Group Blog
 
 
มีนาคม 2553
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
9 มีนาคม 2553
 
All Blogs
 
มารู้จักพัฒนาการของทารกในครรภ์

เกิดอะไรขึ้นในช่วง 40 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์ อ่านบทความนี้แล้วคุณจะรู้ว่าในแต่ละสัปดาห์ลูกน้อยมีพัฒนาการอย่างไรบ้าง และคุณแม่ควรรัปประทานอาหารอย่างไรเพื่อตอบสนองกับความต้องการของลูกน้อยและตัวคุณแม่เอง

Week 1 วางแผนตั้งครรภ์ ถ้าไม่เคยใส่ใจกับโภชนาการที่ถูกสุขลักษณะมาเลย เห็นทีคราวนี้ต้องปฏิวัติตัวเองเพื่อลูกซะแล้ว คุณควรเริ่มกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ เริ่มกินยาบำรุงประเภทวิตามินรวมวันละ 1 เม็ด (ไม่ควรเกินจากนี้) โดยคุณจะต้องปรึกษากับแพทย์ก่อน เพราะบางทีคุณอาจไม่ถึงกับต้องพึ่งยาบำรุงก็ได้แตงโมอาจช่วยให้คู่ของคุณมีน้ำเชื้อที่มากพอที่จะทำให้คุณตั้งครรภ์ได้ งด เหล้า บุหรี่ ทั้งตัวคุณ และคู่ของคุณอย่างเด็ดขาด เพราะจะทำให้การปฏิสนธิของไข่ล้มเหลวได้ หรืออาจส่งผลต่อสุขภาพครรภ์ของคุณได้รวมทั้งคุณผู้ชายที่สูบบุหรี่จะมีน้ำเชื้อน้อยกว่าผู้ชายที่ไม่สูบ

Week 2 เลือกเพศลูก นอกจากเลือกช่วงเวลาในการร่วมเพศแล้วโภชนาการก็มีส่วนสำคัญต่อความสำเร็จในการเลือกเพศให้ลูกเช่นกัน ถ้าหากคุณต้องการลูกผู้หญิง คุณต้องกินอาหารที่มีสารอาหารประเภทแคลเซียมและแมกนีเซียมสูง ซึ่งคุณจะได้สารอาหารเหล่านี้จากอาหารจำพวกแป้ง หรือผลิตภัณฑ์นม แต่ถ้าหากคุณต้องการลูกผู้ชาย คุณต้องกินอาหารที่มีสารประเภทโปตัสเซียม และโซเดียมเป็นส่วนประกอบ ซึ่งคุณจะได้จาก ผัก ผลไม้สด และเนื้อสัตว์ทุกชนิด

Week 3 เริ่มการปฏิสนธิ ทันทีที่มีการปฏิสนธิเกิดขึ้น ไข่ที่ได้รับการผสมแล้วจะขยายเซลล์ออกไปอย่างรวดเร็ว และต่อเนื่อง ดังนั้นหากคุณต้องเอาใจใส่กับคุณภาพลูกน้อยในครรภ์ ควรเริ่มจริงจังนับตั้งแต่วินาทีนี้เป็นต้นไปกินอาหารที่มีกรดโฟลิกสูงจะช่วยให้เซลล์เม็ดเลือดแดง และเซลล์ของตัวอ่อนมีความแข็งแรงคุณควรได้รับกรดโฟลิก และวิตามินรวมให้ได้วันละ 4,000 มิลลิกรัมต่อวัน ตั้งแต่ช่วงก่อนตั้งครรภ์ไปจนปลายสัปดาห์ 12

Week 4 ตัวอ่อนฝังตัวในมดลูก ช่วงนี้เองที่คุณเริ่มรู้สึกแปลกๆ ของอาการแพ้ท้อง ที่เป็นสัญลักษณ์ที่บอกให้คุณได้รู้ว่าคุณกำลังตั้งครรภ์แล้ว อาการแปลกๆ เหล่านี้อาจทำให้คุณอยากกินอาหารแปลกๆ ที่ปกติไม่เคยชอบ หรืออยากกินอาหารที่มีรสเปรี้ยวการตามใจปากบริโภคอาหารเหล่านี้เข้าไปมากอาจทำให้คุณขาดสารอาหารที่จำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตของลูกน้อยในครรภ์ของคุณได้ช่วงที่ตัวอ่อนกำลังฝังตัวในเยื่อบุผนังมดลูก คุณจำเป็นต้องได้รับสารอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง เพราะมันจะช่วยสร้างฮีโมโกลบิน ซึ่งเป็นสารสำคัญที่นำเอาออกซิเจนมาสู่ตัวอ่อนได้ คุณสามารถได้รับธาตุเหล็กจากอาหารกลุ่มธัญพืชต่างๆ ถั่ว ตระกูลต่างๆ ผักขม และผงกะหรี่

Week 5 สร้างรกและอวัยวะ คุณควรกินอาหารที่มีโปรตีนสูง กรดอะมิโนที่มีอยู่ในโปรตีน จะช่วยให้ลูกของคุณมีเสบียงมากพอในการสร้างอวัยวะต่างๆ โปรตีนจะมีอยู่ในอาหารจำพวก เนื้อ, นม, โยเกิร์ต, ชีส และพืชตระกูลถั่วนอกจากนี้ธาตุเหล็ก และแคลเซียมยังคงจำเป็นอยู่มาก คุณควรเลิกดื่มชา กาแฟ เพราะคาเฟอีนจะทำให้การดูดซึมของธาตุเหล็กได้ไม่ดีนัก แต่ถ้าคุณอดไม่ได้จริงๆ คุณก็สามารถดื่มได้ เพราะไม่มีอันตรายใดๆ ต่อลูกในครรภ์ แต่ควรดื่มประมาณวันละ 2-7 ถ้วยต่อวันสำหรับกาแฟสำเร็จรูป และ 1-4 ถ้วยต่อวันสำหรับชา และควรทิ้งระยะเวลาจากอาหารมื้อที่มีธาตุเหล็กประมาณครึ่งชั่วโมง เท่านี้คุณก็สามารถลิ้มรสชากาแฟ โดยที่ยังคงได้รับธาตุเหล็กอย่างเต็มที่จากอาหารมื้อปกติด้วย

