กรกฏาคม 2551
 
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
16 กรกฏาคม 2551

หมื่นตากับการบรรลุธรรม





หมื่นตากับการบรรลุธรรม


เรื่องและภาพโดย --- ก๋าราณี วิถีที่ไม่อาจหวนคืนกลับมาอีกแล้ว

















































 

Create Date : 16 กรกฎาคม 2551
64 comments
Last Update : 16 กรกฎาคม 2551 7:13:06 น.
Counter : 2722 Pageviews.

 

อารัดซะวุ่น จ้า พ่อหมิงหมิง

ขอบคุณที่ไปแจ้งข่าวไว้แต่ดึกเน้อ

 

โดย: porranat 16 กรกฎาคม 2551 7:23:40 น.  

 



"รู้จักตัวเอง"
เหมือนจะง่ายนะคะ
แต่เอาเข้าจริงๆยากที่สุด

แต่ละเรื่อง
แต่ละเหตุการณ์
เราต้อง
"รู้จักตัวเอง"
ไปแต่ละครั้ง

เราต้อง
"รู้จักตัวเอง"ทุกวัน
และบางวัน
เราอาจจะถามตัวเองว่า "นี่หรือตัวเรา"
แล้วเราก็ต้องมาทำความ
"รู้จักตัวเอง"ใหม่


ยากกว่าอะไรทั้งหมด

แต่น่าภูมิใจไหม..
ที่เราอยู่กับเรื่องยากๆทุกวัน
และผ่านเรื่องยากๆไปได้ทุกวัน



 

โดย: ^^♥ (มัชชาร ) 16 กรกฎาคม 2551 7:40:35 น.  

 

อยากบรรลุธรรมกะเค้ามั่ง

แต่ตอนนี้ยังจิตไม่นิ่ง ไม่นิ่งเอามากๆ

คงอีกนานเลยหล่ะครับพี่ก๋า

แต่สักวันนึง คงอาจจะทำให้จิตใจสงบขึ้น และจิตนิ่งขึ้น
แม้ไม่ต้องบรรลุธรรม แต่แค่ควบคุมจิตของตัวเองให้นิ่งได้
แค่นี้ผมก็พอใจแล้วครับ


 

โดย: Dr.Manta 16 กรกฎาคม 2551 7:40:54 น.  

 




ตีสามคอมยังไม่ปิด
แล้ว 7 โมงเช้านี่..........ปิดแล้ว เปิดใหม่
หรือ.... เปิดยาวต่อเนื่องล่ะเนี่ย




 

โดย: ^^♥ (มัชชาร ) 16 กรกฎาคม 2551 7:47:56 น.  

 

ไม่รู้เมื่อไหร่จะพ้นทุกข์กับเค้าเสียที หวัดดีค่ะคุณพ่อหมิงหมิง น้องหมิงหมิงกะคุณแม่เป็นไงบ้างค่ะ

 

โดย: นักเดินทางพเนจร (นักเดินทางพเนจร ) 16 กรกฎาคม 2551 8:09:17 น.  

 

emoemoemo

 

โดย: คนไม่เจียม.. 16 กรกฎาคม 2551 8:38:30 น.  

 

ไหนว่าจะอัพหมิงหมิงไงคะ....

ไหน ไหน...

เจอแต่หมื่นตา...

ว่าจะมาจุ๊บหมิงหมิงซะหน่อย

คิดถึงคิดถึง emo

 

โดย: แม่นู๋มี่ 16 กรกฎาคม 2551 9:11:17 น.  

 

อ้ายก๋า จ่อยมาแล่วอ้าย คริคริ มาหาสุดหล่อโตน่อยน้อย

 

โดย: น้าหนูนีล_น้องขวัญ 16 กรกฎาคม 2551 9:17:59 น.  

 

ธรรมะสวัสดีค่ะ....น้องก๋า
เมื่อวานต้องอ่านหนังสือเตรียมสอบให้ลูกค่ะ
เกี่ยวกับหัวใจของพุทธศาสนา คือ โอวาท 3
ไม่ทำความชั่ว
ทำความดี
ทำจิตใจให้ผ่องใส

เพียงแค่นี้ก็มีสุขแล้วนะค่ะ

 

โดย: ชีวิตมีลีลา 16 กรกฎาคม 2551 9:24:33 น.  

 



สวัสดีเช้าวันพุธค่า
ขอให้มีแรงกายแรงใจที่ดีในการทำงาน
อีกวันเดียวก็ได้หยุดยาวแล้ว..สู้ๆคะ

ว่าแต่วันนี้หมิงหมิง เลี้ยงง่ายป่าวเอ่ย..อิอิ

 

โดย: uncha 16 กรกฎาคม 2551 9:27:14 น.  

 

emoemo


การเรียนรู้ที่ยิ่งใหญ่คือการเรียนรู้ใจตัวเอง...
มีสติรับรู้ และจับความเครื่อนไหวของอารมณ์ และจิตใจ
เมื่อมีสติรู้ ก็จะไม่หลง ไปกับอารมณ์ต่างๆที่เข้ามาประทะ ไม่ว่าจะ สุข ทุกข์ เศร้า เสียใจ ดีใจ

การรู้ใจและเอาชนะใจตัวเองได้ ก็เท่ากับว่าได้หลุดพ้นจากบ่วงแห่งอุปกิเลสทั้งสาม คือโลภะ โทสะ และโมหะ
ไม่โลภ ไม่มีความอยากได้อยากมีอยากเป็น
ไม่โกรธ ในสิ่งต่างๆที่ผู้อื่นกระทำสิ่งอันไม่พึงใจต่อเรา
ไม่หลง มัวเมาอยู่กับลาภยศ สรรเสริญ และการปรุงแต่งอันพึงใจทั้งหลาย

สรุปแล้ว คิดง่ายๆ ทำใจให้ยอมรับได้กับทุกสภาวะการเปลี่ยนแปลงโดยไม่หวั่นไหวต่อการปะทะนั้น....


ใช่ป่ะคุณพี่....





ปล...คิดถึงสองหมิงเหมือนกัน....emoemoemo

 

โดย: big-lor 16 กรกฎาคม 2551 9:27:32 น.  

 

สวัสดียามเจ๊าเจ้าคุณก๋า
วันนี้ฮู้สึกดีขึ้นเหลือตะวาเจ้า
ถึงแม้เขาจะมาก่อก๋วนเหลือเกิ๋น..
จ๋นปี้บ่กึ้ดว่า มนุษย์จะเป๋นไปได้ขนาดนี้
ได้แต่หื้อก๋ำลังใจ๋กั๋นและกั๋น อยู่ข้าง ๆ กั๋นและกั๋น เต้าอั้นเจ้า...

 

โดย: เอื้องสามปอย 16 กรกฎาคม 2551 9:28:18 น.  

 

ได้ยินได้ฟังมาตลอด ให้รู้ทันจิต แล้วปล่อยวาง
แต่มันยากจังค่ะ
ทำได้มั่ง ไม่ได้มั่ง

 

โดย: iamsquid 16 กรกฎาคม 2551 9:38:29 น.  

 

วันนี้ได้เมล์ฝีมือพี่ก๋าอีกแล้วแหงมๆ แต่ไม่ใช่หมื่นตาอ่ะค่ะ แต่จากลักษณะรูปแล้ว พี่แน่ๆ เรย ^^

พิมพ์เป็นหนังสือเห๊อ.... อยากเก็บไว้อ่าน ไว้บอกคนอื่นต่อด้วยอ่ะ พี่ก๋า

 

โดย: N_Nirvana IP: 125.24.46.192 16 กรกฎาคม 2551 9:45:19 น.  

 

บางครั้งบางเรื่อง ... เราอาจจะคิดว่ามันยาก
แท้จริงง่ายแสนง่าย แต่เพราะว่าเราถูกครอบงำ
ด้วยอะไรหลายๆ อย่าง เลยทำให้เรามองผ่าน
และไม่รู้ในบัดดล ...


การรับรู้ คือ การยอมรับ และเชื่อมันในสติ
ของตัวเอง ... ปล่อยใจสบายๆ คาดว่ามีความสุขก่อน
แล้วมันค่อยๆ เห็นอะไรรำไรๆ มาเรื่อยๆ นะคะ
ไอ้เร่องที่เราว่ายาก มันก็อาจจะไม่ยากอย่างที่เป็น
เน๊าะๆๆๆๆ ...

.............


อ่านเรื่องถุงเท้ากับเท้าน้องหมิงหมิง ... แง่วๆ
น่าสงสารน้องเค้าจังเลยอ่ะค่ะ คงร้องเพราะเจ็บและ
อึดอัด แต่ว่าเป็นพ่อเป็นแม่ ก็อย่าเสียใจค่ะ
เพราะถือว่าเป็นการเรียนรู้อีกหนึ่งอย่างเน๊าะ
หนหน้าหมิงหมิง ไม่ร้องไห้โยเยเพราะถุงเท้ารัด
อีกแล้วค่ะ


พูดเรืองถุงเท้า เมื่อก่อนก็เป็นเหมือนกัน
ใส่ถุงเท้าประจำคะเพราะว่าอยู่เมืองหนาว ซื้อมาใหม่ๆ
ถุงเท้ามันรัดมากๆ แต่ว่าเราไม่รู้สึกหรอก
จนโน่นแน่ะค่ะ ได้เวลาถอดออก มันเป็นรอย
แบบว่ารัดตึงเลย จับดู กดดู อ่ะ เจ็บด้วยแน่ะ
หลังๆ รู้ทันมัน เลยยืดมันก่อนเลยสำหรับคู่ที่รัดๆ
ปรากฏว่าพอยืดมันบ้าง ดันหยิ่งไม่กลับรูป ใส่ทีก็รูด
ลงมา กร้ากกกกก นึกถึงหนังยาง หรือว่าไม่ก็
เข็มกลัด จะเอามากลัดติดให้มันรัด ถึงจะไม่รัด
เหมือนเดิม แต่ก็ไม่ต้องรูดกองลงมาตาตุ่มอ่ะค่ะ

 

โดย: JewNid 16 กรกฎาคม 2551 9:59:41 น.  

 

แปลว่าต้องถังแตก จึงบัน(ทะ)ลุได้ ใช่ป่าวค้าบ? emo

 

โดย: เป๋อน้อย 16 กรกฎาคม 2551 10:00:17 น.  

 

พี่ก๋า...สุดยอดทุกวันเลยค่ะ ชอบเข้ามาอ่านค่ะ อะไรๆบางอย่าง มันอธิบายยาก แต่หมื่นตาอธิบายได้เห็นภาพ และให้เข้าใจชัดเจน อย่างนี้ หมิงหมิง ต้องเป็นเด็กฉลาด ร่าเริง มองโลกแง่ดี และเป็นเด็กที่มีความสุข แน่นอนเลยค่ะ

เห็นด้วยกับหมื่นตาจริงๆค่ะ การบรรลุธรรม ไม่ใช่รุ้ไปทุกอย่าง แต่รุ้ที่จะปล่อยวางตัวตน และ ความคิด

สุดยอดไปเลยค่ะ

 

โดย: วินนี่ย์หมีพูห์ 16 กรกฎาคม 2551 10:10:24 น.  

