เลขเด็ด เลขดัง กาน้อย

ติดตามข้อมูลเว็บทาง Google+ กด
FaceBook สาว ๆ เซ็กซี่
<<
มิถุนายน 2554
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
17 มิถุนายน 2554

มิตซูบิชิ แลนเซอร์ อีโวลูชัน 1-10

มิตซูบิชิ แลนเซอร์ อีโวลูชัน (Mitsubishi Lancer Evolution) หรือที่รู้จักกันในชื่อ อีโว (Evo) เป็นรถรุ่นในเครือของ มิตซูบิชิ แลนเซอร์ มี ตัวถังรถเหมือนแลนเซอร์ทั่วไป แต่มีเครื่องยนต์ที่มีสมรรถนะสูงกว่า สอดคล้องกับคำว่า Evolution ซึ่งแปลว่า วิวัฒนาการ แลนเซอร์ อีโวลูชัน จึงหมายถึง แลนเซอร์รุ่นพิเศษที่ได้วิวัฒนาการขึ้นมาเป็นรถแข่งที่เครื่องแรงกว่าแลน เซอร์ทั่วไป อีโวลูชันทุกรุ่น จะใช่เครื่องยนต์เทอร์โบชาร์จ 2000 ซีซี ขับเคลื่อนสี่ล้อ

อีโวลูชัน กำเนิดรุ่นที่ 1 ขึ้นครั้งแรกใน ค.ศ. 1992 โดย ใช้ตัวถังของแลนเซอร์รุ่นที่ 6 แต่ในปัจจุบันนั้น แลนเซอร์ของเดิมวิวัฒนาการไปถึงรุ่นที่ 9 ในขณะที่อีโวลูชันพัฒนาไปถึงรุ่นที่ 10 แล้ว เพราะอีโวลูชันมีการพัฒนาประสิทธิภาพ สมรรถนะค่อนข้าวเร็ว ดังนั้น การเกิดโมเดลเชนจ์จึงมีบ่อย ช่วงเวลาของแต่ละรุ่นจึงสั้น

เดิมทีนั้น ทางมิตซูบิชิขายอีโวลูชันภายในประเทศญี่ปุ่นเท่านั้น ไม่ส่งออก แต่ทว่า กลุ่มบริษัทนำเข้ารถยนต์อิสระ จึงได้ใช้สิทธิตามกฎหมายเป็นผู้ส่งอีโวลูชันออกไปขายตามตลาดภูมิภาคต่างๆ ของโลก จนอีโวลูชันกลายเป็นรถที่มีชื่อเสียง มิตซูบิชิจึงตัดสินใจเริ่มส่งออกอีโวลูชันไปขายเองในปี ค.ศ. 2003 โดยเริ่มส่งออกอีโวลูชันเองในรุ่นที่ 8 เป็นรุ่นแรก

สำหรับในประเทศไทย อีโวลูชันของจริงพบเห็นได้น้อยมาก เพราะด้วยสมรรถนะสูงและออปชันต่างๆ ของอีโวลูชัน ทำให้มีราคาแพง และยิ่งเมื่อรวมภาษีและค่าการตลาดต่างๆ เข้าไปแล้ว อีโวลูชันมีราคาแพงมาก ผู้ใช้ที่ต้องการรถที่เครื่องแรงจึงเปลี่ยนใจซื้อแลนเซอร์ธรรมดาไปแต่งเอง เสียมากกว่า ทำให้ อีโวลูชันแท้ในไทยหายากมาก

รุ่นที่ 1 (ค.ศ. 1992 - 1994)

EVOLUTION I

7 กันยายน 1992
จำกัดจำนวนผลิต 2,500 คัน
ถูกพัฒนาบนพื้นฐานแลน เซอร์รุ่น อี-คาร์ มีให้เลือกทั้งรุ่น RS สำหรับลูกค้าที่ต้องการรถสภาพเดิมไปโมดิฟายเพื่อลงแข่งในสนามและรุ่น GSR สำหรับลูกค้าทั่วไป ด้วยความยาวตัวถัง 4,310 มิลลิเมตร กว้าง 1,695 มิลลิเมตร สูง 1,395 มิลลิเมตร ระยะฐานล้อยาว 2,500 มิลลิเมตร น้ำหนักตัว 1,240 กิโลกรัม ขุมพลัง 4G63 4 สูบ DOHC 16 วาล์ว พร้อมเทอร์โบและอินเตอร์คูลเลอร์ ให้กำลังสูงสุด 250 แรงม้า (PS) ที่ 6,000 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 31.5 กก.-ม. ที่ 3,000 รอบ/นาที ส่งกำลังด้วยเกียร์ธรรมดา 5 จังหวะ ลงสู่ระบบขับเคลื่อน 4 ล้อ คู่หน้าแบบมีรูระบายความร้อน

