"แต่โบราณลาภยศเหมือนเมฆลอย เพียงหมื่นร้อยประโยชน์สร้างนามสืบสาน สันโดษเดินเพลินขับกล่อมท่องสายธาร สู่เทือกเขาสูงตระหง่านวางอัตตา" (ดัดแปลงจาก ฯพณฯ จาง จิ่ว หวน,เอกอัครราชทูตสาธารณะประชาชนจีน ประจำประเทศไทย)
Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2554
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
14 ตุลาคม 2554
 
All Blogs
 

ปัญหาผังเมืองเป็นของพวกเราทุกคน

น้ำท่วมคือปัญหา ณ.พ.ศ.2544.นี้
ปัญหาที่เกิดกับการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต
ผลกระทบบนระนาบชุมชนเมือง/ความเป็นเมือง รวมถึงภาคเกษตรกรรมภาคอุตสาหกรรม (มหภาค/จุลภาค)
ที่เป็นสหสัมพันธ์กัน การละเลยพยาธิสภาพปัญหาน้ำท่วมตามธรรมชาติ เชิงการวางผังเมืองที่เป็นสหวิชาการและเชิงกายภาพ
มิได้เป็นภารกิจของสถาปนิกและวิศวกรผังเมือง/สมาคมและภาคราชการ ที่เป็นกลไกของรัฐเท่านั้น บนยอดสุดของความรับผิดชอบ แท้จริงคือผู้นำ/พรรค/นักการเมือง
ที่ควรมีวิสัยทัศน์-ญาณทัศน์ และฉากทัศน์(Vision Intuitive & scenario)อย่างยิ่ง

สังคมสุขนิยม(Hedonism)ในหลุมสบาย(Comfort Zone)เป็นปรัชญาที่นำมาวิเคราะห์สาเหตุของหายนะครั้งนี้
หากชาวเอเซียอุษาคเนย์นามว่า"อาเชียน"ยังจะปรารถนามีเผ่าพันธุ์ที่ยั่งยืนต่อไป
ควรที่จะต้องนำการเมืองสีเขียว(Green Politics)มาเป็นหนึ่งในนโยบายบริหารจัดการเมือง/ผังเมืองและแผ่นดินหรือสิ่งแวดล้อม/ทรัพยากรธรรมชาติ/สุขภาพโดยรวม อย่าง ขาดไม่ได้และเร่งด่วน

นักการเมือง/นักเคลื่อนไหว บูชาระบบประชาธิปไตยกันสุดหัวใจหรือเปล่า?
(ไม่เคยมีรัฐบาลไหนสนใจอย่างจริงจังเลย คราวนี้คงเป็นบทเรียนที่ล้ำค่า ประเทศไทยมี 2 อย่าง ไม่น้ำท่วมก็แห้งงแล้ง : facebook: post by Somchai Roogun)

แท้ที่จริงในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน มาตรา๖๗และมาตรา๘๕
ยังได้บรรจุสาระกำหนดเรื่องผังเมืองและการมีส่วนร่วมของประชาชนไว้ด้วยแล้ว
แต่จะมีใครสักกี่คนที่ให้ความสนใจ

อนึ่งคณะกรรมการปฏิรูปประเทศไทย(คปร) ยังได้คิดเรื่องการปฏิรูปเมืองไว้ด้วยเช่นกัน(รายงานฯหน้า๘๗)

ผมขอท้าทายสมาชิกชุมชนปรัชญา/ห้องสมุด ที่ใฝ่รู้ ได้โปรดนำร่องผู้คนให้ความสนใจกับมาตราดังกล่าว

--------------------- ----------------------- -----------------
กระทู้ K11185732 ปรัชญาน้ำท่วม [ปรัชญา] ณ. ลังค่าย (5 - 13 ต.ค. 54 14:45)


Photobucket>




 

Create Date : 14 ตุลาคม 2554
11 comments
Last Update : 14 ตุลาคม 2554 11:25:43 น.
Counter : 1485 Pageviews.

 

แวะมาเยี่ยมชมครับ

 

โดย: BoonsermLover 14 ตุลาคม 2554 13:28:41 น.  

 

ความเห็นนกเถื่อนตรงนี้โอเคครับ
คนไทย ตีตัวออกห่างจากอารยธรรมตัวเองทั้งที่รู้อยู่แก่ใจโดยสายเลือด (transcendental consciousness) ว่าคนไทยเป็นมนุษย์ริมน้ำ...

