นายชาญชัย ขาวพา
Group Blog
 
<<
ธันวาคม 2557
 
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
21 ธันวาคม 2557
 
All Blogs
 

ธรรมแท้ ละเอียด เป็นอณู แสนรู้ได้ยาก

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี  ได้ทรงพระดำริว่า  ธรรมที่เราบรรลุแล้วนี้    เป็นธรรมลึกซึ้ง  เห็นได้ยาก  รู้ตามได้ยาก   สงบประณีต   จะคาดคะเนเอาไม่ได้   ละเอียด   รู้ได้เฉพาะบัณฑิต  ส่วนหมู่สัตว์นี้   มีอาลัยเป็นที่ยินดี   ยินดีแล้วในอาลัย   เบิกบานแล้วในอาลัย  ก็อันหมู่สัตว์ผู้มีอาลัยเป็นที่ยินดี  ยินดีแล้วในอาลัย   เบิกบานแล้วในอาลัย    ยากที่จะเห็นได้ซึ่งฐานะนี้   คือ  ปัจจัยแห่งสภาวธรรมอันเป็นที่อาศัยกันเกิดขึ้น (ปฏิจจสมุบาท) ยากที่จะเห็นได้ซึ่งฐานะแม้นี้คือ พระนิพพาน  ซึ่งเป็นที่ระงับแห่งสังขารทั้งปวง  เป็นที่สลัดอุปธิทั้งปวง  เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา คลายความกำหนัด   ดับทุกข์  ก็แหละเราพึงแสดงธรรม   แต่สัตว์เหล่าอื่นไม่พึงรู้ทั่วถึงธรรมของเรา   นั้นพึงเป็นความลำบากแก่เรา   นั้นพึงเป็นความเดือนร้อนแก่เรา.


ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ได้ยินว่า    คาถาทั้งหลายที่ไม่อัศจรรย์ซึ่งพระองค์
มิได้เคยสดับมาแล้วแต่ก่อน     ได้แจ่มแจ้งกะพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัม-
พุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี  ดังนี้

บัดนี้   ไม่ควรเลยที่จะประกาศธรรมที่เราได้บรรลุ
แล้วโดยแสนยาก  ธรรมนี้อันสัตว์ที่ถูกราคะและ
โทสะครอบงำแล้ว  ไม่ตรัสรู้ได้โดยง่าย สัตว์ที่ถูก
ราคะย้อมไว้     ถูกกองแห่งความมืดหุ้มห่อไว้แล้ว
จักเห็นไม่ได้ซึ่งธรรมที่มีปรกติไปทวนกระแสอัน
ละเอียด  ลึกซึ้ง  เห็นได้ยาก    เป็นอณู.

[๔๓]   ดูกรภิกษุทั้งหลาย  เมื่อพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธ-
เจ้าพระนามว่าวิปัสสี  พิจารณาเห็นดังนี้   พระทัยก็น้อมไปเพื่อความขวนขวาย
น้อย  มิได้น้อมไปเพื่อจะทรงแสดงธรรม.

(พระปริวิตกของพระพุทธเจ้าวิปัสสี)
พระไตรปิฏกฉบับ 91 เล่ม มหามกุฏราชวิทยาลัย
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 39
//www.tripitaka91.com/91book/book13/001_050.htm#40
..................................................................................................

ความเป็นผู้มีความขวนขวายน้อย
[๕๐๙]  ดูก่อนราชกุมาร  อาตมภาพนั้นได้มีความคิดเห็นว่า  ธรรมที่
เราบรรลุแล้วนี้เป็นธรรมลึก      ยากที่จะเห็นได้     สัตว์อื่นจะตรัสรู้ตามได้ยาก
เป็นธรรมสงบระงับ    ประณีต   ไม่เป็นวิสัยที่จะหยั่งลงได้ด้วยความตรึก  เป็น
ธรรมละเอียด  อันบัณฑิตจะพึงรู้แจ้ง.     ก็หมู่สัตว์นี้มีความอาลัยเป็นที่รื่นรมย์
ยินดีในความอาลัย   บันเทิงนักในความอาลัย.      ก็การที่หมู่สัตว์ผู้มีความอาลัย
เป็นที่รื่นรมย์   ยินดีในความอาลัย  บันเทิงนักในความอาลัย  จะเห็นรานะนี้ได้
โดยยาก   คือ   สภาพที่อาศัยกันเกิดขึ้นเพราะความมีสิ่งนี้เป็นปัจจัย.     แม้ฐานะ
นี้ก็เห็นได้ยาก  คือ  สภาพเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง  ความสละคืนอุปธิทั้งปวง
ความสิ้นตัณหา  ความปราศจากความกำหนัด   ความดับโดยไม่เหลือ  นิพพาน.
ก็เราพึงแสดงธรรม     และสัตว์เหล่าอื่นก็จะไม่รู้ทั่วถึงธรรมของเรา    นั้นจะพึง
เป็นความเหน็ดเหนื่อยเปล่า   เป็นความลำบากเปล่าของเรา.     ดูก่อนราชกุมาร
ทีนั้น    คาถาอันน่าอัศจรรย์    ไม่เคยได้ฟังมาในกาลก่อน    มาปรากฏแจ่มแจ้ง
กะอาตมภาพว่า

บัดนี้  ยังไม่สมควรจะประกาศธรรมที่เราบรรลุได้โดยยาก       
ธรรมนี้ อันสัตว์ทั้งหลายผู้ถูกราคะโทสะครอบงำไม่ตรัสรู้ได้ง่าย  
สัตว์ทั้งหลาย  อันราคะย้อมแล้ว อันกองมืดหุ้มห่อแล้ว จักไม่เห็นธรรม      
อันยังสัตว์ให้ไปทวนกระแส ละเอียด ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก เป็นอณู ดั้งนี้.