รุ่นที่ 2 (ค.ศ. 1994 - 1995)
มิตซูบิชิ แลนเซอร์ อีโวลูชัน รุ่นที่ 2

EVOLUTION II
22 ธันวาคม 1993
จำกัดจำนวนผลิต 5,000 คัน
ดู เหมือนไม่มีการปรับโฉมใหม่ใด ๆ แต่ความจริงแล้วมีหลายจุดที่ อีโวลูชั่น II แตกต่างจาก อีโวลูชั่น I เช่นเครื่องยนต์ที่มีการเพิ่มแรงดันบูสเตอร์เทอร์โบ ระยะวาล์ว เป็นต้น รีดแรงม้าเป็น 260 แรงม้า (PS) ที่ 6,000 รอบ / นาที แรงบิดสูงสุด 31.5 กก.-ม. ที่ 3,000 รอบ / นาที ปรับปรุงระบบกันสะเทือนเพียงเล็กน้อย

รุ่นที่ 3 (ค.ศ. 1995 - 1996)
มิตซูบิชิ แลนเซอร์ อีโวลูชัน รุ่นที่ 3

EVOLUTION III
27 มกราคม 1995
จำกัดจำนวนผลิต 5,000 คัน
การ ปรับปรุงเน้นไปที่การเปลี่ยนมาใช้ชุดแอโรพาร์ท รวมทั้งสปอยเลอร์รอบคันใหม่ทั้งหมดให้มีขนาดใหญ่ขึ้นเพื่อเพิ่มแรงกดและลด ค่าสัมประสิทธิ์ต้านทานอากาศ (แอโรไดนามิก) ลง ทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มเป็น 1,260 กิโลกรัม ยังใช้ตัวถัวรวมทั้งช่วงล่างและระบบกำลังส่งเดิม แรงม้าอยู่ที่ 270 แรงม้า (PS) ที่ 6,250 รอบ / นาที โดยคงแรงบิดสูงสุดเท่าอีโวลูชั่น II ระบบกันสะเทือนถูกปรับปรุงให้ตอบสนองได้เฉียบคมยิ่งขึ้น จนทำให้อีโวลูชั่น III แรงสุดและหนักสุด แต่มีสมรรถนะดีที่สุดในกลุ่มอีโวลูชั่นที่ใช้พื้นฐานแลนเซอร์รุ่นอี – คาร์

รุ่นที่ 4 (ค.ศ. 1996 - 1998)
มิตซูบิชิ แลนเซอร์ อีโวลูชัน รุ่นที่ 4

EVOLUTION IV
30 กรกฎาคม 1996
จำกัดจำนวนผลิต 6,000 คัน
มี การเปลี่ยนแปลงตัวถังเป็นครั้งแรก มาใช้พื้นฐานเดียวกับแลนเซอร์ เอ็มจี ตัวถัวยาว 4,330 มิลลิเมตร กว้าง 1,415 มิลลิเมตร ระยะฐานล้อยาว 2,510 มิลลิเมตร และน้ำหนักตัว 1,350 กิโลกรัม เป็นรุ่นแรกที่ติดตั้งพวงมาลัย 3 ก้านทรงสปอร์ตพร้อมถุงลมนิรภัย ขุมพลังยังยืนหยัดกับรหัส 4G63 แต่อัพเกรดสมรรถนะ 280 แรงม้า (PS) ที่ 6,500 รอบ / นาที แรงบิดสูงสุด 36.0 กก.-ม. ที่ 3,000 รอบ / นาที เป็นอีโวลูชั่นรุ่นแรกที่ย้ายตำแหน่งเครื่องยนต์มาติดตั้งเยื้องอยู่ฝั่ง เดียวกับคนขัยเชื่อมการทำงานกับเกียร์ธรรมดา 5 จังหวะแบบ Shift – Short Stroke และถือเป็นรถยนต์รุ่นแรกในโลกที่ติดตั้งระบบควบคุมแรงบิดล้อหลัง AYC (Active Yaw Control) ใกล้เฟืองท้ายเพื่อให้เข้าโค้งได้ฉับไวและทรงตัวดีเมื่อเบรกกะทันหัน