แปลได้ว่าเป็น...ปรัชญาน้ำท่วม บนดินแดน เจ้าของที่แล้งไร้ปรัชญาของตนเอง
แล้งความรักความรู้/ปล่อยให้ทีวีบันเทิงพาเลื่อนไหลไป,อ่านหนังสือปีละ๖-๗บรรทัด
ทาสทางสติปัญญาที่เอาแต่กระพี้แห่งสาระของฝรั่งมาใช้

จึงเท่ากับ...
ระบบศาสตร์การบริหารจัดการแผ่นดินที่ผิวเผินยิ่ง หาเป็นศาสตร์ที่บูรณาการครบถ้วนไม่
เป็นศาสตร์แบบอาณานิคมปกครองเมืองขึ้น(Beaurocracy)ที่โบร่ำโบราณ พัฒนายากอีกต่างหาก
ผสมกับระบบอุปถัมภ์แต่ไร้ระบบคุณธรรม และแยกส่วนปฏิบัติงาน(Division of Labours)
ต่างกรมกองต่างกระทรวง เพราะนายคนละคน

แย่งชิงกันนำ ชิงประโยชน์กัน กรมโยธาธิการและผังเมือง นั้นควรชื่อกรมผังเมืองและโยธาธิการ กลับไม่เป็นอย่างนี้

งานผังเมือง/ชุมชน/การเคหะ

และผังนิคมอุตสาหกรรมและชุมชนงาน จึงล่มและพบหายนะไปในครั้งนี้ไม่น้อยกว่า๕หมื่นล้านบาท /ชุมชนเกษตรกรอีก๕หมื่นล้านบาท ภาคส่วนอื่นอีกหลายหมื่นล้าน

ฯลฯ

 

โดย: กระทู้เดียวกัน (ขามเรียง ) 14 ตุลาคม 2554 14:43:11 น.  

 

ขอบคุณBoonsermlover ช่วยกันนะครับ

 

โดย: ขามเรียง 14 ตุลาคม 2554 17:08:12 น.  

 

องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (ไจก้า) เสนอ 3 ทางเลือกแก้ปัญหาน้ำท่วม กทม. ได้แก่ 1.สร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น จ.แพร่ 2.สร้างแก้มลิงบริเวณท้องทุ่งภาคกลางตอนบน และ 3.โครงการคลองผันน้ำเจ้าพระยา บางไทร-อ่าวไทย


กรมชลประทานได้รับการสนับสนุนจากองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (ไจก้า) ศึกษาแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพมหานคร (กทม.) ผลการศึกษาของไจก้าสรุปชัดว่า กทม.เป็นพื้นที่ที่มีความเสี่ยงภัยสูงกับปัญหาน้ำท่วม เพราะปัจจุบันมีเพียงแม่น้ำเจ้าพระยาเส้นทางเดียวที่จะระบายน้ำจากทางเหนือไหลลงสู่ทะเลและจะต้องผ่านกทม. ซึ่งเป็นที่ลุ่มประกอบกับแม่น้ำเจ้าพระยาในเขต กทม.สามารถรองรับน้ำได้ไม่เกิน 3,000 ลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) ต่อวินาที หากมากกว่านี้มีโอกาสถูกน้ำท่วมสูงมาก

 

โดย: ขามเรียง 18 ตุลาคม 2554 0:24:06 น.  

 

ข้อเสนอของไจก้านั้น ขณะนี้รัฐบาลรับทราบแล้ว และได้รวบรวมไว้ในโครงการ “ธ ประสงค์ใด” ว่าด้วยกรอบและประสานการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยา หากรัฐบาลให้ความสำคัญในโครงการใด คาดว่าจะมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปศึกษารายละเอียดเพื่อดำเนินการต่อไป

