พฤษภาคม 2554

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
19
20
22
24
25
26
28
29
30
 
 
All Blog
เล็งรื้อกฎหมายครู ตั้ง อ.ก.ค.ศ.สพฐ.
ศธ.เล็งรื้อกฎหมายครู ตั้งอ.ก.ค.ศ.สพฐ.คุมบุคลากร เตรียมนำร่างทำประชาพิจารณ์ ก่อนนำเสนอเข้าสู่ที่ประชุมที่ปรึกษากฎหมาย


เมื่อวันที่ 26 พ.ค. นายอภิชาต จีระวุฒิ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าการจัดทำร่างแก้ไข พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาว่า ขณะนี้คณะทำงานพิจารณาจัดทำร่างแก้ไข พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูฯ ได้ข้อสรุปในเบื้องต้นแล้วว่าจะมีการแก้ไข พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูฯ ประมาณ 30 มาตรา อาทิ การบริหารงานบุคคลของส่วนราชการ ซึ่งปัจจุบันไม่มีคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (อ.ก.ค.ศ.) ส่วนราชการ แต่ข้ามไปมี อ.ก.ค.ศ.ประจำเขตพื้นที่การศึกษาเลย ดังนั้นในการบริหารงานบุคคลของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จึงมีปัญหาหากจะต้องพิจารณาในเรื่องของการบริหารงานบุคคล ก็ต้องส่งให้คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) เพราะ สพฐ.ไม่มีองค์คณะบุคคลดูแลในเรื่องดังกล่าว จึงจำเป็นต้องมีการแก้ไขกฎหมายให้มี อ.ก.ค.ศ.ส่วนราชการ หรือ อ.ก.ค.ศ.สพฐ.ขึ้น โดยมีเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เป็นประธาน ซึ่งจะช่วยแก้ไขปัญหาการบริหารงานบุคคลของ สพฐ.ได้มาก

ปลัด ศธ.กล่าวต่อไปว่า การเลือกสรรคผู้ที่จะมาเป็นผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา กฎหมายได้บัญญัติว่าให้มีคณะกรรมการคัดเลือก ซึ่งประกอบด้วย ผู้บริหารองค์กรหลักของ ศธ. โดยมีปลัด ศธ.เป็นประธาน แต่ตนเห็นว่าคณะกรรมการชุดดังกล่าวไม่ได้มีหน้าที่ในการใช้คน แต่ผู้ที่ใช้คนคือ เลขาธิการ กพฐ. ดังนั้นจะมีการแก้ไขให้เป็นอำนาจของ อ.ก.ค.ศ.สพฐ. และให้ไปพิจารณาคัดเลือกกันเองแทนการให้ผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องไปร่วมคัดเลือกคน ทั้งนี้ตนเห็นว่าแม้การแก้ไขกฎหมายจะเป็นเรื่องที่ทำให้ปลัด ศธ.เสียอำนาจ แต่ก็ควรดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้อง และถูกฝาถูกตัว เพราะผู้ใช้ต้องเป็นผู้เลือกคน ไม่ใช่ให้ผู้ที่ไม่ได้ใช้คนไปคัดเลือกให้ ตลอดจนบทบาทของคณะกรรมการสถานศึกษาบางส่วนต้องตัดออก เช่น เรื่องการพิจารณาความดีความชอบครู การรับย้ายครู ซึ่งในความเป็นจริงคณะกรรมการสถานศึกษาจะไม่รู้ว่าครูสอนเป็นอย่างไร นอกจากนี้จะมีการแก้ไขบทบัญญัติของกฎหมายบางส่วน เพื่อให้การพิจารณางานบริหารบุคคลสั้น และกระชับ โดยไม่ต้องส่งมาถึง ก.ค.ศ.หมดทุกเรื่อง รวมถึงปรับแก้ให้ทันสมัยและสอดคล้องกับกฎหมายใหม่ เช่น เรื่องการเลื่อนขั้นเงินเดือน ตลอดจนโทษวินัยที่มีการลดขั้นเงินเดือน ซึ่งปัจจุบันไม่มีขั้นเงินเดือนแล้ว

“จะมีการนำร่างแก้ไขดังกล่าวไปประชาพิจารณ์ถามความเห็นจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอีกครั้ง ก่อนนำเสนอเข้าสู่ที่ประชุมที่ปรึกษากฎหมาย ศธ.ก่อนนำเสนอรัฐบาลชุดใหม่ต่อไป เพราะเรื่องนี้มีผลกระทบต่อข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ประชาชน และนักเรียนทั้งประเทศ ซึ่งบางส่วนต้องใช้เงินเพิ่ม ทั้งนี้คาดว่าจะใช้เวลาในการประชาพิจารณ์ไม่น้อยกว่า 60 วัน” นายอภิชาต กล่าวและว่า สำหรับสถานภาพของ ก.ค.ศ.ก็จะปรับให้เป็นกรมในสำนักงานปลัด ศธ. ส่วนสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) จะยกฐานะเป็นองค์กรหลักใน ศธ. ซึ่งขณะนี้ได้มีการยกร่าง พ.ร.บ.การศึกษาตลอดชีวิตเสร็จแล้ว




ที่มา - เดลินิวส์ออนไลน์
//www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=42&contentID=141282



Create Date : 27 พฤษภาคม 2554
Last Update : 27 พฤษภาคม 2554 14:38:29 น.
Counter : 293 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

นายก้อนหิน
Location :
เพชรบูรณ์  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



New Comments