"แต่โบราณลาภยศเหมือนเมฆลอย เพียงหมื่นร้อยประโยชน์สร้างนามสืบสาน สันโดษเดินเพลินขับกล่อมท่องสายธาร สู่เทือกเขาสูงตระหง่านวางอัตตา" (ดัดแปลงจาก ฯพณฯ จาง จิ่ว หวน,เอกอัครราชทูตสาธารณะประชาชนจีน ประจำประเทศไทย)
Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2552
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
 
4 กุมภาพันธ์ 2552
 
All Blogs
 
เรียนวิชาปรัชญาไปทำไม?

วิชาปรัชญานี่มันเหมาะกับคนที่สมองชอบใช้ปากตั้งคำถาม
ใช้มือเขียนคำถาม ใช้ตาอ่านหนังสือ
อยากเรียนอยากรู้อยากเข้าใจอะไรไปหมด ในทุกอย่างที่สัมผัสได้
ตาบอดแล้ว ยังไม่หยุด ใช้มือคลำเอาก็ยังดี...(ฮา)

พอคิดว่ารู้แล้ว(จริงๆแล้วก็ยิ่งไม่รู้...(ฮา) ก็อึดอัด ร้อน ต้องเที่ยวไปพูดให้คนอื่น เขียนให้คนอื่นรู้ว่าตนรู้อะไรมา...มันไม่หยุดตรงนั้น
ยังไปชวนให้คนอื่นเชื่อตามที่ตนเชื่ออีก

บางทีสังคมเขาเรียกคนเหล่านั้นว่านักปราชญ์
แต่นักปราชญ์แต่ละคนนั้น ศึกษาดูแล้ว ไม่เห็นจะคิดอะไรได้ตรงกันสักเรื่อง
แน่จริง เขาต้องไปถึงความจริงที่เป็นสิ่งเดียวกัน จุดเดียวกัน

จุดนั้นคือยอดเขาแห่ง ความจริง ความดี ความงาม สูงสุด

แสดงว่าคนเหล่านั้นยังไม่ใช่นักปราชญ์ที่พิชิตยอดเขาได้สักคน

ที่คุณถามมา สนใจจะพิชิตยอดเขาหิมาลัยบ้างหรือเปล่าล่ะ?


Create Date : 04 กุมภาพันธ์ 2552
Last Update : 4 กุมภาพันธ์ 2552 14:15:53 น. 7 comments
Counter : 1303 Pageviews.

 
//www.pantip.com/cafe/library/topic/K7489886/K7489886.html


โดย: ขามเรียง วันที่: 4 กุมภาพันธ์ 2552 เวลา:14:32:50 น.  

 
ขอร่วมสนทนาด้วยครับ

ผมเป็นนักเรียนปรัชญาคนหนึ่ง มีความเห็นที่แตกต่างออกไปครับ มันมีวิธีการเข้าใจวิชาปรัชญาและนักปรัชญาอยู่ 2 รูปแบบครับ ในการแปลคำว่า philosophy ว่า 1) วิชาของผู้รู้ (ซึ่งส่วนมากเราจะเข้าใจวิชานี้ในความหมายนี้) และ 2) วิชาของผู้ที่รักจะรู้ (เป็นความหมายที่แท้จริงของคำว่า philosopher ตามรากศัพท์ในภาษากรีก) ถ้าเราเข้าใจความหมายของนักปรัชญาแบบนี้ อาจจะทำให้เราเข้าใจวิชานี้และนักเรียนวิชานี้ได้มากขึ้น

เราใช้ปากถามเพราะเรารักที่จะรู้ เราเขียนถามเพราะเรารักที่จะรู้ เราเรียน เราอ่าน เพราะเรารักที่จะรู้ และเราจะไม่หยุดการทำกิจกรรมทางปัญญาเพราะเรารักที่จะรู้นั่นเอง แต่เมื่อเราคิดว่าเรารู้ เราก็แสดงทัศนะออกไปเพื่อคนที่อยากรู้ในเรื่องเดียวกันกับเรา หากเขาไม่เห็นด้วยเราก็จะได้ร่วมถกเถียงอภิปรายเพื่อนำไปสู่การรู้มากยิ่งขึ้น เท่านั้นเอง

นักปรัชญามีความอ่อนน้อมถ่อมตนและใจกว้างพอที่จะไม่อ้างว่าตนเป็นผู้รู้ครับ และก็ไม่ได้ให้ความสำคัญกับการเป็นผู้รู้มากกว่าการเป็นผู้รักที่จะรู้ เราจึงให้ความสำคัญกับการถามคำถามและการโต้แย้งถกเถียงกันครับ

