JyHorseman
Group Blog
 
 
มีนาคม 2557
 
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
24 มีนาคม 2557
 
All Blogs
 

2014mo03d09: Sri-Chang Island, In the Momories of King Rama V - Registrations

- 2014mo03d09: Sri-Chang Island, In the Momories of King Rama V - Registrations



2014m04d26-27_กิจกรรมเคลื่อนพลฤดูร้อน สีชัง
[Source: Facebook - ชมรมพิพิธสยามแฟนเพจ - Variety Siam Fan Club]



ชมรมพิพิธสยาม ได้จัดกิจกรรมเคลื่อนพลฤดูร้อน "สีชัง" พระราชฐานแห่งความทรงในพระพุทธเจ้าหลวง ในวันที่ ๒๖ - ๒๗ เมษายน ๒๕๕๗ พร้อมกับการเรียนรู้เรื่องราวและเหตุการณ์สำคัญต่างๆ ของเกาะสีชัง ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้สร้างพระราชฐานขึ้นสำหรับเป็นที่ประทับรักษาพระวรกายในพระเจ้าลูกเธอฯ หลายพระองค์ที่ทรงมีพระพลานามัยไม่สมบูรณ์ และมูลเหตุอื่นๆ ที่น่าสนใจอีกมากมาย ที่เกิดขึ้นบนเกาะสีชัง ทุกๆ พื้นที่บนเกาะแห่งนี้ ล้วนแล้วแต่มีความทรงจำในพระองค์ทั้งสิ้น สถานที่ใดบ้าง และมีเรื่องราวที่น่าสนใจที่สำคัญทางประวัติศาสตร์อย่างไรบ้าง มาเรียนรู้ร่วมกันในกิจกรรมครั้งนี้ ณ เกาะสีชัง อ.เกาะสีชัง จ.ชลบุรี เพื่อจะได้รู้จักและรักษ์เกาะสีชัง เกาะแห่งประวัติศาสตร์พระราชวงศ์


[Source: Facebook, Variety Siam]


[Source: Facebook, Variety Siam]


[Source: Facebook, Variety Siam]


[Source: Facebook, Variety Siam]

เปิดรับลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรมในวันที่ ๑๙ - ๒๐ มีนาคมนี้ ตั้งแต่เวลา ๐๙.๓๐ - ๑๗.๐๐ น.

ค่าลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรมท่านละ ๓,๓๕๐ บาท (อัตรานี้รวมค่ารถตู้เดินทางไป – กลับ กรุงเทพฯ – อ.ศรีราชา – กรุงเทพฯ ค่าเรือข้ามฟากไป – กลับ อ.ศรีราชา เกาะสีชัง อ.ศรีราชา รถสกายแลปในการเดินทางบนเกาะสีชัง อาหาร ๕ มื้อ ค่าที่พัก ๒ วัน ๑ คืน ค่าธรรมเนียมต่างๆ และค่าดำเนินการของชมรมฯ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว)

พร้อมรับเสื้อยืด T-Shirt เกาะสีชังที่สวยงามของกลุ่มสไมล์ทริปเป็นที่ระลึก


[Source: Facebook, Variety Siam]

กำหนดการกิจกรรม
วันเสาร์ที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๕๗

๐๖.๐๐ น. พบกัน ณ บริเวณจุดนัดพบ

๐๖.๓๐ น. ล้อหมุนออกเดินทาง

๐๘.๐๐ น. ถึงยังบริเวณท่าเรือเกาะลอยศรีราชา จัดเตรียมตรวจสอบความเรียบร้อยของสัมภาระเพื่อเตรียมตัวลงเรือข้ามฟากไปยังเกาะสีชัง

๐๘.๓๐ น. ออกเดินทางไปยังเกาะสีชัง

๐๙.๑๐ น. ถึงยังเกาะสีชัง เดินทางเข้าสู่ที่พัก พักผ่อนทำธุระส่วนตัว

๐๙.๔๕ น. ออกเดินทางไปยังเขาพระพุทธบาท บนไหล่คยาศิริหรือไหล่เขาจุลจอมเกล้า (เขาจุลจอมเกล้าเป็นจุดที่สูงที่สุดบนเกาะสีชัง) เพื่อสักการะรอยพระพุทธบาทที่กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้อัญเชิญมาจากพุทธคยา ประเทศอินเดีย ว่ากันว่ามีอายุกว่า หนึ่งพันปี ขอพรเพื่อความเป็นศิริมงคล พร้อมฟังประวัติความเป็นมาทีน่าสนใจ

๑๐.๔๐ น. ออกเดินทางสู่พระจุฑาธุชราชฐาน พระราชนิเวศอันยิ่งใหญ่ในอดีต ที่ประทับเพื่อรักษาพระวรกายในพระเจ้าลูกเธอฯ และเจ้านายชั้นสูงในอดีต เรียนรู้เรื่องราวสำคัญที่เกิดขึ้นในอดีตอันเกี่ยวข้องกับพระราชฐานแห่งนี้ และเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยต่างๆ ที่น่าสนใจ

