JyHorseman
Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2556
 
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
 
6 พฤศจิกายน 2556
 
All Blogs
 
2013m11d03: Basic Photographic Techniques by EyeContact - Attachment [เอกสารประกอบการบรรยาย]

==========================================
- 2013m10d22: Basic Photographic Techniques by EyeContact - Registration
- 2013m11d03: Basic Photographic Techniques by EyeContact - Attachment Training
- 2013m11d03: Basic Photographic Techniques by EyeContact - Classroom Training
==========================================


2013m11d03:
Basic Photographic Techniques by EyeContact
- Attachment [เอกสารประกอบการบรรยาย]

- by EyeContact [Jungle Man]

จากการเข้าร่วมฟังการบรรยายในครั้งนี้ ได้รับเอกสารและไฟล์ประกอบการบรรยายมา ซึ่งเป็นเนื้อหาสาระที่ดีมาก
... ควรที่จะเก็บรวมไว้ด้วยกันกับหัวข้อนี้ ...
ขอขอบคุณ Jungle Man และ คณะทำงาน ที่ได้ให้ข้อมูลความรู้ และความเอื้ออำนวย ตลอดจนความสะดวกต่างๆ โดยตลอดของกิจรรมนี้



BASIC PHOTOGRAPHIC TECHNIQUES

พื้นฐานการถ่ายภาพเบื้องต้น
ปัจจุบันการถ่ายภาพและช่างภาพเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วโดยในแต่ละปีจะมีภาพหลายสิบหรือหลายร้อนล้านภาพถูกบันทึกจากสถานที่ เหตุการณ์ และชีวิตประจำวันมากมาย ทว่าในทั้งหมดนั้นส่วนใหญ่จะเป็นการบันทึกเก็บไว้เพื่อความสุขส่วนตัว ซึ่งมีหลายคนต้องการให้ช่วงเวลานั้นเป็นเวลาแห่งความทรงจำ ความพิเศษ จึงสนใจในการศึกษาพื้นฐานของการถ่ายภาพ เพราะนั่นเป็นการยืนยันให้กับตัวเองได้ว่าจะมีภาพที่ดีเพียงพอกับไว้เป็นประวัติศาสตร์กับตัวเองและผู้ร่วมเวลาในขณะนั้น

จากกล้องฟิล์ม สู่กล้องดิจิตัล ปริมาณของการถ่ายภาพและช่างภาพ เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล ทว่าคนส่วนใหญ่ก็ไม่ได้มีการทำความเข้าใจถึงเบสิก หรือพื้นฐานในการถ่ายภาพอย่างช่างภาพรุ่นเก่า ๆ ที่ใช้ฟิล์มเป็นหลัก แต่คนรุ่นใหม่เน้นใช้โปรแกรมปรับแต่งภาพมากกว่าจะคิดถ่ายภาพให้ดีเสียอีก ดังนั้นในคราวนี้ขอนำเสนอเรื่องราวพื้นฐาน ที่จะนำคุณไปสู่การเป็นช่างภาพที่ดีในอนาคตและพึ่งพาโปรแกรมปรับแต่งภาพน้อยที่สุด (ไม่ได้ห้ามใช้โปรแกรมในการปรับแต่ง แต่อยากให้ปรับแต่งน้อยที่สุด ถ่ายภาพออกมาดีที่สุด) และการจะได้ภาพที่ดีนั้นย่อมมาจากพื้นฐานที่ดีในการถ่ายภาพ โดยเฉพาะเรื่องของการควบคุมกล้อง เลนส์ การใช้ค่า รูรับแรง สปีดชัตเตอร์ การวัดแสง การจัดองค์ประกอบภาพ แนวคิดเบื้องต้นในการถ่ายภาพ และการปรับภาพให้ดีขึ้นในโปรแกรม ซึ่งเราจะเริ่มต้นไปด้วยกันครับ

การวัดแสง
สำหรับการวัดแสงโดยปกติแล้วในกล้อง Dslr จะมีอยู่หลายแบบด้วยกัน

Nikon มี 3 แบบ คือ
1) 3D Matrix Metering แบบเฉลี่ยทั้งภาพ
กล้องวัดความสว่างของสิ่งที่จะถ่ายรวมกัน อาจมีบางส่วนมืด บางส่วนสว่าง แล้วนำค่าความสว่างทั้งหมดมาคำนวณรวมกัน เพื่อให้ได้ค่าที่กล้องคิดว่าดีที่สุด

2) Center-Weighted Metering แบบเฉลี่ยเน้นกลางภาพ
เน้นในส่วนกลางภาพประมาณ 75% เฉลี่ยส่วนรอบๆ อีกประมาณ 25% 


