สาระน่ารู้เกี่ยวกับ แอร์บ้าน และระบบไฟฟ้าในบ้าน
Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2558
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
 
18 กุมภาพันธ์ 2558
 
All Blogs
 
MCB เบรกเกอร์สำหรับระบบไฟฟ้าในบ้าน


ตู้ควบคุมระบบไฟฟ้า ที่นิยมใช้งานในปัจจุบันสำหรับบ้านพักอาศัยทั่วไปนั้น อุปกรณ์หลักๆที่รวมอยู่ในตู้ควบคุมประเภทนี้ จะเป็นอะไรไปไม่ได้ ถ้าไม่ใช่เบรกเกอร์ (Circuit Breaker) 

ซึ่งอุปกรณ์ไฟฟ้าในตระกูลเบรกเกอร์ ก็มีอยู่ด้วยกันมากมายหลายแบบ แต่มีเพียงแบบเดียวเท่านั้นที่จะนำมาใช้กับตู้ควบคุมประเภทนี้ ซึ่งนั่นก็คือเบรกเกอร์ที่มีชื่อว่า MCB



MCB (Miniature Circuit Breaker) “มินิเอเจอร์ เซอร์กิต เบรกเกอร์”  เป็นอุปกรณ์ในกลุ่มของสวิทช์ สำหรับ ตัด/ต่อ วงจรไฟฟ้า และยังมีความสามารถในการปลดวงจรไฟฟ้าได้เองอัตโนมัติ เมื่อเกิดกรณี ไฟฟ้าลัดวงจร (Short Circuit) หรือ การใช้กระแสไฟฟ้าเกินพิกัด (Over Load)





MCB ที่จำหน่ายในท้องตลาดนั้น มีผลิตออกมาวางจำหน่ายทั้งแบบ 1, 2, 3, และ 4 ขั้ว (Pole) โดยพื้นฐานแล้วเบรกเกอร์ MCB จะถูกผลิตขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการติดตั้งรวมกับชุดตู้ควบคุมระบบไฟฟ้า อย่างเช่นตู้สวิทช์บอร์ด (Switch Board), ตู้คอนซูมเมอร์ยูนิต (Consumer Unit) และ ตู้โหลดเซ็นเตอร์ (Load Center) เป็นต้น




สำหรับระบบไฟฟ้า 1 เฟส ที่ใช้กันในบ้านทั่วๆไปนั้น จะใช้เบรกเกอร์ MCB แบบ 2 Pole เป็นเมนเบรกเกอร์

และใช้ 1 Pole สำหรับเป็นเบรกเกอร์ย่อย ในส่วนของ 3 Pole กับ 4 Pole จะใช้เป็นเบรกเกอร์ย่อย สำหรับระบบไฟฟ้า 3 เฟส

เบรกเกอร์ MCB แบบ 2 Pole ที่จะนำมาใช้เป็นเมนเบรกเกอร์ ในกรณีของระบบไฟฟ้าภายในบ้านพักอาศัยทั่วไป มาตรฐานได้กำหนด ค่า IC ของเมนเบรกเกอร์ ต้องไม่ต่ำกว่า 10 kA ซึ่งค่าดังกล่าว คือค่าพิกัดการทนกระแสลัดวงจรสูงสุดของตัวเบรกเกอร์


มาตรฐานของอุปกรณ์

สำหรับแผงควบคุมระบบไฟฟ้าแบบสำเร็จรูป ไม่ว่าจะเป็นกรณีของ Consumer Unit หรือ Load Center ที่วางจำหน่ายกันในท้องตลาดของบ้านเรา มีอยู่ด้วยกันสองรูปแบบ แบ่งตามลักษณะรูปแบบของเบรกเกอร์ MCB ที่จะใช้งาน ซึ่งอ้างอิงโดยใช้มาตรฐานที่แตกต่างกัน ได้แก่



