Give a man a fish and he will eat for a day. Teach a man to fish and he will eat for the rest of his life.
Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2556
 
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
23 ตุลาคม 2556
 
All Blogs
 

เรื่อง Breakout มาทบทวนกันอีกที

.........เรื่อง Breakout มาทบทวนกันอีกที (จาก Lecture ในห้องไลน์มือใหม่ วันที่ 23 ต.ค.56)

.........เรื่อง Breakout ก็เป็นหัวใจสำคัญของการเทรดหุ้นอีกปัจจัยหนึ่ง เพราะจะเป็นตัวชี้วัดในการเข้าซื้อ และออกจากหุ้น ก่อนอื่นทบทวนให้นิดนึงเรื่องแนวต้าน
.........แนวต้านคือจุด หรือบริเวณที่หุ้นเมื่อไปถึงตรงนั้น หรือบริเวณนั้นแล้วจะไม่ไปต่อ และราคาจะลดลง หรือ 2. เป็นบริเวณที่หุ้นจะไปตรงนั้นบ่อยครั้งมาก และทุกครั้งที่ไปถึงแล้วก็เด้งลง เราเรียกบิเวณนั้นว่าแนวต้าน ส่วนแนวรับก็ตรงกันข้ามกับแนวต้าน ขอให้พวกเราเปิดกราฟที่ให้ไป
.........แล้วดูตรงวงกลมที่ 2 ทางด้านซ้ายมือ ตรงราคา 28.00 บาท จะเห็นว่าหุ้นได้ไปที่จุดสูงสุดนี้หลายครั้งแต่ก็ไม่สามารถผ่านไปได้ ตรงนี้เราจึงถือว่าเป็นแนวต้าน ถัดลงมาที่วงกลมที่ 1 สีชมพู ซ้ายมือ ที่ราคา 25.50 เราก็จะเห็นเป็นแนวต้านอีกเช่นกัน
.........คราวนี้มาดูคำจำกัดความเรื่อง Breakout กัน Breakout คือวันที่ราคาหุ้นได้ทะลุผ่านแนวต้านขึ้นไปด้วยช่วงของราคาในวันนั้นที่กว้าง (Spread กว้าง) อย่างมีนัยสำคัญ ส่วน Breakdown ก็เป็นเรื่องตรงกันข้ามกับ Breakout หากเราแยกองค์ประกอบออกมาจะได้เป็น
........1. ในวันนั้นราคาหุ้นได้ทะลุแนวต้านขึ้นมา
........2. มี spread ของราคากว้าง โดย spread ให้ดูจาก ราคาขณะนั้น ลบด้วยราคาปิดวันก่อน เช่น ราคาปิดวันก่อน 24.90 ราคาในขณะนั้น 25.50 แบบนี้ถือว่ามี spread 3 ช่อง
....... 3. ขึ้นมาแบบมีนัยสำคัญ หรืออาจใช้คำว่า มีโวลุ่มมา support เป็นจำนวนมาก
........4. ราคาจะต้องสามารถยืนเหนือแนวเส้นเบรคได้
.......ถ้าเข้าองค์ประกอบเหล่านี้เราเรียกว่าหุ้นมีการ Breakout แล้ว ถึงตรงนี้มีคำถามมั้ยครับ
........Q. อาจารย์คะ spreadกว้างควรมีกี่ช่องขึ้นไปค
........Q. Spread ราคากว้างกำหนดได้ไหมคะว่าตั้งแต่ 3 ช่องขึ้นไปถึงจะถือว่ากว้าง
........A. อย่างน้อย 3 ช่องขึ้นไปจ้ะ

........Q.โวลุ่มsupportนี่ต้องเยอะขนาดไหนครับ และราคายืนได้นี่คือหมายถึงจบวันด้วยราคานี้ใช่มั๊ยครับ
.........A. ประมาณโวลุ่มของวันเบรคก่อนหน้า หรือเอาวันที่หุ้นขึ้นล่าสุด (ที่จริงเราอาจประเมินด้วยสายตาจากสถิติย้อนหลังได้) มันไม่สามารถกำหนดเป็นตัวเลขแน่นอนได้