๑๒.๐๐ น. พักรับประทานอาหารกลางวัน ณ หาดถ้ำพัง พักผ่อนตามอัธยาศัย

๑๓.๐๐ น. ออกเดินทางต่อมายังถ้ำจักรพงษ์ถ้ำเล็กๆ บนไหล่เขาที่มีรัชกาลที่ ๕ ทรงพระราชทานนาม ภายในถ้ำเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรูปปางไสยาสน์ นมัสการองค์พระเหลือง พระพุทธปางมารวิชัยที่ใหญ่ที่สุดบนเกาะเห็นเด่นชัดเมื่อเดินทางมายังเกาะสีชัง

๑๓.๔๕ น. ออกเดินทางต่อไปยังหลักศิลาจารึก ที่บอกเล่ามูลเหตุแห่งการสร้างเกาะสีชังเป็นที่ประทับแปรพระราชฐาน หลักฐานชิ้นสำคัญแห่งหนึ่งในรัชกาลที่ ๕ บนเกาะสีชัง

๑๕.๐๐ น. ออกเดินทางต่อไปยังวัดจุฑาทิศธรรมสภารามวรมหาวิหาร ที่รัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๔๓๕

๑๕.๓๐ น. ออกเดินทางต่อไปยังศาลเจ้าพ่อเขาใหญ่ศาลเจ้าอันเป็นที่เคารพของชาวเกาะสีชังและชาวไทยเชื้อสายจีน ขอพรพร้อมฟังเรื่องราวที่น่าสนใจ ชมทัศนียภาพของท่าเรือและอ่าวสีชังที่สวยงาม

๑๖.๓๐ น. เดินทางกลับสู่ที่พัก เตรียมพร้อมชมพระอาทิตย์ตก ณ บริเวณช่องเขาขาด (ช่องอิศริยาภรณ์)

๑๘.๐๐ น. ออกเดินทางไปยังร้านป้าหน่อยทะเลเผา เพื่อรับประทานอาหารเย็นร่วมกัน

๑๙.๓๐ น. เดินทางกลับสู่ที่พัก พักผ่อนตามอัธยาศัย

วันอาทิตย์ที่ ๒๗ เมษายน ๒๕๕๗
๐๖.๐๐ น. อรุณสวัสดิ์เกาะสีชัง /ทำธุระส่วนตัว

๐๖.๓๐ น. รับประทานอาหารเช้าร่วมกัน

๐๗.๓๐ น. ออกเดินทางไปยังท่ายายทิม ท้ายเกาะสีชัง ณ จุดนี้สามารถมองเห็นบริเวณอ่าวพัทยาได้อย่างชัดเจน

๐๘.๐๐ น. เข้าเยี่ยมชมสำนักสงฆ์ถ้ำพรเพ็ญ ร่วมกันตักบาตรถวายอาหารแห้ง และปัจจัยร่วมกัน

๐๘.๓๐ น. ออกเดินทางต่อไปยังวัดถ้ำยายปริก วัดเก่าแก่ที่ตั้งอยู่บนเนินเขามีเรื่องราวที่น่าสนใจมากมาย ไปรู้จักกับยายปริกที่จากคำบอกเล่าว่า ท่านเป็นพระนมของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ ๕

๐๙.๐๐ น. กลับสู่ที่พักเก็บสัมภาระเตรียมตัวออกเดินทาง

๐๙.๑๕ น. ถึงยังท่าเรือเทววงษ์เตรียมตัวออกเดินทางสู่อำเภอศรีราชา

๑๐.๓๐ น. ถึงยัง ฝั่ง อ.ศรีราชา เพื่อเข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์สมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี (ตึกพระพันวัสสา) ภายในโรงพยาบาลสมเด็จ ณ ศรีราชา ที่ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๔๕ ด้วยทุนทรัพย์ส่วนพระองค์ของสมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า เพื่อเป็นสาธารณประโยชน์แก่ชาวศรีราชาและประชาชนในท้องถิ่นใกล้เคียง

๑๑.๐๐ น. ถึงยังพิพิธภัณฑ์ฯ เข้าถวายสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์ จากนั้นเข้าเยี่ยมชมและเรียนรู้ร่วมกันภายในพิพิธภัณฑ์ฯ ชื่นชมในพระราชกรณียกิจ พระราชประวัติ และพระราชจริยวัตร อันงดงามในสมเด็จพระศรีสวรินทิราพระบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าฯ พร้อมประวัติความเป็นมาของโรงพยาบาลสมเด็จ ณ ศรีราชา สภากาชาดไทยร่วมกัน