- มาตรฐานสหรัฐอเมริกา เป็นแบบที่ติดตั้งด้วยระบบ Plug-On ซึ่งตัวของเบรกเกอร์ที่ติดตั้งเข้าไปบนรางแบบนี้ จะถูกเชื่อมต่อเข้ากับบัสบาร์ที่เป็นทางเดินของกระแสไฟฟ้าทันที ที่มีจำหน่ายกันอยู่ในท้องตลาดบ้านเรา มีหลายยี่ห้อและหลายรุ่น ยกตัวอย่างเช่นของ Square D (Schneider), Bticino, Safe T Cut, Panasonic และอื่นๆ


โดยข้อดีของเบรกเกอร์มาตรฐานสหรัฐอเมริกา อยู่ตรงที่การเชื่อมต่อวงจรจะใช้การเสียบตัวเบรกเกอร์เข้ากับรางรองรับที่ติดตั้งไว้ในตู้ ซึ่งรูปแบบนี้เรียกว่าระบบ Plug-On ช่วยให้การติดตั้งทำได้ง่ายและสะดวก เพราะเพียงแค่เสียบเข้าไปในช่องที่ทำขึ้นมารองรับ ก็จะเป็นการเชื่อมต่อด้านไฟเข้าของเบรกเกอร์ เข้ากับส่วนของตัวนำไฟฟ้าที่อยู่ในรางทันที และทีเหลือก็แค่ขันสกรูเพื่อต่อสายออกไปใช้งาน แต่ข้อเสียของมันคือ มีข้อจำกัดในการจัดแยกวงจรไฟฟ้า หากต้องทำการจัดโดยให้อยู่ในรูปแบบที่นอกเหนือไปจากที่ออกแบบมา ทำให้ไม่สามารถแยกวงจรแบบที่ต่างไปจากเดิมได้



- มาตรฐานกลุ่มประเทศยุโรป เป็นเบรกเกอร์ที่ติดตั้งเข้ากับราง DIN ยกตัวอย่างเช่นของ Siemens, ABB, Schneider, Bticino, Safe T Cut, Panasonic, Moeller, Merlin Gerin, F&G และยี่ห้ออื่นๆอีกหลายยี่ห้อ

โดยที่การติดตั้งเบรกเกอร์แบบนี้ จะต้องต่อสายเข้าเองทั้งด้านเข้าและออก ซึ่งอาจจะทำให้การติดตั้งยุ่งยากกว่าแบบ Plug-On ของอเมริกา และอาจจะมีปัญหาในกรณีที่ต่อพ่วงสายหลายๆเส้น หากการติดตั้งทำได้ไม่ดี มีการเข้าสายที่ไม่แน่น ก็อาจจะเกิดความร้อนสะสมเกิดขึ้นตามมา เมื่อใช้กระแสไฟฟ้าสูงๆ แต่เบรกเกอร์มาตรฐานยุโรป มันก็มีข้อดีตรงที่ให้อิสระในการกำหนดวงจรมากกว่า สามารถจะต่อวงจรในรูปแบบที่ต่างไปจากเดิมได้ ตามที่ต้องการ




สำหรับในบ้านเรา ตู้ควบคุมระบบไฟฟ้าแบบสำเร็จรูปในกลุ่มของตู้ Consumer Unit ที่ใช้กันภายในบ้านพักอาศัยทั่วไป ส่วนใหญ่จะนิยมติดตั้งตู้ Consumer Unit ระบบ Plug-On มาตรฐานสหรัฐอเมริกา ยี่ห้อ Square D หรือในชื่อใหม่คือ Schneider Electric

ซึ่งอุปกรณ์ควบคุมระบบไฟฟ้ายี่ห้อนี้ มีต้นกำเนิดมาจากสหรัฐอเมริกา และเป็นที่นิยมในประเทศไทยมาตั้งแต่อดีต ในบ้านเรานั้นถือได้ว่ามีประวัติความเป็นมาที่ยาวนานหลายสิบปี ส่งผลให้เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ผู้คนในแวดวงไฟฟ้าต่างคุ้นเคยกันดี