ทั้งนี้ ในเอกสารการจัดทำกรอบและประสานการบริหารจัดการและพัฒนาทรัพยากรในลุ่มน้ำเจ้าพระยา ได้แบ่งแผนงานมาตรการและโครงการที่จะดำเนินการดังนี้
แผนระยะสั้น ภายใน 5 ปี : ในกิจกรรมเพื่อการบรรเทาอุทกภัยนอกเหนือจากแผนงานของหน่วยงานที่รับผิดชอบในงบฯปกติแล้ว มาตรการด้านสิ่งก่อสร้างเสนอกำหนดให้จัดทำระบบพื้นที่ปิดล้อมชุมชนในเมืองหลักและ กทม. วงเงินลงทุน 13,000 ล้านบาท
แผนระยะกลาง ภายใน 15 ปี : มาตรการป้องกันโดยใช้สิ่งก่อสร้าง ประกอบด้วย 1.แผนงานพัฒนาระบบแก้มลิงในลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง 2.ปรับปรุงระบบระบายน้ำ งบฯ 7,020 ล้านบาท 3.จัดสร้างช่องทางผันน้ำหลากบางไทร-อ่าวไทย งบฯ 33,684 ล้านบาท 4.สร้างอ่างเก็บน้ำคลองโพธิ์,แม่วงศ์ และแควน้อย ควบคู่กับปรับปรุงสภาพลำน้ำระยะที่ 1 งบฯ 1,425 ล้านบาท


แผนงานระยะยาว ภายใน 25 ปี : มาตรการด้านสิ่งก่อสร้าง ได้แก่ 1.กำหนดแผนก่อสร้างช่องทางผันน้ำหลากบางไทร-อ่าวไทย (โครงการต่อเนื่อง) 2.พัฒนาระบบแก้มลิงทุกลุ่มน้ำเหนือนครสวรรค์ 3.ปรับปรุงระบบระบายน้ำ และ 4.ก่อสร้างอ่างเก็บน้ำแก่งเสือเต้น กิ่วคอหมา และแม่ขาน

จาก หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน

 

โดย: ขามเรียง 18 ตุลาคม 2554 0:25:02 น.  

 

'ผังเมือง:วิศวกรรมกำแพงน้ำลอด/น้ำท่วม'

มีเรื่องเล่าเชิงประจักษ์นิยมได้อีกครับ น่าจะเป็นความรู้ที่ควรเผยแผ่ ขยายออกไปเป็นบทเรียน

บางคนอาจตกข่าว เรื่องในบางหมู่บ้าน ที่นำกระสอบทรายหรือนำดินเหนียวมาทำกำแพงรอบหมู่บ้าน
แล้วชล่าใจว่ามันคงสูงพอ เกินกว่าระดับน้ำสูงสุดจะเอ่อท่วมข้ามกำแพงมาได้

ปรากฏต่อมาว่า น้ำพากันซึมรอดใต้กำแพงที่ทำไว้ ซึมทีละเล็กทีละน้อยจนดินใต้กำแพงอ่อนเหลวไม่มีแรงยึดตัว
น้ำหนักของมวลน้ำช่วยกดให้น้ำดันดินเหลวทลุลอดกำแพง ไหลบ่ามากมาย
จนกระทั่งท่วมเข้าชุมชนจนหมดสิ้น ลงทุนลงแรงทำกำแพงมากมาย กลายเป็นเรื่องเสียเปล่า

คนงานคนหนึ่งในนวนคร เล่าให้ผู้สื่อข่าวทีวีว่า ส่วนหนึ่งน้ำเขาลอดรูท่อระบายน้ำกลับเข้ามาในพื้นที่นิคม

ทำให้นึกถึงน้ำและบ้านผมปัจจุบัน ซื้อครอบครองไว้นานเกือบ๔๐ปีเห็นจะได้
เวลานั้นพื้นดินรอบบ้านถมไว้สูงกว่าระดับถนนเกือบครึ่งเมตร ต่อมา กทม.ทำถนนหน้าบ้านครั้งใหม่รวมแล้ว๒ครั้ง ทำทีไรก็ยกระดับขึ้นไปทุกครั้ง
ใครมีบ้านอยู่กรุงเทพจะทราบดี กทม.เขามีนิสัยพฤติกรรมการทำงานเป็นอย่างนี้ รังแกชาวเมืองโดยไม่ตั้งใจ
จนพื้นบ้านพื้นอาคารต่ำกว่าถนนไปมาก ผมคิดว่าข้าราชการกทม.หลายคนคงมีบ้านที่โดนแบบเดียวกับชาวเมืองบ้างหรอกนะ

น้ำท่วมกทม.หลายครั้งก่อนหน้านี้
ท่วมทีไร ช่วงแรกๆกำแพงบ้านก็รับน้ำได้ดี ๓-๔วันต่อมา น้ำจะเริ่มสามารถซึมลอดรอยต่อใต้พื้นบ้านที่เทคอนกรีตไว้ได้เสมอ
หากน้ำเป็นผู้ร้าย จับน้ำขึ้นศาล น้ำเขาคงบอกว่าเขาไม่ได้ท่วม เขาลอดข้างใต้ต่างหาก