 


มาเยี่ยมชม มาทักทายครับ

อ่านแล้วได้ข้อคิดที่ดีมาก ๆ ครับ แต่ว่าผมไม่กล้าคอมเม้นท์ตลก ๆ เรื่องการบรรลุธรรมครับ

เอาเป็นว่าวันนี้มีอ่าน มาเยี่ยมชมเฉย ๆ ก็แล้วกันครับ

อิอิ

ขอฝาก"น้องตุ้งแช่" ไว้ดีกว่าครับ

เผื่อว่าเพื่อน ๆ อยากจะไปเยี่ยมชมนะ



อิอิ

 

โดย: อาคุงกล่อง (อาคุงกล่อง ) 16 กรกฎาคม 2551 10:20:38 น.  

 

ปล่อยวาง.....ปล่อยวาง อิอิ ตอนนี้กำลังมีเรื่องให้ต้องปล่อยวางพอเดเรย คือมีคนมาจอดรถขวางในลานจอดรถอ่ะค่ะ แล้วใส่ Pไว้ ข้ามวันข้ามคืน จะออกไปทำงานก้อเอารถออกไม่ได้ หาตัวตามทะเบียนผู้ใช้รถที่นิติบุคคลก้อไม่มี นั่งแท๊กซี่ไปทำงาน 2 วันแล้ว แย่มากเลย

นี่ก้อพยายามข่มจิตข่มใจอยู่ นะโม นะโม

ใกล้บรรลุธรรมแว๊วววว 55++

จุ๊บๆ หมิงๆ 1 ที ก่อนไป........

 

โดย: unsa 16 กรกฎาคม 2551 10:27:05 น.  

 

หวัดดีค่ะพี่ก๋า
เมื่อคืนได้นอนบ้างหรือเปล่าค่ะพี่ก๋า
เห็นไปหาที่บล็อกตั้งแต่ตีสามโน้นแน่ะ

นาห์ไม่อยากบรรลุธรรมนะ แต่อยากเอาชนะใจตนเองมากกว่า รู้อะไรไม่สู้รู้ใจตัวเอง ควบคุมใจตัวเองให้ได้
รู้ถูกรู้ผิด แล้วดำเนินชีวิตไปในทางที่ถูกที่ควรก็น่าจะมีความสุขแล้ว

 

โดย: มัยดีนาห์ 16 กรกฎาคม 2551 10:28:23 น.  

 

สวัสดียามสายค่ะน้องชาย


อยากจะบรรลุธรรม..แต่ทำไม่ได้
เพราะจิตไม่นิ่ง..โทสะจริตเพียบ
มีความกดดันสูง..กิเลสไม่เบาบาง..
แบบนี้เรียกว่ารู้จักตัวเองไหมค่ะนิ???


ยึดฉวยไว้ก็เป็นทุกข์
ปล่อยวางไปก็เป็นทุกข์

รู้จักอะไรก็ไม่สู้ " รู้จักตัวเอง ''
ชนะอะไรก็ไม่สู้'' ชนะตัวเอง ''

การเกิดทุกข์หรือสุขอยู่ที่ตัวตนของเรา
จัดสรรให้กับชีวิตของเราเองเสมอมัง

อนุโมทนาค่ะ


** ตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตน **
เราว่าสำนวนนี้ใช้ได้ตลอดกาลนะค่ะ


ขอขอบคุณท่านหมื่นตาที่นำการบรรลุธรรม
แบบ..delivery..สั้นกระทัดรัด..เข้าใจง่าย
แถมทันต่อเหตุการณ์บ้านเมืองดีค่ะ



เหออออออเรื่องเดียวกันไหมนิ
เราเป็นอะไรที่เขียน..งง..ตัวเองเสมอ

มีความสุขมากมายนะค่ะครอบครัวอบอุ่น

 

โดย: catt.. (catt.&.cattleya.. ) 16 กรกฎาคม 2551 10:41:11 น.  

 

การนั่งสมาธิ ถ้านั่งแบบลอยๆ ไร้แก่นสารย่อมไม่สามารถบรรลุธรรมได้ และไม่สามารถบรรลุญาณได้ การนั่งสมาธิ ในหลักพระพุทธศาสนาก็มีหลักในการนั่ง เมื่อนั่งจนจิตสงบ ก็เริ่มการพิจารณาเป็นขั้นๆ ไป ซึ่งมีมากมายหลายขั้นตอน ลองไปศึกษากันดูนะครับ

ขอโทษคุณก๋าด้วยนะครับ ไม่ได้ตั้งใจมาแย้งอะไร เป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นนะครับ..

 

โดย: oO (yosa ) 16 กรกฎาคม 2551 10:57:25 น.  

 

หยั่งตี้หมึ่นต๋าว่า มันเหมือนจะง่ายเนอะ

แต่ผ่อยะแต้ๆแล้วมันอยากขนาด

.....ไปผ่อฮูปหลายบ่าวดีกว่า.......
บ่าใด้เข้าไปผ่อหลายวันแล้ว
เมล์กะบ่าใด้เช็คเลย...............
...เปิดเมล์เข้าไปแล้ว..ปะก้าฮูป
............หมิง...หมิง.............

 

โดย: BongKet 16 กรกฎาคม 2551 11:51:10 น.  

 

สวัสดีครับพี่ก๋า

มารอบสองหลังส่งแก้วขึ้นเครื่องไปกทม.เรียบร้อย
ผมไม่ได้ไปกทม.ด้วยกันครับ.. เพราะผมรักที่จะขับรถไป..
ประมาณว่าเที่ยวไปกินไปอ่ะ

แก้วเค้าจะไปเที่ยวทะเลครับ..
ส่วนผมคงไปเที่ยวป่าเขาดีกว่าครับ..
ว่าจะไปเที่ยวโฮมพุเตยกะพี่ต๊อก ครับ
ไปสำรวจก่อนออกทริปจริงๆนะครับ

ขอให้พี่ก๋ากะหมิงๆ และคุณแม่สุดสวย..
มีความสุขมากๆนะครับ...

 

โดย: Little Knight 16 กรกฎาคม 2551 11:53:41 น.  

 



อัตตาหิ อัตตาโน นาโถ ค่ะ

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

มีความสุขกับการทำบุญ และวันหยุดยาวนะคะ ก๋า มาดาม และหลานหมิง หมิง

 

โดย: ม่านฟ้านาคราช 16 กรกฎาคม 2551 12:19:57 น.  

 

ดูภาพและเรื่องนึกถึงหนัง Samsara ที่เคยคุยกะน้องก๋าว่าชอบน่ะค่ะ ^ ^


เห็นด้วยค่ะ...รู้...น่าจะเกิดจากข้างใน...อาจไม่ต้องเสียเวลาไปไกลถึงใหนต่อใหนหรอกนะ....ถ้าข้างในไม่นิ่ง...อยู่ที่ใหนก็เหมือนเดิม (ก็ใครล่ะ...จะหนีตัวเองได้)


"รู้ปล่อยวางตัวตนและความคิด"...พยักหน้าหงึกๆ....เห็นด้วยเพราะว่ามันจริง

แต่ตัวเองก็ยังทำไม่ได้ทั้งหมดนะ...ค่อยๆเริ่มทำไป...บางคนบอกทุกอย่างมันมีเหตุจึงมีผล...แต่บางทีเราว่ามันไม่เห็นมีเหตุ...ทำไมมีผลแต่ด้านร้ายๆนะ...

นึกอยากทำความเข้าใจ...แต่พอหลายครั้งก็ปวดหัว...พอปล่อยวางได้ก็สบายใจ...อย่าไปแบกอะไรไว้จนเกินตัว

แต่ก็ยังมีกิเลสอยู่นะ...เช่นวันนี้ทาเล็บชมพูปรี๊ดสสส....และมื้อเย็นจะดั้นด้นหาข้าวปั้นหน้าไข่กุ้งกินให้ได้....

คงต้องค่อยๆเกลาไปนะ...เปลือกทั้งันั้นเลย

^ ^

 

โดย: My_Sanctuary IP: 203.107.240.19 16 กรกฎาคม 2551 12:48:44 น.  

 

เบื่อ ทำป่ะ... emo

เอาพยูนน้อยมาโชว์ดีก่า
ดำไปถึงไหนแล้วเนี้ย "อาตี๋สีโอเลี้ยง" emo

 

โดย: runch 16 กรกฎาคม 2551 13:29:14 น.  

 


*******สวัสดีเจ้า คุณก๋า*********


อยากบรรลุธรรม แต่....กายวุ่น แถมใจแกว่งอีก


มาอ่านแล้วนิ่งสักนิด อยู่กับใจตัวเองค่อยดีขึ้นแระ


หนุ่มน้อย หมิง หมิง เป็นงัยบ้างค๊า ป้าซอมพอ


ไม่ค่อยว่างเลย คิดถึงหมิง หมิง คงหม่ำแล้วนอน


ไม่ร้องกวนนะ ให้ ปะป๊า ม่ะม๊า พักผ่อนกายบ้างนะครับ


มีความสุขทั้งสามนะคะ

 

โดย: ซอมพอแสด IP: 125.25.182.187 16 กรกฎาคม 2551 13:30:00 น.  

 

emo อยากกินแคบหมู น้ำพริกหนุ่ม

 

โดย: Dory (conejodulce ) 16 กรกฎาคม 2551 13:30:44 น.  

 

ซ๊า...ตุ๊เจ้า ป้อหมิงหมิง ...

หลวงพ่อที่พี่แม่ไก่เคยไปปฏิบัติกับท่านบอกพวกเราเสมอว่า...จิตหลุดพ้นแล้ว ญาณย่อมมี...
ญาณก็คือการตระหนักรู้อันนี้ยังไงเนาะ...

อนุโมทนาสาตุ๊โตยเจ้า

 

โดย: แม่ไก่ 16 กรกฎาคม 2551 14:19:06 น.  

 

คิดถึงจร้า...

 

โดย: หนุ่มน้อยแห่งลุ่มแม่น้ำบางปะกง 16 กรกฎาคม 2551 14:21:37 น.  

 

หวัดดีน้าก๋า

มาบอกว่าจะกลับแล้วนะ...หนังสือขายเมื่อไรก็ไปฝากบอกที่บล็อกหน่อยนะ

ครับเล่นละกี่บาทบอกให้หมดเลยนะ แล้วจะออกสักกี่เล่มว่ามาจะได้ซื้อ

แต่อย่าขายแพงมากนะ ตะหารเงินเดือนน้อย ไม่มีพิเศษกับใครเค้ารู้ป่าว

มีอะไรก็ไปส่งข่าวให้รับทราบบ้างแล้วกันนะครับ ไปแล้วนะ

โอกาสหน้าพบกันครับ

 

โดย: BaVo316 16 กรกฎาคม 2551 14:25:08 น.  