รุ่นที่ 5 (ค.ศ. 1998 - 1999)
มิตซูบิชิ แลนเซอร์ รุ่นที่ 5

EVOLUTION V
มกราคม 1998
จำกัดจำนวนผลิต 6,000 คัน
ปรับ โฉมให้เหมือนกับรุ่นไมเนอร์เชนจ์ของตระกูลแลนเซอร์ เพิ่มช่องรับอากาศขนาดใหญ่เพื่อระบายความร้อนในเครื่องยนต์ ขนาดตัวถัง 4,350 มิลลิเมตร กว้าง 1,770 มิลลิเมตร สูง 1,415 มิลลิเมตร ฐานล้อยาว 2,510 มิลลิเมตร น้ำหนักตัว 1,360 กิโลกรัม เครื่องยนต์บล็อกเดิม แต่เพิ่มแรงบิดสูงสุดเป็น 38.0 กก.-ม. ที่ 3,000 รอบ / นาที

รุ่นที่ 6 (ค.ศ. 1999 - 2001)
มิตซูบิชิ แลนเซอร์ อีโวลูชัน รุ่นที่ 6

EVOLUTION VI
7 มกราคม 1999
จำกัดจำนวนผลิต 7,000 คัน
เน้น ปรับปรุงชุดแอร์โรพาร์ท และระบบหล่อเย็นให้ตรงข้อกำหนดใหม่ของ FIA และปรับปรุงสปอยเลอร์หลังโดยใช้พื้นฐานรูปทรงเดิมแต่ฐานล่างทรงสามเหลี่ยม นูนเจาะ โล่งเพื่อประสิทธิภาพในการกดตัวถังขณะแล่นด้วยความเร็วสูง ปรับปรุงระบบกันสะเทือนให้ยึดเกาะถนนดีขึ้น ปรับปรุงการทำงานของระบบ AYC ให้แม่นยำยิ่งขึ้นระบบอัดอากาศเทอร์โบ เปลี่ยนแกนเทอร์ไบน์มาใช้ไททาเนี่ยมเป็นครั้งแรกในโลก EVOLUTION VI TOMMY MAKINEN LIMTED
10 ธันวาคม 1999
จำกัดจำนวนผลิต 2,500 คัน
มิตซูซู บิชิสร้างอีโวลูชั่น VI เวอร์ชั่นพิเศษเพื่อเป็นที่ระลึกแก่ทอมมี่ มาคิเนน อดีตนักแข่งทีมมิตซูบิชิ แรลลี่อาร์ต ซึ่งแตกต่างจากอีโวลูชั่น VI เล็กน้อย ยึดการตกแต่งด้วยโทนสีแดง ออกแบบชุดแอโรพาร์ทใหม่ทั้งหมด ลดความสูงของตัวถังจรดพื้นถนนจากรุ่นเดิมลงไปอีก 10 มิลลิเมตร ถังน้ำมันพร้อมฝาปิดแบบใหม่ป้องกันการกระฉอกขณะเข้าโค้งต่างระดับด้วยความ เร็วสูง ขุมพลังมีแรงม้าเท่าเดิม แต่ลดลงมาอยู่ที่ 38.0 กม.-ม.ที่ 2,750 รอบ / นาที

