สายตาจับจ้องที่ดวงดาว และเท้ายังคงติดดิน (Keep your eyes on the stars, and your feet on the ground.)
Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2556
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
25 พฤษภาคม 2556
 
All Blogs
 
ระวังไตพัง เพราะสารกันบูด!




ก่อนหน้านี้ ผู้เขียนเห็นข่าวผ่านตาว่า มีหน่วยงานภาคประชาชนที่ดูแลเรื่องความปลอดภัยด้านอาหาร เปิดเผยผลการทดสอบสารกันบูดในขนมปังและเค้กแบบพร้อมบริโภค ซึ่งได้มาจากร้านสะดวกซื้อ ซูเปอร์มาเก็ต และร้านเบเกอรี่ จำนวน 14 ตัวอย่าง โดยผลทดสอบนั้น ทำให้ตัวผู้เขียนเองก็อึ้งไปด้วย เพราะพบขนมปังแซนวิชแบรนด์ดัง ที่แสดงฉลากลวงอ้างว่า ไม่ใช้วัตถุกันเสีย แต่กลับตรวจพบการใช้ร่วมกันในตัวอย่างเดียวถึง 2 ชนิด นอกจากนี้ ยังพบว่า 5 ใน 14 ของตัวอย่างที่สุ่มตรวจมีสารกันบูดเกินค่ามาตรฐานไทย และค่ามาตรฐานอาหารสากล

หลังจากมีเรื่องราวที่ว่านี้เกิดขึ้น ผู้เขียนก็ได้รับคำถามมากมายเกี่ยวกับสารกันบูด ดังนั้น มาทำความเข้าใจเรื่องนี้กันดีกว่าค่ะ

‘สารกันบูด’ หรือ ‘วัตถุกันเสีย’ เป็นสารเคมีที่ช่วยในการถนอมอาหาร ช่วยยืดอายุการเก็บรักษา โดยจะชะลอหรือยับยั้งการเจริญเติบโตและทำลายจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุให้อาหารเน่าเสีย สารกันบูดมีหลายชนิด ที่นิยมใช้กันโดยทั่วไปแบ่งเป็นกลุ่มๆ ได้ ดังนี้

1.กลุ่มกรดและเกลือของกรดบางชนิด เช่น กรดเบนโซอิก และเกลือเบนโซเอต กรดซอร์บิกและเกลือซอร์เบต กรดโปรปิโอนิกและเกลือโปรปิโอเนต ฯลฯ อาหารที่ผสมสารกันบูดเหล่านี้ ได้แก่ กลุ่มเครื่องดื่ม น้ำผลไม้ ซอส ผักผลไม้ดอง แยม เยลลี่ เครื่องแกงสำเร็จรูป และขนมปัง 2.กลุ่มพาราเบน เช่น เมทธิลพาราเบน โปรปิลพาราเบน นิยมใช้กับอาหารประเภท เครื่องดื่ม น้ำผลไม้ เยลลี่ ขนมหวานต่างๆ และสารปรุงแต่งกลิ่นรส เป็นต้น 3.กลุ่มซัลไฟต์ ซัลเฟอร์ดออกไซด์ นิยมใส่ในไวน์ น้ำผลไม้ ผักและผลไม้แห้ง เป็นต้น 4.กลุ่มไนไตรท์ เกลือไนไตรท์ นิยมใช้กับเนื้อสัตว์ต่างๆ เบคอน แฮม เป็นต้น

การใช้ใช้สารกันบูด ในเรื่องของปริมาณที่ใช้นั้นจะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับชนิดของอาหาร ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขเป็นผู้กำหนดปริมาณที่อนุญาต โดยสารกันบูดเหล่านี้หากใช้ตามที่กฎหมายกำหนด หรือใช้ตามประกาศกระทรวง จะไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภค แต่หากใช้ในปริมาณมากเกินไป หรือนำไปใช้ไม่เหมาะสม ก็จะก่อให้เกิดอันตรายได้

นอกจากนี้ กระทรวงสาธารณสุขยังห้ามใช้วัตถุกันเสียในอาหารที่ไม่จำเป็นต้องใช้สารกันบูด นั่นก็คืออาหารกระป๋องที่ผ่านการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์แล้ว

ผู้ผลิตที่ผสมสารกันบูดลงในอาหารจึงควรคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้บริโภค โดยเลือกใช้สารกันบูดให้เหมาะสมกับชนิดของอาหาร และใช้ในปริมาณที่กำหนดเท่านั้น และในระหว่างกรรมวิธีการผลิต จะต้องระมัดระวังการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ให้น้อยที่สุด เพราะหากมีจุลินทรีย์ปนเปื้อนมาก ทำให้อาหารเกิดการเน่าเสียมาก่อน การใส่สารกันบูดก็ไม่เกิดผลดีแต่อย่างใด