 

ประสาคนบาปไม่บาง พอเห็นคำว่าบรรลุธรรม
ก็หาวว้อดเลยครับ เดี๋ยวตอนดึกๆแวะมาอ่านใหม่

ต้องขอโทษที่ค้างคอมเม้นท์กันไว้ มันยุ่งวุ่นวาย
ทั้งใจทั้งกายเลยครับ ไอ้ที่อยากจะทำเช่นคิดถึง
เพื่อนเงี้ยก็ไม่มีเวลาทำ พาลจะลงแดงเอา

จะบอกว่า เห็นด้วยกะคุณหมอ Manta ครับ ที่ว่า
ภาพคุณมาดามมองธูปดูอบอุ่นแบบอธิบายไม่ได้
พี่หนูหล่อสังเกตมานาน ว่าบุคลิกเธอละมุนละไม
แต่แววตามั่นคงมาก ดังนั้นก็คงทำถูกแล้วครับที่
คุณแม่จะเป็นคนดูแลอบรมและคงต้องปรามๆกัน
บ้าง พี่หนูหล่อว่าเธอจะทำได้ดีโดยไม่ต้องเอะอะ
โวยวาย แบบว่าเอาอยู่ด้วยบุคลิกภาพเย็นๆเหมือน
ที่เอาใครคนหนึ่งอยู่หมัดมาก่อนแล้ว 55555

 

โดย: หนูหล่อ IP: 58.136.207.69 16 กรกฎาคม 2551 14:32:55 น.  

 

วิปัสสนาภาวนา



ความสำคัญของการเจริญภาวนา

เมื่อครั้งที่พระพุทธยังเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ มีพระชนมายุ ๒๙ พรรษา พระองค์เสด็จออกประพาสพระนคร ขณะที่กำลังเพลิดเพลินอยู่นั้นพระองค์ได้พบกับสิ่งที่ไม่เคยเห็นมาก่อนในชีวิต นั่นคือคนแก่คร่ำคร่า คนเจ็บทรมาน และคนตาย ทำให้พระองค์ทรงหวั่นวิตกว่า “ อีกไม่นานเราเองก็ต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตายอย่างนี้เหมือนกัน ทำอย่างไรหนอเราจะรอดพ้นจากสิ่งเหล่านี้ได้? เมื่อมีร้อนก็มีหนาวแก้ เมื่อมีมืดก็มีสว่างแก้ เมื่อมีความแก่ความเจ็บและความตาย ก็ต้องมีวิธีแก้อย่างแน่นอน” จากนั้นพระองค์จึงตัดสินพระทัยทิ้งราชสมบัติ ทิ้งกองเงินกองทองออกจากพระราชวังไปอยู่กลางป่า[1] เพื่อค้นหาหนทางนั้น ในที่สุดก็ทรงค้นพบ นั่นคือการเจริญภาวนา





การเจริญภาวนา เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “กรรมฐาน” เป็นศาสตร์หนึ่งที่มีอยู่ในจักรวาลเหมือนกับศาสตร์อื่น ๆ อย่างเช่น ฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ ต่างกันแต่ศาสตร์นี้ต้องวิจัยในห้องแลปคือจิตล้วน ๆ และมีจุดหมายปลายทางอยู่ที่ความหลุดพ้นจากทุกทั้งปวง ศาสตร์นี้เป็นกลไกที่มีอยู่ตามธรรมชาติ แต่ยากที่มนุษย์จะเข้าถึงได้ สิ่งที่สามารถเข้าถึงและแทงตลอดกฎเกณฑ์นี้ได้มีเพียงอย่างเดียวเท่านั้น นั่นก็คือจิตที่ทรงพลานุภาพมหาศาล ซึ่งตามธรรมดาแล้วมนุษย์ล้วนมีจิตกันทุกคน แต่จิตธรรมดาจะกลายเป็นจิตที่ทรงพลานุภาพได้นั้นต้องอาศัยการบ่มเพาะเป็นเวลานาน คัมภีร์อรรถกถาบอกว่าต้องใช้เวลาถึง ๔ อสงไขยกับแสนกัปเลยทีเดียว[2] ด้วยเหตุนี้เอง นาน ๆ จึงจะมีดวงจิตที่ทรงพลานุภาพมาปฏิสนธิสักครั้งหนึ่ง โลกใบนี้อุบัติมาแล้วประมาณ ๔,๖๐๐ ล้านปีซึ่งเป็นเวลาที่ยาวนานมาก แต่ดวงจิตที่ทรงพลานุภาพมาปฏิสนธิแค่เพียง ๔ ครั้งเท่านั้น[3] ครั้งสุดท้ายมาปฏิสนธิ เมื่อประมาณ ๒,๖๐๐ ปีก่อนนี้เอง ผู้นั้นเราเรียกกันว่า “พระสัมมาสัมพุทธเจ้า”

เรื่องการเจริญภาวนาหรือปฏิบัติกรรมฐานนี้ มนุษย์ทั่วโลกได้พยายามค้นคว้าและเข้าถึงมานานแล้ว แต่เนื่องด้วยสั่งสมบุญบารมีมาไม่เพียงพอจึงเข้าถึงได้เพียงบางส่วน คนกลุ่มนั้นก็คือพวกฤษีและศาสดาต่าง ๆ พวกท่านสามารถเหาะเหินเดินอากาศได้ มีฤทธิ์เดชมากมาย แต่ก็ยังไม่สามารถกำจัดกิเลสในจิตให้หมดสิ้นไปได้[4] ยังมีความโลภ โกรธ เกลียดอยู่ ท่านเหล่านี้เข้าถึงได้เพียงแค่ระดับฌานสมาบัติเท่านั้น ยังไม่สามารถเข้าถึงวิปัสสนาปัญญา บรรลุมรรค ผล นิพพานได้[5]

หลังจากเจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกผนวช พระองค์ได้ไปศึกษาศาสตร์นี้จากสำนักฤษีต่าง ๆ ที่มีอยู่ในสมัยนั้นจนหมดความรู้อาจารย์ แต่เมื่อออกจากสมาธิกิเลสตัณหาก็ยังมีอยู่ ยังมีความกลัวความกังวลอยู่ พระองค์จึงตัดสินพระทัยศึกษาค้นคว้าหาวิธีดับทุกข์ด้วยพระองค์เองด้วยการเจริญวิปัสสนาภาวนา[6]



การเจริญภาวนา ๒ แบบ

การเจริญภาวนา หรือการปฏิบัติกัมมัฏฐานในพระพุทธศาสนา มีอยู่ ๒ ประการ

๑. สมถภาวนา(Development of Tranguility)หรือ สมถกรรมฐาน (Concentration Meditation) คือการฝึกอบรมจิตให้เกิดความสงบ ได้แก่ หลักหรือวิธีปฏิบัติเพื่อให้เกิดความสงบทางจิตใจ หรือการทำจิตใจให้เป็นสมาธิความมั่นคงนั่นเอง[7]

๒. วิปัสสนาภาวนา (Development of Insight) หรือ วิปัสสนากรรมฐาน (Insight Meditation) คือ การฝึกอบรมปัญญาให้เกิดความรู้แจ้งตามความเป็นจริง[8] ได้แก่ หลักหรือวิธีปฏิบัติเพื่อให้เกิดปัญญาเห็นแจ้งตามความเป็นจริงในรูปนาม ขันธ์ ๕ ว่า เป็นสภาวะที่ไม่เที่ยง(อนิจจัง) เป็นทุกข์ ทนได้ยาก (ทุกขัง) เป็นสภาวะที่ไม่ใช่บุคคล ตัวตน เราเขา บังคับบัญชาไม่ได้ (อนัตตา) เรียกว่า วิปัสสนา[9]

ความเข้าใจของผู้ปฏิบัติหลายท่าน คิดว่า “การปฏิบัติสมถภาวนาดีกว่าวิปัสสนาภาวนา เพราะสมถฝึกแล้วทำให้เหาะได้ รู้ใจคนอื่นได้ เสกมนต์คาถาอาคมได้ ส่วนวิปัสสนาล้วน ๆ ทำไม่ได้” แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ผู้ปฏิบัติสมถกรรมฐานก็ยังเป็นเพียงปุถุชนที่ต้องเวียนว่ายตายเกิดใน ๓๑ ภูมิ หาที่สุดของภพชาติไม่ได้ ยังต้องตกอบาย ทรมานในนรกอีกนับชาติไม่ถ้วน ส่วนผู้ปฏิบัติวิปัสสนานั้น ถึงแม้จะเหาะไม่ได้ เสกคาถาไม่ขลัง แต่ก็เหลือภพชาติเพียงแค่ ๗ ชาติเป็นอย่างยิ่ง และตั้งแต่ชาตินี้เป็นต้นไปก็จะไม่ตกอบายอีกเลย ไม่ว่าในอดีตจะเคยทำบาปอกุศลไว้มากมายปานใดก็ตาม

ผลจากสมถะไม่ว่าจะเป็นฌานสมาบัติหรืออภิญญาก็ตาม ยังเป็นเพียงโลกีย์[10] เป็นของปุถุชน เสื่อมถอยได้ เช่น ฤทธิ์ที่พระเทวทัตได้[11] เจโตวิมุตติของพระโคธิกะ[12] และฌานสมาบัติของพระภิกษุสามเณร ฤาษีและคฤหัสถ์ บางท่านที่มีเรื่องเล่าต่อกันมาในคัมภีร์ต่างๆ เป็นของมีมาก่อนพุทธกาล เช่น อาฬารดาบสกาลามโคตรได้ถึงอรูปฌานที่ ๓ อุททกดาบสรามบุตร[13]ได้ถึงอรูปฌานที่ ๔เป็นต้น[14] เป็นของมีได้ในลัทธิภายนอกพระพุทธศาสนา มิใช่จุดหมายของพระพุทธศาสนา เพราะไม่ทำให้หลุดพ้นจากกิเลสและทุกข์ได้อย่างแท้จริง นักบวชบางลัทธิทำสมาธิจนได้ฌาน ๔ แต่ยังมีมิจฉาทิฏฐิเกี่ยวกับเรื่องอัตตาและยึดถือในฌานนั้นว่าเป็นนิพพาน ก็มี[15] ลัทธิเช่นนี้พระพุทธเจ้าทรงปฏิเสธ

ผลที่ต้องการจากสมถะตามหลักพุทธศาสนา คือการสร้างสมาธิเพื่อใช้เป็นบาทฐานวิปัสสนา จุดหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนาสำเร็จด้วยวิปัสสนา คือการฝึกอบรมปัญญาที่มีสมาธินั้นเป็นบาทฐาน หากบรรลุจุดหมายสูงสุดด้วยและยังได้ผลพิเศษแห่งสมถะด้วย ก็จัดว่าเป็นผู้มีคุณสมบัติพิเศษได้รับการยกย่องนับถืออย่างสูง แต่หากบรรลุจุดหมายแห่งวิปัสสนาอย่างเดียวไม่ได้ผลวิเศษแห่งสมถะ ก็ยังเลิศกว่าได้ผลวิเศษแห่งสมถะคือได้ฌานสมาบัติและอภิญญา ๕ แต่ยังไม่พ้นจากอวิชชาและกิเลสต่าง ๆ ไม่ต้องพูดถึงจุดหมายสูงสุด แม้แต่เพียงขั้นสมาธิ ท่านก็กล่าวว่า พระอนาคามีถึงแม้จะไม่ได้ฌานสมาบัติ ไม่ได้อภิญญา ก็ชื่อว่าเป็นผู้บำเพ็ญสมาธิบริบูรณ์[16] เพราะสมาธิของพระอนาคามีผู้ไม่ได้ฌานสมาบัติ ไม่ได้อภิญญานั้น แม้จะไม่ใช่สมาธิที่สูงวิเศษอะไรนักแต่ก็เป็นสมาธิที่สมบูรณ์ในตัวยั่งยืนคงระดับ มีพื้นฐานมั่นคง[17] เพราะไม่มีกิเลสที่จะทำให้เสื่อมถอยหรือรบกวนได้ ตรงข้ามกับสมาธิของผู้เจริญสมถะอย่างเดียวจนได้ฌานสมาบัติและอภิญญา แต่ไม่ได้เจริญวิปัสสนาไม่ได้บรรลุมรรคผล แม้สมาธินั้นจะเป็นสมาธิขั้นสูงมีผลพิเศษ แต่ก็ขาดหลักประกันที่จะทำให้ยั่งยืนมั่นคง ผู้ได้สมาธิอย่างนี้ถ้ายังเป็นปุถุชนก็อาจถูกกิเลสครอบงำทำให้เสื่อมถอยได้

 

โดย: จงโชคดี IP: 58.8.78.205 16 กรกฎาคม 2551 14:37:52 น.  