รุ่นที่ 7 (ค.ศ. 2001 - 2003)
มิตซูบิชิ แลนเซอร์ อีโวลูชัน รุ่นที่ 7

EVOLUTION VII & EVOLTION VII GT – A
26 มกราคม 2001
จำกัดจำนวนผลิต 10,000 คัน
เป็น ครั้งที่ 2 ที่เปลี่ยนตัวถังใหม่โดยใช้พื้นฐานของแลนเซอร์ซีเดียมีขนาดตัวถังยาวขึ้น เป็น 4,455 มิลลิเมตร กว้าง 1,770 มิลลิเมตร สูง 1,450 มิลลิเมตร ระยะฐานล้อยาว 2,625 มิลลิเมตร ปรับปรุงให้แตกต่างจากรุ่นมาตรฐานหลายจุด เช่น ฝากระโปรงหน้าอะลูมิเนียมพร้อมช่องดังอากาศ
การตกแต่งภายในยังคง บุคลิกสปอร์ตไว้เต็มพิกัด เครื่องยนต์ 4G63 ถูกปรับปรุงท่อทางเดินไอเสียเพื่อให้อากาศหลังการเผาไหม้ระบายออกสู่ปลายท่อ ดีขึ้น เพิ่มความกว้างให้กับอินเตอร์คูลเลอร์รีดกำลังสูงสุดออกมาได้ที่ 280 (PS) ที่ 6,500 รอบ / นาที แรงบิดสูงสุด 39.0 กก.- ม. 3,500 รอบ / นาที และยังคงส่งกำลังด้วยเกียร์ธรรมดา 5 จังหวะ รุ่น W5M51 ระบบขับเคลื่อน 4 ล้อเปลี่ยนมาใช้ระบบ ACD (Active Center Differential) เป็นครั้งแรกในโลก แทนระบบ Viscous Coupling โดยใช้ระบบแรงดันไฮโดรลิกร่วมกับคลัตช์หลายแผ่นมั่นใจด้วยดิสก์เบรก 4 ล้อ 4 คาลิปเปอร์ พร้อม ABS ระบบกระจายแรงเบรก EBD (Electronic Controlled Brake Force Distribution System) พร้อมระบบลดความร้อนของจานเบรกและวาล์วปรับแรงดันน้ำมันเบรก PVC ( Presure Control Valve)
ส่วนรุ่น GT-A เป็นรุ่นเกียร์อัตโนมัติรุ่นแรกในตระกูลอีโวลูชั่นนำเกียร์อัตโนมัติ 5 จังหวะ INVECS – II พร้อมโหมดบวก – ลบมาติดตั้งส่งผลให้กำลังสูงสุดของเครื่องยนต์บล็อกเดิมลดลงเหลือ 272 แรงม้า (PS) ที่ 6,500 รอบ / นาที แรงบิดเหลือ 35 กก.-ม. ที่ 3,000 รอบ / นาที อีกทั้งยังมีรายละเอียดการตกแต่งภายในและภายนอกต่างจากอีโวลูชั่น VII เล็กน้อย