3) Spot Metering แบบเฉพาะจุด
จะวัดแสงเฉพาะในกรอบพื้นที่โฟกัสที่เลือกไว้ 100% โดยแทบไม่นำเอาพื้นที่รอบๆ มาเฉลี่ย

Canon นั้น มี 4 แบบ คือ
1) Evaluative metering
แบบเฉลี่ยทั้งภาพ เหมือนระบบ Matrix ของ Nikon กล้องวัดความสว่างของสิ่งที่จะถ่ายรวมกัน อาจมีบางส่วนมืด บางส่วนสว่าง แล้วนำค่าความสว่างทั้งหมดมาคำนวณรวมกัน เพื่อให้ได้ค่าที่กล้องคิดว่าดีที่สุด

2) Partial metering
แบบเฉลี่ยเฉพาะส่วน (ประมาณ 9% ของจุดศูนย์กลางช่องมองภาพ)

3) Spot metering
แบบเฉพาะจุด (ประมาณ 4% ของจุดศูนย์กลางช่องมองภาพ)

4) Center-weighted average metering
แบบเฉลี่ยน้ำหนักกลางภาพ



เมื่อทราบถึงความสำคัญของระบบวัดแสงแล้ว และสัญลักษณ์ต่างๆ แล้วคราวนี้เรามาดูกันว่าการถ่ายภาพให้ดี ต้องทำอย่างไร หัวใจหลักของผมนั้น คำนึงถึงสิ่งต่าง ๆ ที่เรียกว่า Simple is the Best หรือ เน้นความเรียบง่าย แต่มีพลังในการดึงดูดผู้ชม ซึ่งเมื่อประกอบกับเนื้อหาแล้วจะส่งเสริมกันและกัน หลายตำราอาจจะบอกถึงสิ่งเหล่านี้แตกต่างกันไป แต่ในงานสารคดี เน้นไปยังอารมณ์ของภาพ หรือฟิลลิ่งของภาพเป็นสำคัญ โดยมีอยู่ด้วยกัน 10 เรื่องราวที่ต้องคำนึงถึงเสมอในการถ่ายภาพ ได้แก่
1. Light
หรือ แสง
ซึ่งนับได้ว่าเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการถ่ายภาพ ตามหลักการของ Photography หรือการวาดภาพด้วยแสงนั่นเอง แต่ในที่นี้ผมจะเน้นไปในเรื่องราวของแสงสวย ๆ ทางแสง ช่วงเวลาของแสงสวย ๆ เป็นหลัก ซึ่งส่วนใหญ่ก็คือ เช้าและเย็น

2. Colour
สี สีสันของภาพทำให้คนสนใจภาพได้ง่ายขึ้น หากในภาพมีสีสวย ๆ หวาน ๆ หรือดุดัน ก็จะทำให้ภาพมีความน่าสนใจ

3. Shape
รูปทรง คล้าย ๆ กันในภาพเดียวกัน สร้างความน่าสนใจในภาพได้ไม่น้อยเลย และหากเจอแบบนี้ก็อย่าพลาดบันทึกภาพมา

4. Space
หรือ ที่ว่าง
ศิลปินกล่าวไว้ว่า ศิลปะ คือ ที่ว่าง ดังนั้นการถ่ายภาพที่ดีต้องมีที่ว่างเสมอ ในบางกลุ่มเน้นที่ว่างในภาพจนดูมีความสนใจ ภาพแนวนี้ต้องมีจุดเด่นเพียงสิ่งเดียว

5. Silence
ความสงบ
ภาพแนวนี้ถ่ายยากพอสมควร ต้องรู้ช่วงเวลา การถ่ายภาพ และได้รับความนิยมอย่างมาก สำหรับภาพที่ดูสงบ ๆ ทั้งยังสามารถนำไปใช้งานได้หลากหลายอีกด้วย

6. Harmony
หรือความกลมกลืน ภายในภาพ
ซึ่งภาพแบบนี้จะมีหลายสไตล์ หลายแบบให้ได้ถ่ายภาพ แต่จะให้ภาพมีความกลมกลืน หรือไม่มีสิ่งใดโดดเด่นจนเกินไป ทว่าทั้งภาพมีความกลมกลืนจนทำให้ภาพรวมดูดี

