สิงหาคม 2558

 
 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
7
8
9
10
12
13
15
16
17
18
19
21
22
24
25
27
28
29
30
 
 
All Blog
"สุภาฟาร์ม" ฟาร์มหมูขุนใน สร้างรายได้แน่นอน
  "สุภาฟาร์ม" ฟาร์มหมูขุนใน โครงการส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงสุกรขุน ซีพีเอฟ สร้างรายได้แน่นอน มีสัตวบาลคอยให้คำแนะนำเรื่องเทคโนโลยีใหม่ๆ และให้คำปรึกษาการเลี้ยงหมู

โดยCPF / วันที่โพสต์6 ส.ค. 2558 

ชีวิตของ "สุภา รอดพี" อาจเหมือนคนอื่นๆ ที่ต้องต่อสู้ดิ้นรนเพื่อชีวิตที่ดีขึ้น หากแต่ผู้หญิงตัวเล็กๆอย่างเธอกลับต้อง แบกรับภาระมากมายเพียงเพราะคิดว่าสิ่งที่เลือกนั้นจะมอบความยั่งยืนกับเธอได้
สุภา เล่าย้อนไปเมื่อปี 2540 เวลานั้นทุกคนต่างรู้ว่าเป็นช่วงวิกฤติฟองสบู่แตก แต่ชาวนาที่ทำอาชีพเสริมด้วยการเลี้ยงหมู หลังบ้านแค่เพียง 2-3 ตัว อย่างเธอไม่มองอย่างนั้น เพราะตอนนั้นราคาหมูในตลาดพุ่งขึ้น ซึ่งเป็นแรงจูงใจให้เธอคิดจะลงทุนเพิ่มเติม จึงปรึกษากับ "ธนพล รอดพี" ผู้เป็นสามีว่าน่าจะ ขยายการเลี้ยงหมูให้มากขึ้นเพื่อให้มีรายได้เพิ่ม จากที่เลี้ยงหมูเพียง 3 ตัว ก็เพิ่มจำนวนเป็น 40 ตัว เพื่อขายให้พ่อค้าในท้องถิ่น ช่วงแรกที่หมูราคาดีก็พอมีกำไร แต่เมื่อเลี้ยงต่อมาอีก 2 รุ่น ความหวังว่าจะได้รายได้ดี จากหมูที่เลี้ยงไว้ก็ไม่เป็นอย่างที่คิดเพราะหมูราคาลดลงกว่าครึ่งจากตอนแรก จึงเป็นที่มาของหนี้สินก้อนโต ทำให้ต้องจบอาชีพเลี้ยงหมู ลงเมื่อปี 2442
"หลังจากล้มเลิกการเลี้ยงหมูไป ก็ต้องทำนาใช้หนี้ แต่ก็ไม่เลิกความคิดที่จะหาอาชีพอะไรที่จะช่วยปลดหนี้ให้เราได้ จนวันหนึ่ง ไปเยี่ยมน้องสาวที่เลี้ยงเป็ดอยู่ ก็ปรึกษากันถึงแนวทางอาชีพ ประจวบกับมีเจ้าหน้าที่ของทางซีพีเอฟ บริษัทในเครือเจริญโภคภัณฑ์ เข้ามาสำรวจความต้องการของเกษตรกรในพื้นที่อำเภอนาดี ว่ามีใครสนใจจะเข้าร่วมโครงการเลี้ยงหมูขุนประกันรายได้กับบริษัทไหม ตอนนั้นเขามาถามน้องเพราะเห็นมีพื้นฐานด้านการเลี้ยงสัตว์ แต่เรา ตอบรับก่อนเลยว่าสนใจเพราะมีที่อยู่ผืนหนึ่งพอดี จึงพากันไปดูที่ก็เห็นว่าเป็นที่ดอนที่สามารถเลี้ยงหมูได้ จึงเริ่มต้นเข้าโครงการมาตั้งแต่ตอนนั้น" สุภา เล่า
แต่กว่าสุภาจะเดินหน้าโครงการได้ไม่ใช่เรื่องยากเลย เธอบอกว่าตนเองเตรียมเงินส่วนตัวสำหรับลงทุนไว้ 30% จากเงินทุนประเมิน ส่วนอีก 70% นั้นจะได้จากการขอกู้ยืมกับสถาบันการเงิน ซึ่งตอนนั้นเจ้าหน้าที่ธนาคารบอกว่าให้เริ่มลงทุนได้เลย น่าจะไม่มีปัญหาการอนุมัติเงินก้อนนี้ เธอจึงเริ่มนำเงินส่วนตัวมาลงทุนถมที่นาเพื่อปรับพื้นที่สำหรับทำโรงเรือน แต่พบว่ามีปัญหาการกู้ยืมเพราะทางธนาคารไม่อนุมัติเงินให้ ตอนนั้นสุภา บอกว่าท้อแท้มากกอดคอร้องไห้กับสามีแทบทุกวัน บางครั้งต้องกินข้าวเคล้าน้ำตา เพราะถือว่าได้ลงทุนไปแล้ว แต่ต้องชะงักจากปัญหาที่เกิดขึ้น เธอพยายามแก้ปัญหาทุก วิถีทางจนกระทั่งธนาคารอนุมัติเงินงบประมาณให้ ในช่วงปลายปี 2549 จึงได้เริ่มก่อสร้าง "สุภาฟาร์ม" ที่หมู่ 1 ตำบลนาดี อำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี ฟาร์มหมูขุนขนาด 750 ตัว ในโครงการส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงสุกรขุนกับ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ

"ตอนนั้นบอกตรงๆ ว่าท้อมาก มองไม่เห็นทางออก ทั้งๆ ที่เรามองเห็นอนาคต ที่สดใสอยู่ตรงหน้าแต่ต้องมามีปัญหาซ้ำซ้อนอีก แต่เราก็สู้จนสามารถขึ้นฟาร์มได้ จากนั้น ทางผู้บริหารซีพีเอฟก็ช่วยเหลือทุกอย่าง โดยเฉพาะเรื่องระบบการเลี้ยงที่ได้มาตรฐานด้วยการพาไปดูงานจากเพื่อนเกษตรกรที่เขาทำอยู่ก่อน จนเรามั่นใจว่าทำได้แน่ ตอนเริ่มเลี้ยงก็คอยเข้ามาสอนมาเป็นที่ปรึกษา การเลี้ยงหมูของเราจึงดีมาตลอด สามารถส่งเงินกู้ กับธนาคารได้ต่อเนื่อง" สุภา บอก

เมื่อการเลี้ยงหมูสำเร็จหญิงเลือดนักสู้อย่างสุภา จึงมองความก้าวหน้าว่าควรจะขยายการเลี้ยงเพิ่มขึ้น เพราะเธอไม่ต้องเสี่ยงกับการหาวัตถุดิบการผลิต ไม่ว่าจะเป็นพันธุ์หมู อาหาร วัคซีน และยังมีสัตวแพทย์มาดูแลสุขภาพสัตว์ มีสัตวบาลเข้ามาแนะนำเทคโนโลยีการผลิตใหม่ๆ และคอยให้คำปรึกษา ด้านการเลี้ยงหมูอยู่ตลอด ที่สำคัญคือ ไม่ต้องหาตลาดเองเหมือนตอนเลี้ยงหมูอิสระเพราะบริษัทเข้ามารับผิดชอบด้านการตลาดแทน ทำให้ที่มีรายได้ที่แน่นอน เมื่อเห็นโอกาสเช่นนี้สุภาจึงตัดสินใจลงทุนสร้างโรงเรือนเพิ่มอีก 3 หลัง เลี้ยงหมูหลังละ 750 ตัว ในปี 2557 รวมแล้วสุภาฟาร์มเลี้ยงหมูจำนวนรวม 3,000 ตัวต่อรุ่น สร้างรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายถึงกว่า 8 แสนถึง 1 ล้านบาทต่อปี และเมื่อจ่ายเงิน กู้ยืมสถาบันการเงินหมดตามสัญญา ก็จะมีเงินรายได้จากการเลี้ยงหมูถึงปีละ 2 ล้านบาท
นอกจากการเลี้ยงหมูด้วยความใส่ใจ ทุกๆขั้นตอนเพื่อให้ได้หมูที่มีสุขภาพดี มีคุณภาพ ได้ตามมาตรฐานแล้ว สุภายังมองเลยไปถึงการอยู่ร่วมกับชุมชนอย่างยั่งยืน ด้วยการใช้ระบบบำบัดของเสียภายในฟาร์มด้วย ไบโอแก๊ส ที่ไม่เพียงช่วยลดกลิ่นเหม็นที่อาจส่งผลกระทบต่อชุมชนเท่านั้น แต่ยังช่วยเปลี่ยนของเสียให้กลายเป็นเงิน ด้วยการผลิตแก๊สชีวภาพที่เปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้าใช้ภายในฟาร์ม จากเดิมที่ต้องเสียค่าไฟฟ้าหลังหนึ่งถึงหมื่นกว่าบาทต่อรุ่น เมื่อใช้ไบโอแก๊สสุภาเสียค่าไฟเพียงไม่ถึง 3 พันบาท เท่ากับสามารถลดต้นทุนค่าไฟฟ้าไปได้มากกว่า 70%
"เราพบกับอุปสรรคมามากมายกว่าจะมีวันนี้ แต่สิ่งหนึ่งที่ยึดมั่นเสมอคือ ท้อได้แต่ต้องไม่ถอย ตราบใดที่ยังมีลมหายใจ สองมือ ยังทำงานได้ ต้องไม่ยอมแพ้กับอุปสรรค และเมื่อเรามีอาชีพที่เรารักก็ต้องทำให้ดีที่สุด ความใส่ใจ ความจริงใจ และความซื่อสัตย์ ซึ่งกันและกันเป็นเรื่องที่ต้องยึดถือ ความสำเร็จ จะเกิดขึ้นได้หรือไม่ขึ้นอยู่กับตัวเราเองทั้งสิ้น" สุภา กล่าวทิ้งท้าย
เมื่อการเลี้ยงหมูสำเร็จหญิงเลือดนักสู้อย่างสุภาจึงมองความก้าวหน้าว่าควรจะขยายการเลี้ยงเพิ่มขึ้นเพราะเธอไม่ต้องเสี่ยงในด้านการผลิต ทั้งพันธุ์หมู อาหาร วัคซีนมีสัตวแพทย์มาดูแลสุขภาพสัตว์ มีสัตวบาลเข้ามาแนะนำเทคโนโลยีการผลิตใหม่ๆที่สำคัญบริษัทยังเข้ามารับผิดชอบด้านการตลาดแทนทำให้ที่มีรายได้ที่แน่นอน



เครดิต    CP  E-news 



Create Date : 06 สิงหาคม 2558
Last Update : 6 สิงหาคม 2558 14:18:07 น.
Counter : 2050 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สมาชิกหมายเลข 2344345
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]