Week 6 ระดับฮอร์โมนเพิ่มขึ้น ทำให้อาการแพ้ท้องเริ่มรุนแรงในบางราย คุณควรเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค กินให้น้อยลง แต่ให้บ่อยครั้งขึ้น ถ้ากินอะไรไม่ได้เลย ให้กินขนมปังกรอบที่ผสมธัญพืช หรือผักโขมแทนได้ ในรายที่มีอาการแพ้ท้องรุนแรงมาก ให้ฝานขิงอ่อนเป็นแผ่นบางๆ แช่ในน้ำร้อน แล้วค่อยๆ จิบ จะช่วยให้ดีขึ้น นอกจากนี้ให้พยายามหลีกเลี่ยงการได้รับเชื้อโรคจากการกินอาหารดิบๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ไข่ที่ไม่ได้ปรุงให้สุกเสียก่อน, อาหารที่ไม่ได้ผ่านกระบวนการฆ่าเชื้อ และอาหารแช่แข็ง

Week 7 เซลล์ประสาทส่วนกลางและสมองพัฒนา ช่วงสำคัญที่สุดในการปูพื้นฐานสู่ความเป็นอัจฉริยะให้กับลูกอยู่ตรงนี้เอง โอเมก้าทรี คือสารอาหารที่จะช่วยให้สมองของลูกเจริญเติบโตขึ้นอย่างแข็งแรง ซึ่งคุณจะได้รับจากน้ำมันปลา (ปลาแซลมอน, ปลาซาร์ดีน, ถั่วอัลมอล, ถั่วเหลือง, ถั่ววอลนัท), เมล็ดฟักทอง อย่าลืม! กรดโฟลิกช่วยทำให้เซลล์แต่ละตัวของตัวอ่อนแข็งแรง คุณยังคงจะต้องได้รับสารอาหารตัวนี้ต่อไปจนเข้าสัปดาห์ที่ 12

Week 8 เซลล์เม็ดสีพัฒนาระบบนัยน์ตาที่ซับซ้อนภายในสมอง คุณจึงยังต้องหมั่นกินอาหารที่อุดมไปด้วยโอเมก้าทรีขณะเดียวกัน วิตามินบี 2 ก็มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของทารกน้อยในครรภ์ คุณจึงต้องได้รับสารอาหารชนิดนี้ตลอดช่วงของการตั้งครรภ์ โดยเฉพาะในช่วง 12 สัปดาห์แรก โดยคุณจะได้วิตามินบี 2 จาก นม, ไข่แดง, ไข่ปลา, เนยแข็ง ผักใบเขียว เป็นต้น

Week 9 เซลล์กระดูกมีโครงร่างที่ชัดเจน นิ้วมือและเท้าของทารกเริ่มแยกออกจากกันแคลเซียมคือสารอาหารหลักที่ช่วยเสริมสร้างกระดูกที่แข็งแรง คุณควรได้รับวันละ 700-800 มิลลิกรัมต่อวันจึงจะเพียงพอต่อการสร้างรากฐานกระดูก และฟันที่แข็งแรงให้กับทารกและยังช่วยป้องกันการขาดแคงเซียมในตัวคุณด้วย และเพื่อให้การดูดซึมแคลเซียมมีประสิทธิภาพ คุณยังต้องได้รับวิตามินดีด้วย ออกไปนอกบ้านรับแดดยามเช้าตรู่สักครึ่งชั่วโมง หรือถ้ากลัวผิวเสีย หรือไม่แน่ใจว่าแดดแรงเกินไปหรือไม่ ก็ให้กินพวกน้ำมันปลา ไข่ และนม ก็สามารถช่วยได้

Week 10 ทารกเริ่มได้อาหารจากคุณโดยตรง เพราะรกเริ่มมีการทำงานสมบูรณ์แล้ว ในช่วงนี้คุณจะต้องระมัดระวังอาหารที่บริโภคเข้าไป อาหารที่ไม่มีประโยชน์กับคุณ ก็จะให้ผลเช่นเดียวกับลูกของคุณ คุณควรงดการกินตับ และน้ำมันตับปลา หรืออาหารที่มีวิตามินเอสูง เพราะอาหารกลุ่มนี้จะมีกรดไขมันอิ่มตัวสามารถสะสมในร่างกายได้

Week 11 อัตราการเผาผลาญพลังงานในร่างกายคุณเร็วกว่าปกติ วิตามินบี 2 จำเป็นต่อเอนไซม์ต่างๆ ที่ช่วยให้กระบวนการเผาผลาญพลังงานทำงานได้ดี นอกจากนี้ ยังช่วยป้องกันไขมันอุดตันในเส้นเลือดด้วยขณะเดียวกันคุณก็ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีไขมันและมีรสจัดด้วย

Week 12 ร่างกายของคุณมีความต้องการน้ำมากขึ้น เพราะช่วงนี้ หน้าท้องของคุณจะขยายใหญ่จนไปกดทับกระเพาะปัสสาวะ ทำให้คุณต้องเข้าห้องน้ำบ่อยๆ ดังนั้น คุณจึงต้องดื่มน้ำมากๆ อย่างน้อยวันละ 8 แก้ว เพื่อทดแทนกับน้ำที่คุณสูญเสียไปเพราะน้ำมีความสำคัญต่อกระบวนการย่อยอาหารภายในร่างกายของคุณ