 

วิปัสสนาภาวนา

วิปัสสนา แปลว่า เห็นประจักษ์แจ้งพระไตรลักษณ์ในรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน อาการที่เคลื่อนไหว ใจที่คิด เป็นต้น เป็นวิธีการปฏิบัติที่จะนำกายและใจของผู้ปฏิบัติให้เข้าถึงสภาวดับ สงบเย็น(นิพพาน)ได้[18] ถ้าต้องการสุขแท้ สุขถาวรที่ไม่กลับมาทุกข์อีกก็ต้องดำเนินไปตามหนทางนี้เท่านั้น ไม่มีทางอื่น[19]

ความเข้าใจของผู้ปฏิบัติหลายท่าน คิดว่า “การปฏิบัติสมถกรรมฐานดีกว่า วิปัสสนากรรมฐาน เพราะสมถะฝึกแล้วทำให้เหาะได้ รู้ใจคนอื่นได้ เสกคาถาอาคม ได้ ส่วนวิปัสสนาทำไม่ได้” แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ผู้ปฏิบัติสมถกรรมฐานก็ยังเป็นเพียงปุถุชนที่ยับต้องเวียนว่ายตายเกิดใน ๓๑ ภูมิ หาที่สุดของภพชาติไม่ได้ ยังต้องตกอบาย ทรมานในนรกอีก ส่วนผู้ปฏิบัติวิปัสสนานั้น ถึงแม้จะเหาะไม่ได้ เสกคาถาไม่ขลัง แต่เมื่อบรรลุได้เพียงขั้นโสดาบันเท่านั้น ก็จะเหลือภพชาติเพียง ๗ ชาติเป็นอย่างยิ่ง และตั้งแต่ชาตินี้เป็นต้นไปจะไม่ตกอบายอีกเลย ไม่ว่าในอดีตเคยทำบาปอกุศลไว้มากมายปานใดก็ตาม จะไม่ตกนรกอีกแล้ว..



คัมภีร์พระอภิธัมมสังคณี ได้ให้ความหมายของวิปัสสนาไว้ว่า
กตมา ตสฺมึ สมเย วิปสฺสนา โหติ ยา ตสฺมึ สมเย ปญฺญา ปชานานา วิจโย ปวิจโย ธมฺมวิจโย สลฺลกฺขณา อุปลกฺขณา ปจฺจุปลกฺขณา ปณฺฑิจฺจํ โกสลฺลํ เนปุญฺญํ เวภพฺยา จินฺตา อุปปริกฺขา ภูรีเมธา ปริณายิกา วิปสฺสนา สมฺปชญฺญํ ปโตโท ปญฺญา ปญฺญินฺทฺริยํ ปญฺญาพลํ ปญฺญาสตฺถํ ปญฺญาปาสาโท ปญฺญาอาโลโก ปญฺญาโอภาโส ปญฺญาปชฺโชโต ปญฺญารตนํ อโมโห ธมฺมวิจโย สมฺมาทิฏฐา อยํ ตสฺมึ สมเย วิปสฺสนา โหติ[20] ฯ
วิปัสสนาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน คือ ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความกำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้อย่างแจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความเห็นแจ้ง ความรู้ดี ปัญญาเหมือนรัตนะ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฎฐิ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่า วิปัสสนา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น



คัมภีร์อรรถกถา ให้ความหมาย ว่า วิปัสสนา คือ การเห็นแจ้ง หรือวิธีทำให้เกิดการเห็นแจ้ง วจนัตถะว่า อนิจฺจาทิวเสน วิวิเธน อากาเรหิ ธมฺเม ปสฺสตีติ วิปสฺสนา[21]

ปัญญาใด ย่อมเห็นสังขตธรรมมีขันธ์เป็นต้น ด้วยอาการต่างๆมีความไม่เที่ยงเป็นต้น ฉะนั้น ปัญญานั้น ชื่อว่า วิปัสสนา

คัมภีร์อรรถกถาให้ความหมายไว้ดังนี้

อรรถกถาอังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต ให้ความหมายว่า ปัญญาที่กำหนดรู้สังขาร[22]

อรรถกถาอังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ให้ความหมายว่า การใคร่ครวญธรรม หมายถึง การเพ่งพินิจพิจารณาเห็นธรรมโดยความเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา[23]

คัมภีร์ฎีกาอธิบายอีกว่า วิปัสสนา คือ ความรู้ที่ทำให้เกิดความเห็นแจ้ง เข้าใจสภาวะของสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง[24]

พระราชวรมุนี (ป.อ.ปยุตฺโต)ให้ความหมายว่า วิปัสสนา คือ ข้อปฏิบัติต่างๆ ในการฝึกฝนอบรมปัญญาให้เกิดความเห็นแจ้งรู้ชัดสิ่งทั้งหลายตรงต่อสภาวะของมัน คือให้เข้าใจตามความเป็นจริง หรือตามที่สิ่งเหล่านั้นมันเป็นของมันเอง (ไม่ใช่เห็นไปตามที่เราวาดภาพให้มันเป็นด้วยความชอบความชัง ความอยากได้ หรือ ความขัดใจของเรา) รู้แจ้งชัดเข้าใจจริง จนถอนความหลงผิดรู้ผิดและยึดติดในสิ่งทั้งหลายได้ ถึงขั้นเปลี่ยนท่าทีต่อโลกและชีวิตใหม่ทั้งท่าทีแห่งการมอง การรับรู้ การวางจิตใจและความรู้สึกทั้งหลาย ความรู้ความเข้าใจถูกต้องที่เกิดเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในระหว่างการปฏิบัตินั้น เรียกว่า ญาณ มีหลายระดับญาณสำคัญในขั้นสุดท้ายเรียกว่า วิชชา เป็นภาวะตรงข้ามที่กำจัดอวิชชา คือความหลงผิดไม่รู้แจ้งไม่รู้จริงให้หมดไป ภาวะจิตที่มีญาณหรือวิชชานั้น เป็นภาวะที่สุขสงบผ่องใสและเป็นอิสระ เพราะลอยตัวพ้นจากอำนาจครอบงำของกิเลส เช่น ความชอบความชังความติดใจและความขัดใจเป็นต้นไม่ถูกบังคับหรือชักจูงโดยกิเลสเหล่า นั้น ให้มองเห็นหรือรับรู้สิ่งต่าง ๆอย่างบิดเบือน จนพาความคิดและการกระทำที่ติดตามมาให้หันเหเฉไปและไม่ต้องเจ็บปวดหรือเร่าร้อนเพราะถูกบีบคั้นหรือต่อสู้กับกิเลสเหล่านั้น ญาณและวิชชา จึงเป็นจุดมุ่งของวิปัสสนา เพราะนำไปสู่วิมุตติ คือความหลุดพ้นเป็นอิสระที่แท้จริงซึ่งยั่งยืนถาวร ท่านเรียกว่า สมุจเฉทนิโรธ หรือสมุจเฉทวิมุตติ แปลว่า ดับกิเลส หรือหลุดพ้นโดยเด็ดขาด[25]

 

โดย: จงโชคดี IP: 58.8.78.205 16 กรกฎาคม 2551 14:41:37 น.  

 

วิปัสสนา กับ สติปัฏฐาน ต่างกันอย่างไร?

อรรถกถากล่าวว่า การเพ่งพินิจพิจารณาเห็นธรรมโดยความเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา ชื่อว่า วิปัสสนา[26]

ปัญญาใด ย่อมเห็นสังขตธรรมมีขันธ์เป็นต้น ด้วยอาการต่างๆมีความไม่เที่ยงเป็นต้น ฉะนั้น ปัญญานั้น ชื่อว่า วิปัสสนา[27]

วิปัสสนา คือ การใคร่ครวญธรรม หมายถึงการเพ่งพินิจพิจารณาเห็นธรรม โดยความเป็นไตรลักษณ์[28]

แต่ที่เราไม่เห็นนามรูปตามความเป็นจริงคือโดยความเป็นไตรลักษณ์ได้โดยง่ายนั้น ก็เพราะว่ามีธรรม ๓ ประการ เป็นเครื่องขวางกั้นไว้ คือ ๑. สันตติ ปิดบังอนิจจัง ๒. อิริยาบถ ปิดบังทุกข์ ๓. ฆนสัญญา ปิดบังอนัตตา[29]

วิธีทำลายเครื่องปิดบังไตรลักษ์ มีอยู่ทางเดียวเท่านั้น คือปฏิบัติตามหลักและวิธีการของสติปัฏฐาน ๔ นอกจากนี้ไม่มีทางอื่นใดอีกเลย[30] สติปัฏฐาน ๔ เท่านั้นที่สามารถทำลายวิปลาส และทำให้เกิดวิปัสสนาปัญญา เห็นความจริงของรูปนามที่เป็นไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ได้[31]

ด้วยเหตุผลดังกล่าวนี้ จึงสรุปความได้ว่า วิปัสสนาและสติปัฏฐานเป็นสิ่งเดียวกันโดยความเป็นเหตุเป็นผลกับ คือ วิปัสสนาญาณจะมีขึ้นไม่ได้เลย ถ้าหากขาดกระบวนการพิจารณาธรรมตามแนวสติปัฏฐาน ๔

อีกนัยหนึ่ง วิปัสสนา หมายถึง เห็นตามเหตุ ตามการณ์ ด้วยปัญญาตามความเป็นจริง[32] แต่ที่มนุษย์เห็นผิดไปจากความเป็นจริงนั้นก็เพราะวิปลาสธรรม ๓ ประการ คือ ทิฏฐิ(ความเห็นผิด) จิต(รู้ผิด) และสัญญา(จำผิด) องค์ธรรมของวิปลาสทั้ง ๓ ประการนี้มี ๔ คือ

อัตตวิปลาส สำคัญว่านามรูปนี้เป็นตัวตน

สุขวิปลาส สำคัญว่านามรูปนี้เป็นสุข

สุภวิปลาส สำคัญว่า นามรูปนี้สวยงาม

นิจจวิปลาส สำคัญว่า นามรูปนี้เที่ยง[33]

วิปลาสธรรมนี้เกิดขึ้นเพราะไม่ได้กำหนดรู้ความจริงของนามรูป การที่จะละวิปลาสธรรมนี้ได้ก็โดยการกำหนดนามรูปตามนัยของสติปัฏฐาน ๔ เท่านั้น คือ

กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ละ สุภวิปลาส

เวนานนุปัสสนาสติปัฏฐาน ละ สุขวิปลาส

จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน ละ นิจจวิปลาส

ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ละ อัตตวิปลาส[34]

ด้วยเหตุนี้ การเจริญวิปัสสนากับการเจริญสติปัฏฐานจึงเป็นอย่างเดียวกัน โดยความเป็นเหตุเป็นผลกัน[35]



วิปัสสนาภูมิ ๖

วิปัสสนาภูมิ หมายถึง พื้นที่กระทำวิปัสสนา หรือกรรมฐานของวิปัสสนา หรือ อารมณ์ของวิปัสสนา หมายความว่า การเจริญวิปัสสนานั้นต้องกำหนดรู้อยู่ที่วิปัสสนาภูมิ

วิปัสสนาภูมิที่พระพุทธองค์ทรงแสดงนั้น มีอยู่ ๖ ภูมิด้วยกัน เรียกว่า วิปัสสนาภูมิ ๖ แต่เมื่อย่อวิปัสสนาภูมิลงแล้ว คงได้ ๒ อย่างคือ รูปธรรมกับนามธรรม กล่าวสั้นๆ ว่า รูป-นาม

ธรรมอันเป็นที่ตั้งเป็นที่เกิดของวิปัสสนา หรือที่เรียกว่า “วิปัสสนาภูมิ” คือ พื้นเพในการเจริญวิปัสสนาภาวนานั้น มี ๖[36] ได้แก่ ๑.ขันธ์ ๕ ๒.อายตนะ ๑๒ ๓.ธาตุ ๑๘ ๔.อินทรีย์ ๒๒ ๕.ปฏิจจสมุปปาท ๑๒ ๖.อริยสัจ ๔[37]



๑) ขันธ์ มี ๕
๑. รูปขันธ์ องค์ธรรม ได้แก่ รูป ๒๘[38](มหาภูตรูป๔[39],อุปาทยรูป๒๔[40])
๒. เวทนาขันธ์ องค์ธรรม ได้แก่ เวทนาเจตสิก ที่ในจิต๘๙ หรือ ๑๒๑[41]
๓. สัญญาขันธ์ องค์ธรรม ได้แก่ สัญญาเจตสิกที่ในจิต๘๙ หรือ ๑๒๑[42]
๔. สังขารขันธ์ องค์ธรรม ได้แก่ เจตสิก ๕๐ (เว้นเวทนา, สัญญา) ที่ในจิต๘๙ หรือ ๑๒๑ ตามสมควร[43]
๕. วิญญานขันธ์ องค์ธรรม ได้แก่ จิต ๘๙ หรือ ๑๒๑[44]



๒) อายตนะ ๑๒

๑) จักขายตนะ จักขุ ชื่อว่า อายตนะ เพราะเป็นเหตุให้จิต เจตสิกเกิด องค์ธรรมได้แก่ จักขุปสาท
๒) โสตายตนะ โสตะ ชื่อว่าอายตนะ เพราะเป็นเหตุให้จิต เจตสิกเกิดองค์ธรรมได้แก่ โสตปสาท
๓) ฆานายตนะ ฆานะ ชื่อว่าอายตนะ เพราะเป็นเหตุให้จิต เจตสิกเกิดองค์ธรรมได้แก่ ฆานปสาท
๔) ชิวหายตนะ ชิวหา ชื่อว่าอายตนะ เพราะเป็นเหตุให้จิต เจตสิกเกิดองค์ธรรมได้แก่ ชิวหาปสาท
๕) กายายตนะ กายะ ชื่อว่าอายตนะ เพราะเป็นเหตุให้จิต เจตสิกเกิดองค์ธรรม ได้แก่ กายปสาท
๖) รูปายตนะ รูปารมณ์ ชื่อว่า อายตนะ เพราะเป็นเหตุให้จิต เจตสิกเกิดองค์ธรรมได้แก่ สีต่างๆ
๗) สัททายตนะ สัททารมณ์ ชื่อว่าอายตนะ เพราะเป็นเหตุให้จิต เจตสิกเกิดองค์ธรรมได้แก่ เสียงต่างๆ
๘) คันธายตนะ คันธารมณ์ ชื่อว่าอายตนะ เพราะเป็นเหตุให้จิต เจตสิกเกิดองค์ธรรมได้แก่ กลิ่นต่างๆ
๙) รสายตนะ รสารมณ์ ชื่อว่าอายตนะ เพราะเป็นเหตุให้จิต เจตสิกเกิดองค์ธรรมได้แก่ รสต่างๆ
๑๐) โผฏฐัพพายตนะ โผฏฐัพพารมณ์ ชื่อว่าอายตนะ เพราะเป็นเหตุให้จิต เจตสิกเกิดองค์ธรรมได้แก่ สัมผัสต่างๆ
๑๑) มนายตนะ จิต ชื่อว่าอายตนะ เพราะเป็นเหตุให้จิต เจตสิกเกิดองค์ธรรมได้แก่ จิตทั้งหมด
๑๒) ธัมมายตนะ สภาพธรรมต่างๆ ชื่อว่าอายตนะ เพราะเป็นเหตุให้จิต เจตสิกเกิดองค์ธรรมได้แก่ เจตสิก ๕๒ สุขุมรูป ๑๖ นิพพาน[45]



๓) ธาตุ มี ๑๘
๑) จักขุธาตุ จักขุ ชื่อว่าธาตุ เพราะทรงไว้ซึ่งความใสที่รูปารมณ์มากระทบได้ องค์ธรรมได้แก่ จักขุประสาท
๒) โสตธาตุ โสตะ ชื่อว่าธาตุ เพราะทรงไว้ซึ่งความใสที่สัททารมณ์มากระทบได้ องค์ธรรมได้แก่ โสตปสาท
๓) ฆานธาตุ ฆานะ ชื่อว่าธาตุ เพราะทรงไว้ซึ่งความใสที่คันธารมณ์มากระทบได้องค์ธรรมได้แก่ ฆานปสาท
๔) ชิวหาธาตุ ชิวหา ชื่อว่าธาตุ เพราะทรงไว้ซึ่งความใสที่ รสารมณ์มากระทบได้ องค์ธรรมได้แก่ ชิวหาปสาท
๕) กายธาตุ กายะ ชื่อว่าธาตุ เพราะทรงไว้ซึ่งความใสที่โผฏฐัพพารมณ์มากระทบได้ องค์ธรรมได้แก่ กายปสาท
๖) รูปธาตุ รูปารมณ์ ชื่อว่าธาตุ เพราะทรงไว้ซึ่งการกระทบกับจักขุปสาทได้ องค์ธรรม ได้แก่ สีต่างๆ
๗) สัททธาตุ สัททารมณ์ ชื่อว่าธาตุ เพราะทรงไว้ซึ่งการกระทบกับโสตปสาทได้ องค์ธรรมได้แก่ เสียงต่างๆ
๘) คันธธาตุ คันธารมณ์ ชื่อว่าธาตุ เพราะทรงไว้ซึ่งการกระทบกับฆานปสาทได้ องค์ธรรมได้แก่ กลิ่นต่างๆ
๙) รสธาตุ รสารมณ์ ชื่อว่าธาตุ เพราะทรงไว้ซึ่งการกระทบกับชิวหาปสาทได้ องค์ธรรม ได้แก่ รสต่างๆ
๑๐) โผฏฐัพพธาตุ โผฏฐัพพารมณ์ ชื่อว่าธาตุ เพราะทรงไว้ซึ่งการกระทบกับกายปสาทได้ องค์ธรรมได้แก่ สัมผัสต่างๆ
๑๑) จักขุวิญญาณธาตุ จักขุวิญญาณ ชื่อว่าธาตุ เพราทรงไว้ซึ่งการเห็น องค์ธรรมได้แก่ จักขุวิญญาณจิต ๒
๑๒) โสตวิญญาณธาตุ โสตวิญญาณ ชื่อว่าธาตุ ทรงไว้ซึ่งการได้ยิน องค์ธรรมได้แก่ โสตวิญญาณจิต ๒
๑๓) ฆานวิญญาณธาตุ ฆานวิญญาณ ชื่อว่าธาตุ เพราะทรงไว้ซึ่งการรู้กลิ่น องค์ธรรมได้แก่ ฆานวิญญาณจิต ๒

๑๔) ชิวหาวิญญาณธาตุ ชิวหาวิญญาณ ชื่อว่าธาตุ เพราะทรงไว้ซึ่งการรู้รส องค์ธรรมได้แก่ ชิวหาวิญญาณจิต ๒
๑๕) กายวิญญาณธาตุ กายวิญญาณ ชื่อว่าธาตุ เพราะทรงไว้ซึ่งการรู้สัมผัส องค์ธรรมได้แก่ กายวิญญาณจิต ๒
๑๖) มโนธาตุ จิต ๓ ดวง ชื่อว่ามโนธาตุ เพราะทรงไว้ซึ่งการรู้ปัญจารมณ์อย่างสามัญ องค์ธรรมได้แก่ ปัญจทวาราวัชชนจิต ๑ สัมปฏิจฉันจิต ๒
๑๗) มโนวิญญาณธาตุ จิต ๗๖ ดวง ชื่อว่ามโนวิญญาณธาตุ เพราะทรงไว้ซึ่งการรู้ อารมณ์เป็นพิเศษ องค์ธรรมได้แก่ จิต ๗๖ (เว้นทวิปัญจวิญญาณจิต ๑๐ มโนธาตุ ๓)
๑๘) ธัมมธาตุ สถาวธรรม ๖๙ ชื่อว่าธัมมธาตุ เพราะทรงไว้ซึ่งสภาวลักษณะของตนๆ องค์ธรรมได้แก่ เจตสิก๕๒ สุขุมรูป๑๖ นิพพาน[46]



