บล๊อครวมๆ = ="

4 ขั้นตอนการทำ IVF (In-vitro Fertilization) ที่ท่านอาจไม่เคยรู้มาก่อน

IVF
การทำ
IVF (In-vitro Fertilization) หรือ เด็กหลอดแก้ว คือวิธีการที่ช่วยให้คู่ที่ไม่สามารถมีบุตรได้เองตามธรรมชาติ สามารถมีบุตรได้ ด้วยเทคโนโลยีการปฏิสนธิภายนอกร่างกาย วิธีนี้แพทย์จะนำไข่ของฝ่ายหญิงและอสุจิที่แข็งแรงของฝ่ายชายมาผสมกันให้การเกิดการปฏิสนธิในห้องปฏิบัติการ เมื่อไข่กับอสุจิผสมกันจนกลายเป็น “ตัวอ่อน” ในระยะที่เหมาะสมแล้ว ก็จะย้ายตัวอ่อนดังกล่าวกลับเข้าสู่โพรงมดลูกของฝ่ายหญิง เพื่อให้เกิดการตั้งครรภ์ต่อไป

การทำ IVF (เด็กหลอดแก้ว) มีขั้นตอนอย่างไร?

  1. การกระตุ้นไข่

ในขั้นตอนแรก แพทย์จะกระตุ้นไข่ในรังไข่ของฝ่ายหญิงให้โตก่อนด้วยการฉีดยาตั้งแต่วันที่ 2 หรือ 3 ของรอบเดือน ในบางรายที่มีไข่ค่อนข้างน้อย แพทย์อาจพิจารณาใช้ยากินคู่กับการฉีดยา โดยก่อนการกระตุ้นไข่ฝ่ายหญิงจะมีการตรวจเลือด (วัดระดับฮอร์โมน) และอัลตราซาวด์ทางช่องคลอด (เพื่อวัดจำนวนไข่) หากอยู่ในเกณฑ์ดีก็จะเริ่มฉีดยากระตุ้นวันละ 1 ครั้ง จะใช้ยาตัวใด ขึ้นอยู่กับระดับฮอร์โมน, จำนวนไข่, และประวัติการรักษาเดิม (หากมี) เมื่อฉีดครบ 4-5 วัน แพทย์จะนัดให้มาตรวจซ้ำ ปรับยาตามการตอบสนอง และฉีดยาต่อจนฟองไข่โตถึง 18-20 มิลลิเมตร (รวมระยะเวลาฉีดยาโดยประมาณ 8-12 วัน) จึงฉีดยากระตุ้นให้ไข่ตก (ยา Trigger) เพื่อเริ่มกระบวนการเก็บไข่

  1. การเก็บไข่และอสุจิ

36 ชั่วโมง หลังฉีดยากระตุ้นให้ไข่ตก แพทย์จะทำการเก็บไข่ด้วยการเจาะและใช้เข็มดูดผ่านทางช่องคลอด ในขั้นตอนนี้ ฝ่ายหญิงไม่ต้องกังวลว่าจะเจ็บเพราะมีการวางยาสลบและใช้เวลาเก็บประมาณ 15-20 นาที

เมื่อได้ไข่มาเรียบร้อย ฝ่ายชายจะเก็บอสุจิลงภาชนะที่เตรียมให้และจะคัดแยกเฉพาะอสุจิที่แข็งแรงและสมบูรณ์มาผสมกับไข่ในห้องทดลอง

ก่อนถึงกระบวนการปฏิสนธิ จะมีการตรวจสอบความสมบูรณ์แข็งแรงของอสุจิก่อน อสุจิที่เหมาะสมจะต้องอยู่ในเกณฑ์ปกติ(ทั้งจำนวนความเข้มข้น %ตัววิ่ง และ%รูปร่างของอสุจิที่ปกติ) ถึงจะเหมาะกับการปฏิสนธิด้วยวิธี IVF เพราะต้องอาศัยความสามารถของอสุจิในการมุดผ่านเซลล์รอบ ๆ ไข่ และเมื่อไปถึงไข่ก็ต้องเก่งพอที่จะเจาะผนังของไข่ เพื่อเข้าไปผสมกับไข่ได้

