Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2551
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
242526272829 
 
6 กุมภาพันธ์ 2551
 
All Blogs
 
เกร็ดความรู้พระคาถา โอม มณี ปัทเม ฮุม

มนต์บท โอม มณี ปัทเม ฮุม นี้มีพระคุณเจ้ารูปหนึ่ง
ได้ทำการศึกษาวิจัยอยู่ที่มหาจุฬาฯ หรือมหามงกุฏฯผมก็จำมิได้แน่ แต่มีเนื้อความอยู่ว่า
"โอม มณี ปัทเม หูม

กำเนิดและลักษณะเชิงจักรวาลแห่งพยางค์ศักดิ์สิทธิ์ "โอม"
: มรรคาแห่งสากลภาวะ (The Path of Universality)

มันตระของตันตระได้รับอิทธิพลโดยตรงจากพราหมณ์ยุคอุปนิษัท คำว่า "โอม"(OM, หรือ AUM) ประกอบด้วยอักษร ๓ ตัว คือ "อ(A), อุ(U), ม(M)" "อ(A)" คือพระพรหมผู้สร้าง "อุ(U)" คือพระวิษณุผู้รักษา "ม(M)" คือพระศิวะผู้ทำลาย พราหมณ์ทุกคนตื่นขึ้นมาตอนเช้า ต้องกล่าวคำว่า "โอม" เพื่อจุดประสงค์ ๒ อย่าง คือ นอบน้อมตรีมูรติ ซึ่งเป็นธรรมชาติสูงสุด และสร้างความสมบูรณ์สูงสุดให้เกิดมีขึ้นในตัวเอง

ความสำคัญของพยางค์ "โอม" เห็นได้จากข้อความต่อไปนี้
แก่นของสรรพสิ่งคือดิน
แก่นของดินคือน้ำ
แก่นของน้ำคือพืช
แก่นของพืชคือมนุษย์
แก่นของมนุษย์คือคำพูด
แก่นของคำพูดคือฤคเวท
แก่นของฤคเวทคือสามเวท
แก่นของสามเวทคือุทคีตะ(ซึ่งก็คือ โอม)
อุทคีตะคือสุดยอดของแก่นทั้งมวล นับเป็นแก่นสูงสุด
สมควรได้รับฐานะสูงสุด คือ ฐานะที่ ๘
ดินและน้ำรวมเป็นหนึ่งถ่ายพลังไปสู่พืช จากพืชไปสู่มนุษย์ พลังมนุษย์ถูกรวมไปอยู่ที่จิตและถ่ายทอดออกมาในรูปของคำพูด ซึ่งทำให้มนุษย์แตกต่างจากสรรพสัตว์ "โอม" คือ พีชะ มันตระของจักรวาล เป็นพลังจักรวาลแห่งจิตที่ครอบคลุมทุกสิ่ง เป็นเครื่องมือก้าวไปสู่ความหลุดพ้น เหมือนแมลงมุมขยุ้มไต่ไปตามข่ายใยของตน เพื่อไปสู่ความเป็นอิสระ

จักรวาลวิถีกับการสร้างคุณค่าใหม่แก่พยางค์ศักดิ์สิทธิ์ "โอม"
จักรวาลวิถีแยกไม่ออกจากปัจเจกวิถี มนุษย์จะมีเจตนาที่จะเชื่อมโยงตนกับจักรวาลหรือไม่ก็ตาม สายสัมพันธ์ก็ยังเชื่อมโยงอยู่อย่างนั้น ความรุ่งเรืองของปัจเจกชนย่อมขึ้นอยู่กับเจตนาที่จะเชื่อมโยงตนกับจักรวาล

