กันยายน 2558

 
 
2
3
6
8
12
13
14
15
16
19
20
21
22
24
25
26
27
28
29
 
 
All Blog
'แพนกาเซียสดอร์รี่' ปลาเศรษฐกิจใหม่สายพันธ์แรงในเวียดนาม

'แพนกาเซียสดอร์รี่' ปลาเศรษฐกิจใหม่สายพันธ์แรงในเวียดนาม

เวียดนามเป็น อีกหนึ่งในประเทศประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่น่าจับตามองในการพัฒนาธุรกิจผลิตสินค้าเกษตรและแปรรูปสินค้าเกษตร ที่นับว่ามีแนวโน้มความแข็งแกร่งด้านเศรษฐกิจในเชิงบวกอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะสินค้าเกษตร อย่าง "ปลาแพนกาเซียส ดอร์รี่" สามารถผลิตได้มากถึงปีละ 1.5 ล้านตันและมีการส่งออกผลผลิตกว่า 650,000 ตันต่อปี สู่ตลาดสำคัญ 9ประเทศ คือ อเมริกา ยุโรป อาเซียน บราซิล เม็กซิโก จีนซาอุดิอาระเบีย โคลอมเบีย และไทย กลายเป็นปลาเศรษฐกิจที่ทำให้เวียดนามขึ้นแท่นผู้นำส่งออกรายใหญ่ที่สุดของโลก

ปลาแพนกาเซียส ดอร์รี่ มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า pangasius hypophthalmus แต่ชาวเวียดนามจะเรียกปลาชนิดนี้ว่า"ปลาจา" เป็นปลาประจำถิ่นในลุ่มแม่น้ำโขง ซึ่งเวียดนามได้เริ่มมีการเพาะเลี้ยงเชิงเศรษฐกิจตั้งแต่ปี2542 เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมการเลี้ยงปลาชนิดนี้ให้ยั่งยืน โดยอาศัยระดับน้ำที่ต่างกันถึง2 เมตร จากการขึ้นลงตามธรรมชาติในช่วงเช้าและเย็นเป็นตัวปรับสภาพน้ำให้มีคุณภาพสม่ำเสมอ ซึ่งการที่มีกระแสน้ำไหลแรงและมีน้ำขึ้นน้ำลงนี้เอง ถือเป็นหัวใจหลักสำคัญของการเลี้ยงปลาในเวียดนามเพราะทำให้เกิดการไหลเวียนของน้ำอยู่ตลอดเวลาซึ่งเป็นเรื่องจำเป็นสำหรับการ เลี้ยงปลาชนิดนี้ที่ต้องมีการถ่ายเทน้ำอย่างน้อยร้อยละ30 ของปริมาณน้ำในบ่อเป็นประจำทุกวัน และเมื่อกระแสน้ำที่ไหลเวียนอยู่ตลอดเวลาเช่นนี้จะส่งผลให้น้ำที่ใช้เลี้ยงปลามีค่าออกซิเจนสูงขึ้น เอื้อต่อการเจริญเติบโต และสามารถเลี้ยงอย่างหนาแน่นได้

ประเทศไทยมีการนำเข้าปลากลุ่มแพนกาเซียสดอร์รี่นี้จากประเทศเวียดนามเป็นส่วนใหญ่ โดยที่เวียดนามนั้นมีปลาแพนกาเซียส 2 ชนิดหลักๆคือ BASAและ TRA เป็นเหตุให้เกิดความสับสนเรียกปลาชนิดนี้กันไปหลายชื่อเช่น ปลาบาซาบ้าง ปลาเผาะบ้าง ดังนั้นกลุ่มผู้นำเข้าจึงต้องการสร้างความเข้าใจให้ถูกต้องและเริ่มมีการพูดคุยกันถึงชื่อทางการค้าที่จะใช้ตรงกัน



“แพนกาเซียสดอร์รี่” เป็นชื่อสากลขณะที่ “สวาย” เป็นชื่อท้องถิ่น


แม้ว่าผู้บริโภคคนไทยส่วนใหญ่จะเข้าใจว่าปลาแพนกาเซียสดอร์รี่คือปลาสวายสายพันธุ์หนึ่งก็ตาม แต่ก็ยังมีผู้บริโภคอีกส่วนหนึ่งยังสับสนระหว่าง ปลาจอห์นดอรี่กับปลาแพนกาเซียสดอร์รี่ผู้นำเข้าและผู้ค้าเองก็พยายามที่จะทำความเข้าใจกับผู้บริโภคให้ถูกต้อง จึงมีการระบุชื่อสากลอย่างแพนกาเซียสดอร์รี่ไว้เพื่อให้สามารถเข้าใจตรงกันได้ทั่วโลก ขณะที่คำว่า สวาย หรือปลาสวาย เป็นชื่อท้องถิ่นที่ใช้กันเฉพาะบางพื้นที่เท่านั้น

ในที่สุด สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ก็ได้ออกหนังสือเรื่องแนวทางการแสดงฉลากเนื้อปลาสวายหรือเนื้อปลาในตระกูลแพนกาเซียสเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2554 เพื่อเป็นมาตรฐานในการปฏิบัติร่วมกันสำหรับผู้ค้าและสร้างความเข้าใจกับผู้บริโภค โดยระบุให้ปรับแก้ไขการแสดงฉลากให้ถูกต้อง ภายในวันที่ 1 มกราคม 2555 ความว่า

