เมษายน 2559

 
 
 
 
 
1
2
3
5
6
7
8
9
10
11
13
14
15
16
17
18
19
20
21
23
24
26
27
28
30
 
All Blog
ปลาทับทิมไทย อร่อย ปลอดภัย ไม่อ้วน





เมื่อพูดถึงการรักษาสุขภาพ และการควบคุมน้ำหนัก เนื้อสัตว์ ชนิดแรกที่หลายคนมักจะนึกถึงคือ เนื้อปลา เนื่องจากมีข้อมูล ทางวิชาการมากมายที่ยืนยันว่า เนื้อปลาก่ออันตรายแก่ร่างกาย น้อยที่สุดในหมู่อาหารประเภทเนื้อสัตว์ที่ให้โปรตีน อีกทั้งยังเป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง เพราะโปรตีนจากเนื้อปลาเป็นโปรตีนชั้นดี ที่ร่างกายนำไปใช้ในการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ และยังมีไขมันต่ำ โดยเฉพาะปลาทับทิมที่มีไขมันต่ำเป็นพิเศษหากเทียบกับปลาชนิดอื่น นอกจากนี้ยังมีรสชาติดี เนื้อแน่น ละเอียด ทานง่าย และสามารถ นำไปประกอบอาหารได้อย่างหลากหลายเมนู ปลานิลและปลาทับทิม จึงเป็นอาหารที่ถูกอกถูกใจคนไทย และเป็นช่องทางอาชีพสร้างรายได้ ที่สำคัญของเกษตรกรไทยอีกด้วย




รู้หรือไม่ ก่อนที่จะเป็นปลาทับทิมที่อร่อยถูกใจคนไทยทุกเพศทุกวัยอย่างทุกวันนี้ เดิมทีปลาทับทิบมีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกา ซึ่ง สมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศมกุฎราชกุมาร แห่งประเทศญี่ปุ่นทรงนำเข้ามาขยายพันธุ์ในญี่ปุ่น และได้นำทูลเกล้าฯ ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2508 จำนวน 50 ตัว พระองค์ได้โปรดเกล้าฯ ให้ทดลองเลี้ยงปลาพันธุ์ ดังกล่าวในบ่อปลาสวนจิตรลดา จนเป็นหนึ่งในโครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา และพระราชทานชื่อว่า "ปลานิลจิตรลดา" ซึ่งผลการทดลอง ปรากฏว่าปลาที่ทดลองเลี้ยงเจริญเติบโตและแพร่ขยายพันธุ์ ได้เป็นอย่างดี จึงได้ทรงพระราชทานพันธุ์ปลาจำนวนหนึ่งแก่กรมประมง เพื่อนำไปขยายพันธุ์และแจกจ่ายแก่พสกนิกรได้ยึดการเพาะพันธุ์ และจำหน่ายปลานิลเป็นอาชีพ




ในปี 2532 นายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานกรรมการและประธาน คณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ ได้น้อมนำแนวพระราชดำริ ในพระบาทสำเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาพัฒนาปรับปรุงสายพันธุ์ปลานิล โดยคัดเลือกเอาจุดเด่นของปลานิลสายพันธุ์อเมริกา อิสราเอล และไต้หวัน มาผสมข้ามสายพันธุ์ด้วยวิธีการทางธรรมชาติ (Non-GMOs) จึงได้ปลาที่มีลักษณะภายนอกที่โดดเด่น คือ สีของเกล็ดและตัวปลา ที่มีสีขาวอมแดงเรื่อๆ ถึงสีแดงอมชมพู คล้ายทับทิม ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานนามปลาชนิดใหม่นี้ว่า "ปลาทับทิม" นอกจากลักษณะภายนอกที่โดดเด่นแล้ว ปลาทับทิมยังมีความทนทานสามารถเลี้ยงได้ทั้งในน้ำจืดและน้ำกร่อย มีปริมาณเนื้อแน่น และ มีรสชาติอร่อยกว่าปลานิลทั่วไป ที่สำคัญยังมีกรดไขมันไม่อิ่มตัว ชนิดโอเมก้า-3 ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายอีกด้วย


