ขอบคุณที่แวะเข้ามา
โทรแล้วขับโดนจับแน่




06 พฤษภาคม 2551

ตั้งแต่วันที่ 8 พ.ค. 2551 เป็นต้นไป เวลาจะโทรศัพท์ไปหาใคร ประโยคแรกควรจะถามก่อนว่า กำลังขับรถอยู่หรือเปล่า ?

เนื่องจากกฎหมายใหม่มีผลบังคับใช้แล้ว

ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก ฉบับที่ 8 พ.ศ. 2551 มาตรา 43 กำหนด ห้ามมิให้ผู้ขับรถ (9) ในขณะใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ เว้นแต่การใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่โดยใช้อุปกรณ์เสริมสำหรับสนทนา โดยที่ ผู้ขับขี่ไม่ต้องถือหรือจับโทรศัพท์เคลื่อนที่นั้น ผู้ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตาม มาตรา 43 (9) ต้องระวางโทษ มีโทษปรับตั้งแต่ 400-1,000 บาท

พูดกันแบบภาษาง่าย ๆ ก็คือ หากจำเป็นต้องรับสายหรือโทรฯ ออกผ่านโทรศัพท์มือถือ ขณะ ที่กำลังขับรถยนต์ ขี่มอเตอร์ไซค์ ต้องใช้อุปกรณ์เสริมเช่น แฮนด์ฟรี หูฟังไร้สายหรือที่เรียกกัน ง่าย ๆ ว่า หูฟังบลูทูธ ห้ามเอาโทรศัพท์มาแนบหูโดยตรง ขืนโทรฯ แล้วถือ หากเจอคุณหมู่คุณจ่าละก็ เจอใบสั่งแน่ ๆ

นายแพทย์แท้จริง ศิริพานิช เลขาธิการมูลนิธิเมาไม่ขับ ในฐานะประธานโครงการโทรไม่ถือ เล่าให้ฟังว่า กฎหมายจะมีผลบังคับใช้แล้ว แต่ยังไม่มีใครทำอะไรให้ประชาชนรับรู้ หน่วยงานทั้งรัฐและเอกชนทั้ง 15 แห่ง จึงมาร่วมเป็นพันธมิตรกัน เพื่อช่วยกันรณรงค์ ในนามโครงการ โทรไม่ถือ โทรแล้วขับอันตราย เลี่ยงไม่ได้ ให้ใช้อุปกรณ์เสริม

คุณหมอแท้จริง ย้ำว่า กฎหมายไม่ได้ห้ามใช้โทรศัพท์มือถือขณะขับรถ แต่บังคับว่า ต้องใช้อุปกรณ์เสริม

พล.ต.ต.ภาณุ เกิดลาภผล รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล กล่าวว่า ก่อนจะเสนอกฎหมาย ดังกล่าวได้พยายามศึกษากฎหมายจากหลายประเทศ และผลงานวิจัย ซึ่งส่วนใหญ่ได้ข้อสรุปตรงกันว่า การใช้โทรศัพท์มือถือขณะขับรถ ไม่ว่าจะใช้อุปกรณ์เสริมหรือไม่ก็ตาม ทำให้ผู้ขับเสียสมาธิและเกิดอันตรายขณะอยู่บนถนน จึงต้องการห้ามทุกอย่าง แต่เมื่อถึงคณะกรรมาธิการพิจารณา มีข้อถกเถียงในเรื่องนี้กันมาก และสุดท้ายจึงมีมติอนุโลมให้ใช้อุปกรณ์เสริมได้