รุ่นที่ 8 (ค.ศ. 2003 - 2005)
มิตซูบิชิ แลนเซอร์ อีโวลูชัน รุ่นที่ 8

EVOLUTION VIII
28 มกราคม 2003
จำกัดจำนวนผลิต 5,000 คัน
เป็น ครั้งแรกที่มิตซูบิชิ มอเตอร์ส เริ่มส่งออกสายพันธ์ความแรงอีโวลูชั่นไปวาดลวดลายยังท้องถนนในดินแดนลุงแซม (สหรัฐอเมริกา) จุดประสงค์หลักของการปรับปรุงอีโวลูชั่น VIII พุ่งเป้าไปที่การยกระดับสมรรถนะที่ดีอยู่แล้วในอีโวลูชั่น VII ให้ดียิ่งขึ้น เริ่มจากขุมพลังรหัส 4G63 สูบ DOHC 16 วาล์ว 1,997 ซีซี พร้อมอินเตอร์คูลเลอร์และเทอร์โบถูกปรับปรุงรายละเอียดเล็กน้อย เพิ่มความทนทานของลูกสูบอะลูมิเนียม และก้านสูบแบบเหล็กหล่อ รวมทั้งเปลี่ยนใช้สปริงวาล์วน้ำหนักเบา เพื่อช่วยลดแรงเฉื่อยและแรงเสียดทานในการทำงานของชุดวาล์ว
เวอร์ชั่น ญี่ปุ่นยังคงแรงอยู่ที่ 280 แรงม้า (PS) ที่ 6,500 รอบ / นาที เพิ่มแรงบิดให้สูงขึ้น 40.0 กก. – ม. ที่ 3,500 รอบ / นาที โดยรุ่น GSR จะส่งกำลังด้วยเกียร์ธรรมดา 6 จังหวะ อัตราทดชิด (Close Ration ) รุ่น W6MAA พร้อมแหวนยกแป้นใต้หัวเกียร์ป้องกันการเข้าเกียร์ถอยหลังผิดผลาดเหมือนรถ ยุโรปบางรุ่น แต่รุ่น RS ยังคงติดตั้งเกียร์ธรรมดา 5 จังหวะ อัตราทดชิด Super Close Ration รุ่น W5M51 โดยมีเกียร์ 6 จังหวะจากรุ่น GSR ให้เลือกเป็นออฟชั่นพิเศษ สิ้นเปลืองเชื้อเพลิงระดับ 9.7 กิโลเมตร / ลิตร โดยรุ่น RS ใช้ถังน้ำมันขนาด 55 ลิตร แต่ในรุ่น GSR เปลี่ยนขนาถังให้ใหญ่ขึ้นอีก 7 ลิตร เป็น 62 ลิตร ส่วนเวอร์ชั่นอเมริกันจำเป็นต้องลดพิกัดความแรงลงมาเพื่อให้ผ่านมาตรฐาน มลพิษระดับ LEV1 - LEV ของมลรัฐแคลิฟอร์เนีย ลงมาเหลือ 275 แรงม้า (PS) ที่ 6,500 รอบ / นาที แรงบิดสูงสุด 37.7 กก.-ม. ที่ 3,500 รอบ / นาที พ่วงกับเกียร์ธรรมดา 5 จังหวะ
ไม่ว่าจะเป็นเวอร์ชั่นไหนจะถูกพ่วงเข้ากับ ระบบขับเคลื่อน 4 ล้อพร้อมระบบเพลากลาง ACD (Active Center Differential) ทำหน้าที่แทน Viscous Coupling โดยใช้ระบบแรงดันไฮโดรลิก ร่วมกับคลัตซ์หลายแผ่น เพื่อกระจายแรงบิดจากเครื่องยนต์ไปสู่ล้อคู่หน้าและหลังเท่าๆ กัน อีกทั้งผู้ขับขี่ยังเลือกการทำงานได้ 3 โหมดตามสภาพถนนคือ Tarmac / Gravel / Snow
นอกจากนี้เฉพาะรุ่น GSR ยังเพิ่มระบบชุดเฟือง Super AYC (Active Yaw Control ) ติดตั้งใกล้เฟืองท้ายทำงานประสานกับระบบ ACD เพื่อเข้าโค้งได้ฉับไวและทรงตัวดีเมื่อเบรกกะทันหัน
ระบบกันสะเทือนยกมา จากรุ่นเดิม หน้าแมคเฟอร์สันสตรัทหลังแบบมัลติลิงก์ พร้อมเหล็กกันโคลงหน้า – หลัง ถูกปรับปรุงจุดยึดต่างๆ เพื่อให้ช่วยลดการบิดตัว ส่งผลให้ยึดเกาะถนนดีขึ้น ระบบห้ามล้อเป็นดิสก์เบรกมีรูระบายอากาศทั้ง 4 ล้อ คู่หน้าเป็นแบบ 4 คาลิปเปอร์ส่วนคู่หลังมี 2 คาลิปเปอร์ ระบบป้องกันล้อล็อก ABS ถูกอัพเกรดขึ้นเป็นแบบ Sport ABS มีเซนเซอร์จับอาการล็อกล้อทั้ง 4 เพิ่มเซนเซอร์จับการหมุนของพวงมาลัยและหมุนเลี้ยวของล้อทั้ง เพื่อคำนวณหาแรงเบรกที่เหมาะสมของแต่ละล้อและสั่งการไปยังล้อข้างนั้น ๆ ส่วนระบบกระจายแรงเบรก EBD พร้อมระบบลดความร้อนของจานเบรกและวาล์วปรับแรงดันน้ำมันเบรก PVC (Pressure Control valve )
โครงสร้างตัวถังมีความยาว 4,490 มิลลิเมตร กว้าง 1,770 มิลลิเมตร สูง 1,450 มิลลิเมตร ระยะฐานล้อ 2,625 มิลลิเมตร กระจังหน้าทรงปิรามิดลายเอกลักษณ์ใหม่ของมิตซูบิชิกลืนเป็นช้อนเดียวกับ กันชนหน้า เสริมการทำงานด้วยแผ่นปิดใต้ท้องเครื่องยนต์ช่วยให้การระบายอากาศเข้าสู่ อินเตอร์คูลเลอร์ดีขึ้นกกว่าเดิม 10% และเพิ่มแรงกดให้กดให้กระแสลมบริเวณด้านหน้าทำให้อากาศไหลผ่านอย่างไหลลื่น ทั้งยังลดค่าสัมประสิทธิ์หลักอากาศพลศาสตร์ได้อีกด้วยสปอยเลอร์หลังหล่อขึ้น รูปจากพลาสติกผสมคาร์บอนไฟเบอร์ CFRP (Carbon Fiber - reinforced Plastic ) ซึ่งถือเป็นครั้งแรกของรถยนต์ซีดานจากสายการผลิตบริษัทแม่โดยตรง
ห้อง โดยสารตกแต่งด้วยโทนสีดำเป็นหลัก แผงหน้าปัดตกแต่งคอนโซลด้วยสีน้ำเงินชุดมาตรวัดความเร็วจะเพิ่มตัวเลขให้ เกินพิกัดความเร็วสูงสุดถึง 270 กิโลเมตร / ชั่วโมง แต่ยังจะมีระบบตัดการจ่ายเชื้อเพลิงเมื่อถึงความเร็ว 180 กิโลเมตร / ชั่วโมง ตามกฎหมายของญี่ปุ่นไว้เช่นเดิม