และมันทำให้อุปกรณ์ควบคุมระบบไฟฟ้าของยี่ห้อนี้ สามารถหาซื้อได้ง่าย จากร้านอุปกรณ์ไฟฟ้าขายส่งขนาดใหญ่ในกรุงเทพฯ ไปจนถึงร้านอุปกรณ์ไฟฟ้าขนาดย่อมที่อยู่ตามต่างจังหวัด ทำให้มันมีความสะดวกในการซื้อหามาติดตั้ง ตลอดจนการซื้อหาอะไหล่ในภายหลัง

จะว่าไปแล้ว จากประสบการณ์และความเห็นส่วนตัวที่ผู้เขียน ได้ประเมินภาพรวมของสินค้ายี่ห้อนี้ ผู้เขียนให้สินค้าในกลุ่มของ Consumer Unit, Load Center รวมทั้งเบรกเกอร์เมนและเบรกเกอร์ของยี่ห้อนี้ อยู่ในระดับที่ดี แต่ก็ยังไม่ถึงกับดีที่สุด




Create Date : 18 กุมภาพันธ์ 2558
Last Update : 18 กุมภาพันธ์ 2558 21:00:04 น. 11 comments
Counter : 56959 Pageviews.

 
มิเตอร์5Aจะใช้เบรกเกอร์เมนกี่แอมป์


โดย: ood IP: 49.237.133.45 วันที่: 2 มีนาคม 2559 เวลา:21:17:30 น.  

 
ระบบplug on ช่างชอบง่าย ไว สะดวก ไม่มีฝีมือก็พอทำได้ แต่พอเจอ ระบบ din. ช่างที่ไม่เก่ง จะไม่ชอบ ยิ่งถ้าเสริมกันดูดเข้าไปอีก ช่างบางคนโง่รับประทานเลยค่ะ แล้วโทษว่าของไม่ดี โดยส่วนตัวชอบแบบรางเกาะ จะไวร์สายแยกจุดก็ได้ มีอีกเยอะที่ชอบระบบdin. ไม่ชอบปลั๊กออน. ช่างได้เงินง่ายเกินไป. ความคิดเห็นส่วนตัวค่ะ (ไม่มีความรู้เรื่องไฟหรอกค่ะ แค่ะความรู้สึกค่ะ)


โดย: นุจรินทร์ บรรทองทิพย์ IP: 58.10.52.214 วันที่: 10 กันยายน 2559 เวลา:17:38:04 น.  

 
กำลังฝึกหัดทำด้วยตนเอง อยากได้ของราคาถูกๆก่อนครับมีแหล่งขายที่ไหนครับ


โดย: สมาน IP: 182.53.111.3 วันที่: 6 ตุลาคม 2559 เวลา:21:42:29 น.  

 
เบรคเกอร์ยี่ห้อ MEM ขนาด 60 amp ซื้อได้ที่ไหนครับ


โดย: กีรติ IP: 182.52.139.56 วันที่: 19 พฤศจิกายน 2559 เวลา:15:22:30 น.  

 
ตอบ ความคิดเห็นที่_1
มิเตอร์ 5(15) ขนาดเมนเบรกเกอร์ที่เหมาะสมคือ 15,16 A ครับ


โดย: KanichiKoong วันที่: 23 พฤศจิกายน 2559 เวลา:16:15:41 น.  