“อยากให้ตระหนักว่า การโทรศัพท์ขณะขับรถนั้นอันตรายต่อทุกคน หลายประเทศถึงกับห้ามใช้โทรศัพท์มือถือขณะขับรถ ห้ามแม้กระทั่งแฮนด์ ฟรี มีบทลงโทษที่รุนแรงมาก บางประเทศถึงขั้นยึดโทรศัพท์มือถือ ยึดซิมการ์ด และปรับเงินหลายหมื่นบาท” พล.ต.ต.ภาณุ กล่าวและว่า กำลังจะเสนอว่า หากพบว่า มีการกระทำผิดข้อหาเดิมซ้ำภายใน 1 ปี จะไม่คืนใบขับขี่ให้ จนกว่าจะผ่านการอบรมอย่างน้อย 5 ชั่วโมงจึงจะพิจารณาคืนใบขับขี่ให้อีกที

ตำรวจยืนยันว่า หากพบเห็นว่า กำลังใช้โทรศัพท์มือถือขณะขับรถ เอาโทรศัพท์มาแนบหูจะดำเนินการจับปรับทันที อย่าคิดว่าถนนเส้นนี้ปลอดโปร่ง ไม่มีด่าน ไม่เห็นจ่า เพราะหากเป็นเส้นทางหลัก ทางด่วน ทางหลวง ก็จะใช้ถ่ายภาพที่มีอยู่ตามจุด ต่าง ๆ บันทึกภาพขณะทำผิด ในพื้นที่ กทม.ก็จะใช้กล้องตรวจการจราจรตามสี่แยก แล้วส่งใบสั่งไปรอถึงบ้าน หากเจอจัง ๆ บนถนน ตำรวจจะใช้กล้องถ่ายรูปที่มีอยู่ในโทรศัพท์มือถือบันทึกภาพผู้กระทำผิดทันที

คำแนะนำ 4 ข้อจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ ฝากไปถึงผู้ขับขี่รถบนถนน ก็คือ

ขึ้นรถไม่โทรฯ โทรฯ ไม่ขับ

เดินทางด้วยกันให้ผู้ร่วมเดินทางในรถช่วยรับโทรศัพท์ให้แทน

เดินทางตามลำพัง ไม่มีอุปกรณ์ เสริมก็ให้จอดรถพูดคุยธุระข้างทาง

หากมีอุปกรณ์เสริมให้รับโดยใช้อุปกรณ์เสริม แต่ไม่ควรคุยนาน














ติดกล้องทั่วกรุง จับโทรแล้วขับ

วันนี้ (14 กุมภาพันธ์) พล.ต.ต.ภาณุ เกิดลาภผล รอง ผบช.น. กล่าวว่า ราชกิจจานุเบกษาได้ลงประกาศ พ.ร.บ.จราจรทางบก (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2551 เพิ่มข้อบังคับใน (9) มาตรา 43 ตั้งแต่วันที่ 8 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ซึ่งกฎหมายดังกล่าวกำหนดห้ามใช้โทรศัพท์มือถือขณะขับรถยนต์ เว้นแต่ใช้อุปกรณ์เสริม

ทั้งนี้ หากผู้ใดฝ่าฝืนจะมีโทษปรับตั้งแต่ 400 – 1,000 บาท โดยมีผลบังคับใช้ภายใน 90 วัน นับตั้งแต่วันที่ออกประกาศคือ ตั้งแต่วันที่ 7 พฤษภาคม นี้ เป็นต้นไป

อย่างไรก็ตาม พล.ต.ต. ภาณุ กล่าวอีกว่า ได้ปรึกษาแล้วกับ พล.ต.ต.วิษณุ ม่วงแพรสี ผบก.ตำรวจจราจร ได้ข้อสรุปแนวทางบังคับใช้ผู้ขับขี่ โดยมีเกณฑ์ปฏิบัติคือ หากตำรวจจราจรใช้โทรศัพท์มือถือขณะขับรถยนต์ หรือขี่จักรยานยนต์จะจับกุมทันที เพราะเป็นเหตุซึ่งหน้า นอกจากนี้ ยังเตรียมจัดซื้อกล้องถ่ายภาพดิจิตอลขนาดเล็กมอบให้ตำรวจจราจร 88 สน. ทั่วกรุงเทพฯ ประมาณ 3 พันนาย ไว้ใช้บันทึกภาพผู้ฝ่าฝืนขณะตั้งด่านตรวจบนถนน คาดต้องใช้งบประมาณ 5 ล้านบาท