ดูก่อนราชกุมาร เมื่ออาตมภาพเห็นตระหนักอยู่ดังนี้   จิตของอาตมาภาพ
ก็น้อมไปเพื่อความเป็นผู้มีความขวนขวายน้อย   ไม่น้อมไปเพื่อแสดงธรรม.

พระปริวิตกของพระพุทธเจ้าโคดม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 119
............................................................................................

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 377

คำว่า  นิสฺสรณทสฺสาวี ได้แก่ มีปกติเห็นโทษของภิกษุผู้รื้อถอนออกจากโทษภัยนั้น. ก็ในอธิการนี้  การรื้อถอนออกจากโทษภัยนั้น    เป็นไฉน ?
ในอาจริยเถรวาทกล่าวไว้ก่อนว่า  การเปิดเผยด้วยการอธิษฐานด้วยสติ
ชื่อว่า  การรื้อถอนออก   เพราะความเป็นผู้ถึงอนาบัติ   (การไม่มีอาบัติ   เรียก
ว่า  อนาปัตติ).
ในเถรวาทแห่งอันเตวาสิกของท่าน    กล่าวว่า     การเปิดเผยโดยการ
ออกด้วยสติ  ชื่อว่า  การรื้อถอนออก   เพราะความเป็นผู้ต้องอาบัติ.  สำหรับใน
ที่นี้  ภิกษุเห็นปานนี้   ชื่อว่า  ย่อมเห็นโทษทั้งหลายมีประมาณน้อย  โดยความ
เป็นโทษ  โดยความเป็นภัย.  เพื่อแสดงซึ่งโทษมีประมาณน้อย  โดยความเป็น
โทษ  โดยความเป็นภัยนั้น     ท่านกล่าวมาตรา  (ประมาณ)    ดังนี้.
๑.  ชื่อว่า  ปรมาณู                ๒.  ชื่อว่า  อณู
๓.  ชื่อว่า  ตัชชารี                 ๔.  ชื่อว่า  รถเรณู
๕.  ชื่อว่า  ลิกขา                   ๖.  ชื่อว่า  โอกา (อูกา)
๗.  ชื่อว่า  ธัญญมาส             ๘.  ชื่อว่า  อังคุละ
๙.  ชื่อว่า  วิทัตถิ                  ๑๐.  ชื่อว่า  รตนะ
๑๑.  ชื่อว่า  ยัฏฐิ                    ๑๒.  ชื่อว่า  อุสภะ
๑๓.  ชื่อว่า  คาวุต                  ๑๔.  ชื่อว่า  โยชน์

แปลว่า  บรรดาชื่อเหล่านั้น ชื่อว่า ปรมาณู เป็นส่วนแห่งอากาศ (อนุภาคที่เล็กที่สุดซึ่งเห็นด้วยตาเนื้อไม่ได้  เห็นได้ด้วยทิพยจักษุ) ไม่มาสู่คลองแห่งตาเนื้อ ย่อมมาสู่คลองแห่งทิพยจักษุเท่านั้น.  ชื่อว่า  อณู คือรัศมีแห่งพระอาทิตย์ที่ส่องเข้าไปตามช่องฝา  ช่องลูกดาล  เป็นวงกลม ๆ ด้วยดี ปรากฏหมุนไปอยู่.   ชื่อว่า ตัชชารี (สิ่งที่เกิดจากอณูนั้น)  เพราะเจาะที่ทางโค ทางมนุษย์และทางล้อแล้วปรากฏพุ่งไปเกาะที่ข้างทั้งสอง. ชื่อว่า รถเรณู(ละอองรถ) ย่อมติดอยู่ที่รถนั้น ๆ   นั่นแหละ. ชื่อว่า ลิกขา(ไข่เหา) เป็นต้น ปรากฏชัดแล้วทั้งนั้น. ก็ในคำเหล่านั้น  พึงทราบประมาณดังนี้

๓๖  ปรมาณู        ประมาณ    ๑  อณู

พระไตรปิฏก ฉบับ 91 เล่ม พระอภิธรรมปิฏก
//www.tripitaka91.com/91book/book78/351_400.htm#377

//www.tripitaka91.com/91book/book21/101_150.htm#119




 

Create Date : 21 ธันวาคม 2557
0 comments
Last Update : 21 ธันวาคม 2557 21:57:53 น.
Counter : 2845 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


kekzo
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add kekzo's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.