เลยครับที่ผมหาอ่าน
บรรยากาศแบบนี้เลย ที่อยากสัมผัสสักครั้ง

รู้สึกขอบพระคุณที่สุด ที่หนังสือเล่มพิมพ์นี้ออกมา
ผมไปอยู่ไหนมา ทำไมถึงไม่เอะใจที่จะอ่านในตอนแรกซักนิด
เสน่ห์ของภาษา วันเวลาแห่งยุคสมัย
ยิ่งเป็นงานของคุณพนมเทียนท่าน ยิ่งน่าค้นหา น่าศึกษา 

เป็นหนังสือเล่มหนึ่ง ที่ผมคิดบ้าๆ
อยากให้เล่มนี้ไปปรากฎบนชั้นหนังสือสมัยที่ผมเรียน ม.ต้น
และผมได้พบ และอ่านงานเขียนเล่มนี้ ในวันนั้น...

วันที่ผมจะเดินไปยืมกับครูบรรณารักษ์ที่ห้องสมุด
ใส่กระเป๋าไปนั่งอ่านขณะที่เพื่อนๆ โขกหมากรุกที่โต๊ะหินอ่อน
หรือไม่ก็เอาไปอ่านในอาคารพิพิธภัณฑ์ภูมิปัญญาชาวบ้านให้ได้ Feel (ฮ่าๆ)

ถ้าย้อนเวลาได้จริง
วันนี้ผมคงได้เขียนเรื่องเมื่อ 20 ปีก่อนเป็นประสบการณ์แรกในบันทึกไปแล้ว 

แต่นี่คือ ปี 65 ที่ผมได้อ่านเป็นครั้งแรก ช้าไปหน่อยเมื่อไปเทียบกับปี 54 แต่ก็ดีใจที่ได้อ่าน 

ส่วนหนึ่งที่ผมอดจะกล่าวถึงเสียมิได้ก็คือส่วน "เพียงภาพอันผิวเผิน"
ประโยคที่คุณผาดเขียน ในคำนำบทนั้น (ที่ผมชอบมาก)

"นักเขียนอาจไม่ใช่คนประเภทที่คิดซับซ้อนลึกล้ำให้ต้องล้วงขึ้นมาตีกันให้มากความ
บางทีเขาอาจเป็นเพียงปุถุชนคนหนึ่งที่หาเลี้ยงชีพด้วยการปั่นต้นฉบับออกขายสำนักพิมพ์...
เสียบกระดาษใส่แคร่แล้วปล่อยให้จินตนาการพาตนไป ดังบ้าง ดับบ้าง
จุดหมายไม่ใช่โล่รางวัลหรือชื่อเสียง, สไตล์งานหรือคอนเซ็ปต์ช้วน
หากเป็นเงินค่าต้นฉบับสำหรับค่าเช่าบ้านที่ค้างจ่ายมาแล้วร่วมสองเดือน" 

ความทรงค่าของวรรณศิลป์
ความทรงคุณค่าที่ลึกลงไปอีกในวิญญาณของงานเขียน
บางครั้งก็ให้ความรู้สึกที่มากกว่าหน้ากระดาษและตัวอักษร

จะบอกว่าเป็นความอบอุ่นใจยามที่อ่านถึงคณะคุณชายเชษฐาก่อกองไฟ
หรือตอนเดินป่าเจอหิมะก็ใช่เสียว่าจะหนาวเหน็บ

ไม่รู้เหมือนกัน
เพียงแค่ผมอยากฟังเรื่องอะไรสักอย่างจากคุณพนมเทียนท่าน
ผมก็แค่หยิบงานเขียนของท่านขึ้นมาอ่านให้อุ่นใจ ก็เพียงแค่นั้น... 

แว่วเสียงรายา
ผู้เขียน - พนมเทียน
ภาพปก - เหม เวชกร
ผู้ค้นพบต้นฉบับ - ผาด พาสิกรณ์
สำนักพิมพ์คเณศบุรี ฉบับพิมพ์ครั้งที่หนึ่ง (มีนาคม ๒๕๕๔)




 

Create Date : 12 กันยายน 2565
1 comments
Last Update : 12 กันยายน 2565 10:37:19 น.
Counter : 661 Pageviews.

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณนายแว่นขยันเที่ยว, คุณnewyorknurse, คุณ**mp5**

 

แวะมาเยี่ยมและส่งกำลังใจครับ

 

โดย: **mp5** 14 กันยายน 2565 9:29:20 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

space

Kimhanvisuwat
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]






space
space
[Add Kimhanvisuwat's blog to your web]
space
space
space
space
space