๔) อินทรีย์ ๒๒
๑) จักขุนทรีย์ ธรรมชาติที่เป็นผู้ปกครองในการเห็นองค์ธรรมได้แก่ จักขุปสาท
๒) โสตินทรีย์ธรรมชาติที่เป็นผู้ปกครองในการได้ยินองค์ธรรมได้แก่โสตปสาท
๓) ฆานินทรีย์ธรรมชาติที่เป็นผู้ปกครองในการรู้กลิ่นองค์ธรรมได้แก่ฆานปสาท
๔) ชิวหินทรีย์ธรรมชาติที่เป็นผู้ปกครองในการรู้รสองค์ธรรมได้แก่ชิวหาปสาท
๕) กายินทรีย์ ธรรมชาติที่เป็นผู้ปกครองในการสัมผัสองค์ธรรมได้แก่ กายปสาท
๖) อิตถินทรีย์ ธรรมชาติที่เป็นผู้ปกครองในความเป็นหญิง ได้แก่ อิตถีภาวรูป
๗) ปุริสินทรีย์ ธรรมชาติที่เป็นผู้ปกครองในความเป็นชายองค์ธรรมได้แก่ ปุริส ภาวรูป
๘) ชีวิตินทรีย์ ธรรมชาติที่เป็นผู้ปกครองในการรักษารูปและนามองค์ธรรมได้แก่ ชีวิตรูป และชีวิตินทรีย์เจตสิก
๙) มนินทรีย์ ธรรมชาติที่เป็นผู้ปกครองในการรับอารมณ์องค์ธรรมได้แก่ จิตทั้งหมด
๑๐) สุขินทรีย์ ธรรมชาติที่เป็นผู้ปกครองในการเสวยความสุขกายองค์ธรรมได้แก่ เวทนาเจตสิกที่ในสุขสหคตกายวิญญาณจิต ๑
๑๑) ทุกขินทรีย์ ธรรมชาติที่เป็นผู้ปกครองในการเสวยทุกข์กายองค์ธรรมได้แก่ เวทนาเจตสิกที่ในทุกขสหคตกายวิญญาณจิต ๑
๑๒) โสมนัสสินทรีย์ ธรรมชาติที่เป็นผู้ปกครองในการเสวยความสุขใจองค์ธรรมได้แก่ เวทนาเจตสิกที่ในโสมนัสสหคตจิต ๖๒
๑๓) โทมนัสสินทรีย์ ธรรมชาติที่เป็นผู้ปกครองในการเสวยความทุกข์ใจองค์ธรรม ได้แก่ เวทนาเจตสิกที่ในโทสมูลจิต ๒
๑๔) อุเปกขินทรีย์ ธรรมชาติที่เป็นผู้ปกครองในการเสวยอารมณ์เป็นกลาง องค์ธรรม เวทนาเจตสิกที่ในอุเบกขาสหคตจิต ๕๕

๑๕) สัทธินทรีย์ ธรรมชาติที่เป็นผู้ปกครองในความเชื่อต่อสิ่งที่ควรเชื่อองค์ธรรมได้แก่ สัทธาเจตสิกที่ในโสภณจิต ๙๑
๑๖) วิริยินทรีย์ ธรรมชาติที่เป็นผู้ปกครองในความเพียรองค์ธรรมได้แก่ วิริยเจตสิกที่ในวิริยสัมปยุตตจิต ๑๐๕
๑๗) สตินทรีย์ ธรรมชาติที่เป็นผู้ปกครองในการระลึกชอบองค์ธรรมได้แก่ สติเจตสิกที่ในโสภณเจตสิก ๙๑
๑๘) สมาธินทรีย์ ธรรมชาติที่เป็นผู้ปกครองในการตั้งมั่นในอารมณ์อันเดียวองค์ธรรมได้แก่ เอกัตคตาเจตสิกที่ในจิต ๗๒ (เว้นอวิริยจิต ๖๒ วิจิกิจฉาสัมปยุตตจิต ๑)
๑๙) ปัญญินทรีย์ ธรรมชาติที่เป็นผู้ปกครองในการรู้ตามความเป็นจริง ได้แก่ ปัญญาเจตสิกที่ในญาณสัมปยุตตจิต ๔๗ หรือ ๗๙
๒๐) อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์ ธรรมชาติที่เป็นผู้ปกครองในการรู้แจ้งอริยสัจจ์ ๔ ที่ตนไม่เคยรู้ องค์ธรรม ปัญญาเจตสิกที่ในโสดาปัตติมรรคจิต ๑
๒๑) อัญญินทรีย์ ธรรมชาติที่เป็นผู้ปกครองในการรู้แจ้งอริยสัจจ์ ๔ ที่ตนเคยรู้องค์ธรรมได้แก่ ปัญญาเจตสิกที่ในมรรคจิตเบื้องบน ๓ และผลจิตเบื้องต่ำ ๓
๒๒) อัญญาตาวินทรีย์ ธรรมชาติที่เป็นผู้ปกครองในการรู้แจ้งอริยสัจจ์ ๔ สิ้นสุดแล้ว ได้แก่ ปัญญาเจตสิกที่ในอรหัตตผลจิต ๑[47]

ถามว่า เพราะเหตุอะไร พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสขันธ์ ๕ แล้ว จึงตรัสอายตนะ๑๒ , ธาตุ ๑๘ อินทรีย์ ๒๒ ซ้ำอีก ทั้งที่มีสภาวธรรมเท่ากัน ?

คัมภีร์ฏีกาอภิธัมมัตถสังคหะแก้ว่า เพราะทรงประสงค์อนุเคราะห์สัตว์ ๓ เหล่า คือ

๑. ทรงจำแนก นามและรูปไว้ในขันธ์ ๕ สำหรับอนุเคราะห์สัตว์ผู้หลงงมงานในนาม(โดยเฉพาะ) มีอินทรีย์แก่กล้า สอนเพียงเล็กน้อย ก็เข้าใจ

๒. ทรงจำกแนก นามและรูปไว้ในธาตุ ๑๘ สำหรับอนุเคราะห์สัตว์ผู้หลงงมงายในรูป(โดยเฉพาะ)มีอินทรีย์ไม่แก่กล้านัก ต้องอธิบายขยายความจึงจะเข้าใจ

๓. ทรงจำแนก นามและรูปไว้ในอินทรีย์ ๒๒ สำหรับเคราะห์สัตว์ผู้หลงงมงายในทั้งรูปทั้งนามมีอินทรีย์อ่อน ต้องอธิบายและพร่ำสอนบ่อย ๆ จึงจะเข้าใจ[48] ฯ

 

โดย: จงโชคดี IP: 58.8.78.205 16 กรกฎาคม 2551 14:45:19 น.  

 

๕. ปฏิจจสมุปบาท ๑๒
๑) อวิชชา ธรรมชาติที่เป็นไปตรงกันข้ามกับปัญญาคือ การไม่รู้ตามความเป็นจริง ที่ควรรู้ รู้แต่สิ่งที่ไม่เป็นไปตามความเป็นจริงที่ควรรู้ ได้แก่ โมหเจตสิก
๒) สังขาร ธรรมชาติที่ปรุงแต่งสังขตธรรมที่เป็นผลโดยตรง ได้แก่ เจตนาที่ในอกุศล และโลกียกุศล
๓) วิญญาณ ธรรมชาติที่รู้อารมณ์เป็นพิเศษ ได้แก่ ปฏิสนธิวิญญาณ คือปฏิสนธิจิต ๑๙ และปวัตติวิญญาณ คือ โลกิยวิปากจิต ๓๒
๔) นามรูป ธรรมชาติที่น้อมไปในอารมณ์ ชื่อว่า นาม ได้แก่ เจตสิก ๓๕ ที่ประกอบกับ โลกิยวิบากจิต ๓๒ ธรรมชาติที่สลายไป เพราะปัจจัยเป็นปฏิปักษ์ ชื่อว่า รูป ได้แก่ ปฏิสนธิกัมมชรูป, ปวัตติกัมมชรูป, จิตตชรูป
๕) สฬายตนะ ธรรมชาติที่ทรงไว้ซึ่งวัฏฏสงสารที่ยืนยาวได้แก่ อัชฌัติกายตนะ ๖
๖) ผัสสะ ธรรมชาติที่กระทบอารมณ์ ได้แก่ ผัสสเจตสิก ที่ประกอบกับโลกิยวิบากจิต ๓๒
๗) เวทนา ธรรมชาติที่เสวยอารมณ์ ได้แก่ เวทนา ๖ ที่เกิดขึ้นโดยอาศัยสัมผัสสะ มีจักขุสัมผัสสชาเวทนา เป็นต้น
๘) ตัณหา ธรรมชาติที่ติดใจซึ่งวัตถุกาม ได้แก่ โลภเจตสิกที่ในโลภมูลจิต ๘
๙) อุปาทาน ธรรมชาติที่เข้าไปยึดมั่น ได้แก่ ตัณหาและทิฏฐิที่มีกำลังมาก
๑๐) ภวะ (กัมมภวะ,อุปัตติภวะ) ธรรมชาติที่เป็นเหตุให้ผลเกิดขึ้น ชื่อว่า กัมมภาวะ ได้แก่ อกุศลเจตนา ๑๒ โลกิยกุศลเจตนา ๑๗ ธรรมชาติที่เข้าไปเกิดในภพใหม่ด้วย ได้เกิดขึ้นเพราะอาศัยกรรมด้วย ชื่อว่า อุปัตติภวะ ได้แก่ โลกิยวิปากจิต ๓๒ เจตสิก ๓๕, กัมมชรูป ๒๐
๑๑) ชาติ ธรรมชาติที่เป็นเหตุแห่งการปรากฏเกิดขึ้นของสังขารธรรมได้แก่ปฏิสนธิชาติ (การเกิดขึ้นครั้งแรกในภพใหม่)
๑๒) ชรา มรณะ และ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาส ชรา ความเก่าแก่ของวิบากนามขันธ์ ๔ และนิปผันนรูป ชื่อว่า ชรา
มรณะ ความตาย คืออาการที่กำลังดับของ โลกิยวิบาก และกัมมชรูป

โสกะ ความเศร้าโศก ได้แก่ โทมนัสเวทนาที่ประกอบกับ โทสมูลจิต ๒ ซึ่งเกิดจากพยสนะ ๕ อย่าง
ปริเทวะ การร้องไห้รำพัน ชื่อว่า ปริเทวะ ได้แก่ จิตตชวิปปลาส สัททะที่เกิดขึ้นโดยมีการร้องไห้รำพัน เพราะอาศัยพยสนะ ๕[49] อย่างๆ ใดอย่างหนึ่งเป็นเหตุ

ทุกขะ เวทนาที่อดทนได้ยาก ชื่อว่า ทุกข์ ได้แก่ กายิกทุกข- เวทนาโทมนัส สภาพที่เป็นเหตุให้เป็นผู้มีใจคอไม่ดี ได้แก่ เจตสิกทุกข์คือ ทุกข์ใจ
อุปายาส ความลำบากใจอย่างหนัก ชื่อว่า อุปายาส ได้แก่ โทสเจตสิก ที่เกิดขึ้นโดยอาศัยพยสนะอย่างใดอย่างหนึ่ง[50]



๖. อริยสัจ ๔[51]

อริยสัจ แปลว่า เป็นสัจจะอันประเสริฐ คำว่า อริยะ อธิบายว่า เป็นของแท้ เป็นของไม่ผิด ไม่เป็นของคลาดเคลื่อนเหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า อิมานิ โข ภิกฺขเว จตฺตาริ อริสจฺจานิ ตถานิ อวิตถานิ อนญฺญกานิ ตสฺมา อริยสจฺจานีติ วุจฺจนฺติ[52] ดูก่อนภิกษุทั้งหลายอริยสัจ ๔ นี้แลเป็นของแท้ ไม่แปรผัน ไม่เป็นอย่างอื่น เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า อริยสัจ

คัมภีร์มูลฎีกาให้ความหมายว่า ความจริงของพระอริยะ, ความจริงที่ทำให้ผู้เข้าถึงกลายเป็นพระอริยะ, สัจจะที่พระอริยะพึงรู้[53]
๑) ทุกขสัจจะ ธรรมชาติที่เป็นทุกข์ เป็นความจริงของพระอริยเจ้าทั้งหลาย[54] ทุกข์ มีความหมายว่า บีบคั้น, อันปัจจัยปรุงแต่ง, ให้เร่าร้อน, ปรวนแปร นี้เป็นอรรถของทุกข์ เป็นของแท้ เป็นของไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่น[55] องค์ธรรมได้แก่ โลกียจิต๘๑,เจตสิก ๕๑(เว้น โลภะ),รูป ๒๘