.........ต่อมาเรามาดูความแข็งแกร้งของ Breakout
.........1. ถ้ายิ่งมีช่วงกว้างราคามาก จะมีความแข็งแกร่งกว่าช่วงราคาแคบ เช่น spread 8 ช่อง ย่อมแข็งแกร่งกว่า spread 3 ช่องเป็นต้น เพราะการมี spread กว้างหมายถึงว่าในวันนั้น ณ จุดเบรคนั้น แรงซื้อชนะแรงขายอย่างราบคาบ ไม่มีใครประสงค์จะขายในราคานั้นแล้ว แต่หาก spread แคบ หมายถึงว่าแม้แรงซื้อจะชนะแรงขาย แต่ก็เฉียดฉิว ความมั่นคงหลังจากเบรคไปแล้วก็อาจไม่แน่นอน และนี่คือคำตอบว่าทำไม อ. จึงให้ซื้อหุ้นเมื่อมันขึ้นไปแล้ว 3 - 4 ช่อง แล้วยืนได้
.........2. หากในวันเบรคมีโวลุ่มมากเท่าไหร่ยิ่งดี แต่ต้องไม่ถึง Free float หรือมากเป็นประวัติการณ์ (แต่ spread แคบ) ทั้งนี้เพราะ โวลุ่มจะเป็นกำลังในการขับเคลื่อนให้ราคาวิ่งไปได้ ถ้าไม่มีโวลุ่ม ราคาก็ไม่เปลี่ยนแปลง ถ้ามีโวลุ่มน้อย เหมือนกับให้ผู้หญิงไปเข็นรถกระบะ ถ้าโวลุ่มเยอะ ก็เหมือนให้หนุ่มกำยำไปเข็นแทน ความแข็งแกร่งจองเบรคมีโวลุ่มจึงอยู่ตรงนี้
........3. การ Breakout หากเบรคผ่านรอบระยะเวลายิ่งมากยิ่งดี เช่นเบรคทำลายราคาในรอบ 20 ย่อมแข็งแกร่งน้อยกว่า เบรคระยะ 60 วัน เบรคระยะ 60 วันย่อมแข็งแกร่งน้อยกว่าเบรครอบ 100 วัน
12:48 อ.เด็ก เบรค 100 วันย่อแข็งแกร่งไม่เท่าเบรค All time high เป็นต้น นี่คือการวัดความแข็งแกร่งของ breakout มีใครมีคำถามมั้ยครับ

.......Q.ถ้าโวลุ่มมากเป็นประวัติการณ์จะไม่ค่อยดีหรอครับ
.......Q.ข้อ2ค่ะ ในวันเบรคทำไมถึงโวลุ่มต้องไม่มากเป็นประวัติการคะ

.......A. หุ้นทุกตัวจะมีส่วนที่หมุนเวียนอยู่มรตลาดส่วนหนึ่ง ส่วนที่หมุนเวียนนี้เราเรียกว่า float ในส่วนของ float ยังมีส่วนที่เจ้ามือเอาไปเก็บไว้ในการทำราคา ส่วนที่เหลือจึงอยู่ในมือรายย่อย ถืออยู่ การวัด float เป็นเรื่องยาก เราจึงประมาณการณ์ว่า โวลุ่มสูงสุดเป็นประวัติการณ์คือ float ถ้าในวันไล่ราคา หรือวันทำ Breakout โวลุ่มออกมายังไม่ถึง float หรือมากเป็นประวัติการณ์ เราจึงพออนุมานได้ว่าเจ้ามือยังไม่ได้มีการแจกของเพื่อเลิกเล่นเพียงแต่ลากราคาไปเพื่อจะออกของในระยะต่อไป แต่ถ้าหากโวลุ่มมันมากเป็นประวัติการณ์ จะอนุมานไว้ก่อนว่าหุ้นถูกเปลี่ยนมือจากเจ้าของเดิม ซึ่งรวมถึงของเจ้ามือด้วย แต่ถ้าหากมันมากถึง float แล้วช่วง spread ยังกว้าง แม้เราจะอนุมานว่าหุ้นได้ถูกเปลี่ยนมือแล้ว แต่เราก็ยังมีบททดสอบในวันต่อไปได้ เพราะ spread มันกว้าง เรายังมีเวลาหนีทัน แต่ถ้าแคบเราก็ไม่ควรอยู่ทู่ซี้กับมันอีก Float มีความสำคัญซึ่งจะอธิบายแบบละเอียดในบทท้าย ๆ ตอนนี้เอาแค่น้ำจิ้มไปก่อน