1. หากผู้ใดมีความประสงค์จะนำเข้าปลาสวายที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่าPangasius Hypophthalmus เพื่อจำหน่ายฉลากจะต้องแสดงชื่อภาษาไทยกำกับว่า ปลาแพนกาเซียสดอร์รี่
2. หากผู้ใดมีความประสงค์จะนำเข้าปลาโมง หรือปลาเผาะ หรือปลาบึก ซึ่งเป็นปลาในตระกูล Pangasius เพื่อจำหน่ายให้แสดงชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pangasius spp ฉลากจะต้องแสดงชื่อภาษาไทยกำกับว่าปลาแพนกาเซียสดอร์รี่

จากประกาศของอย.ดังกล่าว ทำให้ต้องมีการระบุคำว่า แพนกาเซียส ลงไปบนฉลากซึ่งหมายถึงสายพันธุ์หนึ่งของปลาสวายอย่างชัดเจนอยู่แล้ว และผู้ค้าทุกรายก็ถือปฏิบัติตามคำสั่งของทางราชการอย่างเคร่งครัด

อย่างไรก็ตาม แม้ปลาแพนกาเซียสดอร์รี่ที่นำเข้าจากเวียดนามและปลาสวายไทยจะจัดเป็นปลาชนิดเดียวกันแต่มีความแตกต่างกันในด้านคุณภาพเนื้อปลา เนื่องจากวิธีการเลี้ยงและสภาพแวดล้อมในการเลี้ยงตลอดจนอาหารที่ใช้ส่งผลให้ลักษณะของเนื้อปลา สีสัน และกลิ่น แตกต่างกัน นอกจากนี้ลักษณะการวางจำหน่ายของปลาแพนกาเซียสดอร์รี่ก็แตกต่างกับปลาสวายที่ขายกันตามตลาดสดทั่วไปในเมืองไทย

ขณะที่ปัจจัยความสำเร็จของการเลี้ยงปลา แพนกาเซียส ดอร์รี่ คือการมีพันธุ์ปลาที่ดี คุณภาพน้ำที่ดี และการใช้อาหารเม็ดสำเร็จรูป ซึ่งปัจจัยทั้งหมดนับว่าเป็นเรื่องที่ดีที่ได้รับความร่วมมือจากผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ปลา ของ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือที่รู้จักกันในชื่อซีพีเอฟ เข้ามาเป็นเบื้องหลังความสำเร็จของอุตสาหกรรมนี้ตั้งแต่การปรับปรุงพันธุ์ปลาให้มีความแข็งแรง มีเนื้อมาก และมีเนื้อสีขาวซึ่งตรงตามความต้องการของผู้บริโภคซึ่งจะถูกควบคุมโดยมาตรฐานที่รัฐบาลเวียดนามรับรอง ทำให้เกษตรกรชาวเวียดนามมีพันธุ์ปลาจาที่ดีสำหรับเลี้ยงในเชิงพาณิชย์เมื่อผนวกกับการให้อาหารปลาซีพี ที่ผ่านการคิดค้น วิจัย และพัฒนา จนได้อาหารสูตรพิเศษที่ไม่มีวัตถุดิบที่มีเม็ดสีสีเหลืองเป็นส่วนผสม ทำให้เนื้อปลาที่ผลิตได้เป็นสีขาวหรือสีชมพูอ่อนๆน่ารับประทาน และที่สำคัญคือไม่มีกลิ่นคาว จึงเป็นที่นิยมของผู้บริโภคทั่วไป นอกจากนี้ยังมีการจัดฟาร์มที่ถูกวิธีภายใต้การควบคุมที่มีมาตรฐานที่รัฐบาลเวียดนามรับรอง นอกจากจะทำให้เกษตรกรชาวเวียดนามมีพันธุ์ปลาจาที่ดีสำหรับเลี้ยงในเชิงพาณิชย์ได้อย่างหนาแน่นแล้ว ยังสามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้ในวงกว้างอีกด้วย

หลังจากที่ได้ปลาคุณภาพดี ตามน้ำหนักที่ต้องการแล้ว กรมประมงของเวียดนามจะเข้ามาสุ่มตรวจปลาเพื่อตรวจสอบสารเคมีตกค้างจากนั้นลำเลียงโดยเรือเข้าสู่เข้าสู่โรงงานแปรรูปมาตรฐาน และนำเข้าสู่กระบวนการแปรรูปทันสมัยได้มาตรฐานในระดับสากล เหตุนี้เองจึงทำให้ปลาแพนกาเซียส ดอร์รี่ สามารถส่งออกไปยังต่างประเทศได้อย่างภาคภูมิใจและกลายเป็นปลาเศรษฐกิจที่นำเงินตราเข้ามาพัฒนาประเทศของเขาได้ ขณะเดียวกันไทยเราเองหากเอาจริงเอาจังในการชูสินค้าเกษตรให้มีการผลิตได้มาตรฐานและดำเนินการสนับสนุนการส่งออกอย่างจริงจังเช่นเดียวกับเวียดนามบ้าง ภาคเกษตรก็จะมีความเข้มแข็งและกลายเป็นสินค้าสร้างชาติได้ไม่ยากนัก





อ้างอิง เครดิตข้อมูลจาก internet




Create Date : 10 กันยายน 2558
Last Update : 10 กันยายน 2558 13:31:14 น.
Counter : 1266 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สมาชิกหมายเลข 2344345
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]