มาดูอันตรายจากสารกันบูดกันบ้างนะคะ หากในแต่ละวัน เราได้รับสารกันบูดในปริมาณน้อย ร่างกายจะสามารถกำจัดออกทางปัสสาวะได้ตามปกติ แต่หากได้รับในปริมาณมากทุกวัน ตับและไตจะต้องทำงานหนักขึ้น และหากกำจัดออกไปไม่หมด ก็จะเกิดการสะสมในร่างกาย ซึ่งจะทำให้ประสิทธิภาพของตับและไตในการกำจัดสารเคมีเหล่านี้ลดลง และอาจทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยต่อตับและไตได้

สารกันบูดในกลุ่มกรดและเกลือของกรดบางชนิด รวมทั้งพาราเบน ถือว่ามีความเป็นพิษต่ำ และสามารถขับออกจากร่างกายได้ แต่ก็มีข้อควรระวัง เช่น เกลือเบนโซเอต โดยทั่วไปแล้วจะค่อนข้างปลอดภัย แต่ก็พบว่าทำให้เกิดอาการแพ้ได้ โดยเฉพาะคนที่เป็นโรคภูมิแพ้ สารกันบูดในกลุ่มซัลไฟต์ แม้จะถูกขับออกจากร่างกายได้ แต่หากได้รับในปริมาณมากเกินไป สารดังกล่าวจะไปลดการใช้โปรตีนและไขมันในร่างกาย นอกจากนี้ยังทำลายไธอามีนหรือวิตามินบี 1 ในอาหารด้วย ส่วนสารกันบูดในกลุ่มไนไตรท์ เช่น ดินประสิว ซึ่งนิยมนำมาใช้กับอาหารประเภทเนื้อสัตว์ หากใช้เกินกว่าที่กำหนด จะทำให้ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน วิงเวียนศีรษะ นอกจากนี้ยังมีการศึกษาซึ่งมีข้อบ่งชี้ว่า การได้รับไนไตรท์ในปริมาณมากๆ จะเป็นสาเหตุให้เกิดโรคมะเร็งได้อีกด้วยล่ะค่ะ

ข้อแนะนำสำหรับผู้บริโภคเพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายจากสารกันบูด มีดังนี้...

  • ก่อนซื้ออาหารสำเร็จรูป ควรอ่านฉลากอาหารและเลือกอาหารที่ระบุว่าไม่ใส่สารกันบูดหรือวัตถุกันเสีย
  • หากฉลากนั้นไม่ได้ระบุชัดเจนว่าใช้สารกันบูดหรือไม่ ก็ควรหลีกเลี่ยง หรือบริโภคให้น้อยที่สุด
  • หลีกเลี่ยงการซื้ออาหารที่ขายไม่หมดวันต่อวัน
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่จะใส่สารกันบูด เช่น แหนม หมูยอ กุนเชียง เนื้อเค็ม และน้ำพริกชนิดต่างๆ เป็นต้น
  • มีการศึกษาพบว่า การลวกหมูยอในน้ำเดือดก่อนนำมารับประทาน จะช่วยลดปริมาณสารกันบูดลงได้ ซึ่งน่าจะได้ผลเช่นเดียวกันในผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์อื่นๆ

โดยสรุปก็คือ การใช้สารกันบูดตามปริมาณที่กำหนดจะไม่เกิดอันตรายต่อผู้บริโภค อย่างไรก็ตาม อาจมีผู้ผลิตบางรายที่ละเมิดกฎหมาย ดังนั้นเพื่อความปลอดภัย การหลีกเลี่ยงอาหารที่สุ่มเสี่ยงต่อการใส่สารกันบูดหรือบริโภคแต่น้อย น่าจะดีต่อสุขภาพที่สุดนะคะ.

"PrincessFangy"
twitter.com/PrincessFangy





Create Date : 25 พฤษภาคม 2556
Last Update : 25 พฤษภาคม 2556 11:45:14 น. 0 comments
Counter : 1073 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

kanyong1
Location :
นนทบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 96 คน [?]




เป็นคุณแม่ลูกสอง วัย42ปี สนใจการทำอาหาร และการท่องเที่ยวค่ะ ยินดีต้อนรับทุกคนที่เข้ามาเยี่ยมบล็อคนะคะ หรือสามารถติดตามการทำอาหารได้ที่เฟสบุค Kannika Roddee

******************************
******************************

ไม่ต้องบินให้สูงอย่างใครเขา…

จงบินเอาเท่าที่เราจะบินไหว

ท่าที่บินไม่จำเป็นต้องเหมือนใคร

แค่บินไปให้ถึงฝัน เท่านั้นพอ

ทำเท่าที่เราจะทำได้ และทำให้ดีที่สุด สักวันหนึ่ง ฝันของเราจะเป็นจริง :)

*****************************
*****************************
: จำนวนคนที่กำลังออนไลน์
online
Blackjack Online
free counters
New Comments
Friends' blogs
[Add kanyong1's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friends


 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.