รุ่นที่ 9 (ค.ศ. 2005 - 2007)
มิตซูบิชิ แลนเซอร์ อีโวลูชัน รุ่นที่ 9

EVOLUTION IX
อีโวลูชั่น 9 แบ่งออกเป็น 3 รุ่น คือ จีแอลเอส, อาร์เอส และรุ่นท็อปไลน์ เอ็มอาร์ (มิตซูบิชิ เรซซิ่ง) ลูกค้าสามารถเลือกการตกแต่งได้หลากหลายรูปแบบตามแต่รสนิยมความต้องการ รวมถึงการตกแต่งให้ใกล้เคียงกับตัวแข่งแรลลี่โลก WRC ให้มากที่สุดก็สามารถทำได้
อีโวลูชั่น 9 ใช้เครื่องยนต์ บล็อก 4 สูบเรียง 16 วาล์ว พ่วงเทอร์โบ-อินเตอร์คูลเลอร์เวอร์ชั่นล่าสุด โดยทำงานพร้อมกับระบบ Mivec ยกวาล์วผันแปรตามรอบเครื่องยนต์ ช่วยรีดพละกำลังได้สูงสุด 280 แรงม้า ที่ 6,500 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 390 นิวตัน-เมตร มาที่รอบต่ำเพียง 3,500 รอบ/นาที
ระบบส่งกำลังใช้แบบเกียร์ ธรรมดา 5 สปีดในรุ่นจีแอลเอสและอาร์เอส ซึ่งได้รับการปรับปรุงอัตราทดให้ถ่ายเทแรงบิดได้ไหลลื่นยิ่งขึ้น ขณะที่อัตราทดในเกียร์สูงสุดก็ได้รับการพัฒนาเพื่อการใช้ความเร็วสูง
ในส่วนของรุ่นเอ็มอาร์ ใช้ระบบเกียร์ธรรมดาแบบ 6 สปีด
ใน ส่วนของช่วงล่างได้รับการปรับแต่งให้แน่นปึ๊กสไตล์แรลลี่ ช็อกอัพใช้ของบิลสไตน์ ระบบขับเคลื่อนเป็นแบบ ออลวีลไดรฟ์ ตะกุยสี่ล้อตลอดเวลา ซึ่งจะมาพร้อมกับระบบควบคุมแรงบิด ACD ปรับเปลี่ยนได้ 3 โหมด สำหรับสภาพถนนแบบ ฝุ่นกรวด, ลาดยาง และพื้นหิมะ ขณะที่ระบบเบรกใช้ของเบรมโบ คอยคุมฝูงม้าไม่ให้พยศเกินความจำเป็น
รูปโฉม ภายนอกดีไซน์ใหม่ โดยมีจุดประสงค์เพื่อ สร้างแรงกดตามหลักแอโรไดนามิกส์ และเพื่อระบายความร้อนจากเครื่องยนต์ได้ดียิ่งขึ้น ในส่วนของล้ออัลลอย ถือว่า เป็นหนึ่งในไฮไลต์ของอีโวลูชั่น แทบทุกรุ่น สำหรับ "อีโว 9" ใช้ล้อของเอนไก อะลูมิเนียมอัลลอยน้ำหนักเบา ขนาด 17 นิ้วหุ้มด้วยยางขนาด 235/45 R17 ของโยโกฮาม่า แอดวาน เกาะถนนเหนียวแน่นหนึบ
การตกแต่งภายใน ทางมิตซูบิชิเน้นให้ถอดแบบมาจากตัวแข่งแรลลี่ให้มากที่สุด เบาะที่นั่งบั๊กเก็ตซีทของสปาร์โก หุ้มด้วยอัลคันทาร่าและหนังแท้ โอบกระชับและนั่งสบาย พวงมาลัยสามก้านทรงซิ่งสีไทเทเนี่ยมของโมโม แป้นเหยียบอะลูมิเนียมกันลื่น ส่วนแผงข้างประตู และคอนโซลใช้วัสดุคาร์บอนไฟเบอร์