ปรากฏการณ์ส่วนน้อยตรงนี้ ต้องไม่ลืมไม่ละเลย ไม่ประมาท
ยังจะเรียกว่ามาสร้างวิชาใหม่ทางผังเมืองกันคือ วิศวกรรมน้ำลอด ที่มากับวิศวกรรมน้ำท่วมนั้น คงจะไม่ผิด

ฝากไว้ให้สถาบันการศึกษาและวิชาชีพเกี่ยวข้อง กันลืมครับ

 

โดย: ขามเรียง 18 ตุลาคม 2554 10:23:10 น.  

 

ความลวงหลงผิดของการพัฒนาประเทศ ด้านผังเมือง Development Delusion

เหตุการณ์น้ำท่วมประเทศครั้งนี้ ถือว่ามีความรุนแรง มากในรอบ๕๐ปี
เป็นการให้บทเรียนหลายด้านแก่คนในประเทศไทยและกลุ่มASEANทั้งมวล

ความสูญเสียทุกด้านเกิดขึ้น ด้านเศรษฐกิจนั้นเป็นเงินหลายแสนล้านบาท ด้านการลงทุนภาคอุตสาหรรมส่งผลถึงการลงทุนจากต่างประเทศรุนแรงเช่นกัน ด้านมนุษย์และสังคมด้านสุขภาพกำลังตามมาอีกเป็นระลอก

งานผังเมืองเป็นส่วนหนึ่งที่จะต้องได้รับการทบทวนด้วยอย่างมาก
งานผังเมืองเป็นงานทางภาพกว้างและเป็นองค์รวม(Macro & Wholistic Task) ที่ทำให้การดำเนินชีวิตของผู้คนทั่วไป ซึ่งเป็นคนตัวเล็กๆในพื้นที่อันมหาศาล ไม่ได้ใส่ใจ
ด้วยชีวิตนั้นดำเนินไปกับหน้าที่การงานเฉพาะหน้า/แยกส่วน ของแต่ละอาชีพ แต่ละวิชาชีพ(Micro & Divisional Task)
งานผังเมืองเป็นงานของกลุ่มวิชาชีพเฉพาะในแวดวงเล็กๆในสังคม ความรู้ความเข้าใจและความเอาใจใส่ของมหาชน เรียกได้ว่ามีน้อยหรือไม่มีเลยก็ว่าได้

ยิ่งแย่กว่านั้น เมื่อเร็วๆนี้สมาคมวิชาชีพด้านผังเมือง ต่างก็มีการสัมมนาทางวิชาการ ได้มีการพูดถึงภัยพิบัติทางธรรมชาติ น้ำท่วมเมืองและประเทศ พูดเรื่องความอ่อนแอลงไปของนักวิชาการด้านนี้ ความอ่อนแอของวิชาการที่ผลิตนักศึกษานิสิตในสถาบันวิชาการ และความอ่อนแอของกรมโยธาธิการและผังเมือง คือในส่วนของระบบราชการ รวมถึงส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้องอีกหลายกรม ในส่วนงานบริหารท้องถิ่นของ กทม.เองก็มีสำนักผังเมืองรับผิดชอบอย่างสำคัญ แต่เท่าที่ทราบ ก็ไม่อาจแสดงบทบาทและความรับผิดชอบได้มากเท่าที่ควร

ข้อสังเกตอย่างหนึ่ง คือ สังคมมนุษย์นั้น ยิ่งพัฒนาไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง มีวัฒนธรรม มีอารยธรรม มากขึ้น ชุมชนที่อยู่อาศัย จะพัฒนาตัวเองทางกายภาพป็นเมืองมากขึ้น เป็นเงาตามตัว มีสถิติบอกว่า ทุกประเทศผู้คนพลเมือง ๖๐% จะอาศัย มีชีวิตอยู่ในเมืองมากกว่าชนบท ภาระการแบกรับพลเมืองของเมืองทั้งระบบจะต้องมีประสิทธิภาพมากพอ มิใช่มีปัญหาแม้แต่ระบบจราจร เช่นของกรุงเทพ ที่ติดขัดทำลายประสิทธิภาพทางเวลาของประชาชนอย่างแสนสาหัส เช่นทุกวันนี้