Week 13 รกเริ่มทำหน้าที่ผลิตโปรเจสเตอโรนและเอสโทล เพื่อช่วยรักษาครรภ์ และควบคุมการเปลี่ยนแปลงที่จำเป็นในร่างกายของคุณ แต่ระดับฮอร์โมนที่เพิ่มขึ้นนี้ อาจทำให้คุณมีอาการอักเสบ และมีเลือดออกได้ อาหารที่มีวิตามินซีสูง จะช่วยรักษาโรคเหงือกบวม และโรคเลือดออกตามไรฟันได้ ทั้งยังมีส่วนช่วยเสริมให้กระดูกและฟันของทารกในครรภ์แข็งแรงอีกด้วยวิตามินซีมีในผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวทั้งหลาย มีมากในฝรั่ง สตรอเบอรี่ บรอ๊อคโคลี่

Week 14 ต่อมไทรอยด์พัฒนาถึงขั้นพร้อมผลิตฮอร์โมน ถ้าหากคุณชอบกินผักกะหล่ำปลี คุณจะได้รับวิตามินซีจากผักชนิดนี้ แต่ในระยะนี้คุณควรจำกัดปริมาณการบริโภคผักกะหล่ำปลีลง หรือไม่กินดิบๆ เพราะมันมีสารยับยั้งการทำงานไทรอยด์ได้

Week 15 ผิวหนังเริ่มพัฒนา ถ้าหากคุณสามารถมองทะลุเข้าไปในท้องได้ คุณจะเห็นว่าลูกของคุณมีผิวหนังที่บางและโปร่งใสจนคุณสามารถมองเห็นเส้นเลือดของเขาได้ คุณสามารถช่วยเขาพัฒนาผิวหนังให้หนาขึ้นได้ด้วยการกินอาหารที่มีวิตามินเอคงจำกันได้ว่าเราห้ามไม่ให้คุณกินตับเพราะภายในตับมีวิตามินเอ ถูกแล้วล่ะค่ะ วิตามินเอในตับจะอยู่ในรูปของ “เรตินอล” ซึ่งจะให้ผลเสียมากกว่าผลดี ส่วนวิตามินเอ ที่จะมีประโยชน์ต่อการควบคุมกระบวนการผลิตเซลล์ผิวหนังจะอยู่ในรูปของ “แคโรทีน” จะมีอยู่ในแครอท ผักใบเขียวเหลือง เนย ฟักทอง

Week 16 มดลูกขยาย น้ำคร่ำในรกเพิ่มขึ้นเป็น 7 ออนซ์ครึ่งวิตามินซี จะช่วยให้คอลลาเจนรวมตัวกันได้ดี ทำให้เซลล์ยึดติดกันเหนียวแน่น วิตามินซีนอกจากจะช่วยให้กระดูกและฟันของลูกคุณแข็งแรงแล้ว ยังช่วยผิวหนังของคุณมีความยืดหยุ่นสูงทำให้การแตกลายของผิวหนังลดลงและกลับคืนมาเป็นปกติอย่างสมบูรณ์หลังคลอด แต่คุณก็ไม่ควรลืมทาโลชั่นบริเวณผิวหนังที่แตกลายร่วมด้วยนะคะ

Week 17 ไขเคลือบผิวทารกเริ่มพัฒนาขึ้น เป็นไขมันชนิดพิเศษที่จะช่วยให้ความอบอุ่นแก่ทารกตลอดระยะเวลาที่อยู่ในครรภ์และช่วยปกป้องผิวอ่อนบางของทารกด้วย ไบโอตินจะช่วยในกระบวนการย่อยสลาย และดูดซึมกรดไขมัน วิตามินช่วยลดไขมันที่มีสภาพเป็นกลางในเส้นเลือด ทำให้เลือดไหลเวียนสะดวกมีมากในถั่วต่างๆ ผลไม้ น้ำมันจากข้าวสาลี เมล็ดทานตะวัน และผักเขียวปนเหลือง

Week 18 ระบบประสาทหู พัฒนาจนใช้งานได้แล้ว อวัยวะต่างๆ เติบโตจนทำให้ลูกของคุณสามารถรับรู้ความรู้สึกจากโลกภายนอกได้แล้วไบโอตินนอกจากจะช่วยในการถนอมผิวพรรณแล้ว ยังมีความสำคัญต่อระบบประสาทด้วยขณะที่วิตามินบี 1 จะทำหน้าที่เปลี่ยนน้ำตาลเป็นอาหารต่อระบบประสาท และยังช่วยปกป้องคุณจากโรคเหน็บชา อันเนื่องมาจากน้ำหนักครรภ์ที่เพิ่มขึ้นและไปกดทับเส้นเลือดของคุณ ทำให้การหมุนเวียนของเลือดติดขัด มีมากในธัญพืช ข้าวกล้อง เนื้อวัว หรือเนื้อหมู เต้าหู้ ถั่วหมัก งา กระเทียม

Week 19 หนังศรีษะเริ่มมีผมงอกออกมา เล็บมือและเท้าเริ่มเจริญขึ้นผิวหนังหนาขึ้นเป็น 4 ชั้นแล้ว ในช่วงนี้คุณควรเริ่มให้ความสำคัญกับอาหารที่มีสังกะสีเพราะนอกจากจะช่วยเสริมการเติบโตของทารกน้อยในครรภ์คุณแล้ว ยังช่วยป้องกันการคลอดก่อนกำหนดด้วย มีมากในเนื้อสัตว์ อาหารทะเล ถั่วอบแห้ง