"ในทางปฏิบัติยังอนุโลมให้ตำรวจจราจรใช้กล้องดิจิตอล โทรศัพท์มือถือถ่ายภาพผู้ฝ่าฝืน ใช้โทรศัพท์มือถือไว้เป็นหลักฐานและนำส่งพนักงานสอบสวน สน.ท้องที่ เพื่อออกหมายเรียกผู้ต้องหาได้ถึงบ้านและนำตัวมาดำเนินคดีได้ในภายหลังแม้จะขับรถหลบหนีไปได้" พล.ต.ต.ภาณุ กล่าว

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ได้กำชับสารวัตรจราจรทั้ง 88 สน.ให้เร่งประชาสัมพันธ์ไม่ให้ผู้ขับขี่ฝ่าฝืน ก่อนจะเริ่มกวดขัน จริงจัง อยากให้ประชาชนเคารพกฎหมายไม่ต้องคอยหลบหลีกเจ้าหน้าที่ เพียงแค่ใช้อุปกรณ์เสริม เช่น บลูทูธ หรือสมอลทอล์ก ไม่อยากให้ต้องถูกจับกุม แต่ตำรวจขอให้มีจิตสำนึกด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินมากกว่า


ข้อมูลจาก

โดย //hilight.kapook.com/view/20511










ระบุตรวจ 3 วัน พบทำผิดแล้วกว่า 670 ราย

โทรแล้วขับ ผลวิจัยทั่วโลกชี้ชัดความสามารถน้อยลง ตาบอดสี รุนแรงกว่าเมาแล้วขับ เสี่ยงอุบัติเหตุสูง 4 เท่า รองผบช.น.สรุปยอด 3 วัน หลังกฎหมายบังคับใช้ ในพื้นที่กรุงเทพฯ พบผู้ฝ่าฝืน 670 ราย อ้างยังจำเป็นต้องใช้-ไม่รู้ว่ากฎหมายมีผลบังคับใช้แล้ว เผยอุปกรณ์ตรวจจับไม่พอขอกล้องเพิ่มอีก 100 ตัว คาดว่าวันที่ 22 พฤษภาคมนี้ จะได้มาติดตั้งทั้งหมด

ผลการตรวจจับ 3 วัน (8-11 พ.ค.) หลังกฎหมายบังคับห้ามใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ขณะขับรถ พล.ต.ต.ภาณุ เกิดลาภผล รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (รอง ผบช.น.) เปิดเผยว่า หลังมีผลบังคับใช้กฎหมายดังกล่าว เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม ที่ผ่านมา พบว่า 3 วัน หลังการบังคับใช้มีผู้ฝ่าฝืนรวม 670 ราย แยกเป็นวันที่ 8 พฤษภาคม 303 รายวันที่ 9 พฤษภาคม 209 ราย และวันที่ 10 พฤษภาคม 158 ราย

พื้นที่ที่พบมากที่สุดคือ กองบังคับการตำรวจนครบาล 1 (บก.น.1) และกองบังคับการตำรวจนครบาล 5 (บก.น.5) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพื้นที่กรุงเทพฯ ชั้นใน เหตุผลที่อ้างต่อตำรวจคือ ยังจำเป็นต้องใช้โทรศัพท์ขณะขับรถ รองลงมาคือ ไม่ทราบว่ากฎหมายมีผลบังคับใช้แล้ว

เบื้องต้นตำรวจจะแค่ตักเตือน แต่ตั้งแต่วันที่ 20 พฤษภาคม เป็นต้นไป ผู้ฝ่าฝืนจะถูกปรับตั้งแต่ 400-1,000 บาท ตามมาตรา 43 พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2551 ส่วนอุปกรณ์การตรวจจับที่ยังไม่เพียงพอ กองบัญชาการตำรวจนครบาลได้ขอกล้องดิจิทัลจำนวน 100 ตัว จากสมาคมวินาศภัย คาดว่าวันที่ 22 พฤษภาคมนี้ จะได้มาติดตั้งทั้งหมด