"โอม" ไม่ใช่สิ่งสูงสุดในพระพุทธศาสนา แต่เป็นพื้นฐาน อยู่ในฐานะเป็นจุดเริ่มต้นในโพธิสัตตวมรรคา กล่าวคือ อยู่ในจุดเริ่มต้นของเกือบจะทุกมันตระ ทุกรูปแบบของการบูชา กรรมฐานทุกประเภท "โอม" เป็นจุดที่อุปนิษัทสิ้นสุดแต่เป็นจุดที่พุทธวิถีเริ่มต้น แต่พุทธวิถีไม่ได้สิ้นสุดที่นี่
การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานในพระพุทธศาสนาเถรวาท คือการเพ่งพิจารณากระบวนการทำงานของรูปนาม เป็นเรื่องภายในตัวตน เพ่งเข้าด้านใน "โอม" มีสายสัมพันธ์โดยตรงกับร่างกายของมนุษย์ "อ(A)" คือส่วนหัวทั้งหมดมาถึงลำคอ "อุ(U)" คือส่วนลำตัวทั้งหมดถึงบริเวณสะดือ "ม(M)" คือส่วนตั้งแต่ใต้สะดือลงไป ถามว่า "วัตถุประสงค์ของเปล่งพยางค์ โอม คืออะไร ? อะไรคือผลที่เกิดจากการเปล่งพยางค์ โอม ?"
วัตถุประสงค์ของการปฏิบัติวิปัสสนาที่นำเอาสติปัฏฐาน ๔ มาเป็นกรอบก็เพื่อให้เกิด ความเข้าใจในกระบวนการทำงานของรูปนาม ผลที่เกิดขึ้นคือการรู้เท่าทันกระบวนการทำงานของรูปนาม อันจะมีผลสืบเนื่องคือความปล่อยวาง ส่วนวัตถุประสงค์ของการเปล่งพยางค์ "โอม" มี ๒ อย่าง
๑. กระตุ้นประสาทแต่ละส่วนในร่างกายให้ทำงานประสานกัน เพื่อผลในขั้นต่อไปคือเอกภาพ ความแน่วแน่รวมเป็นหนึ่งของประสาทแต่ละส่วน สามารถนำไปเชื่อมโยงกับตรีมูรติได้
๒. กระตุ้นประสาทแต่ละส่วนให้ทำงานอยู่เสมอ เพื่อให้ปรากฏภาพชัดเจน ทำให้โยคีกำหนดพิจารณากระบวนการทำงานของประสาทได้ง่าย
ผลที่เกิดขึ้นจากการเปล่งพยางค์ โอม คือ ความประสานกลมกลืนของประสาทแต่ละส่วน และโยคีจะรู้สึกได้เกี่ยวกับกระบวนการทำงานของประสาทตลอดเวลา การสร้างคุณค่าใหม่แก่พยางค์ โอม คือ การเปิดมิติแห่งปัจเจกชนรับมิติแห่งจักรวาล คุณค่าใหม่อยู่ที่การเชื่อมติดกันระหว่างมิติแห่งปัจเจกชนกับมิติแห่งจักรวาล

ความหมายและความสำคัญของพยางค์ศักดิ์สิทธิ์ "มณี"
: มรรคาแห่งสหภาวะและอัชฌัตติกสมบัติ

"มณี" คือแก้วมณี, มุ่งถึงเพชร ซึ่งหมายถึงภาวะแห่งปัญญาที่กล้าแกร่ง อันเกิดจากพลังจิต หรือเป็นสัญลักษณ์แห่งพลังจิตสูงส่ง พระพุทธศาสนามหายานในอินเดียใช้คำนี้แทนพระสูตรมหายานกลุ่มปรัชญาปารมิตา "ความรู้กล้าแกร่งดังเพชร ตัดทำลายกิเลสให้สูญสิ้น"
"มณี" หรือวัชระ ในที่นี้ มุ่งถึงวิญญาณขันธ์ ในส่วนที่เป็นมนัส(หรือกลิษฏมโนวิชญาณ หรือกิลิฏฐมโนวิญญาณ) การเปล่งพยางค์ มณี คือการกระตุ้นกระบวนการทำงานของมนัสระหว่างโลกแห่งปรากฏการณ์กับโลกแห่งจิต แสดงภาพออกมาเป็น "คทาเพชร" ๓ ส่วน ซึ่งหมายถึง (๑) โลกแห่งปรากฏการณ์ (๒) โลกของมนัสเอง (๓) โลกแห่งจิต(อาลยวิชญาณ)
ส่วนที่ ๓ คือโลกแห่งจิต อยู่ตรงกลาง หมายถึง "พีชะ" หรือเชื้อแห่งจักรวาล เป็นรูปจุดหรือหยดเล็ก มีภาพขดก้นหอยแสดงถึงพลังที่ออกมาจากอายตนะซึ่งอยู่ตรงกลางนี้ จาก ส่วนที่ ๓ นี้ทำให้เกิดส่วนที่ ๑ และ ๒ อยู่ในขั้วทั้ง ๒ เป็นรูปดอกบัวบาน หมายถึงขั้วของสิ่งมีชีวิตทั้งหมด จากจุดนี้ อวกาศถือกำเนิดขึ้น กล่าวคือ โลกทั้ง ๓ ทิศทั้ง ๔ มีขุนเขาสุเมรุเป็นแกนกลาง
การแผ่ขยายพื้นที่ออกไปนี้ แสดงถึงขันธ์ ๕ ที่เป็นองค์ประกอบของชีวิต แต่ละขันธ์มีส่วนในการตรัสรู้เหมือนกันทั้งหมด เพราะแต่ละขันธ์มีพระธยานีพุทธะ(ฌานีพุทธะ)ประจำอยู่ ในพระธยานีพุทธะแต่ละองค์ โพธิจิตย่อมแตกต่างกัน เหมือนกับรังษีที่แผ่ออกจากวัตถุรูปทรง ๕ เหลี่ยม