Week 20 มดลูกขยายเบียดเข้าไปในช่องท้อง ช่วงนี้คุณจึงอาจมีปัญหาท้องผูกบ่อยๆ ถ้าปล่อยไว้อาจเป็นริดสีดวงทวารได้ คาร์โบไฮเดรตนอกจากจะให้พลังงานกับคุณแล้ว ยังช่วยแก้ปัญหาท้องผูกให้กับคุณได้อีกด้วย มีมากในข้าว มันฝรั่ง ขนมปังโฮลวีต

Week 21 ระบบการย่อยอาหารพัฒนาจนสามารถดูดซึมน้ำ และน้ำตาลจากน้ำคร่ำที่กลืนเข้าไปได้ และขับของเสียออกมาในลำไส้ใหญ่ช่วงนี้ร่างกายของคุณมีความต้องการพลังงานเพิ่มขึ้น เพื่อช่วยในการเผาผลาญอาหารไนอะซินจะช่วยเปลี่ยนน้ำตาล และไขมัน เป็นพลังงาน และยังช่วยให้ระบบย่อยอาหารทั้งของคุณ และเจ้าตัวน้อยในครรภ์ มีการทำงานที่ดีขึ้นด้วย มีมากในเนื้อหมู ไก่ ปลา เห็ด ถั่วต่างๆ งา และธัญพืช

Week 22 เซลล์ประสาทพัฒนาอย่างสมบูรณ์ ประสาทสัมผัสเจริญเต็มที่ ลูกของคุณจะใช้ประสาทส่วนนี้ในการเรียนรู้การเคลื่อนไหวความแตกต่าง และความสัมพันธ์ระหว่างส่วนต่างๆ ของร่างกาย วิตามินบี 12 ช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง และช่วยบำรุงระบบประสาทส่วนกลางและเส้นประสาทส่วนปลาย มีมากในเนื้อวัว ไก่ หมู ปลา นม เนยแข็ง

Week 23 ปริมาณพลาสมาในตัวคุณเพิ่มขึ้น ทำให้คุณมีโอกาสเกิดภาวะโลหิตจางได้ ควรให้แพทย์ตรวจดูว่าคุณได้รับธาตุเหล็กเพียงพอหรือไม่ เพราะภาวะโลหิตจาง หากเป็นมากอาจเข้าขั้นอันตรายได้

Week 24 น้ำหนักของคุณเพิ่มขึ้นถึงระดับสูงสุด การกินอาหารที่มีไฟเบอร์สูงตลอดช่วงของการตั้งครรภ์โดยเฉพาะในช่วง 3 เดือนสุดท้ายจะทำให้มีไขมันน้อยลง ทำให้ทรวงทรงของคุณกระชับเข้าที่ได้อย่างรวดเร็วหลังคลอดแถมยังช่วยป้องกันการเกิดโรคเบาหวานที่อาจเกิดขึ้นในช่วงท้ายของการตั้งครรภ์ด้วย คุณจะได้ไฟเบอร์จากผัก ผลไม้ ธัญพืช

Week 25 อวัยวะเพศ และระบบสืบพันธ์พัฒนาขึ้นอย่างชัดเจน ช่วงนี้การแบ่งเพศชายหญิงในตัวทารกจะชัดเจนแล้ว เด็กชายจะเริ่มมีถุงอัณฑะ ส่วนเด็กหญิงบริเวณช่องคลอดจะมีช่องลึกเข้าไป วิตามินเอ จะช่วยพัฒนาอวัยวะสืบพันธ์ของทารก

Week 26 ระบบนัยน์ตาพัฒนาเกือบสมบูรณ์ ลูกของคุณเริ่มลืมตาขึ้นได้แล้วในสัปดาห์นี้ สีนัยน์ตาของเขาจะพัฒนาต่อไปจนหลัง
คลอด 2-3 เดือน สีนัยน์ตาจึงถูกกำหนดขึ้นอย่างถาวรโดยรูม่านตา อย่าลืม! โอเมก้าทรีช่วยพัฒนาระบบนัยน์ตาของทารก

Week 27 ระบบภูมิคุ้มกันของทารกยังอ่อนแอ ลูกของคุณมีรูปร่างหน้าตาคล้ายทารกแรกคลอดแล้วล่ะ ถ้าเขาเกิดอยากออกมาดูโลกตอนนี้ เขาจะมีโอกาสรอดชีวิต 85% ภายใต้การดูแลพิเศษ ปัญหาคือว่าระบบต่างๆ และอวัยวะอีกหลายส่วนยังมีการทำงานที่ไม่เต็มที่และระบบภูมิต้านทานยังอ่อนแออยู่ ธาตุเหล็ก แคลเซียม โอเมก้าทรี วิตามินซี ล้วนช่วยให้เขามีการเติบโตที่แข็งแรงมากขึ้น

Week 28 ถึงเวลาทดสอบภาวะต่างๆ ในร่างกายของคุณแล้ว ช่วงนี้คุณหมอจะนัดคุณถี่ขึ้น เพราะในช่วง 3 เดือนสุดท้ายอาจภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ขึ้นได้ แถมร่างกายของคุณก็อ่อนล้าจากการเปลี่ยนแปลงในร่างกายหลายอย่าง คาร์โบไฮเดรตและวิตามินบี 1 จะช่วยให้คุณมีพละกำลังพร้อมที่จะอึดเพื่อลูกน้อยในครรภ์ของคุณต่อไป

Week 29 โปรแลคตินกระตุ้นเต้านมพร้อมผลิตน้ำนม ช่วงนี้หัวนมของคุณอาจมีน้ำนมสีเหลืองข้นไหลออกมา ปรากฏการณ์นี้เป็นสัญญาณบ่งบอกถึงการทำงานของเต้านม คุณควรรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็ก แคลเซียม วิตามินซี วิตามินดี จะช่วยให้ร่างกายของคุณเตรียมพร้อมสำหรับการผลิตน้ำนมไว้ให้กับลูกน้อยของคุณ