หากพบว่าคุณภาพของอสุจิต่ำกว่ามาตรฐานมากและเสี่ยงที่ไข่จะไม่ได้รับการผสม แพทย์จะพิจารณาใช้อีกหนึ่งวิธีการปฏิสนธินอกร่างกาย คือ ICSI (Intracytoplasmic Sperm Injection, อิ๊กซี่) แทน โดยนักวิทยาศาสตร์จะคัดเลือกอสุจิที่แข็งแรงที่สุดฉีดเข้าไปในไข่ด้วยเข็มขนาดเล็ก เพื่อช่วยให้อสุจิและไข่เกิดการปฏิสนธิได้มากขึ้น แทนการปล่อยให้ผสมกันเองแบบ IVF

เทคนิคการปฏิสนธิภายนอกแบบ ICSI มักใช้เวลามากกว่าแบบ IVF เพราะต้องยิงไข่ทีละใบ และนักวิทยาศาสตร์ผู้ทำ ICSI ต้องมีความเชี่ยวชาญ เพราะตอนทำ ICSI  อาจทำให้ไข่แตกหรือสร้างความเสียหายให้กับไข่และอสุจิได้

  1. การเลี้ยงตัวอ่อน

เมื่อไข่กับอสุจิเกิดการปฏิสนธิจนเป็น “ตัวอ่อน” แล้ว ตัวอ่อนจะถูกเลี้ยงต่อในห้องปฏิบัติการ เป้าหมายสำคัญในขั้นตอนนี้ คือ การติดตามพัฒนาการของตัวอ่อนให้สามารถแบ่งตัวได้เหมาะสม จนถึงระยะบลาสโตซีสต์ (blastocyst stage) (ใช้เวลาประมาณ 5-6 วันหลังปฏิสนธิ) ตัวอ่อนที่สามารถแบ่งตัวจนถึงระยะบลาสโตซีสต์ ได้นับเป็นตัวอ่อนที่เก่งและเหมาะสมสำหรับการถูกย้ายกลับสู่โพรงมดลูกของฝ่ายหญิง

  1. การย้ายตัวอ่อน

เมื่อมดลูกของฝ่ายหญิงพร้อมต่อการย้ายตัวอ่อนกลับ แพทย์ก็จะทำการย้ายตัวอ่อนระยะบลาสโตซิสต์ กลับเข้าสู่โพรงมดลูกของฝ่ายหญิง ตัวอ่อนที่ดีจะแทรกตัวเข้าสู่โพรงมดลูก และเกิดการตั้งครรภ์ขึ้นตามมา

หากต้องการคำปรึกษาเกี่ยวกับการมีบุตรยาก เด็กหลอดแก้ว, Egg Freezing, เก็บไข่, IUI, ICSI, IVF และท่านสามารถปรึกษาได้ที่ซูพีเรีย เอ.อาร์.ที.

ซูพีเรีย เอ.อาร์.ที. ก่อตั้งขึ้นในปีพ.ศ. 2550 โดยการร่วมมือระหว่างแพทย์ผู้ชำนาญการด้านเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์การเก็บไข่, แช่แข็งไข่, ฝากไข่ และเด็กหลอดแก้วในประเทศไทยและประเทศออสเตรเลีย ซูพีเรีย เอ.อาร์.ที. เป็นคลินิกรักษาผู้มีบุตรยากและวินิจฉัยพันธุกรรมตัวอ่อนที่เพียบพร้อมด้วยแพทย์เฉพาะทางที่มีประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญ และทีมนักวิทยาศาสตร์ที่ชำนาญเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ (Assisted Reproduction Technology – A.R.T.)  พวกเรามีความมุ่งมั่นจะสานทุกความฝันในการมีบุตรของทุกครอบครัวให้สมบูรณ์




 

Create Date : 30 กันยายน 2564
0 comments
Last Update : 30 กันยายน 2564 23:57:59 น.
Counter : 457 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


GunnerMania
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Group Blog
 
<<
กันยายน 2564
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
 
30 กันยายน 2564
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add GunnerMania's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.