ด้วยการที่มีสายพันธุ์แข็งแรงจากการผ่านการคัดกรองมาอย่างดี รสชาติติดตลาด มีเมนูหลากหลายเป็นที่นิยมของผู้โภค ปลาทับทิม จึงกลายเป็น "ปลาเศรษฐกิจ" ที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในประเทศไทย แต่ในกระแสความนิยมนั้นก็ยังมีข้อสงสัยที่ว่า เพราะเหตุใด ปลาทับทิมที่เกษตรกรเลี้ยงจึงมีเฉพาะปลาตัวผู้



รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ธรรมชาติของ ปลานิลและปลาทับทิมนั้นตัวเมียจะมีการดูแลไข่และลูกอ่อน ด้วยการอมไว้ในปาก เพื่อให้ลูกปลารับสารอาหารจากถุงอาหารธรรมชาติ ที่อยู่ภายในท้องแม่ปลา ส่งผลให้ปลาเพศเมียไม่สามารถเติบโตได้เต็มที่ ในช่วงดูแลไข่และตัวอ่อนทำให้มีขนาดเล็กกว่าปลาเพศผู้มาก ด้วยเหตุนี้ เกษตรกรจึงเลือกเลี้ยงเฉพาะปลาทับทิมตัวผู้ ซึ่งให้ผลตอบแทน ที่ดีกว่านั่นเอง




ปัจจุบันด้วยความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) ได้คิดค้นและพัฒนา แนวทางต่างๆ เริ่มตั้งแต่กระบวนการคัดสรรพันธุ์ปลา วิธีการเลี้ยง ด้วยระบบโปรไบโอติกฟาร์มมิ่งที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึง การสร้างภูมิคุ้มกันโดยการฉีดวัคซีนป้องกันโรคระบาด และหยุดใช้ยา อย่างน้อย 21 วันก่อนจำหน่ายเพื่อไม่ให้เกิดสารตกค้างในเนื้อปลา เพื่อสร้างความปลอดภัย และตอบโจทย์ผู้บริโภคที่ใส่ใจในการดูแลสุขภาพ

ที่มา : หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ




Create Date : 04 เมษายน 2559
Last Update : 4 เมษายน 2559 15:29:01 น.
Counter : 2065 Pageviews.

1 comments
  
สวัสดีนะจ้ะ เราแวะมาเยี่ยมนะจ้ะ ^____^ สักคิ้ว 6 มิติ ลบรอยสักคิ้วด้วยเลเซอร์ ลบรอยสักคิ้ว Eyebrow Tattoo Removal เพ้นท์คิ้วลายเส้น เพ้นท์คิ้ว 3 มิติ
ให้ใจหายใจ สุขภาพ วิธีลดความอ้วน การดูแลสุขภาพ อาหารเพื่อสุขภาพ ออกกำลังกาย สุขภาพผู้หญิง สุขภาพผู้ชาย สุขภาพจิต โรคและการป้องกัน สมุนไพรไทย ขิง น้ำมันมะพร้าว ผู้หญิง ศัลยกรรม ความสวยความงาม แม่ตั้งครรภ์ สุขภาพแม่ตั้งครรภ์ พัฒนาการตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์ อาหารสำหรับแม่ตั้งครรภ์ โรคขณะตั้งครรภ์ การคลอด หลังคลอด การออกกำลังกาย ทารกแรกเกิด สุขภาพทารกแรกเกิด ผิวทารกแรกเกิด การพัฒนาการของเด็กแรกเกิด การดูแลทารกแรกเกิด โรคและวัคซีนสำหรับเด็กแรกเกิด เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อาหารสำหรับทารก เด็กโต สุขภาพเด็ก ผิวเด็ก การพัฒนาการเด็ก การดูแลเด็ก โรคและวัคซีนเด็ก อาหารสำหรับเด็ก การเล่นและการเรียนรู้ ครอบครัว ชีวิตครอบครัว ปัญหาภายในครอบครัว ความเชื่อ คนโบราณ
โดย: peepoobakub วันที่: 15 มีนาคม 2560 เวลา:16:59:09 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สมาชิกหมายเลข 2344345
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]