คัมภีร์อรรถกถาปรมัตถทีปนี ให้ความหมายว่า กุจฺฉิตภาวโต ตุจฺฉภาวโต จ ทุกฺข อุปาทานกฺขนฺธปฺจก.[56] ชื่อว่า ทุกข์ เพราะเป็นของน่าเกลียด และเพราะเป็นของว่างเปล่า ได้แก่อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕[57]
๒) สมุทยสัจจะ ธรรมชาติที่เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ เป็นความจริงของพระอริยเจ้าทั้งหลาย องค์ธรรม ได้แก่ โลภเจตสิก สมุทัย มีความหมายว่า ประมวลมา หมายถึง เป็นเหตุมอบให้ซึ่งผล[58]

คัมภีร์ปรมัตถทีปนี ให้ความหมายดังนี้ ต ทุกฺข สมุเทติ เอตสฺมาติ สมุทโย, ตณฺหา[59] ชื่อว่า สมุทัย ได้แก่ตัณหาเพราะเป็นแดนเกิดแห่งทุกข์
๓) นิโรธสัจจะ ธรรมที่เป็นเครื่องดับทุกข์ เป็นความจริงของพระอริยเจ้าทั้งหลาย องค์ธรรม ได้แก่ นิพพาน นิโรธ มีความหมายว่า สลัดออก, อันปัจจัยปรุงแต่งไม่ได้,เป็นอมตะ

คัมภีร์อรรถกถาปรมัตถทีปนี ให้ความหมายไว้ดังนี้ สสารจารกสงฺขาโต นตฺถิ เอตฺถ โรโธ, เอตสฺมึ วา อธิคเต ปุคฺคลสฺส โรธาภาโว โหติ, นิรุชฺฌติ ทุกฺขเมตฺถาติ วา นิโรโธ, นิพฺพาน[60] ชื่อว่า นิโรธ เพราะในพระนิพพานนั้นไม่มีฝั่ง(สงสารเป็นที่เที่ยวไป) หรือว่าเมื่อบุคคลบรรลุพระนิพพานนั้นแล้ว ย่อมไม่มีฝั่ง หรือเป็นที่ดับทุกข์ ได้แก่พระนิพพาน

๔) มรรคสัจจะ หนทางที่เป็นเหตุให้ถึงความดับทุกข์ เป็นความจริงของพระอริยเจ้าทั้งหลาย องค์ธรรมได้แก่ มัคคังคเจตสิก ๘ ดวง มีปัญญาเจตสิก เป็นต้น ที่ในมรรคจิต ๔ มรรคมีความหมายว่า การนำออก เป็นเหตุ เป็นอธิบดี

คัมภีร์อรรถกถาปรมัตถทีปนี ให้ความหมายไว้ดังนี้ กิเลเส มาเรนฺโต คจฺฉติ, นิพฺพานตฺถิเกหิ มคฺคิยตีติ วา มคฺโค, สมฺมาทิฏฺิอาทโย อฏฺ ธมฺมา.[61] ชื่อว่า มรรค เพราะฆ่ากิเลสทั้งหลายไปหรือเพราะผู้ต้องการพระนิพพานจะต้องแสวงหา ได้แก่ธรรม ๘ ประการ มี สัมมาทิฏฐิ เป็นต้น

วิปัสสนาภูมิ ๔ ภูมิแรก เมื่อย่อลงก็ได้แก่ รูปและนาม เท่านี้เอง

วิปัสสนาภูมิ ที่ ๕ คือ ปฏิจจสมุปบาท ได้แก่ ปัจจัยเกิดแห่งรูปและนาม

วิปัสสนาภูมิ ที่ ๖ คือ อริยสัจ ๔ ได้แก่ รูป นาม ปัจจัยแห่งรูปนาม ความดับไม่เหลือแห่งรูปนาม และ วิธีปฏิบัติให้เข้าถึงความดับไม่เหลือแห่งรูปนาม[62]





สรรพสิ่งล้วนเป็นอารมณ์กรรมฐาน

คำว่า สรรพสิ่ง ในที่นี้หมายถึง โลก นั่นก็คือทุกสิ่งทุกอย่างที่มนุษย์รับรู้ได้ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ สรุปก็คือ อายตนะ ๑๒ นั่นเอง[63] ซึ่งอายตนะ ๑๒ นี้เป็นอารมณ์กรรมฐาน โดยเฉพาะวิปัสสนากรรมฐานโดยตรง[64]

อีกนัยหนึ่ง คำว่า สรรพสิ่ง หมายถึง ธรรม ซึ่งแบ่งออกเป็น ๒ ประการ คือ บัญญัติธรรม และ ปรมัตถธรรม[65]

บัญญัติเป็นอารมณ์สมถกรรมฐาน ๒๒ อย่าง คือ กสิณ ๑๐ อสุภ ๑๐ อานาปานสติ ๑ กายคตาสติ๑[66] และเป็นอารมณ์วิปัสสนาเบื้องต้น[67]

ปรมัตถธรรมที่เป็นอารมณ์ของสมถกรรมฐาน ๑๒ คือ อนุสสติ ๘[68] (เว้นอานาปานสติ และกายคตาสติ) อาหารเรปฏิกูลสัญญา๑ จตุธาตุววัฏฐาน๑ วิญญาณัญจายตนะ๑ เนวสัญญา นาสัญญายตนะ

ปรมัตถธรรมทั้ง ๔ คือ จิต เจตสิก รูป นิพพานเป็นอารมณ์ของวิปัสสนากรรมฐาน[69] (โคตรภูญาณ[70] มรรคญาณ[71] ผลญาณ[72] และปัจจเวกขณญาณมีนิพพานเป็นอารมณ์[73] และ โลกุตตรจิตทั้ง ๘ ดวงรับนิพพานเป็นอารมณ์[74])

 

โดย: จงโชคดี IP: 58.8.78.205 16 กรกฎาคม 2551 14:45:56 น.  

 

รู้จักตัวเอง..แต่ยังไม่ชนะใจตัวเอง เฮ่อ

 

โดย: *ตู้-แดง* 16 กรกฎาคม 2551 14:46:35 น.  

 

วิธีการเจริญวิปัสสนาต่อจากสมถะ

การเจริญวิปัสสนา โดยมีฌานเป็นบาทฐาน มีขั้นตอน สรุปโดยใจความได้ดังนี้

ขั้นแรก การกำหนดปีติ คือ กำหนดให้รู้แจ้งปีติในองค์ฌาน หมายความว่า ได้ฌานแล้วมีวสีภาวะทั้ง ๕ แล้วก็ให้ยกองค์ฌาน คือ ปีตินั้นเพ่งโดยวิปัสสนาภาวนาจนเห็นปีติในลักษณะ ๓ คือ ไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ที่ให้เพ่ง ปีติ เพราะผู้ที่ได้ฌานต้น ๆ นั้น ปีติมักจะปรากฏเด่นชัดกว่าองค์ฌานอื่น

 

โดย: จงโชคดี IP: 58.8.78.205 16 กรกฎาคม 2551 14:48:30 น.  

 

สวัสดีครับคุณน้อง N_Nirvana


ก็ยังไม่รู้เลยครับว่า "หมื่นตา" จะเดินทางไปสุดทางที่ไหน
เท่าที่รู้ก็คือ ตอนนี้โชว์ตัวในบล้อกกะว่าก๋าไปเรื่อยๆครับ 5555


ถ้าพิมพ์เมือ่ไหร่ก้ตามที่ตกลงกันไว้นะครับ

อย่าซื้อเกิน 10 เล่มนะครับ
แบ่งๆกันครับ จะได้อ่านกันถ้วนหน้า 55555

emoemoemo

 

โดย: ก.ก๋า (กะว่าก๋า ) 16 กรกฎาคม 2551 15:02:57 น.  

 



แหะๆๆ

คุณม๊ากิเลสยังหนาอยู่มากเลยมั่งค่ะก๋า

แค่เข้ามาแอบดูหน้าของลูกเขย

แล้วกลับไปจิตใจจะได้ผ่องใส ไม่เหี่ยวเฉา

ตามวัยก็พอแล้ว.............

คิดถึงเด็กชายหมิงหมิง จังหู้ๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

 

โดย: นางมารร้ายจีจี้ 16 กรกฎาคม 2551 15:22:39 น.  

 

ชิชะ โอเลี้ยงใส่นม

อย่าง หมิงหมิง ไม่ว่า "อาตี๋สีเฉาก้วย" ก็บุญโขแระ emo

 

โดย: runch 16 กรกฎาคม 2551 15:50:20 น.  

 

เห็นก๋าว่ามัลติพลายจะเก็บตังค์ แล้วมันจะเก็บแบบไหน
แล้วเก็บเมื่อใด หุ หุ ถามยาวเลย

ปรกติปี้เวลาจะเอาโค๊ดปี้จะฝากฮูปตี้ photobucket นักกว่า
เก็บฮูปเก็บวีดีโอกะใด้ ใจ้ง่ายดีเหมือนกัน

 

โดย: BongKet 16 กรกฎาคม 2551 16:14:32 น.  

 

เหมือนกั๋นเลยอ้าย ทำงานบ่มีเทศกาลเจ้า

ไว้ไปแอ่วพักผ่อนช่วงตี้คนบ่นักดีกว่าเจ้า
เทศกาลเป๋นช่วงทำเงินเจ้า

 

โดย: uncha 16 กรกฎาคม 2551 16:23:03 น.  

 

สวัสดีครับพี่ซอมพอแสด


นอกจากวันก่อนแล้ว
ไม่มีเหตุการณ์อะไรน่าวิตกครับ หุหุหุ
เลี้ยงไปตามระบบ
หิวก็กิน ง่วงก็นอน
ดูลูก แล้วก็ดูตัวเองไปด้วยครับ

ถ้าเราทำได้แบบเด็ก
ชีวิตเราก็มีสุขแล้วนะครับ

ทุกวันนี้ที่คนเราไม่มีสาุขเพราะ
เพราะไม่ทำตามที่ควรทำ

หิวก็ดันไม่กิน ง่วงก็ดันไมไ่ด้นอน
แถมชอบเอาปัญหามายัดใส่ความคิด
ก็เลยทุกข์ไม่จบสิ้น

หุหุหุ

วันนี้หลวงพี่ก๋าเทศนาธรรมซะยาวเลยครับ
เพื่อให้เข้ากับบรรยากาศ 5555


 

โดย: ก.ก๋า (กะว่าก๋า ) 16 กรกฎาคม 2551 16:29:51 น.  

 

สวัสดีครับพี่หนูหล่อ


ตอนที่ผมตัดสินใจว่าจะลองคบหามาดาม
(เธอก็คงมองๆผมอยู่)
ผมมองข้ามช็อตเลยนะครับ
ผมคิดวว่าถ้าผมมีใครสักคน เค้าควรจะเป็นคนยังไง ?

แน่นอน...ต้องเป็นคนดี จิตใจดี (สวยด้วยยิ่งดี)
และสุดท้าย เธอน่าจะเป็นแม่ที่ดีของลูกได้

ถึงวันนี้ก็ต้องบอกว่า
ตัดสินใจไม่ผิดเลยครับ
ที่ได้ผู้หญิงคนนี้มาเป็นคู่ชีวิต


 

โดย: ก.ก๋า (กะว่าก๋า ) 16 กรกฎาคม 2551 16:33:46 น.  