7. Fear
หรือ ภาพที่เน้นอารมณ์โหด ๆ
น่ากลัว ดูดุดัน ก็ควรจะต้องทำให้ภาพนั้นดูดุดันเช่นกัน

8. Restlessness
หรือความกระวนกระวาย
ภาพแบบนี้สร้างความสับสน ยุ่งเหยิง แต่ทำให้อารมณ์ของภาพดูรุนแรง สีตัดกันอย่างดุดัน

9. Relief
หรือ ภาพที่ดูแล้วมีความรู้สึกผ่อนคลาย
สบายๆ เหมือนมองภาพแล้วได้พักผ่อนชิลๆ

10. Respect
ภาพที่แสดงให้เห็นถึงความยิ่งใหญ่
ควรค่าแก่การเคารพ ต้องถ่ายให้ดูยิ่งใหญ่ มีมิติ และนิยมนำมาเป็นภาพใหญ่ในนิตยสารเสมอ

เมื่อได้ทุกอย่างมาพร้อมสรรพแล้ว การถ่ายภาพในแต่ละเรื่อง ก็จะกลมกลืนเรียงร้อยกันอย่างสวยงาม มีเอกภาพ โดดเด่น

การจัดองค์ประกอบภาพ
วีระศักดิ์ ปัญญาพรวิทยา เรื่อง

A great photograph is one that fully expresses what one feels,
in the deepest sense, about what is being photographed.

... Ansel Adams ...


There are always two people in every picture:
the photographer and the viewer.

... Ansel Adams ...


คำโปรยด้านบนที่กล่าวโดย แอนเซิล อดัม ช่างภาพที่เป็นตำนานอันยิ่งใหญ่ของโลก (//www.anseladams.com)
เมื่อแปลเป็นภาษาไทยพอได้ใจความว่า
ภาพถ่ายที่ยอดเยี่ยม คือ ภาพที่แสดงถึงความรู้สึกอันเต็มเปี่ยม (ของผู้ถ่ายภาพ)
แสดงอารมณ์จากก้นบึ้งเกี่ยวกับสิ่งที่ถูกถ่ายภาพมา และในภาพทุกภาพจะมีคนสองคนเสมอซึ่งก็คือ
ช่างภาพและผู้รับชมภาพ


จากสองประโยคที่มักถูกอ้างเอ่ยนี้

การที่จะได้ภาพที่มี “พลังภาพ” หรือ “มีอารมณ์แฝงที่มีพลังในภาพ” หรือ มีความเป็น “ศิลปะ” นั้นก็อาศัยปัจจัยหลายๆ อย่างประกอบเข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น ความรู้สึกนึกคิด จินตนาการ ความรู้และจิตทางด้านศิลป์ และ “ตัวตน” ของช่างภาพนั้น ช่างภาพแนวทิวทัศน์ ที่ดีที่สุดของโลกท่านหนึ่งชื่อ Charlie Waite (//www.charliewaite.com) เขียนถึงเรื่องการสัมผัสความเป็น “ตัวตนของสถานที่แห่งนั้น” กับการถ่ายภาพได้อย่างน่าสนใจในหนังสือชื่อ The making of landscape photographs มาถึงตรงนี้ขอให้ผู้อ่านนึกภาพสถานที่แห่งหนึ่ง สถานที่นั้นอาจจะเป็นทุ่งนาเวิ้งว้าง รวงข้าวชูช่อและปลิวโอนเอนด้วยสายลมแรง ในขณะที่ท้องฟ้าปกคลุมด้วยเมฆทะมึนดำ สถานที่นั้นๆ อาจจะเป็นมุมเล็กๆ แห่งหนึ่งของชายหาดที่มีโขดหินใหญ่เรียงตัวซ้อนกันแบบเรียบง่าย สถานที่นั้นๆ อาจจะเป็นที่แห่งหนึ่งในหมู่บ้านเล็กๆ ที่ไม่มีใครรู้จัก Charlie Waite กล่าวว่าการถ่ายภาพนั้นก็คือ การบันทึกความเป็น “ตัวตน” ของสถานที่นั้น หัวใจของการถ่ายภาพ คือ การเชื่อมโยงระหว่างสิ่งที่เห็นด้วยสายตากับจิตใจของช่างภาพเข้าด้วยกันและบันทึก “ตัวตน” ของสถานที่แห่งนั้นออกมาเป็นภาพถ่าย