ความหมายและความสำคัญของพยางค์ศักดิ์สิทธิ์ "ปัทเม หรือปัทมะ"
"ปัทมะ" แปลว่า ดอกบัว ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของความเบ่งบานแห่งจิตและความบริสุทธิ์ที่คงทนอยู่ในท่ามกลางความไม่บริสุทธิ์ เจ้าชายสิทธัตถะเมื่อแรกประสูติเสด็จดำเนิน ๗ ก้าว มีดอกบัว ๗ ดอกผุดขึ้นรองรับพระบาท แสดงถึงความบริสุทธิ์ภายในองค์ของเจ้าชายเองและความบริสุทธิ์ของโลกที่อยู่รวมกันกับสิ่งที่ไม่บริสุทธิ์ทั้งหลาย
พระธยานีพุทธะ(ฌานีพุทธะ) นั่งเข้าฌานบนดอกบัวที่เบ่งบานเต็มที่ แสดงถึงการเปิดจิต(จิตฺตสฺส วินีวรณํ)รับโลกภายนอก หันหน้าเข้าสู้สถานการณ์ของโลก นัยดั้งเดิมของสัญลักษณ์ดอกบัวคือ ดอกบัวเกิดจากโคลนตมผุดขึ้นสู่พื้นผิวน้ำ แย้มบานเมื่อขึ้นอยู่เหนือผิวน้ำแล้ว และเมื่อแย้มบานแล้วก็ยังคงไม่แปดเปื้อนด้วยดินและน้ำ จิตก็เหมือนกัน เกิดในร่างกายมนุษย์ แสดงคุณสมบัติแท้จริงของจิตออกมา เมื่ออยู่เหนือกิเลสและอวิชชาแล้ว และเปลี่ยนพลังฝ่ายมืดให้เข้าไปสู่ส่วนลึกของพลังบริสุทธิ์แห่ง โพธิจิต กล่าวคือแก้วมณีที่ประมาณมิได้ ปรากฏอยู่ในดอกบัว พระอริยะแม้จะอยู่เหนือโลกและก้าวพ้นไปจากโลก แต่รากฐานของท่านยังคงประดิษฐานใน พื้นโลก
เชื้อแห่งโพธิปรากฏอยู่ในโลกนี้ตลอดเวลา พระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติในอดีตฉันใด ในปัจจุบันก็จะเสด็จอุบัติฉันนั้น แม้ในอนาคตก็จะเสด็จอุบัติอย่างนั้น พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ในประวัติศาสตร์แห่งมนุษยชาติ ต่างมีสายสัมพันธ์กันอย่างไม่มีจุดจบ
"ยันตระ" ในวัฒนธรรมทิเบต หมายถึงมณฑล นั่นคือการจัดระบบสัญลักษณ์ ซึ่งเป็นฐานแห่งความเห็นแจ้ง มณฑลนี้แสดงออกมาเป็นรูปดอกบัว ๔ กลีบ ๘ กลีบ หรือ ๑๖ กลีบ ซึ่งทำให้เกิดจุดเริ่มต้นแห่งการบำเพ็ญฌาน

