บังเอิญได้มาครอบครอง "เหรียญครึ่งดอลลาร์ รุ่น"เจเอฟเค เคนเนดี"



เรามาอยู่สหรัฐอเมริกา 18 ปี เพิ่งจะเคยเห็น "เหรียญครึ่งดอลล่า" เป็นครั้งเเรกก็วันนี้นี่เอง  นั่นเป็นเพราะไม่เคยใช้เงินสดเวลาออกไปช้อปปิ้งซื้อของนอกบ้าน จะใช้บัตรเครดิตตลอด จึงทำให้ไม่มีโอกาศสัมผัสกับเหรียญของสหรัฐอเมริกาเลย

ต่อมามีอยู่ช่วงนึงที่บัตรเครดิตเรามีปัญหา เลยงดใช้ เเละต้องใช้เงินสดในการซื้อของเเทน วันนั้นเราไปซื้ออาหารฟาสต์ฟู้ดให้ลูก ให้เงินสดกันเเคชเชียร์เช่นเคย เเต่พอได้รับเงินทอน ถึงกับสะดุดตากับเหรียญนึงที่ปนมากับเศษเหรียญอื่นๆ เจ้าเหรียญนี้มันใหญ่เเละใหม่กว่าใครเพื่อน เลยหยิบออกมาพิจารณา พร้อมกับทำหน้างงๆ พอเเคชเชียร์เห็นดังนั้นจึงพูดว่า "นั่นคือเหรียญฮาฟดอลล่า หรือ 50 เซ็นต์ ใช้ได้ตามกฏหมาย" เมื่อมองให้ดีจึงรู้ว่าเป็นเหรียญครึ่งดอลลาร์ รุ่น"เจเอฟเค เคนเนดี"



มาทำความรู้จักกับเจ้าเหรียญครึ่งดอลลาร์ของเจเอฟเค เคนเนดี รุ่นนี้กันหน่อยนะคะ

เหรียญรุ่นนี้ผลิตขึ้นครั้งแรกในปี 2507 เป็นเหรียญห้าสิบเซ็นต์ที่ออกโดยโรงกษาปณ์แห่งสหรัฐอเมริกา มีจุดประสงค์เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่ประธานาธิบดีคนที่ 35 ของสหรัฐอเมริกา John F. Kennedy ที่ถูกลอบสังหาร

รัฐสภาได้รับอนุญาตจากรัฐสภาเพียงหนึ่งเดือนหลังจากที่เขาเสียชีวิต  โดยประติมากรโรงกษาปณ์ Gilroy Roberts และ Frank Gasparro อนุญาตให้เตรียมแม่พิมพ์ได้อย่างรวดเร็ว และเหรียญใหม่เริ่มโดดเด่นขึ้นในเดือนมกราคม 1964

หลังจากที่เหรียญเงินมีการปล่อยตัวในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2507 โดยนักสะสมและผู้ที่สนใจ ได้กว้านเก็บไปเป็นของที่ระลึกของประธานาธิบดีผู้ล่วงลับไปแล้ว แม้ว่าโรงกษาปณ์จะเพิ่มการผลิตอย่างมาก แต่เหรียญกษาปณ์ก็ไม่ค่อยมีการหมุนเวียน

การขึ้นราคาเงินอย่างต่อเนื่องทำให้การกักตุนเพิ่มขึ้น—เหรียญเงินครึ่งดอลลาร์ของเคนเนดี้ที่ผลิตออกมาในช่วงต้นๆจำนวนมากถูกละลายไปสำหรับการกักเก็บ เริ่มต้นจากชิ้นงานปี 1965 เปอร์เซ็นต์ของเงินเนื้อดีลดลงจาก 90% เป็น 40% (หุ้มด้วยเงิน) แต่ถึงแม้จะมีการเปลี่ยนแปลงนี้ เหรียญก็ยังมีการหมุนเวียนเพียงเล็กน้อย



ในปีพ.ศ. 2514 เหรียญเงินห้าสิบเซ็นต์ของเจเอฟเคเคเนดีได้หมดไปจากท้องตลาด เเละยังคงมีการผลิตเพิ่มขึ้น แต่เหรียญที่ผลิตออกมาใหม่ยังคงเห็นการใช้งานเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น  