........เรามาดูตัวอย่างการเบรค จากภาพให้เราดูที่วงกลท 1 ทางขวามือ 17/9/56 เป็นวันที่หุ้นเบรคเอ๊าท์ ทะลุเส้นแนวนอนที่พาดขวางวงกลม 1 ซ้ายมือ 24/7/56 แสดงว่าเป็นการ Breakout ระยะ 60 วัน ความแข็งแกร่งก็งั้น ๆ ส่วนการ Breakout ที่เรียกว่า All time high ให้ดูที่วงกลม 2 ให้ดูทางซ้ายมือก่อน จะเห็นว่าราคา 28.00 เป็นราคาสูงสุดที่ยังไม่สามารถทำลายได้ ดูตรงสีแดง กว้าง ๆ ทึบ ๆ วันที่ 31/05/56 ในวันนั้น โวลุ่มมาแบบ Float และราคาก็ไม่ไป หนำซ้ำติดลบอีก ยิ่งไปกว่านั้นเป็นการเปิดสูงปิดต่ำซะด้วยหมายถึงอะไรในวันนั้น หุ้นโวลุ่มมา Float เป็นการแตะมือกันระหว่างเจ้ามือกับรายย่อย แจกของเหมือนงานทิ้งกระจาดวัดพนัญเชิง เข้าสูตรที่บอกเมื่อสักครู่ แบบนี้หากใครดูกราฟไม่เป็นต้องร้องเพลง "มวลเขาอันป่าใบเขียว คดลดเลี้ยวพันเกี่ยว...." ดอยแน่นอน แค่ 5 วันหันมารู้สึกตัว อ้าว อยู่บนดอยนี่หว่า จาก 28 เหลือ 23.00
........คราวนี้หันมาดูวงกลม 2 ขวามือ วันที่ 15/10/56 หุ้นได้ Breakout ขึ้นไปทำ All time high จะเห็นว่า spread ใช้ได้ คงขาดแต่โวลุ่มเท่านั้นที่ยังไม่มากพอ เรียกง่าย ๆ ว่าส่วนสูงใช้ได้ แต่น้ำหนักไม่ไหว เป็นสนุกเกอร์เรียกว่าออกคิวดี แต่น้ำหนักไม่ได้ สุดท้ายจ่อ จากภาพที่ให้จะเห็นว่าสุดท้ายหุ้นก็ตกกลับมาให้ setup กันใหม่อีก และนี่ก็คือเรืองของ Breakout ส่วน Breakdown ก็ไปลองคิดดู มันตรงกันข้ามกันเท่านั้นแหละ Breakout เราจะใช้ประกอบในการตัดสินใจเข้าซื้อ วันนี้ขอจบเพียงเท่านี้จ้ะ






 

Create Date : 23 ตุลาคม 2556
0 comments
Last Update : 23 ตุลาคม 2556 16:46:59 น.
Counter : 4289 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


zombie99
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 55 คน [?]





free counters
: Users Online
Friends' blogs
[Add zombie99's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.