รุ่นที่ 10 (ค.ศ. 2007 - ปัจจุบัน)
มิตซูบิชิ แลนเซอร์ อีโวลูชัน รุ่นที่ 10
EVOLUTION X

อีโวลูชันรุ่นที่ 10 เปลี่ยนระบบขับเคลื่อนสี่ล้อแบบใหม่ S-AWC (Super-All Wheel Control) และระบบเบรก ABC (Active Brake Control) มีระบบเกียร์มาใหม่ คือ เกียร์แบบซีเควนเซียล 6 สปีด ใช้พื้นฐานของเกียร์ธรรมดา แต่ใช้คลัตไฟฟ้า เปลี่ยนเกียร์โดยใช้ปุ่ม +,- ที่ติดตั้งไว้ที่แป้นพวงมาลัย โดยขายควบคู่กับเกียร์ธรรมดา 5 สปีดแบบเดิม

ในรุ่นที่ 10 ได้เปลี่ยนไปใช้ตัวถังใหม่ของแลนเซอร์รุ่นที่ 9 หรือโฉมหน้าฉลาม ตัวถังยาว 4495 มม. กว้าง 1810 มม. สูง 1480มม. ระยะฐานล้อ 2650 มม. น้ำหนักรถ 1420 - 1600 กก. มีการนำอะลูมิเนียมมาผลิตฝากระโปรง, พื้นตัวถังของห้องเก็บสัมภาระ, หลังคา, กันชน, แผงประตูทั้ง4บาน เพื่อเป็นการลดน้ำหนักของตัวรถ(รถใหญ่กว่ารุ่นก่อนมาก แต่น้ำหนักมากกว่าเล็กน้อย) และได้เปลี่ยนไปใช้เครื่องยนต์ 4B11T 2000 ซีซี ให้กำลังได้ไม่ต่ำกว่า 280 แรงม้า แรงบิด 43 กิโลกรัม-เมตร

//community.thaiware.com




Create Date : 17 มิถุนายน 2554
Last Update : 17 มิถุนายน 2554 20:14:19 น. 1 comments
Counter : 3589 Pageviews.  

 
แลนเซอร์สวยมาตั้งแต่รุ่นแรกๆเลยนะครับ ชอบครับ
แวะมาฝากเว็บ มิตซูบิชิ มิราจ ด้วยนะครับ ว่างๆไปเยี่ยมชมได้ครับ


โดย: โจ้ (smf-fantasy ) วันที่: 19 พฤศจิกายน 2554 เวลา:19:27:00 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

karnoi
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 57 คน [?]




เลขเด็ด เลขดัง กาน้อย






ติดตามข้อมูลของเว็บทาง twitter ได้ที่ @karnoi กด
ติดตามข้อมูลเว็บทาง FaceBook กด







Online Users


[Add karnoi's blog to your web]