ความหมายและความสำคัญของพยางค์ศักดิ์สิทธิ์ "หูม"
"หูม" เป็นพีชะ - พยางค์ (Seed - Syllable) ประกอบด้วย ห (H), อู (U) และ อัม (M) เป็นเสียงแห่งลมปราณ เป็นแก่นแท้ของชีวิต เป็นพลังชีวิตอันละเอียดที่ไหลเข้าและออก ครอบคลุมสรรพสิ่ง แท้ที่จริงแล้ว "หูม" ก็คืออาตมันที่อยู่ในภาวะดั้งเดิม หูม แสดงถึงจิตใจที่ปลอดจากธรรมารมณ์หรือสิ่งที่รับเข้ามาในจิตใจ
ประเด็นที่น่าสนใจคือ การเปล่งเสียง "หูม" พร้อมกับมีลมพ่นออกทางจมูกและปาก ลมปราณนี่แหละหมายถึงทุกอย่างของชีวิต ธาตุ ๔ คือ ดิน น้ำ ไฟ ลมถือว่าเป็นการปรับเปลี่ยนสภาพของลมปราณ คุณสมบัติเชิงพลวัตทั้งหมด สรรพสิ่งที่ก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวและเปลี่ยนรูปร่าง ย่อมเปิดเผยให้เห็นสภาพของลมปราณ กระบวนการทั้งหมดทั้งทางกายและจิต พลังทั้งหมดทั้งทางกายและจิต เริ่มจากการทำหน้าที่ของลมปราณและการทำหน้าที่ของระบบหมุนเวียนของโลหิตและระบบประสาท จนถึงการทำหน้าที่ของวิญญาณ การทำหน้าที่ทางจิต และการทำหน้าที่ทางจิตชั้นสูง ล้วนเป็นการปรับเปลี่ยนสภาพของลมปราณ และลมปราณเกิดจากการเปล่งเสียงว่า "หูม"๒๐
ประเด็นที่น่าสังเกต คือความสัมพันธ์ระหว่างพยางค์ "โอม" กับพยางค์ "หูม" คำว่า "โอม" คือสภาพที่มุ่งขึ้นไปสู่สากลภาวะ คำว่า "หูม" คือสภาพแห่งสากลภาวะที่ดิ่งลงไปในส่วนลึกแห่งจิตใจมนุษย์
"โอม" เปรียบเหมือนดวงอาทิตย์ "หูม" เปรียบเหมือนพื้นดิน(หรือฟ้ากับดิน) แสงอาทิตย์ต้องส่องลงมายังพื้นดินโดยไม่ต้องสงสัย "โอม" เป็นสภาพอนันต์ "หูม" เป็นสภาพอนันต์ที่อยู่ในสภาพอันต์ การที่จะก้าวถึงและเข้าใจ "หูม" จะต้องผ่านประสบการณ์เกี่ยวกับ "โอม" ก่อน "โอม" คือจุดเริ่มต้นในขณะที่ "หูม" คือจุดสุดท้าย ใน "โอม" เราสละตัวเองออก มา ใน "หูม" เราให้ตัวเราเอง "โอม" คือประตูแห่งความรู้ "หูม" คือประตูแห่งการตรัสรู้โพธิญาณ