Week 30 มดลูกเริ่มหดรัดตัวเป็นครั้งแรก คุณจะรู้สึกเกร็งที่ยอดมดลูกเป็นพักๆ แต่ยังไม่ใช่อาการเจ็บท้องคลอด เป็นเพียงการเตรียมท่าของทารกให้พร้อมสำหรับการคลอดเท่านั้นไบโอตินในผลไม้สดแช่เย็น หลังอาหารจะทำให้คุณรู้สึกสดชื่นกระปรี้กระเปร่า และยังช่วยให้กล้ามเนื้อผ่อนคลายอีกด้วย

Week 31 ปอดของลูกคุณพัฒนาขึ้นจนเกือบสมบูรณ์ ถุงลมในปอดสามารถหลั่งสารชนิดหนึ่งออกมาเพื่อช่วยให้ถุงลมสามารถทำหน้าที่ของมันได้ หากทารกก่อนคลอดก่อนกำหนด แต่ตอนนี้เขายังต้องพึ่งออกซิเจนที่มีอยู่ในกระแสเลือดที่ฉีดเข้ามาทางสายสะดืออยู่ ช่วงนี้วิตามินซี มีความจำเป็นมาก มันจะช่วยในการดูดซึมธาตุเหล็กและช่วยสร้างเม็ดเลือดให้กับทารกในครรภ์ขณะที่แคลเซียมยังเป็นสิ่งที่จำเป็นวิตามินเค จะช่วยในการดูดซึมแคลเซียม ช่วยบรรเทาอาการปวดหลังให้กับคุณ

Week 32 ศรีษะของลูกคุณเริ่มเคลื่อนลงแล้ว ลำตัวของเขาจะใหญ่ขึ้นจนเท้าชี้ขึ้นไปถึงซี่โครง แรงกดทำให้คุณรู้สึกเจ็บชายโครง อย่าลืมขอวิตามินเสริมจากหมอที่คุณฝากครรภ์ ลูกของคุณต้องการการบำรุงมากเป็นพิเศษในช่วงนี้

Week 33 ภาวะโลหิตจางในตัวคุณลดลง สืบเนื่องมาจากปริมาณพลาสมาเริ่มมีปริมาณเท่ากับเซลล์เม็ดเลือดแดง อีกทั้งภาวะร่างกายของคุณในช่วงนี้ จะสามารถดูดซึมธาตุเหล็กจากอาหารมื้อปกติเพิ่มขึ้นเป็น 66% คุณจึงไม่ต้องกังวลกับการบำรุงด้วยธาตุเหล็กอีกต่อไปแล้ว เว้นแต่คุณจะเป็นโรคโลหิตจาง

Week 34 ลูกของคุณอยู่ในท่าพร้อมที่จะคลอดแล้ว ต่อมหมวกไตของเขาจะผลิตฮอร์โมนสเตียรอยด์ออกมามากเป็น 10 เท่าของร่างกายผู้ใหญ่การทำงานของปอดดีขึ้น จนไม่จำเป็นต้องพึ่งการดูแลพิเศษ หากต้องคลอดออกมาในตอนนี้ ถึงสอย่างนั้นเขาก็ยังอยากอยู่ข้างในท้องของคุณ ดึงแคลเซียมจากร่างกายของคุณมาเสริมสร้างกระดูกของเขาให้มีความแข็งแรงมากกว่านี้ เพราะฉะนั้นอย่าลืมว่าแคลเซียมยังจำเป็นเสมอสำหรับคุณ

Week 35 ยอดมดลูกขยับขึ้นในระดับสูงสุด อยู่ใต้กระดูกสันอกทำให้คุณหายใจขัดเจ็บชายซี่โครง รับประทานอาหารลำบาก ลองใช้วิธีเดียวกับตอนแพ้ท้องใหม่ๆ ดูซิคะ รับประทานอาหารมื้อเล็กๆ แต่บ่อยครั้ง และพักผ่อนให้มากจะช่วยได้

Week 36 กระโหลกศรีษะเป็นรูปร่าง แต่ยังไม่แข็งแรงพอแคลเซียม วิตามินซี วิตามินดี และโอเมก้าทรี จะช่วยให้กะโหลกศรีษะของลูกคุณแข็งแรงมากขึ้นและพร้อมที่จะมุดตัวโผล่พ้นช่องคลอดออกมาพบกับคุณในไม่อีกกี่สัปดาห์นี้

Week 37 เริ่มมีการสร้างเยื่อหุ้มเซลล์ประสาทในสมอง และจะมีการสร้างต่อไปอย่างต่อเนื่องในช่วงหลังคลอดเยื่อหุ้มเซลล์ประสาท มีความสำคัญต่อสมองอัจฉริยะของลูกคุณจำได้หรือไม่? โอเมก้าทรี อาหารพลังสมองของลูกในท้องของคุณ

Week 38 ทารกเริ่มเคลื่อนศรีษะลงมาอยู่ที่อุ้งเชิงกราน ทำให้คุณรู้สึกโล่ง และหายใจสะดวกขึ้น แต่น้ำหนักของมดลูกจะไปกดทับที่กระเพาะปัสสาวะแทน ทำให้คุณเข้าห้องน้ำบ่อยขึ้น หมั่นดื่มน้ำบ่อยๆ เพราะน้ำยังจำเป็นต่อการดูดซึมสารอาหารภายในร่างกายของคุณอยู่

Week 39 อาการเจ็บครรภ์เตือนเกิดขึ้น ความรู้สึกจะใกล้เคียงกับการเจ็บครรภ์คลอดจริง การหดรัดตัวไม่เป็นจังหวะสม่ำเสมอ ทำจิตใจให้สบาย คิดถึงลูกของคุณที่จะคลอดออกมา เจ็บท้องคลอดจะเป็นอุปสรรคขี้ปะติ๋วสำหรับคุณ วิตามินบี 1 จะช่วยให้ระบบประสาทของคุณผ่อนคลายขึ้น