 
ตอบ ความคิดเห็นที่_2

ผมก็เห็นด้วยกับที่คุณว่ามาครับ ถ้าเทียบกันแล้ว เบรกเกอร์ระบบราง DIN ต้องใช้ทักษะและฝีมือในการติดตั้งให้ออกมาสายงามประณีต ซึ่งคนทำต้องมีเทคนิคในการเข้าสายจัดสายเพื่อให้ได้งานที่ออกมาดีและสวยงาม และโดยส่วนตัวผมเองก็ชอบระบบนี้มากกว่า ชอบตรงที่มีความยืดหยุ่นในการออกแบบกำหนดวงจรมากกว่าระบบ Plug-on ซึ่งระบบ Plug-on มันง่ายก็จริงแต่มันเสียตรงที่ เขาจัดมาให้อย่างไรก็ต้องใช้ไปตามนั้นนั่นเอง


โดย: KanichiKoong วันที่: 23 พฤศจิกายน 2559 เวลา:16:23:15 น.  

 
ความคิดเห็นที่_4

เบรกเกอร์ยี่ห้อนี้ ถ้าตามร้านอุปกรณ์ไฟฟ้าทั่วๆไปไม่ค่อยมีของเข้ามาขายแล้วครับในปัจจุบัน ยิ่งตามต่างจังหวัดนี่อาจจะหายากไปใหญ่ ต้องลองหาตามแหล่งที่เป็นย่านร้านขายอุปกรณ์ไฟฟ้าใหญ่ๆในกรุงเทพดูครับ หรือไม่ก็ลองหาในเน็ตดู


โดย: KanichiKoong วันที่: 23 พฤศจิกายน 2559 เวลา:16:26:36 น.  

 
แบรนด์ SENSE ของคนไทย คุณภาพจัดอยู่ในระดับเดียวกันกับ Siemens, ABB, Schneider, Bticino, Safe T Cut ไหมครับ เห็นว่าตู้ Consumer มีแบบให้เลือกหลากหลายกว่าแทบจะทุกยี่ห้อ แต่กลับไม่เห็นมีเวปไหนพูดถึงกันบ้างเลย


โดย: ช่างติ IP: 182.255.9.56 วันที่: 4 มิถุนายน 2561 เวลา:15:55:06 น.  

 
ผมไปซื้อ ระบบ plug on จากจีนมา
ยี่ห้อ delixi

เป็นแบบ
ที่บ้าน ใช้แต่ rcbo ทั้งหมดเลย 10 ตัว
ราคาตัวละ 150 บาท
1P+N 20A
1P+N 25A
1P+N 32A

ตัวเมน ราคา 200 บาท
2P 40A
2P 63A

หาข้อมูลมา เห็นแต่ ราคา ระดับ 1000 บาทขึ้น แพงเกินไป




















โดย: มารวย IP: 49.229.249.37 วันที่: 5 พฤศจิกายน 2561 เวลา:17:51:48 น.  

 
มิเตอร์ ขนาด 5(15) amp

สายเมนในบ้าน ขนาด 6 ตรม มิน
เบรกเกอร์ เมน ไม่เกิน 16A
ใช้เกืนไม่ผ่าน


มิเตอร์ ขนาด 15(45) amp

สายเมนในบ้าน ขนาด 16 ตรม มิน
เบรกเกอร์ เมน ไม่เกิน 50A






โดย: มารวย IP: 49.229.249.37 วันที่: 5 พฤศจิกายน 2561 เวลา:18:07:27 น.  

 
การเข้าสายเมนจะยึดด้านบนหรือด้านล่างดีมีผลต่างกันหรือไม่


โดย: ณะ IP: 184.22.87.180 วันที่: 10 พฤษภาคม 2564 เวลา:20:32:10 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

KanichiKoong
Location :
สงขลา Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 275 คน [?]




ช่องทางการติดต่อผู้จัดทำ

- หลังไมค์
- E-mail : aum_tawatchai@hotmail.com
-------------------------------------
เนื้อหาที่ปรากฏ อนุญาติให้นำไปใช้เพื่อการศึกษา/หาความรู้ ซึ่งไม่เป็นการนำไปใช้ในเชิงธุรกิจ
-------------------------------------
New Comments
Friends' blogs
[Add KanichiKoong's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.