พยางค์ศักดิ์สิทธิ์ "หูม" กับปัญญา ๕ ประเภท
ประเด็นที่น่าสังเกตต่อมาก็คือ ความสอดคล้องต้องกันระหว่างส่วนประกอบของ "หูม" กับญาณของพระธยานีพุทธะ
(๑) สระ "อู" ซึ่งเป็นส่วนประกอบด้านล่าง สอดคล้องกับสรรพสิทธิญาณของพระ อโมฆสิทธิ หมายถึงญาณที่ทำให้งานทุกอย่างสำเร็จลุล่วงไป
(๒) พยัญชนะ "ห" แบ่งเป็น ๒ ส่วน คือ
๒.๑ ร่างของ "ห" สอดคล้องกับปริจเฉทญาณของพระอมิตาภะ
๒.๒ หัวของ "ห" สอดคล้องกับสมตาญาณของพระรัตนสัมภวะ
(๓) ส่วนที่เป็นรูปพระจันทร์ครึ่งเสี้ยว(เมื่อเขียนคำว่า 'หูม' ด้วยสัญลักษณ์แบบทิเบต จะมีส่วนหนึ่งเหมือนรูปพระจันทร์ครึ่งเสี้ยว เป็นฐานของหยดนิคคหิต) สอดคล้องกับอาทาสญาณของพระอักโษภยะ
(๔) เสียงนาสิก "อัม(หรือ ม)" สอดคล้องกับธรรมธาตุญาณของพระไวโรจนะ
นอกจากนี้ "หูม" ยังมีความเกี่ยวเนื่องกับสีต่าง ๆ กล่าวคือ "หูม" เปล่งรัศมีสีน้ำเงิน เขียว แดง และเหลือง ซึ่งรัศมีเหล่านี้ถูกเปล่งออกมาจากหน้า ๔ ด้านของศูนยเทพ ผู้เป็นร่างทรงของมหาสุขะ(Supreme Bliss) และในร่างนี้เองเป็นจุดหลอมละลายพยางค์ "หูม"
ผู้ปฏิบัติโยคะต้องผสานสัญลักษณ์แห่งมันตระเข้ากับกายและจิตของตน ขั้นตอนสำคัญที่สุดคือการย้อนกระบวนการแห่งโยคะพร้อมกับละลายสัญลักษณ์สระ "อู" โดยให้จมลงไปในร่างของ "ห" ให้ร่างของ "ห" จมลงไปในหัวของ "ห" และให้หัวของ "ห" จมลงไปในสัญลักษณ์รูปพระจันทร์ครึ่งเสี้ยว ให้สัญลักษณ์รูปพระจันทร์ครึ่งเสี้ยวจมลงไปในสัญลักษณ์ "นิคคหิต" และในที่สุด ให้สัญลักษณ์ "นิคคหิต" ละลายหายเข้าไปในศูนยากาศ จนกระทั่งปรากฏอยู่ในความเงียบ

จุดหมายสูงสุดแห่งการปฏิบัติ
จริยศาสตร์พื้นฐานของพระพุทธศาสนาแบบทิเบต เริ่มต้นด้วยบุพพกิจ คือ (๑) กราบด้วยอัฏฐางคประดิษฐ์แสนครั้ง (๒) สวดมนต์นอบน้อมพระโพธิสัตว์แสนครั้ง (๓) รับไตรสรณคมน์แสนครั้ง (๔) บูชาเทพยดาแสนครั้ง และ(๕)สวดมนต์ด้วยนัยลึกลับตามที่ลามะสั่งสอนแสนครั้ง รวมเรียกว่า "บุพพกิจห้าแสน"
วัตถุประสงค์ของการทำบุพพกิจห้าแสนก็เพื่อสร้างศรัทธาปสาทะให้มั่นคงในหลักปฏิบัติ ต่อจากนั้นจะได้รับอภิเษกจากอาจารย์ให้เข้าสู่ดวงมณฑล นั่นคือการเข้าสู่ความเป็นหนึ่งเดียวกับองค์ธยานีพุทธะซึ่งมีฐานะเป็นองค์เทพ แต่ละส่วนของมณฑลมีองค์เทพครอบครองอยู่ ศิษย์ผู้บำเพ็ญเพ่งพิจารณาองค์เทพในมณฑล ยึดเอาเป็นกสิณ เพ่งจากวงนอกเข้าไปสู่วงในสุด ซึ่งเป็นที่สถิตขององค์มหาเทพ(พระไวโรจนะ = โอม) เพ่งจนกระแสจิตดิ่งเป็นจุดเดียวเหลืออยู่ จนกระทั่งองค์มหาเทพสูญไป กลายเป็นศูนยตา