การออกแบบพิเศษสำหรับเหรียญครึ่งดอลลาร์ที่ผลิตมาใช้เป็นครั้งเเรกของสหรัฐอเมริกา เกิดขึ้นในปี 1975  มันคือเหรียญสองร้อยปี หรือ  Bicentennial เป็นเหรียญที่หุ้มด้วยเงิน ต่อมาในปี 1992เหรียญครึ่งดอลลาร์ผลิตด้วยเงินเเท้ด้วยเงิน 90% เเละท้ายสุดในรุ่นเงินครึ่งดอลลาร์ รุ่น Kennedy (ที่เรามีครอบครองในตอนนี้) เป็นรุ่นพิเศษฉลองครบรอบ 50 ปี ถูกตีด้วยทองคำ 99.99% ด้วย 

แม้ว่าธนาคารส่วนใหญ่จะหาเงินหมุนเวียนครึ่งดอลลาร์ได้อย่างเพียงพอ แต่การหมุนเวียนยังคงมีจำกัด การผลิตเหรียญเคนเนดีครึ่งดอลลาร์สำหรับการจำหน่ายทั่วไปสิ้นสุดในปี 2544 และตั้งแต่ปี 2545 ถึงปี 2563 เคนเนดีครึ่งดอลลาร์ได้รับผลกระทบเพียงเพื่อตอบสนองความต้องการจากนักสะสม ซึ่งขายในราคาระดับพรีเมียมผ่านโรงกษาปณ์ ในปี พ.ศ. 2564 





เรามีเหรียญของสหรัฐอเมริกาเยอะ เวลาไปซื้อของ เเคชเชียร์เขาทอนมาให้ เราไม่ค่อยใช้ จะเอามาเก็บใว้ นานๆได้เต็มกระปุกเเล้วก็จะเอาไปเเลกเป็นเเบ้งค์ดอลล์อีกทีนึง





ในกระปุกนี้มีทั้งเหรียญบาทไทยเเละเหรียญญี่ปุ่น ไม่ได้เก็บสะสมนะคะ เเต่มันมีมาเอง



เมืองไทยบ้านเรามีเหรียญสลึง, เหรียญบาท, เหรียญห้าสิบ ที่สหรัฐอเมริกาก็มีเงินเหรียญเช่นเดียวกัน มีทั้งหมด 4ชนิดคือ
1. เหรียญ 25 เซ็นต์ หรือ Quarter ควอร์'เทอะ (เท่ากับ 15 บาทไทย)
2. เหรียญ 10 เซ็นต์ Dime (เท่ากัน 3 บาทไทย)
3.เหรียญ 5 เซ็นต์ (เท่ากับ 1.5 บาทไทย)
4.เหรียญ 1 เซ็นต์.(เท่ากับ 0.3 บาทไทย)



เวลาไปร้านขายหนังสือ เราสามารถเลือกอ่านหนังสือตรงกับจริต พอได้เหรียญฮาฟดอลล์ล่ามาครอบครอง เลยต้องไปหาความรู้เกี่ยวกับเหรียญนี้ซะหน่อยค่ะ









ขอบคุณทุกท่านที่เเวะมาเยี่ยมบล้อกนะคะ


Create Date : 28 สิงหาคม 2564
Last Update : 3 กันยายน 2564 23:53:20 น. 0 comments
Counter : 4093 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สมาชิกหมายเลข 3661152
Location :
ชิคาโก United States

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]




Single Mom in USA.
ไดอารี่ออนไลน์ของ"ซิงเกิ้ลมัม"ในสหรัฐอเมริกา
ปี 2003 อยู่เมือง Rex รัฐจอร์เจีย
ปี 2010 ย้ายไปอยู่เมือง Elon รัฐนอร์ทแคโรไลนา
ปี 2012 ย้ายไปอยู่เมืองชิคาโก รัฐอิลลินอยส์ จนถึงปัจจุบัน
ปี 2020 เขียนไดอารี่ออนไลน์ bloggang



Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2564
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
28 สิงหาคม 2564
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add สมาชิกหมายเลข 3661152's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.