Week 40 ได้เวลาสบตาเทวดาของคุณซะที จุกเมือกที่ปากทางเข้ามดลูกลอกตัวออกมา ปากมดลูกเปิดออก ถุงน้ำคร่ำแตกของเหลวและเลือดไหลออกมาการหดรัดตัวของมดลูกแรงขึ้น เป็นจังหวะสม่ำเสมอและถี่ขึ้นเรื่อยๆ อาหารที่ให้พลังงานทุกชนิดจำเป็นสำหรับการเตรียมพร้อมของคุณคาร์โบไฮเดรต วิตามินบี 1 วิตามินซี และอาหารที่มีคุณค่ายิ่งกว่าสิ่งใดอาหารใจที่ได้กอดเทวดาตัวน้อยของคุณไว้ในอ้อมอก อ้า…ความอ่อนล้าทั้งหมดหายไปเป็นปลิดทิ้ง.

[ ที่มา..นิตยสารบันทึกคุณแม่ No.162 January 2007]
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

มารู้จักพัฒนาการของทารกในครรภ์ (กันอีกครั้ง)

ปฏิทินการตั้งครรภ์จะเริ่มนับตั้งแต่วันแรกของการมีประจำเดือน ครั้งสุดท้าย ดังนั้นเมื่อคุณหมอบอกว่า คุณแม่ตั้งครรภ์ได้ 4 สัปดาห์ แล้ว ในความเป็นจริง คือ 2 สัปดาห์หลังจากการปฏิสนธิ การตั้ง ครรภ์โดยปกติจะมีระยะเวลา 37 - 42 สัปดาห์นับจากวันแรกของการมี ประจำเดือนครั้งสุดท้าย โดยเฉลี่ยคือ 40 สัปดาห์ ถ้าหากว่าคุณแม่ไม่ แน่ใจว่าวันแรกของประจำเดือนครั้งสุดท้ายมาเมื่อไหร่ การอัล ตร้าซาวนด์จะสามารถช่วยกำหนดวันคลอดทารกได้


ในสัปดาห์แรกๆ
ทารกในครรภ์จะถูกเรียกว่า "Embryo" และในอีก 8 สัปดาห์ต่อมาจะถูกเรียกว่า "Fetus" หมายถึง "ตัวอ่อน" ("young one")


สัปดาห์ที่ 3
(3 สัปดาห์นับจากวันแรกของประจำเดือนครั้งสุดท้าย)
ไข่ที่ได้รับการผสมแล้ว (fertilised egg) จะเคลื่อนตัวช้าๆ ผ่านท่อนำไข่ มายังโพรงมดลูก ขณะเคลื่อนตัวก็แบ่งเซลล์เพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อมาถึงโพรงมดลูกไข่จะมีลักษณะเป็นลูกกลมประกอบด้วยเซลล์ราว 100 เซลล์และยังคงเจริญเติบโตต่อไป ประมาณปลายสัปดาห์ที่ 3 ไข่ที่ ผสมแล้วจะฝังตัวลงในเยื่อบุโพรงมดลูก ซึ่งมีลักษณะนุ่มและหนา เมื่อยึดเกาะติดมั่นคงดีแล้วจึงถือได้ว่าการปฏิสนธิเป็นไปอย่างสมบูรณ์


สัปดาห์ที่ 4 - 5
เมื่อไข่ที่ผสมแล้วยึดเกาะติดฝังตัวลงในเยื่อบุโพรงมดลูกเรียบร้อยดี แล้ว ระยะนี้จะเรียกว่า "Embryo" จะยื่นส่วนที่อ่อนนุ่มลักษณะคล้าย นิ้วมือแทรกลึกลงไปในผนังมดลูก เพื่อสร้างติดต่อกับเลือดของแม่ ต่อมาส่วนนี้จะเจริญเติบโตเป็นรก มีการสร้างสายสะดือและถุงน้ำคร่ำ ห่อหุ้มต่อไป ส่วนเซลล์ภายในจะมีเนื้อเยื่อพิเศษสองชั้น และกลายเป็น สามระดับชั้นตามลำดับ แต่ละชั้นจะสร้างเป็นอวัยวะต่างๆ ของร่าง กายทารกน้อย โดยเซลล์ชั้นแรกจะพัฒนาเป็นสมองและระบบประสาท, ผิวหนัง, ตา และหู ส่วนชั้นต่อมาจะพัฒนามาเป็นปอด, กระเพาะอาหาร, และ ชั้นที่สามจะกลายเป็นหัวใจ,หลอดเลือด, กล้ามเนื้อ และ กระดูก สัปดาห์ที่ 5 จะเป็นระยะที่ประจำเดือนขาดหายไป และคุณแม่ มักจะรู้ตัวว่าตั้งครรภ์ ซึ่งระบบประสาทของทารกเริ่มพัฒนาแล้ว


สัปดาห์ที่ 6 - 7
ปลายสัปดาห์ที่ 6 ตัวอ่อนจะมีรูปร่างโค้งงอ มีส่วนหัว ส่วนด้านข้าง และ ส่วนล่างที่มีลักษณะเหมือนหางกระดก ส่วนหลังที่ผ่าตลอดแนวจะมีชั้น ของเซลล์พื้นผิวที่ม้วนตลบขึ้นทั้งสองข้างจดกันเป็นท่อตลอดแนวหลัง ซึ่งจะกลายเป็นกระดูกสันหลังต่อไป บริเวณหน้าอกที่โป่งออกจะพัฒนา เป็นหัวใจในเวลาต่อมาและจะเริ่มเต้นในปลายๆ สัปดาห์นี้ สามารถ เห็นการเต้นของหัวใจได้จากการใช้เครื่องอัลตร้าซาวนด์

รอยบุ๋มที่ปรากฏบริเวณศีรษะจะพัฒนามาเป็นหู และตา และมีปุ่มเล็กๆ ซึ่งจะเจริญเป็นแขนและขาต่อไป ในสัปดาห์ที่ 7 ตัวอ่อนจะมีความ ยาวประมาณ 8 มม.


