ผู้ฟังดีย่อมเกิดปัญญา
 
กุมภาพันธ์ 2553
 
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28 
2 กุมภาพันธ์ 2553

กลับมาีอีกครั้ง

จำได้ว่า เคยเขียนบล็อกธรรมะเอาไว้นี่นา นานมากๆแล้ว

วันนี้ขอกลับมาเขียนใหม่ เอาสิ่งที่ได้รับ ไม่เข้าใจบ้าง หายสงสัยบ้าง เอามาโพสดีกว่า จะได้กลับมาย้อนอ่านได้ เวลาไม่เข้าใจ

ตอนนี้ได้ฟัง cd ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปราโมชโช ทำให้เข้าใจอะไรได้ลึกซึ้งมากกว่าเดิมเหมือนเปิดไฟในห้องมืด ทดลองฟังมา 1 เดือนแล้ว แต่สงสัย และ สับสนมากมาย อยากรู้ว่า เราทำดีหรือไม่ดี ผิดหรือไม่ผิด

วันนี้ได้อ่านคอลัมน์ ธรรมะจากพระผู้รู้ของนิตยสาร ธรรมะใกล้ตัว ของคุณดัีงตฤณ ได้คำตอบที่สงสัยมานาน เรื่องภาวนา ว่าคืออะไร ขอมาโพสเก็บเอาไว้อ่านทบทวนเวลาหลงลืมและสงสัยว่า ภาวนาคืออะไร ดังนี้

//www.dharmamag.com/index.php?option=com_content&view=article&id=165&Itemid=38

ธรรมะเป็นของร่มเย็น ถ้าเราภาวนา เราก็ร่มเย็นเป็นสุขขึ้นมา
หลักการภาวนานั้นมีอันเดียว แต่รูปแบบหรือวิธีการนี่ มีนับไม่ถ้วน
หลักของการภาวนาจริงๆ มีไม่มากนะ
ให้มีสติรู้กาย รู้ใจ ตามความเป็นจริง หลักมีเท่านี้เอง
จะรู้กาย รู้ใจ ตามความเป็นจริงได้
ต้องรู้ด้วยจิตที่ตั้งมั่น และเป็นกลาง
จิตที่ตั้งมั่น และเป็นกลางคือ จิตที่มีสัมมาสมาธิ
ตั้งมั่น ไม่ไหลไป ไม่หลงไป
ไม่ลืมเนื้อลืมตัว จิตใจอยู่กับเนื้อกับตัว
มีสติระลึกรู้กาย มีสติระลึกรู้ใจไป ด้วยจิตที่ตั้งมั่น
ไม่ลืมตัว ไม่ไหลตามสิ่งที่จิตไปรู้ จิตตั้งมั่น
รู้แล้วรู้ด้วยความเป็นกลาง
ถ้าไม่เป็นกลาง ก็จะเข้าไปแทรกแซง
เช่นเห็นกิเลสเกิดขึ้น อยากละ อยากละ เรียกว่าไม่เป็นกลาง
เห็นกุศลเกิดขึ้น อยากรักษา อยากรักษา เรียกว่าไม่เป็นกลาง
เมื่อไหร่มีความอยากเกิดขึ้น เมื่อนั้นจะมีความดิ้นรนทางใจเกิดขึ้น
แทนที่จะหยุดดิ้นรน กลับดิ้นรนต่อไปอีก

วันนี้พอแค่นี้ก่อนนะ




 

Create Date : 02 กุมภาพันธ์ 2553
2 comments
Last Update : 2 กุมภาพันธ์ 2553 20:09:21 น.
Counter : 2422 Pageviews.

 

รู้คือรู้เฉยๆนะคะ รู้ว่าขณะหนึ่งขณะนั้นเป็นอย่างไร อย่าไปค้นหาสิ่งที่จะรู้เพราะนั่นเท่ากับเอาความคิดเข้าไปเกี่ยว มันก็ไม่เป็นกลางแล้ว

ธรรมชาติของจิตของทุกคนมีกิเลสเกาะค่ะ ตัดสินยากว่าเป็นกลางหรือไม่เป็นกลาง แต่ความเป็นกลางต้องเป็นการเข้าใจตัวเองอย่าแท้จริง เข้าใจดีชั่วอย่างแท้จริง ความเป็นกลางไม่ใช่การละทิ้งค่ะ

กรณีเห็นกิเลาเกิดแล้วอยากละนั่นเรียกว่าเป็นกลางค่ะ
กรณีกุศลเกิดแล้วอยากรักษานั่นก็เรียกว่าเป็นกลางค่ะ

สำคัญคือ รูให้แน่ว่าอะไรเป็นกิเลสและอะไรเป็นกุศลด้วยใจไม่มีอคติใดๆค่ะ

 

โดย: Chulapinan 3 กุมภาพันธ์ 2553 0:20:14 น.  

