Learn Storage Networking #1

หากจะพูดถึงเรื่องอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลบนคอมฯแล้วละก็ มีอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลมากมายในสมัยนี้ครับไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์แบบ soft magnetic device (อย่างเช่น เทป), magneto optical device (อย่างเช่น CD, DVD พวกที่พิ่งพาเลเซอร์ทั้งหลาย), memory chip module (อย่างพวก thumb drive ที่ใช้ flash memory, พวก memory card ทั้งหลายที่ใช้ในกล้องถ่ายรูป, พวก SDRAM memory ที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือแม้แต่ Solid State Drive) และสื่อแบบ hard magnetic device อย่าง hard drive ซึ่งตอนนี้มีหลายเทคโนโลยีออกมาในปัจจุบัน (IDE, SATA, FC, SAS เป็นต้น) ซึ่งส่วนใหญ่แล้วที่เรารู้จักกันจะเป็นการนำมาใช้ภายในเครื่องเองเป็นส่วนมากอย่างที่เราเรียกว่า local storage หรือ local drive แต่ในธุรกิจ enterprise นั้นเค้าพูดถึงข้อมูลจำนวนมหาศาลขนาดเป็นหลายสิบหลายร้อย Tera byte จนไปถึงขนาด Peta byte ขึ้นไปซึ่งข้อมูลจำนวนมหาศาลขนาดนี้จะต้องถูกเก็บอยู่ในอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลจำนวนมากซึ่งมันเป็นไปไม่ได้ที่จะยัดลงไปในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราซะแล้ว ดังนั้น ในธุรกิจ enterprise เค้าถึงพูดถึงแต่เรื่อง storage networking และนี่คือสิ่งที่เราจะคุยกันใน blog นี้ครับ


ทำไมต้อง Storage Networking?

เทคโนโลยีใหม่ๆทุกอย่างเกิดขึ้นมาได้ก็เพราะมันต้องการเอามาแก้ปัญหาบางอย่างของเทคโนโลยีเดิมที่มันเดินทางมาถึง limitation หรือเพื่อแก้ปัญหาของเทคโนโลยีเดิมครับ เทคโนโลยีเดิมที่เราพูดถึงก็คือ local storage นั่นเอง

ทำไม local storage ถึงมีปัญหาครับ? มันมี limitation อะไรรึ? จริงๆแล้ว local storage device มันก็ยังทำงานเต็ม performance ของมันอย่างที่มันเคยทำได้ในอดีตนั่นแหล่ะครับ แต่ว่าตัวที่ทำให้มันกลายเป็นปัญหาเกิดเป็น limitation ขึ้นมาก็เพราะเรื่อง ความสำคัญของข้อมูล หรือความ critical ของ data นั่นเองครับ

เอาแค่ง่ายๆยังไม่ต้องพูดถึง mission critical แค่เรามีไฟล์งานอยู่ใน file server แล้วตอนนี้ต้องมีการแก้งานนั้นด่วน แต่ว่า file server ตันล่มอยู่ นี่ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เราไม่สามารถเข้าถึง critical data ของเราได้ครับ หรืออาจจะบอกว่า โอเค เครื่องผมมันเจ๋งมาก มันไม่เสียไม่ล่มง่ายๆหรอก แต่เผอิญว่าถึงช่วงเวลาที่ต้องมีการ update server driver หรือ security patch และต้องมีการ reboot server ซึ่งดันมาแจ๊คพอตที่เราพอดีว่าต้องแก้งานให้เสร็จภายในห้านาทีนี้ก่อนขึ้นประชุมแล้วเครื่องกำลัง reboot (อย่าคิดว่าห้านาทีตอนรอ reboot ไม่สำคัญนะครับ อยากรู้ว่าสำคัญขนาดไหนลองถามเลขาทั่นประธานดู ^^') นั่นเป็นเหตุผลที่เค้าต้องคิดคำว่า system availability ขึ้นมาครับ (เนื่องจากในระบบ local storage นั้น data availablility จะถูกผูกติดอยู่กับ system availability)

ในชีวิตจริง ไม่ใช่ว่า data ทุกอย่างสำคัญไปเสียหมด แต่เรื่องแจ๊คพอตแบบนี้เกิดขึ้นกับเราได้เสมอครับ แม้แต่ข้อมูลบางอย่างที่เล็กน้อยมากๆในอดีตแต่ในวันนี้มันอาจทำให้เราตกที่นั่งลำบากได้ครับ (นักบัญชีรู้ดี ^^) ดังนั้นในชีวิตจริงจึงมีความพยายามในการที่จะทำให้ data availability นั้นเป็น 100% ให้ได้ภายในหนึ่งปีซึ่งเทคโนโลยีปัจจุบันทำได้ครับ (โดยวีธีไหนไว้ว่ากันในบทต่อๆไป) แต่ในอดีตนั้น เค้ายังไม่สามารถทำให้เป็น 100% ได้ครับ ทำได้แค่ 99% ซึ่งต่อมา system availability นี้กลายเป็นจุดขายของบริษัทคอมพิวเตอร์ในการแข่งขันว่าเครื่องขอนตนทำได้ 99.9% หรือ 99.99% หรือ five nine 99.999%

อย่าคิดว่าไม่สำคัญนะครับ ในหนึ่งปีมี 365 วัน คิดเป็น 8,760 ชั่วโมง การที่มี system availability เพียง 99.0% หมายความว่าเครื่องจะ down และทำให้เราไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ถึง 3.65 วัน/ปี เลยนะครับ

















 Availability 99.0%  เครื่องมีโอกาส down 3.65 วัน/ปี
 Availability 99.9%  เครื่องมีโอกาส down 9 ชั่วโมง/ปี
 Availability 99.99%  เครื่องมีโอกาส down 53 นาที/ปี 
 Availability 99.999%  เครื่องมีโอกาส down 5 นาที/ปี

จะเห็นได้ว่า การที่เราผูกเอา storage device ติดไว้กับ local system นั้นกลายเป็น limitation ในยุคปัจจุบันไปซะแล้วสำหรับงานด้าน enterprise ซึ่ง limitation เหล่านี้อาจเกิดจากทั้งตัว hardware เองในส่วนของ systfem และตัว software ในส่วนของ software patch และ driver update อีกทั้งในส่วนของตัว storage device เองก็มีผลกับ system availability ด้วยเนื่องจากในระบบ local storage เราต้องหยุดระบบเพื่อมา fix ปัญหาที่ disk ก่อนในขณะที่แนวคิดของ enterprise มองว่า disk จะเสียก็เสียไป แต่ cpu time ยังควรสามารถนำไปใช้ประมวลผลต่อไปได้


นั่นจึงเป็นที่มาของการแยก data storage ออกจาก local system และนี่เรียกว่าการทำ Storage Networking


ใน blog ต่อไปเราจะมาดูชนิดของ Storage Networking ทั้ง 3 ชนิดอันได้แก่ DAS, NAS และ SAN ครับ








Create Date : 06 มิถุนายน 2553
Last Update : 6 มิถุนายน 2553 11:17:56 น.
Counter : 1087 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Karz
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 126 คน [?]





สงวนลิขสิทธิ์
มิถุนายน 2553

 
 
1
2
3
4
5
7
8
9
11
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
 
 
6 มิถุนายน 2553