พล.ต.ต.ภาณุกล่าวต่อว่า การตรวจเข้มดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม ซึ่งกฎหมาย ห้ามใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ขณะขับรถเริ่มบังคับใช้ ตั้งแต่ "เริ่มสตาร์ทจนถึงปลายทาง" ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก(ฉบับที่ 8) พ.ศ.2551 ในมาตรา 43 ห้ามขับรถในขณะที่ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ เว้นแต่การใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่โดยใช้อุปกรณ์เสริมสำหรับการสนทนา โดยที่ผู้ขับขี่ไม่ต้องถือหรือจับโทรศัพท์เคลื่อนที่นั้น ผู้ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามมีโทษปรับตั้งแต่ 400-1,000 บาทซึ่งกฎหมายดังกล่าวมีผลครอบคลุมในทางทุกประเภท และบังคับใช้กับผู้ขับรถทุกชนิด ผู้ที่ขับรถ งดเว้นการใช้โทรศัพท์มือถือขณะขับรถหากมีความจำเป็นควรใช้อุปกรณ์เสริม หรือแฮนด์ฟรี เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ และลดปัญหาการจราจร แต่จะจับจริงในวันที่ 20 พฤษภาคม

พล.ต.ต.ภาณุอ้างอิงผลการวิจัยทั่วโลกว่าทั้งประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศญี่ปุ่นสรุปงานวิจัย ขับแล้วใช้มือถือ ความสามารถด้อยกว่าผู้ขับขี่ขณะที่มันเมาสุรา

นักวิจัยจาก มหาวิทยาลัยยูทาห์ สหรัฐอเมริกา ได้เสนองาน วิจัย ชื่อว่า "Why Do Cell Phone Conversations Interface With Driving ?" หรือเหตุใดการใช้มือถือ จึงรบกวนต่อการขับขี่ยานยนต์ "ขับแล้วโทร" จะสูญเสียความสามารถ 1.การมอง 50% 2.การเบรก 9% และ 3.การเร่งความเร็ว 19% ผลการวิจัย พบว่า เกิดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุเพิ่มขึ้น 2-4 เท่า ทำให้เสียสมาธิ และทำให้เบรกช้าลง 0.5 วินาที

ผลการวิจัยระบุว่า

ควรห้ามใช้โทรศัพท์มือถือและอุปกรณ์เสริมขณะขับรถ เนื่องจากมีความสามารถการขับขี่ลดลง เช่นเดียวกับการห้ามคนเมาขับรถ

ผู้ขับขี่ที่ใช้มือถือจะมีความสามารถขับขี่เซื่องซึมลง จะขับช้าลงโดยอัตโนมัติ และแทบมองไม่เห็นไฟแดง

-ผู้ขับขี่ขณะเมาสุราจะขับรถบ้าระห่ำขึ้นขับกระชั้นชิดมากขึ้น และเบรกรุนแรงขึ้น แต่จะมองเห็นไฟแดงอยู่บ้าง

-มีโอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุมากกว่าผู้ขับขี่ระดับแอลกอฮอล์ในเลือดไม่เกิน 80 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์

-ผู้ขับขี่ที่ใช้มือถือจะเกิดภาวะ "ความพิการทางสายตา อันเกิดจากการเสียสมาธิ" (Inattention Blindness) หมายถึง พลาดการมองเห็นป้ายสัญลักษณ์ และไม่สามารถจดจำรายละเอียดได้ แม้ว่าจะจ้องป้ายจราจรสัญญาณไฟจราจร รถยนต์คันอื่น ซึ่งอาการเหล่านี้ไม่ได้เกิดในผู้ขับรถที่ฟังเพลงหรือพูดคุยกับผู้โดยสารที่ร่วมเดินทางด้วย