 

กรณีเห็นกิเลาเกิดแล้วอยากละนั่นเรียกว่าเป็นกลางค่ะ

-> ไม่เป็นกลางครับ เพราะจิตแฝงด้วยโทสะ (ไม่พอใจต่ออกุศลธรรมที่เกิดขึ้น) และมีโลภะเจตนา (อยากละอกุศลธรรมนั้นด้วยจิตที่มีโทสะ)

กรณีกุศลเกิดแล้วอยากรักษานั่นก็เรียกว่าเป็นกลางค่ะ

-> นี่ก็ไม่เป็นกลาง เพราะจิตแฝงด้วยราคะ (พอใจในกุศลธรรมที่เกิดขึ้น) และมีโลภะเจตนา (อยากรักษากุศลธรรมนั้นด้วยจิตที่มีราคะ)

อย่างไรเสียที่ผมว่ามานั้นไม่ใช่ว่าให้ตามใจกิเลสนะครับ แต่เมื่อสภาวะใดเกิดขึ้น แล้วสามารถรู้ทันได้ด้วยจิตที่เป็นกลางจริง จิตจะต้องเป็นกลางต่อทั้งกุศลและอกุศลอย่างเท่าเทียม ไม่แบ่งแยก เพราะเห็นสามัญลักษณะ (ไตรลักษณ์) ของธรรมทั้ง 2 ชนิดนั้น

กล่าวคือทั้งกุศลธรรมและอกุศลธรรมก็ไม่เที่ยง คงทนอยู่ไม่ได้ และไม่ใช่ตัวตน จิตจึงจะมีปัญญาในการละธรรมที่เป็นส่วนปรุงแต่งทั้งคู่ ไม่ใช่รักดีแต่เกลียดชั่ว หรือรักสุขแต่เกลียดทุกข์ แล้วกระเพื่อนหวั่นไหวในธรรมทั้ง 2 อยู่ร่ำไป เช่น พอจิตเป็นกุศลก็รีบระวังรักษา พอจิตเป็นอกุศลก็รีบกด ข่ม ละ วาง ให้หมดไป เป็นต้น

จิตที่ยังต้องดิ้นรนเพื่อรักษากุศล ผลักดันอกุศล ย่อมต้องวนเวียนอยู่กับการสร้างภพ (กรรมภพ=การทำงานดิ้นรนของจิต) ด้วยแรงของตัณหา (ความทะยานอยาก) อยู่เรื่อยๆ ไม่สามารถพ้นความปรุงแต่ง เพื่อเข้าถึงธรรมที่ไม่ปรุงแต่งได้เลย

ดังนั้นเมื่อจิตเป็นกลางด้วยปัญญาแล้วย่อมพิจารณาได้เองว่าสิ่งใดทำไปแล้วเป็นประโยชน์ (กุศล) สิ่งใดทำไปแล้วไม่เป็นประโยชน์ (อกุศล) เพราะจิตที่เข้ามาถึงปัญญาได้ต้องมีสมาธิ มีสมาธิได้ก็ต้องมีศีล มีศีลได้ก็ต้องมีอินทรียสังวรณ์ มีอินทรียสังวรณ์ได้ก็ต้องมีหิริโอตัปปะ มีหิริโอตัปปะได้ก็ต้องมีสติสัมปชัญญะ ซึ่งหมายความว่าจิตย่อมต้องมีความละอายต่อบาปอกุศลอยู่ในตัวเองด้วยครับ

 

โดย: 44SFA1 9 มีนาคม 2553 16:05:59 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


kaichan
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




ขอพื้นที่เล็กๆได้เก็บความรักและกำลังใจเอาไว้ตลอดไปค่ะ
[Add kaichan's blog to your web]