แล้วความลวงหรือแกล้งหลงผิดทางผังเมืองจึงบังเกิดขึ้น โดยไปแก้ปัญหาเอาที่ระบบจราจรงบประมาณแพงระยับ ชื่อโก้ว่าทางด่วนลอยฟ้า แต่ก็ไม่ช่วยให้การจราจรดีขึ้นแต่อย่างใด รถติดเหมือนเดิม และกลายเป็นเมืองของรถยนต์แทนการเป็นเมืองของมนุษย์ไปเสียแล้ว


สิ่งที่เป็นปัญหาสำคัญ นักการเมืองไทย ไม่ได้ให้ความสำคัญอย่างจริงจังกับงานผังเมือง ผังภูมิภาคของประเทศ มาโดยตลอดทุกยุคทุกสมัย นับแต่มีคำว่าแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ฉบับแรก(พ.ศ. ๒๕๐๖ – ๒๕๐๙) แผนฯจะได้ดำเนินต่อไปเป็นฉบับที่๑๑ในปีหน้านี้แล้ว(พ.ศ.๒๕๕๕ – ๒๕๕๙)

 

โดย: ขามเรียง 11 พฤศจิกายน 2554 13:30:46 น.  

 

อีกทั้ง คณะกรรมการปฏิรูปประเทศไทย(คปร)ที่นำโดยนายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี และนายแพทย์ประเวศ วสี ยังได้กำหนดเสนอรายงานไปยังพรรคการเมือง เป็น๑ในสี่เสาหลักของการปฏิรูปและกระจายโครงสร้างอำนาจการบริหารจัดการ อีกด้วย(ดูแผนภูมิภาพรวม ในรายงานฯ)

คำตอบอยู่ที่การพัฒนาทางการเมือง ต้องดูว่าประเทศเราเป็นการเมืองที่ประชาชน รู้สึกถึงสิทธิ ที่จะเข้ามากดดันให้นักการเมือง ทำในสิ่งที่เขาต้องการหรือยัง? (นายดาต้า,มติชนสุดสัปดาห์๒๑-๒๗ต.ค.๕๔,น.๒๑)

 

โดย: ขามเรียง 11 พฤศจิกายน 2554 13:31:30 น.  

 

Sprawning Development

การพัฒนาเชิงกายภาพ เมือง ผังนิคมอุตสาหกรรม โครงการจัดสรรที่ดิน การตั้งถิ่นฐานชุมชนของภาคเอกชน เป็นไปโดยภาคธุรกิจ ที่เดินนำหน้า ขณะที่การกำกับดูแลภาคราชการ/หน่วยงานรัฐ เป็นฝ่ายเดินตามการพัฒนาเมือง ทั้งที่มีกฏหมายมากมายออกมากำกับงานทุกระดับ แต่กฏหมายทั้งหลายไม่อาจบังคับใช้(Law Enforcement)

เมืองที่พัฒนาไปตามใจตนของภาคเอกชนที่มุ่งผลกำไรส่วนตนเป็นสำคัญ ปล่อยให้เอกชนเดินนำหน้า รัฐเดินตามหลัง เลือกพัฒนาที่ดินตามใจชอบ และทำลายหลักภูมิศาสตร์ หลักภูมิประเทศ แถบมรสุมที่มีน้ำหลาก โดยที่รัฐไม่อาจเดินนำหน้า โดยมีการบังคับใช้กฏหมายและองค์กรกำกับดูแล/พัฒนา ที่มีประสิทธิภาพ

งานผังเมืองและกฏหมายที่ผ่านมาจึงเป็นเพียงแผ่นกระดาษสี และเป็นเพียงภาพจิตรกรรม สีสันสวยงามประดับ ผนัง ตามที่มีผู้กล่าวกระทบเยาะเย้ย


อนึ่งองค์กรพัฒนาการเคหะและผังเมือง ที่เป็นมหาชนและเป็นองค์กรอิสระนอกภาคราชการ จะมีประสิทธิภาพการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมาย ได้ดีกว่าองค์กรกระทรวง ทบวงกรมของภาครัฐ เพราะหน้าที่ของภาครัฐไม่มีหน้าที่มาดำเนินธุรกิจการลงทุน (The Government’s Business is not Business : John Steele Gordon,2004) นักการเมืองควรศึกษาเรื่ององค์กรอิสระ เพื่อให้เป็นไปได้ในประเทศไทยด้วย เพราะในต่างประเทศการพัฒนากายภาพเมือง ได้ใช้องค์กรแบบนี้รองรับนโยบายภาครัฐไปดำเนินการแล้วอย่างได้ผลครับ