สัปดาห์ที่ 8 - 9
เริ่มมีลักษณะใบหน้า มีติ่งของจมูก รูจมูก ร่องปาก และลิ้น เริ่มเห็น ตาชัดขึ้นและเริ่มมีสีของลูกตา, เริ่มมีปากและลิ้น นิ้วมือ นิ้วเท้าเริ่ม ปรากฏชัดขึ้น แขน ขาเริ่มยาวขึ้น เริ่มมองเห็นไหล่ ข้อศอก สะโพก และหัวเข่า ตัวอ่อนเคลื่อนตัวอยู่เรื่อยๆ (แต่คุณแม่ยังไม่สามารถรู้สึก ได้) หูชั้นในซึ่งมีหน้าที่รับการทรงตัวและการได้ยินกำลังถูกสร้างขึ้น อวัยวะภายในสำคัญๆ เริ่มปรากฏทั้งหมดแม้จะยังไม่สมบูรณ์ - หัวใจ สมอง ปอด ตับ ไต ลำไส้ ในสัปดาห์ที่ 9 ลูกในครรภ์จะมีความ ยาว 17 มม.


สัปดาห์ที่ 10 - 14
เมื่อลูกในครรภ์อายุได้ 14 สัปดาห์ อวัยวะส่วนสำคัญทั้งหมดจะสร้าง เรียบร้อยแล้วทั้งสิ้น ลำไส้และอวัยวะส่วนต่างๆ เริ่มขยายขนาดและตบ แต่งให้สมบูรณ์ ส่วนหัวจะยาว 1 ใน ของความยาวลำตัว ส่วนลูกตาจะ สร้างสมบูรณ์ในขณะที่เปลือกตายังปิดและไม่ทำงาน หน้าตาสมบูรณ์ แล้ว ลำตัวเหยียดตรง เริ่มมีซี่โครงและกระดูก เริ่มมีเล็บมือ เล็บเท้า และขนบางส่วน อวัยวะเพศแยกได้ชัดเจน หัวใจเต้น 110 - 160 ครั้ง/ นาที ทารกเริ่มกลืนน้ำคร่ำและถ่ายปัสสาวะ อาจมีอาการสะอึกเป็นครั้ง คราว ลูกเริ่มดิ้นแล้ว แต่ไม่แรงพอที่จะทำให้คุณแม่รู้สึกได้ในช่วง สัปดาห์ที่ 14 นี้ ลูกในครรภ์จะมีความยาว 9 ซม. และหนัก 48 กรัม


สัปดาห์ที่ 15 - 22
ทารกในครรภ์จะเจริญเติบโตอย่างสม่ำเสมอ ในสัปดาห์ที่ 18 ส่วนของ ใบหน้าพัฒนาจนคล้ายมนุษย์มากขึ้นทุกที ลูกเริ่มแสดงสีหน้าได้เป็น ครั้งแรก จะทำหน้ายุ่งๆ และย่นหน้าผากได้ เส้นผมเริ่มหยาบขึ้นและมี สี คิ้วและขนตาเริ่มปรากฏ เปลือกตาบนล่างยังติดกัน จมูก นิ้วมือและ เท้าจะเห็นได้ชัดเจน เส้นลายนิ้วมือเริ่มเป็นปรากฏ ดังนั้นทารกแต่ละ คนจึงมีลายนิ้วมือ เฉพาะตัวแตกต่างกันไป เล็บเริ่มงอกออกมาเล็ก น้อย ระบบการส่งคลื่นเสียงของหูเริ่มทำงานเต็มที่ ลูกเริ่มได้ยินเสียง ของแม่ และเสียงจากระบบย่อยอาหารของแม่ จอตาจะเริ่มไวต่อแสงทั้ง ที่เปลือกตายังไม่ทำงาน ลูกจะเริ่มรับรู้แสงได้แล้ว หากมีแสงสว่างจ้า จากภายนอกครรภ์ของแม่

ในสัปดาห์ที่ 22 ตามลำตัวของทารกจะมีขนอ่อน (lanugo) วัตถุประสงค์ของขนอ่อนยังไม่ ทราบแน่ชัด แต่คาดว่าช่วยในการควบคุมอุณหภูมิของทารก ขนอ่อนนี้ จะจางหายไปก่อนที่ทารกจะคลอดออกมา บางครั้งอาจจะหลงเหลืออยู่ บ้างหลังคลอดแต่จะหายไปในที่สุด

ในระหว่างสัปดาห์ที่ 16 - 22 คุณแม่จะเริ่มรู้สึกถึงการดิ้นของลูกเป็นครั้งแรก แต่ถ้าเป็นการตั้งท้อง ลูกคนที่สอง คุณแม่จะรู้สึกรับรู้ถึงการดิ้นของลูกเร็วขึ้น คือประมาณช่วง สัปดาห์ที่ 16 - 18 หลังการปฏิสนธิ ในสัปดาห์ที่ 22 ทารกในครรภ์จะมี ความยาว 16 ซม.