วัชระ สหชะ และศูนยตา
"วัชระ" แปลว่า เพชร เป็นคำที่ใช้เรียกอันติมสัจจะ(Ultimate Reality) ที่มีลักษณะเหมือนเพชร ไม่มีใครแบ่งแยกได้ อาจวิเคราะห์ได้ว่า "วัชระกับศูนยตา" มีลักษณะ เหมือนกันบรรดาสิ่งทั้งหลายในโลกนี้ ความว่าง(ศูนยตา)เท่านั้นมั่นคง แบ่งแยกไม่ได้ เผาทำลายไม่ได้ ลักษณะอย่างนี้เหมือนกับวัชระ
การบรรลุวัชระก็คือการบรรลุธรรมชาติอันเป็นศูนยะแห่งสิ่งทั้งปวง เป็นสภาวะอยู่เหนือทวิภาวะ อยู่เหนือความแตกต่างระหว่างจิตซึ่งเป็นผู้รับรู้กับวัตถุซึ่งถูกรับรู้ "วัชระ" คือ "มณี" ในมันตระ หมายถึงวิญญาณบริสุทธิ์ซึ่งเป็นฐานแห่งปรากฏการณ์ทั้งปวง
"วัชรภาวะ" สร้างวัชรกายซึ่งเป็นกายที่ ๔ นอกเหนือจากนิรมาณกาย สัมโภคกาย และธรรมกาย เป็นที่รวมของศูนยตาและกรุณา รวมทั้งวิญญาณบริสุทธิ์ กล่าวได้อีกอย่างหนึ่งว่า "ปรัชโยบายกับวิญญาณบริสุทธิ์"
"สหชะ" แปลว่า เกิดร่วมกัน หมายถึงการเกิดร่วมกันแห่งปรัชญากับกรุณา การคลุกเคล้ากันระหว่างปรัชญากับกรุณา เป็นจุดที่ลักษณะแห่งจิตที่เป็นบวกและลบถูกกำจัดทิ้งไป จิตบริสุทธิ์ปลอดจากความเป็นและความไม่เป็น

มหาสุขะ
นิพพานเป็นอันติมสัจจะ เป็นบรมสุขและวิมุตติสุข รวมเรียกว่า "มหาสุขะ" ภาพที่แสดงผู้บรรลุนิพพานจึงอยู่ในลักษณะเป็นสุข เช่น ภาพวาราหีเทพี(ศูนยตา)อยู่ในอ้อมกอดมหาเสาขยะ เทพีไนราตมะอยู่ในอ้อมกอดของเหรุกะ
มหาสุขะเป็นภาพแห่งนิพพานในด้านที่เป็นผล เกิดจากการละลายโลกิยสุขทุกประเภทเข้ากับโลกุตตรสุข ทำลายมิติที่ขวางกั้นระหว่างสังสารวัฏกับนิพพาน อยู่เหนือสิ่งทั้งปวง เหนือห้วงแห่งความคิดปรุงแต่งทั้งเชิงบวกและเชิงลบ ไม่สามารถบรรยายด้วยภาษาคน แต่เป็นสิ่งประจักษ์แจ้งเฉพาะตัว
ในภาวะแห่งมหาสุขะ แม้จะเป็นจุดที่กำจัดความคิดแบ่งแยก ไม่มีความคิดเชิงลบและบวก แต่พลังแห่งปรัชญากับกรุณา หรือพลังลบกับพลังบวก หรือพลังหญิงกับพลังบุรุษยังคงทำงานอยู่ เป็นแต่ทำงานด้วยความกลมกลืนเท่านั้น