น้ำท่วมใหญ่มหาภัย๒๕๕๔คราวนี้ น่าจะเป็นบทเรียนให้ทุกฝ่ายตื่นขึ้นมา ร่วมประชุมปรึกษาหารือกันอีกครั้งเป็นวาระแห่งชาติเชิงกายภาพ อย่างรีบเร่ง ก่อนน้ำหลากครั้งหน้า ที่ธรรมชาติได้สั่งสอนให้บทเรียนอย่างหนักในปีนี้แล้ว มันเหนื่อยกันทุกฝ่ายนะครับ ขอวิงวอนอย่าละเลย ทำให้บังเกิดความวิบัติเช่นนี้อีกเลย

--------------------- ------------ จบ --------------- ------------------------

 

โดย: ขามเรียง 11 พฤศจิกายน 2554 13:33:13 น.  

 

สุวรรณแว่นแคว้นเวลาเวียน บทเรียนปรัชญามหาธาราสอน

พลังน้ำล้างมนุษย์มักง่ายวอน อย่าโลภรอนผิวดินปิดทางน้ำ

ตั้งบ้านเรือนเถื่อนถิ่นใหม่ ยกใต้ถุนสูงไว้อย่าเฉไฉ

นิคมนิคามเขตพันไร่ไม่บรรลัย ใส่ใจไร่นายกร่องแบบโบราณ

คลองรังสิตประดิษฐ์คิดให้ชัด อีกคลองระพีพัฒน์ดัดแปลงใช้

คนไทยกับผังเมืองสมัยใหม่ เร่งเร็วไวฝ่ายการเมืองยกนโยบาย

 

โดย: ขามเรียง 14 พฤศจิกายน 2554 13:07:05 น.  

 



การเมืองดี – ผังเมืองดี – มีสุขทุกแห่งหน (ร่างแนวความคิด)

การบริหารจัดการด้านผังเมือง / ตามสภาพภูมิศาสตร์แบบMonsoon ศึกษาจากอดีตขอมเจ้าของเดิม และเนเธอร์แลนด์ และจากการปกครองแผ่นดินของรัชกาลที่๕ ภูมิปัญญาไทย/สยาม ฯลฯ


๑.การบริหารจัดการภาครัฐที่ดี...นักการเมืองดี >>นโยบายดี >> องค์กร และ กฏหมาย(พระราชบัญญัติดี )
๑.๑ เริ่มจากสปิริตของทุกคน ทุกองค์กร ทุกสถาบัน ทุกภาคส่วน
๑.๒ การมีส่วนร่วม
Bottom Up ไม่ได้หมายถึงการคว่ำถ้วย (ใครแอบนินทา?) ,เพราะTop Down ยังต้องตัดสินใจและรับผิดชอบยิ่งยวด
๑.๓ หลัก DPM การบริการภาครัฐสมัยใหม่
๑.๔ Banishing Bureaucracy
๑.๕ ทางเลือกตรงกลางระหว่าง ชีวิตชุ่ยๆ เรียบง่าย ซับซ้อน : Fuzzy Logic การปรับตัวได้ต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกและสังคมโลกาภิวัตน์

๒.ผังเมืองที่ดี การบริหารที่มีกรอบสากลเป็นปัจจัยร่วม: ควรสหวิทยาการยิ่งกว่าโยธาธิการและผังเมือง
องค์ประกอบ ข้อชี้วัดของผังเมือง ที่ดี(ในรายละเอียดมีมากประมาณ300ตัวชี้วัด) เป็นสหวิทยาการ/วิชาชีพ ประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก :
 demography;
 housing;
 health;
 crime;
 labour market;
 income disparity;
 local administration;
 educational qualifications;
 the environment;
 climate;
 travel patterns;
 the information society;
 cultural infrastructure.
๓. พ.ร.บ.การตั้งถิ่นฐานและการผังเมือง พ.ศ.....น่าจะเป็นชื่อที่เหมาะสมกว่า ชื่อ กฏหมายผังเมือง.

สมาชิกมีความคิดเห็นต่อร่างนี้อย่างไรครับ? ช่วยแนะนำเพิ่มเติมด้วย
ขอขอบคุณ....

 

โดย: ขามเรียง 21 ธันวาคม 2554 17:59:04 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


ขามเรียง
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add ขามเรียง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.