<<
ธันวาคม 2549
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
2 ธันวาคม 2549

ชวนเดินเที่ยว "วัดช่างฆ้อง จังหวัดเชียงใหม่" ภาค ๑







เป็นวัดที่ตั้งอยู่กลางใจเมืองครับ
ประวัติวัดจาก //www.thainews70.com/news/news-culture/view.php?topic=197
โดยคุณ ทวิชวดี.....
วัดช่างฆ้อง ตั้งอยู่ถนนลอยเคราะห์ ตำบลช้างคลาน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ทิศเหนือจรดบ้านเรือนราษฎร ทิศใต้จรดซอยกำแพงดิน 2 และบ้านเรือนราษฎร ทิศตะวันออกจรดบ้านเรือนราษฎร์ ทิศตะวันตก จดถนนกำแพงดินและตรงข้ามกับกำแพงดิน สร้างเมื่อ พ.ศ. 1900 ในราวต้นรัตนโกสินทร์ ได้สร้างขึ้นมีเรื่องเล่าว่าในสมัยโบราณบริเวณนี้ชื่อ "วัดศรีพูนโต"แต่เมื่อพวกช่างทำฆ้องได้อพยพกันมา
ตั้งถิ่นฐานในละแวกนี้ และสร้างวัดขึ้นใหม่ จึงได้นามวัดตามอาชีพของชาวบ้านแถบนี้

ชาวบ้านช่างฆ้องมีประวัติความเป็นมา ตั้งแต่พญามังรายปฐมกษัตริย์ราชวงศ์ มังรายผู้ก่อตั้งนครเชียงใหม่ ครั้งหนึ่งเสด็จไปพม่าและได้ช่างศิลป์จากพม่ามาเป็นจำนวนมาก โปรดให้นำพวกช่างฆ้องไปไว้ที่เชียงแสนและตั้งถิ่นฐานอยู่ที่นั้นเป็นเวลากว่า 400 ปี มาในสมัยพระเจ้ากาวิละ เมื่อขับไล่พม่าออกจากเชียงใหม่ได้แล้ว พม่าไปตั้งมั่นอยู่ที่เชียงแสน พระเจ้ากาวิละยกทัพไปตีเชียงแสนครั้งที่ 2 จึงตีเมืองได้แล้วอพยพชาวเชียงแสนมาเป็นพลเมืองเชียงใหม่ พวกช่างฆ้องมาอยู่นอกเมืองทางทิศตะวันออกของเมืองเชียงใหม่ และได้สร้างวัดช่างฆ้องขึ้นบริเวณกำแพงดินในเนื้อที่กว้างขวางมาก แต่ต่อมามีการสร้างถนนตัดผ่านวัดและมีผู้มาสร้างบ้านเรือนขึ้นภายในพื้นที่วัด เป็นผลให้เจดีย์และอุโบสถที่กลายเป็นส่วนนอกวัดถูกปล่อยทิ้งให้รกร้างและทรุดโทรมลง
ทั้งที่เป็นโบราณสถานโบราณวัตถุในสมัยแรกสร้างวัด







อาคารที่ตั้งอยู่ด้านหน้าวัด ปัจจุบันไม่ได้ใช้งานแล้ว
แต่ให้สังเกตุดูลวดลายซึ่งเป็นฝีมือช่างช้าวบ้าน
แต่สวยงามเป็นอย่างยิ่ง









อาคารเก็บพระไตรปิฏก เป็นอาคารที่มีลักษณะทางสถาปัตยกรรมที่มีเอกลักษณ์มาก
กล่าวคือ ส่วนหลังคารับอิทธิพลจากศิลปะจีน ส่วนอาคารตกแต่งด้วยสถาปัตยกรรมแบบเชียงแสน
โดยเฉพาะภาพวาดฝาผนัง สีสันยังชัดเจนสวยงามมาก
ลายปูนปั้นก็สมบูรณ์อยู่มาก





งานแกะสลักไม้ส่วนเชิงชายของหลังคา





รายละเอียดงานลูกกรงราวระเบียงชั้นสอง





สังเกตุภาพวาดฝาผนัง สีสันยังสมบูรณ์มาก
ผมยืนดูจากข้างล่างมองไม่ค่อยชัดเท่าไหร่ ต้องใช้กล้องซูมดูจึงจะเห็นชัด (ปัจจุบันนี้อาคารนี้เปิดเฉพาะพระสงฆ์เท่านั้น ห้ามคนภายนอกขึ้น)





ประตูด้านบน





แต่ผมคิดว่าในการใช้งานจริง คงทำหน้าที่เหมือนหน้าต่างมากกกว่า





หัวเสาปูนปั้น









Create Date : 02 ธันวาคม 2549
Last Update : 10 กันยายน 2554 18:19:32 น. 0 comments
Counter : 1633 Pageviews.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

กะว่าก๋า
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 392 คน [?]




มองฉันอีกครั้ง
เธออาจเห็นฉัน
หรืออาจไม่เห็นฉัน

ฉันแค่แวะผ่านทางมา
และอาจไม่หวนกลับมาทางนี้อีกแล้ว

เราเคยรู้จักกัน
และมันจะเป็นเช่นนั้นตลอดไป

มองดูฉันอีกครั้ง
เธออาจเห็นฉัน
และฉันอาจมองไม่เห็นเธอ.





[Add กะว่าก๋า's blog to your web]