นอกจากนี้ สำนักงานตำรวจแห่งชาติประเทศญี่ปุ่น ทำการวิจัยสถิติอุบัติเหตุที่เกี่ยวข้องกับการใช้ โทรศัพท์เคลื่อนที่ระหว่างปี ค.ศ.1996-1998 พบว่า สาเหตุเกิดอุบัติเหตุส่วนใหญ่เกิดขึ้นขณะรับโทรศัพท์มือถือเป็นอันดับหนึ่ง 43% และรองลงมาเกิดตอนใช้โทรศัพท์มือถือโทรออก 22.9% จึงสรุปว่า การใช้โทรศัพท์มือถือขณะขับขี่เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้และตั้งข้อสังเกตว่า ความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุน่าจะลดลง ถ้ามีการใช้อุปกรณ์เสริม(แฮนด์ฟรี)

ดังนั้นญี่ปุ่นจึงตัดสินใจออกกฎหมายห้ามใช้โทรศัพท์มือถือขณะขับยี่ยานพาหนะ โดยเด็ดขาด ยกเว้นใช้อุปกรณ์เสริม หลังจากบังคับใช้กฎหมายฉบับนี้ในญี่ปุ่น ผลปรากฏว่าเดือนพฤศจิกายน ปี ค.ศ.1999 สถิติอุบัติเหตุจราจรที่มีสาเหตุมาจากผู้ขับขี่ใช้โทรศัพท์มือถือ และทำให้เกิดการบาดเจ็บและเสียชีวิตลดลง 75%

ทั้งนี้ โทรขับถูกจับไม่ใช่เรื่องใหม่ การห้ามใช้โทรศัพท์มือถือในต่างประเทศประกาศเป็นกฎหมายนานแล้ว ประเทศที่ห้ามใช้โทรศัพท์มือถือ รวมทั้งอุปกรณ์เสริมในขณะขับรถ เช่น อิสราเอล โปรตุเกส สิงคโปร์ ส่วนประเทศที่ห้ามใช้โทรศัพท์มือถือ แต่ให้ใช้อุปกรณ์เสริม (แฮนด์ฟรี) ในขณะขับรถปัจจุบันมีทั้งสิ้น 21 ประเทศ โดยเริ่มบังคับใช้ดังนี้ ปี ค.ศ.1998 เดนมาร์ก ปี ค.ศ.1999 ญี่ปุ่น ปี ค.ศ.2001 เยอรมนี บราซิล จอร์แดน เคนยา เกาหลีใต้ ซิมบับเว ปี ค.ศ.2003 อังกฤษ ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส และบางมลรัฐในสหรัฐอเมริกา เช่น นิวเจอร์ซีย์ เป็นต้น.

ที่มา: หนังสือพิมพ์คมชัดลึก
โดย: //www.thaihealth.or.th/node/4188
Update: 14-05-51

//www.focuspaktai.com/index.php?file=news&obj=news.view(id=10562)
โทรแล้วขับจับแน่








Link บทความเกี่ยวกับโทรไม่ขับ
//online-station.net/news/view.php?id=16587

//www.decha.com/main/showTopic.php?id=1516

เพิ่มโทษ! สั่งตัดแต้ม ยึดใบขับขี่ โทร.ขับรถ


จักรยานยนต์ - จักรยาน ก็ห้ามโทรขับ ติดไฟแดงก็ไม่ได้

เพิ่มโทษ! สั่งตัดแต้ม ยึดใบขับขี่ โทร.ขับรถ









Create Date : 04 มิถุนายน 2551
Last Update : 14 มิถุนายน 2551 0:52:42 น. 0 comments
Counter : 551 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

karug-karing
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]





น้องก้อยค่ะ








Group Blog
 
 
มิถุนายน 2551
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
 
4 มิถุนายน 2551
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add karug-karing's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.