"Just an odinary living retained by the breath of life , in the running world of timeless stream." "เพียงหนึ่งชีวิตที่ถูกพันธนาการไว้ด้วยลมหายใจบนโลกที่ลื่นไหลในท้องธารแห่งกาลเวลา"
 
กุมภาพันธ์ 2558
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
4 กุมภาพันธ์ 2558

04 02 14 กลับมาแบบ เล็ดเล็ด


ต้นเล็ด ไม้พุ่ม ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับ

เรื่องมีอยู่ว่าเมื่อคราวเด็กนั้น ชอบกินขนมใส่ไส้
ด้วยใช้ชีวิตอยู่กับคุณยายช่วงวัยที่รู้ความแล้ว
คุณยายเป็นแม่ค้าขนมไทย ทำขนมไทยมากมาย
และขนมใส่ไส้ ก็จะได้กินขนมคุณยายตั้งแต่เล็กๆมา
คุณยายเป็นคนชลบุรี รส วิธีการปรุงก็เป็นตามวิถีเมืองหลวง
คือ เลือกของดีมาทำ รสชาติหวานมัน การประดิษฐ์ประดอยห่อขนม
อยากช่วยห่อตามประสาเด็ก มองแล้วสนุกแต่ก็ไม่เคยได้แม้แต่ เจียนใบตอง มากสุดได้แต่ ตาก,เช็ด ใบตอง

ขนมใส่ไส้ ในความคุ้นชินที่เห็นก็คือ ห่อด้วยใบตองอ่อนๆ ค้างคืนให้คายน้ำ หรือตากแดดเช้าๆ ลดน้ำ เพื่อไม่ให้ใบกรอบ เวลานึ่งน้ำใบตองจะได้ไม่ออกเลอะขนม
ถ้าใช้ใบแก่ ทั้งสีทั้งกลิ่นทั้งรส จะออกมาปนกับตัวแป้งสีขาวไม่น่ากิน

คราวนึงได้กลับบ้านพังงาบ้านย่า (ฝั่งพ่อเป็นคนจังหวัดพังงา) 
มีวิถีชีวิต ทำขนมหวานขนามไทยกินกับกาแฟตอนเช้า
สายเข้าหน่อยจึงกินข้าวตามปกติ อาจจะเพราะออกไปกรีดยางตอนรุ่งเช้า 
ตื่นแต่เช้าทำงานจึงหิวแต่ถ้ากินข้าวเสียเลยจะหนักท้องไป

ซึ่งตอนเช้าตื่นมาย่าจะมีขนมวางไว้บนโต๊ะอาหารเสมอ และเปลี่ยนไปทุกวัน 
แล้วแต่ว่า คนเร่ขายจะมีขนมอะไรมาขาย
ซึ่งจะมีขนมถิ่นใต้ ต่างไปจากขนมภาคกลางบ้างบางอย่าง

และในวันหนึ่ง ก็มีขนมห่อด้วยใบไม้สีเขียวอ่อนห่อเล็กๆ
ก็ลองแกะกิน อ้าววววววววว นี่มันขนมใส่ไส้ ตอนถามย่าว่าขนมอะไร ย่าบอกขนมห่อ (ทางภาคใต้เรียกอย่างนั้นครับ) ... 
ด้วยความแปลกใจ แล้วนี่ใบอะไร ไม่ใช่ใบตองอย่างยายทำ ก็ถามคุณย่า 
ได้ความว่า  เรียกว่าใบเล็ด เป็นต้นไม้พุ่ม ดอกสีขาว
ข้างบ้านก็ปลูกไว้ ... 
ก็ไปดู ไปจับ แล้วก็นึก ภูมิปัญญาชาวบ้านนี่ดีจริง
ใบเล็ด สีอ่อน ห่อแล้วไม่มีสีเขียวหรือกลิ่นออกมาปนขนมทำให้เสียรส ... 

อร่อยจริงๆ ... 

นี่เป็นต้นเล็ด ที่หาข้อมูลจาก Google ไม่ได้
หากท่านผู้รู้คนใด พอทราบข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ รบกวนด้วยนะครับ











ลงบันทึกไว้ เพื่อเป็นข้อมูลสาธารณะ




 

Create Date : 04 กุมภาพันธ์ 2558
2 comments
Last Update : 4 กุมภาพันธ์ 2558 12:37:26 น.
Counter : 5725 Pageviews.

 

ดู ๆ คล้ายพวกพุทธรักษานะคะ สงสัยเป็นญาติกันหรือเปล่า
ลองค้นในกูเกิ้ล ก็ไม่มีเหมือนกัน เจอแต่อันนี้ https://www.gotoknow.org/posts/370471
แต่ก็ไม่ได้ให้รายละเอียดอะไร
เอาลิ้งค์มาฝาก เผื่อเป็นประโยชน์ค่ะ

 

โดย: ฟ้าใสวันใหม่ 4 กุมภาพันธ์ 2558 14:42:26 น.  

 

ขอบคุณ คุณ ฟ้าใสวันใหม่ มากนะครับ

ตามลิ้งค์ไปดูแล้ว เห็นเป็นขนมเฉพาะถิ่น

ส่วนใบเล็ด ใบยี่เล็ด ก็เป็นเทคนิค กลวิธีในการใช้ประโยชน์
ตามชื่อขนมอันนี้คือ เหนียวหลามชักพรุต คือ

ข้าวหลามที่สามารถดึงออกมากินได้ในคราวเดียว
ไม่ต้องปอกผิวกระบอกไม้ไผ่ ตามปกติ
หรือถ้าข้าวหลามหนองมน ถึงขั้นต้อง ต่อย หรือ ทุบ จึงจะได้กิน

โดยเอาใบยี่เล็ดม้วนแล้วสอดไว้ในกระบอก
พอกรอกข้าวเหนียวก็กรอกตรงกลางพอ เผาข้าวหลามสุก
ก็ขึ้นเต็มกระบอก และกระทิก็ช่วยให้ลื่น
ดึงก้านใบเล็ดที่โผล่อยู่ปากกระบอก
ก็ได้กินข้าวหลาม หรือ เหนียวหลามสบายๆ

ตามลิ้งค์แล้ว น่าจะเป็น ข้อมูลอยากเผยแพร่
เป็นข้อสังเกตชาวบ้าน ... การเล่าความไม่ได้อธิบายรายละเอียดอื่นๆ
เป็นการเล่าว่ามี อย่างนี่ ที่นั่น เวลานั้น ทำอย่างไร...

แต่ไมได้เล่า คติ หรือมีที่มาที่ไปเพิ่มเติม ....
แต่อย่างน้อย ก็ถือว่า ได้สืบสาน ... ได้เผยแพร่วัฒนธรรม อย่างดีทีเดียว

ว่าแล้ว ทึ่งกับ วิถีพื้นบ้านไทย อีกเรื่องแล้วครับ

 

โดย: ปลุ่ย (ปลุ่ย ) 9 กุมภาพันธ์ 2558 15:57:52 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


ปลุ่ย
Location :
ชลบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




[Add ปลุ่ย's blog to your web]