สัปดาห์ที่ 23 - 30
ทารกในครรภ์จะเคลื่อนไหวคล่องแคล่วมากขึ้น และมีการตอบสนองต่อ สัมผัสและเสียงดังๆ ภายนอก ถ้าได้ยินเสียงดังจากข้างนอก จะทำให้ ทารกเตะ หรือกระโดดได้ ทารกกลืนน้ำคร่ำและถ่ายปัสสาวะลงในน้ำ คร่ำประมาณวันละ 500 ซีซี บางครั้งทารกสะอึก และคุณแม่เองก็ สามารถรู้สึกถึงอาการสะอึกของลูกได้เช่นกัน ทารกเริ่มตื่นและหลับ เป็นเวลา และบ่อยครั้งทีเดียวที่แตกต่างไปจากเวลาของคุณแม่ เมื่อ คุณแม่จะเข้านอนในกลางคืนอาจเป็นเวลาที่ลูกตื่นและเริ่มเตะ ถีบ

การเต้นของหัวใจของทารกสามารถได้ยินผ่านเครื่องสเตรปโตสโคป แล้ว คุณพ่อเองถ้าเอาหูแนบท้องคุณแม่ดีๆ ก็จะได้ยินเสียงหัวใจของลูก เต้นเช่นกัน ในระยะนี้ผิวหนังของทารกจะถูกหุ้มด้วยไขสีขาวเรียกว่า "vernix" ซึ่งเชื่อว่าถูกสร้างขึ้นเพื่อปกป้องให้ผิวลูกอ่อนนุ่มขณะที่ยังลอย ตัวอยู่ในน้ำคร่ำ ไขสีขาวนี้จะจางหายไปก่อนที่ลูกจะคลอดออกมา

ในระยะสัปดาห์ที่ 24 ถ้าลูกคลอดตอนนี้ก็อาจมีโอกาสที่จะมีชีวิตรอดได้ ถ้าได้รับการดูแลเป็น พิเศษ เนื่องจากจะมีปัญหาเรื่องการหายใจ และอุณหภูมิร่างกายต่ำ ถ้า คลอดก่อนหน้านี้โอกาสที่ลูกจะมีชีวิตรอดเป็นได้ยากเพราะว่าปอดและ อวัยวะส่วนสำคัญๆ ยังพัฒนาไม่สมบูรณ์เพียงพอ

ในระยะสัปดาห์ที่ 26 เปลือกตาลูกจะเปิดเป็นครั้งแรก เท่ากับว่าลูกเริ่มลืมตาและมองเห็นได้ แล้ว ความยาวของลูกในช่วง 30 สัปดาห์จะประมาณ 24 ซม.


สัปดาห์ที่ 31 - 40
ในระยะ 34 สัปดาห์อวัยวะต่างๆ ของลูกสมบูรณ์เกือบหมดแล้ว ยกเว้น ปอดซึ่งยังพัฒนาไม่เต็มที่ ระยะนี้ลูกจะเคลื่อนตัว เหยียดแขนขา หรือ เตะผนังหน้าท้องจนเห็นนูนชัดออกมาบริเวณหน้าท้อง ทำให้คุณแม่ นอนไม่ค่อยหลับ ลูกมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น 1 กก. นับจากเดือนนี้ เนื่องจากมี ไขมันสีขาวมาสะสมใต้ผิวหนังช่วยให้ความอบอุ่นและพลังงานแก่ร่างกาย รวมทั้งควบคุมอุณหภูมิของลูกเมื่อคลอด เล็บมืองอกยาวถึงปลาย นิ้ว แต่เล็บเท้า ยังไม่งอกถึงปลายนิ้ว ผมเริ่มดกเต็มศีรษะ ทารกบาง คนอาจเอาศีรษะลงสู่ช่องทางคลอดแล้ว แต่บางคนก็ยังไม่กลับหัวลงจน กว่าจะครบกำหนดคลอด


การเจริญเติบโตของลูกในช่วงสุดท้าย
ทารกจะสลัดขนอ่อนตามร่างกายออกเกือบหมด เหลือไว้แต่บริเวณไหล่ แขน ขา และรอยย่นตามลำตัว ผิวหนังนุ่มและเรียบ ยังคงมีไขสีขาว เคลือบอยู่บ้างบริวเณหลังเพื่อหล่อลื่นให้ทารกคลอดได้ง่าย เล็บมือจะ ยาว ปลายเล็บอาจข่วนบริเวณใบหน้าได้ ต่อมหมวกไตจะสร้างฮอร์โมน เร่งความสมบูรณ์ของปอด เพื่อเตรียมการหายใจครั้งแรกของชีวิต หลังคลอด

ระบบภูมิคุ้มกันโรคของลูกในครรภ์ยังทำงานไม่ได้ ต้องอาศัยภูมิต้าน ทานโรคต่างๆ จากคุณแม่ผ่านทางรก ถ้าคุณแม่มีภูมิต้านทานโรค เช่น ไข้หวัด คางทูม หัดเยอรมัน ลูกก็จะได้รับภูมิคุ้มกันโรคเหล่านั้นครบ หมด และยังจะได้รับต่อเนื่องผ่านทางน้ำนมแม่ด้วย

คุณแม่จะรู้สึกว่าลูกดิ้นน้อยลงกว่าเดิมเพราะถูกจำกัดการเคลื่อนไหว แต่ก็ยังคงรู้สึกว่าลูกเตะถีบในบางครั้งได้ทารกแรกเกิดจะมีน้ำหนักตัว 3 - 4 กก. และมีความยาวจากศีรษะถึงก้นประมาณ 35 - 37 ซม.







Create Date : 09 มีนาคม 2553
Last Update : 10 ตุลาคม 2553 9:30:53 น. 1 comments
Counter : 1746 Pageviews.

 


โดย: หาแฟนตัวเป็นเกลียว วันที่: 9 มีนาคม 2553 เวลา:16:29:04 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

KhunNoo@rm
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]




Load Counter
Google
New Comments
Friends' blogs
[Add KhunNoo@rm's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.