อัทวยะ
แนวคิดที่ว่า "วัตถุกับจิต หรือรูปกับนาม" แยกส่วนกัน แม้จะมีความสัมพันธ์กัน แต่ก็แยกส่วนกัน โลกแห่งวัตถุถือเป็นพลังชั่วร้าย การบำเพ็ญธรรมจึงมีเป้าหมายที่จะปลดปล่อยจิตจากการยึดมั่นถือมั่นวัตถุ แนวคิดนี้ไม่ถูกต้อง
ความดีกับความชั่วไม่มีอยู่จริง เป็นเพียงรูปแบบที่ผิดปกติของลักษณะดั้งเดิมของจิต ความถูกหรือผิดไม่ได้อยู่ในวัตถุภายนอก แต่อยู่ที่วิธีการมอง เพราะฉะนั้น เป้าหมายแห่งการบำเพ็ญธรรมจึงอยู่ที่การตัดกระแสท่าทีของจิตต่อโลกภายนอก "อัทวยะหรืออทวิภาวะ" จึงเป็นเป้าหมายแห่งการปฏิบัติ เป็นจุดรวมระหว่างจิตกับวัตถุ เป็นจุดเหนือความดีและความชั่ว
อัทวยะในเชิงอภิปรัชญา หมายถึงจุดหลอมรวมระหว่างล่างกับบน ซ้ายกับขวา หน้ากับหลัง ในเชิงญาณวิทยา หมายถึง จุดหลอมรวมผู้รู้ (จิต) กับสิ่งที่ถูกรู้ (วัตถุ) ในเชิงจริยศาสตร์ หมายถึงจุดหลอมรวมระหว่างกรรมกับผลของกรรม ดังที่มีคำกล่าวเสมอว่า "ทุกข์เท่านั้นมีอยู่ ผู้ประสบทุกข์หามีไม่" สรุปก็คือว่า ในที่สุดแล้ว จะมีเพียงกิริยาเท่านั้นที่เหลืออยู่"

จาก //www.mcu.ac.th/e-book/Thai/tipat/section3.html


Create Date : 06 กุมภาพันธ์ 2551
Last Update : 6 กุมภาพันธ์ 2551 17:06:36 น. 6 comments
Counter : 2211 Pageviews.

 
ดีมากเลยคะ ได้ความรู้มากคะ ยินดีที่ได้รู้จักนะคะ
อนุโมทนาคะ


โดย: หนูนิ้ม (nimmanoradee ) วันที่: 6 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:21:58:47 น.  

 
กงสี่ฟาฉาย ฉายแหยนกว่างจื้
ขอบคุณมากมายในเนื้อหา สาระดีๆที่อยู่ในบล็อกของคุณค่ะ


โดย: กวนฐานฮวา ณ อเบิอร์ดีน IP: 88.105.70.18 วันที่: 7 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:19:15:48 น.  

 
หูนกำลังหางาน


โดย: ณัชชาวดี ไชยชนะ IP: 118.173.192.152 วันที่: 4 มีนาคม 2551 เวลา:19:42:48 น.  

 
หูนกำลังหางานส่งคุณคูร


โดย: ณัชชาวดี ไชยชนะ IP: 118.173.192.152 วันที่: 4 มีนาคม 2551 เวลา:19:46:09 น.  

 
กะลังหางานครับ


โดย: นิกเนม IP: 222.123.203.184 วันที่: 10 มีนาคม 2551 เวลา:8:47:52 น.  

 
ขอบพระคุณครับ
เมี๊ยวๆๆ


โดย: หมาวัด IP: 118.172.63.160 วันที่: 7 กรกฎาคม 2551 เวลา:20:31:36 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

psak28
Location :
ภูเก็ต Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]





คนเราเกิดมาจากเหตุปัจจัยจากกรรมที่เราสร้างขึ้น และด้วยอนุสัยที่สั่งสมมาตั้งแต่อดีตกาล ย่อมมีความสุข และความทุกข์เป็นธรรมดา เราก็แค่เป็นเพียงผู้ดูสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้น เปรียบเสมือนการดูละคร ดูแล้วก็ผ่านไป ไม่ต้องไปยึดติดกับมัน เคยสงสัยเหมือนกันว่าคนเราเกิดมาทำไมกัน แล้วทำไมคนเราจึงไม่เหมือนกันเลย ทั้งรูปร่าง หน้าตา กิริยา และการดำเนินชีวิต ที่กล่าวมาล้วนมีกรรมสรรสร้างให้เป็นอย่างนั้น หน้าที่ของเราก็คือ ละเว้นความชั่ว ทำความดีให้ถึงพร้อม และทำจิตใจให้ขาวรอบ


อันนี้ลองดูนะครับ หากใครสนใจหวยหุ้น หวยรัฐบาล นี่ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งครับ ได้มากกว่า ^_^



อันนี้น่าสนใจดีครับ จุ๊บลมยางที่สามารถบอกเราได้ว่าลมยางตอนนี้เป็นเท่าไหร่ และเตือนเราในกรณีลมยางอ่อนได้ ลองดูกันนะครับ




: Users Online

Friends' blogs
[Add psak28's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.