 

สวัสดีครับคุณจงโชคดี


ขอบคุณครับสำหรับข้อมูลมากมาย
ที่ได้นำมาลงไว้ให้เพื่อนๆได้อ่านกัน

ผมเองอ่านไปก็จำไม่ได้ครับ
ขอเป็นการปฏิบัติในแบบที่ผมเชื่อล่ะกันครับ

เพราะถ้าผมต้องท่องทั้งหมด ผมคงไม่มีวันเข้าใจแน่นอนครับ
แต่ละคำทั้งเรียกยาก อ่านยาก


emoemoemo

ผมศึกษาธรรมะแบบลงลึกในรายละเอียดไม่ได้ครับ
คงต้องทานอาหารอ่อนไปเรื่อยๆครับ
ตามแต่จริตที่ตัวเองมี


ยินดีนะครับสำหรับการแบ่งปันข้อมูลดีดีเช่นนี้


 

โดย: ก.ก๋า (กะว่าก๋า ) 16 กรกฎาคม 2551 16:39:10 น.  

 

 

โดย: ต้นกล้า อาราดิน 16 กรกฎาคม 2551 16:44:10 น.  

 

อ่านยังบ่ะครบเตื้ออ้ายก๋า

บางครั้งเข้ามาเน็ตบ่ะแล่น หันแต่ ก๋ากะบาทอ่ะ

อ่านได้พ่องบ่ะได้พ่อง กะยังดีกว่าบ่ะได้อ่านบ่าไจ้กา....

 

โดย: pataramin 16 กรกฎาคม 2551 17:01:15 น.  

 

อย่าหลอกตัวเองเป็นอันใช้ได้เน๊าะ

 

โดย: อุ้มสี 16 กรกฎาคม 2551 17:07:31 น.  

 

ปี้ว่าถ้าฮูปมันใหญ่กว่านี้ มันท่าจะลงบล็อกแก๊งค์บ่าใด้แห๋ม

หุ หุ หุ ปี้ว่าปี้ท่าจะชอบใจ๊ของฟรีหนักกว่า

 

โดย: BongKet 16 กรกฎาคม 2551 17:16:20 น.  

 

ไม่มีใครรู้ใจเราเท่ากับตัวเราเองจริง ๆ ค่ะ แต่เรื่องเอาชนะใจตัวเองนี้แพ้ตลอด ยังไม่รู้จักปล่อยว่างซะที

คุณก๋าเอาน้องหมิง หมิงมาให้แล้วอย่าเพิ่งรีบเอากลับนะคะ เด๋วช่วยเป็นพี่เลี้ยงให้ทั้งวันเลย

 

โดย: PS-pani 16 กรกฎาคม 2551 17:24:21 น.  

 

เคยอ่าน แนททำ ใครคนหนึ่ง อ่านแล้วรู้สึกว่า พี่ก๋าจะเป็นชายหนุ่มที่อวบอั๋นอยู่...อย่างนี้เลี้ยงหมิง หมิงไปต้องผอมแน่ เพราะ กล่อมแบบอุ้มวิ่ง 5555 เพิ่งเคยได้ยินเช่นกันค่ะ...อุ้มวิ่งแล้วหลับ นี่ดีต่อทั้งพ่อ และ ลูกนะคะ

 

โดย: วินนี่ย์หมีพูห์ 16 กรกฎาคม 2551 17:27:27 น.  

 

^
^
ข้างบน แก้นะคะ แรกๆหมวยเขียนว่า "เคยอ่าน comment ใครคนหนึ่ง...." นะคะ

 

โดย: วินนี่ย์หมีพูห์ 16 กรกฎาคม 2551 17:28:50 น.  

 

เขียนจิ ขาวีนอย่างเค้าอ่ะ ไม่เหลือแน่ อิอิ

เขียนไว้หน้ารถแล้วค่ะเมื่อคืนนี้ เขียนสุภาพชนมากเลยนะ ไม่หยาบคาย

เมื่อคืนยามก้อบอกว่า กลุ้มใจกันอยุ่นี่ล่ะครับ จะยกก้อยอกไม่ไหว...ก้อรถกระบะแต่งบิ๊กฟูตอ่ะ โห่ๆๆๆ หนังแอร๊กก เลยค่ะ

แต่ตอนนี้มันอันตราธานหายไปแระ แต่เค้าจำทะเบียนแม่น หวังว่าสักวันคงได้เจอตัวเป็นๆที่ลานจอดรถนะ อยากดูหน้าซะหน่อย

 

โดย: unsa 16 กรกฎาคม 2551 17:39:26 น.  

 

ขอบคุณมากครับคุณ กะว่าก๋า ^-^

 

โดย: Bluejade 16 กรกฎาคม 2551 17:47:29 น.  

 

ยินดีด้วยจริงๆครับ คุณก๋า ยากจริงๆนะครับ
ที่คนๆหนึ่งจะประสบความสำเร็จในเรื่องนี้อย่าง
สมบูรณ์ คุณก๋าโชคดีมากๆ สมควรต้องทะนุถนอม
ไว้ให้ยั่งยืน
-------------
แหะ แหะ ถ้าคุณก๋าต้องกินแต่อาหารอ่อนๆละก็
พี่หนูหล่อก็ต้องกินน้ำฝนแล้วครับ

อ้อ เล่าเรื่องถุงเท้าของหลานหมิงหมิงให้แม่ฟัง แม่
บอกว่า อย่าถึงกับเลิกใส่ไปเลยโดยเฉพาะถุงมือ
เพราะเล็บทารกยาวเร็วและคม เดี๋ยวจะข่วนหน้าตา
เอาได้ ควรใช้ถุงมือแบบร้อยเชือกผูก และผูกหลวมๆ
พอไม่ให้หลุดครับ อิอิ รู้สึกว่าเราจะเอาใจใส่ (แปลว่า
วุ่น) กะหลานหมิงหมิงกันทั้งบ้านซะแระมั้งเนี่ย..

 

โดย: หนูหล่อ IP: 58.136.207.69 16 กรกฎาคม 2551 19:34:11 น.  

 

ตอนนี้รู้จักตัวเองแต่ไม่รู้วิธีชนะใจตัวเอง
(เห็นใครๆว่าเป็นคนขี้บ่น เจ้าระเบียบ)

ว่างๆชวนหมื่นตาไปหาท่านนักบวชท่านนี้ดีกว่า
เข้าใจเปรียบเปรยชี้ให้เห็นแก่นแท้ของการบรรลุธรรมจริงๆ

ปล. เห็นด้วยกับก๋านะว่าตัวปัญหาจริงๆอาจไม่ใช่กลุ่มผู้ผลิตน้ำมันก็ได้

 

โดย: ลุงแอ๊ด 16 กรกฎาคม 2551 20:57:52 น.  

 





ป้าก็ปฏิบัติแบบง่ายๆเหมือนกัน

แค่พยายามให้รู้สึกตัวเอาไว้

หลับสบายและฝันดีนะจ๊ะ

 

โดย: ร่มไม้เย็น 17 กรกฎาคม 2551 0:14:47 น.  

 

สวัสดียามดึกครับพี่หนุหล่อ

มาดามช่วงนี้งดเลยครับ 555
ผมก็ว่าเดี๋ยวให้มาดามคลายกังวลซะนิด
ก็คงจะหาซื้อแบบที่มันไม่รัดมากมาใส่ให้หมิงหมิงครับ

 

โดย: ก๋า เก็กเสียง (กะว่าก๋า ) 17 กรกฎาคม 2551 0:32:00 น.  

 

พี่หนูหล่อเอาใจช่วยให้เธอหายกังวลเร็วๆครับ
ความกังวลไม่เป็นผลดีกับคุณแม่ในระยะนี้
พ่อแม่มือใหม่ก็ผ่านประสบการณ์แบบนี้กัน
แทบทุกคนละครับ... ฟังเพื่อนๆมาน่ะครับ

 

โดย: หนูหล่อ IP: 58.136.207.192 17 กรกฎาคม 2551 1:57:27 น.  

 

สวัสดีครับพี่หนูหล่อ

พี่หนูหล่อนอนดึกจังครับ
นี่ถ้าผมรู้ว่าพี่เล่นบล้อกอยู่
อาจเข้ามาคุยด้วยนะครับ 5555

เมื่อคืนตั้งแต่เที่ยงคืนจนถึง 6 โมงเช้า
หมิงหมิงตื่นนอนทุกชั่วโมงเลยครับ 555
คงเพราะกลางวันเค้านอนดีมากครับ
กลางคืนเลยตาแป๋ว .....



 

โดย: ก.ก๋า (กะว่าก๋า ) 17 กรกฎาคม 2551 7:38:56 น.  

 

อยากบรรลุธรรม ก็ต้องค่อยๆ ก้าวไปค่ะ
ทำปัจจัยให้เกิด ทำเหตุให้ครบ ก็จะได้รับผล

ถ้าคิดว่ายากเกินกว่าจะทำได้ แล้วไม่สนใจ ก็คงไม่สำเร็จได้
ถ้าค่อยๆ ก้าวไป ตามทางที่แต่ละคนพอทำได้ และไม่ย่อท้อ

ความสำเร็จก็จะมาถึงสักวันค่ะ

เพียงแค่นำธรรมะ หรือความจริงในธรรมชาติ มาพิจารณาอยู่เสมอ
ก็นำความสุขมาสู่ชีวิตได้แล้ว
ได้ประโยชน์ตั้งแต่เริ่มเดินทาง(ในทางธรรม) เลยทีเดียว

อยากจะเสริมนิดนึงว่า
การทำสมาธิที่ถูกต้อง
เรียกว่า สัมมาสมาธิ สามารถนำความหยั่งรู้ถึงธรรมมาให้ได้จริงๆ

แต่ถ้าทำสมาธิผิด ก็ไม่ไปไหน ไม่ก้าวหน้าในทางปัญญาค่ะ
(คิดว่าที่คุณจงโชคดี นำพระธรรมมากมายมาแปะไว้ ก็น่าจะอยากบอกตรงนี้ ว่า การทำสมาธิแบบสมถะ นั้นเป็นการเพิ่มกำลังของจิต ซึ่งใช้เป็นพื้นฐานในการวิปัสสนาได้ค่ะ) ^ ^

 

โดย: ศรีสุรางค์ 17 กรกฎาคม 2551 9:15:42 น.  

 

อ่านแล้วรู้สึกดีอีกแล้ว
อิอิ

 

โดย: The bitter sweet person 4 สิงหาคม 2551 15:07:22 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


กะว่าก๋า
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 392 คน [?]




มองฉันอีกครั้ง
เธออาจเห็นฉัน
หรืออาจไม่เห็นฉัน

ฉันแค่แวะผ่านทางมา
และอาจไม่หวนกลับมาทางนี้อีกแล้ว

เราเคยรู้จักกัน
และมันจะเป็นเช่นนั้นตลอดไป

มองดูฉันอีกครั้ง
เธออาจเห็นฉัน
และฉันอาจมองไม่เห็นเธอ.





[Add กะว่าก๋า's blog to your web]