มันจะเป็นอย่างไรล่ะครับ ถ้าในสังคมมีนักปราชญ์ชนิดที่อ้างว่าตนเองรู้ หรือพิชิตสัจจะได้สำเร็จแล้ว แล้วคนในสังคมก็พลอยยอมรับเหมือนกันหมด โดยไม่มีใครสงสัยอะไรเลย ผมว่าสังคมแบบนั้นน่ากลัวกว่านะครับ มันจะดีกว่าหรือไม่ ที่เราจะมีนักปราชญ์ที่รักที่จะรู้ และเป็นคนที่พร้อมจะเปิดใจให้มีการถามคำถามและโต้แย้งถกเถียงอย่างให้เกียรติ นี่แหละครับบทบาทของนักปรัชญา

ขอแสดงทัศนะแค่นี้นะครับ สนทนาค่อนข้างจะจริงจังหน่อยไม่ว่ากันนะครับ

ด้วยความเคารพ

ขอโทษด้วยนะครับระหว่างตอบนี่ มือไปโดนเอนเทอร์หลายครั้ง ช่วยลบอันก่อนหน้านี้ให้ด้วยนะครับ


โดย: dreamingbutterfly วันที่: 6 กุมภาพันธ์ 2552 เวลา:9:00:21 น.  

 
ผมเขียนไป เพื่อยั่วให้แย้งน่ะครับ
ด้วยความยินดี ที่dreamingbutterflyเข้ามาช่วยอธิบาย อย่างได้สาระ จริงจังนั้นดีครับ คนไทยติดเล่นมากไป ได้แต่ปรัชญาสุนทรียะเบื้องต้น จึงไม่ค่อยเข้าถึงปรัชญาด้านอื่นที่ต้องการความจริงจัง


โดย: ขามเรียง วันที่: 6 กุมภาพันธ์ 2552 เวลา:22:10:00 น.  

 
ดีเหมือนกันครับผมว่าจะย้ายไปเรียนปรัชญาอยู่พอดี
เพราะผมไม่รู้อะไรเลย


โดย: งี่เง้า IP: 202.28.110.161 วันที่: 11 กุมภาพันธ์ 2552 เวลา:12:01:03 น.  

 
ขอให้เรียนได้เกียรตินิยมครับ คุณงี่เง่า
ที่จริงมันคล้ายๆจะเป็นประวัติศาสตร์ปรัชญาไปแล้ว วิชานี้

ปัจจุบันการเรียนศาสตร์และศิลปทุกแขนง ถึงระดับปริญญาเอกจะเป็นดอกเตอร์ทางปรัชญาได้เหมือนกัน


โดย: ขามเรียง วันที่: 20 กุมภาพันธ์ 2552 เวลา:9:27:36 น.  

 
.นักปรัชญาเมธีนั้น(มีหลายด้าน) จะเป็นได้ดี ขยันฟัง/ไต่ถามผู้ใหญ่ที่ฉลาด
ต้องขยันอ่านขยันเขียน รู้๒ภาษาขึ้นไป ขยันคิด รักมนุษย์ขยันสมาคม ขยันท่องเที่ยวไปในโลกกว้าง
ทำอะไรต่ออะไรมากมาย และมีจิตสาธารณะ ฯลฯ


โดย: เพิ่มเติม (ขามเรียง ) วันที่: 6 ธันวาคม 2554 เวลา:19:38:49 น.  

 
ส่วนใหญ่โลกนี้มีคน 2 ประเภทเป็นผู้ เห็น กับไม่เห็น เช่นเห็นในด้านต่างๆและไม่เห็นในด้านต่างๆ มันเป็นธรรมดาของเหล่า สิ่งที่เรียกว่ามีชีวีต ที่บัญญัติ ว่าคน หรือมนุษย์ เพราะเค้ามีปัญญา แต่ปัญญามากไป คนก็ว่าบ้า ปัญญา น้อย ก็ว่าโง่ ผมว่าการที่เราจะเป็น นักปรัชญานั้น มันจะเหมือนกับการเข้าใจกับธรรมชาติหรือปล่าว คับ แต่ถ้ารู้และเข้าใจดีแล้วเพียงอย่างเดียวก็คงไม่ดีพอ ถ้าคุณไม่ยอมปล่อยวาง...แต่ที่สำคัญ ต้องเข้าใจก่อนว่า นักปรัชญาคือผู้ที่รักที่จะรู้ และอิสระในด้านความคิด ..และพร้อมยอมรับแนวความคิดของทุกคน...



โดย: เวย์...ไลท์โซน IP: 61.90.65.233 วันที่: 21 มกราคม 2555 เวลา:8:43:42 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ขามเรียง
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add ขามเรียง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.