การถ่ายภาพนั้นยังต้องอาศัย จังหวะ เวลา โอกาส ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับองค์ประกอบภาพ และประสบการณ์ การได้ถ่ายภาพบ่อยๆ การได้ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับการถ่ายภาพ และการหาข้อมูลเกี่ยวกับธรรมชาติจะเป็นส่วนเสริมที่สำคัญไปยังตัวผู้ถ่ายภาพที่จะทำให้การถ่ายภาพครั้งต่อๆไป ดีขึ้นเรื่อยๆ การถ่ายภาพนั้นในบางครั้งต้องรอคอย รอคอยเพื่อบันทึกแสงหรือบรรยากาศที่ต้องการ บางครั้งต้องตื่นแต่เช้ามืด บางครั้งก็ต้องไปเยือนในที่แห่งนั้นหลายๆ ครั้งเพื่อให้ได้ภาพที่ดีที่สุดที่เกิดจากการใช้แรงกาย แรงใจและการวาดมโนภาพในใจ (แปลมาจากคำว่า vision ตาม NECTEC’s Lexitron dictionary) เข้าด้วยกัน

ความยิ่งใหญ่อย่างหนึ่งของการถ่ายภาพ คือ การให้โอกาสที่จะบรรจุเรื่องราว ความคิดสร้างสรรค์ อารมณ์หรือ จินตนาการลงไปได้อย่างไม่มีข้อจำกัดของผู้ถ่ายภาพ ยกตัวอย่างง่ายๆว่าในเบื้องหน้าของผู้ถ่ายภาพ อาจจะมีอะไรมากมาย การบันทึกมาเป็นภาพถ่ายไม่จำเป็นเสมอไปว่าต้องบันทึกทั้งหมดที่เห็นด้วยตาขณะนั้น เพราะอาจจะทำให้ดูยุ่งเหยิงและขาดจุดสนใจ การถ่ายภาพตาม แก่นเรื่อง (theme) จะดูน่าสนใจและมีพลังมากกว่า เช่น บันทึกในส่วนที่อยากจะเล่าเรื่อง (เช่น ความลดหลั่นกันของทุ่งนาขั้นบันได) บันทึกในส่วนที่ต้องการแสดงอารมณ์ (เช่น อารมณ์เหงาๆ ที่สัมผัสได้จากทะเลเวิ้งว้างยามเย็น) หรือ บันทึกในส่วนสะท้อนองค์ประกอบทางศิลปะที่มีอยู่ในธรรมชาติ (เช่น แนวเส้นโค้งที่งดงามของอ่าวทะเล) แก่นเรื่อง ที่เด่นชัดเท่าใด ภาพก็จะมีพลังเด่นชัดเท่านั้น

ภาพที่ดีมาจากองค์ประกอบภาพที่ดีเฉกเดียวกับหนังที่ดีมาจากบทหนังที่ดี การจัดองค์ประกอบภาพจึงเป็นสิ่งที่สำคัญสิ่งหนึ่งของการถ่ายภาพ การเรียนรู้ในเรื่ององค์ประกอบภาพเป็นสิ่งที่น่าสนใจยิ่ง แม้ว่าจะไม่มีกฎตายตัวสำหรับการถ่ายภาพ แต่การเรียนรู้เรื่ององค์ประกอบภาพก็พอทำให้ได้แนวคิดเป็นทางเลือกว่า จะถ่ายภาพตามข้อแนะนำนั้น หรือ ไม่ถ่ายภาพตามข้อแนะนำหรือกฎนั้น ในบางครั้งการจัดองค์ประกอบภาพตามทฤษฎีองค์ประกอบภาพก็ให้ภาพที่ยอดเยี่ยม แต่บางครั้งการจัดองค์ประกอบภาพที่แตกต่างก็สร้างความน่าสนใจได้ยิ่งยวดโดยที่ทฤษฎีใดๆ ก็ไม่สามารถอธิบายได้

ปัญหาและวิธีการแก้ไข
การเดินทางไปถ่ายภาพในธรรมชาติ มักมีปัญหามากมายให้เราได้แก้ไขเสมอ และคนที่ยืนอยู่ได้นานที่สุด คือ คนที่แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า หรือคิดมุกใหม่ ๆ ในการทำงานได้ดีที่สุด หรือหลายคนอาจนำปัญหามาเป็นจุดเด่นของการทำงานเรื่องนั้นก็เป็นได้
1. สภาพอากาศ เราไม่อาจควบคุม แม้ว่าจะทำการบ้านมาเป็นอย่างดี
2. เราจะเผชิญหน้าอย่างไรเมื่อต้องรับมือ รอ คือ คำตอบที่ดีที่สุด แต่หากไม่มีเวลาต้องทำอย่างไรล่ะ
3. พลิกวิกฤติให้เป็นโอกาส ต้องทำอย่างไรบ้าง





Create Date : 06 พฤศจิกายน 2556
Last Update : 6 พฤศจิกายน 2556 11:31:47 น. 0 comments
Counter : 16033 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

yoadjarust
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




:Users Online
Jy Horseman
New Comments
Friends' blogs
[Add yoadjarust's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.