๑๒.๐๐ น. มอบของที่ระลึกให้กับวิทยากร ถ่ายภาพหมู่ร่วมกันเป็นที่ระลึก

๑๒.๑๕ น. ออกเดินทางไปรับประทานอาหารกลางวันร่วมกัน

๑๒.๓๐ น. รับประทานอาหารกลางวันร่วมกัน

๑๓.๓๐ น.ออกเดินทางต่อไปยัง ตำหนักมหาราช และตำหนักราชินี ตำหนักที่มีเรื่องราวอันเกี่ยวข้องกับพระราชชายาเจ้าดารารัศมี และเรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวข้องกับพระราชชายาเจ้าดารารัศมีและมูลเหตุที่เกี่ยวข้องกับการแปรพระราชฐานมาประทับยังเมืองอ่างศิลา

๑๔.๐๐ น. เข้าเยี่ยมชมและเรียนรู้ร่วมกันภายในตำหนักราชินี และตำหนักมหาราช พร้อมสาระเรื่องราวเกี่ยวกับครกหินเมืองอ่างศิลาอันเป็นเอกลักษณ์ของเมืองอ่างศิลา

๑๕.๐๐ น. เยี่ยมชมตลาด ๑๓๓ ปี เมืองอ่างศิลาตามอัธยาศัย

๑๖.๐๐ น. ออกเดินทางกลับสู่กรุงเทพมหานคร

๑๘.๓๐ น. ถึงกรุงเทพฯ โดยสวัสดิภาพพร้อมความประทับใจแห่งการเรียนรู้ร่วมกัน





2014m03d19-20_พระเจดีย์อุโบสถ วัดอัษฏางคนิมิตร
[Source: Facebook - ชมรมพิพิธสยามแฟนเพจ - Variety Siam Fan Club]





2014m04d26-27_ตำหนักแดง หรือ ตำหนักราชินี เมืองอ่างศิลา
[Source: Facebook - ชมรมพิพิธสยามแฟนเพจ - Variety Siam Fan Club]



ดูข้อมูลที่ได้เขียนไว้ในเว็บต่างๆโดยทั่วไป เป็นที่น่าสนใจดี [Source Reference]
- เที่ยวรอบเกาะสีชัง วันที่ 1by Blog, I Love You More & More :
//www.bloggang.com/viewdiary.php?id=iloveyoumore&month=02-2010&date=10&group=5&gblog=9

- เที่ยวรอบเกาะสีชัง วันที่ 2 by Blog, I Love You More & More :
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=iloveyoumore&month=11-02-2010&group=5&gblog=10

- พิพิธภัณฑ์พระจุฑาธุชราชฐาน เกาะสีชัง :
//phrachudadhuj.com/index.htm

- เกาะสีชัง โดยสำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง :
//www.lib.ru.ac.th/journal2/?p=3601




... และจากเนื้อความบางส่วน


[Source: ประวัติศาสตร์เกาะสีชัง, //phrachudadhuj.com/retrospe.htm]

เกาะสีชัง
เกาะสีชังเป็นสถานที่ตากอากาศที่มีชื่อเสียงมานานนับร้อยปีในจังหวัดชลบุรี แต่หากจะพูดถึงเกาะ หลายคนก็คงจะนึกถึงบรรยากาศที่แสนโรแมนติกหาดทรายขาว ทะเลสวยใส มีรีสอร์ทหรือโรงแรมสุดหรูตั้งอยู่ ทว่าเกาะสีชังแห่งนี้ กลับมีบรรยากาศที่เงียบสงบ อากาศบริสุทธิ์ สถานที่ท่องเที่ยวที่งดงามวิถีชีวิตแบบชาวบ้าน และเกาะสีชังเหล่านี้ยังมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ เพราะเป็นสถานที่ประทับของพระเจ้าแผ่นดินถึง 3 พระองค์ คือ รัชกาลที่ 4 รัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6

เกาะสีชังเป็นเกาะใหญ่ตั้งอยู่กลางทะเล ตรงข้ามกับอำเภอศรีราชา ห่างจากชายฝั่ง 3 ไมล์ทะเล (ประมาณ 12 กิโลเมตร) เป็นอำเภอที่ 10 ของจังหวัด ชลบุรี ในอดีตเกาะสีชังเคยอยู่ขึ้นอยู่กับจังหวัดสมุทรปราการ ต่อมาได้โอนมาขึ้นอยู่กับอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี จนกระทั่งได้ยกฐานะเป็นกิ่งอำเภอ และอำเภอในปัจจุบัน มี 1 ตำบล คือตำบลท่าเทววงษ์ และ 7 หมู่บ้าน มีเกาะล้อมรอบเป็นบริวารอยู่ถึง 8 เกาะ คือ เกาะสัมปันยื้อ เกาะโปลง เกาะร้านดอกไม้ เกาะยายเท้า เกาะขามน้อย เกาะขามใหญ่ เกาะท้ายค้างคาว และเกาะตาหมื่น พื้นที่มีลักษณะเป็นโขดเขา และนอกจากนี้ยังเป็นสถานที่ประสูตรพระราชโอรส (เจ้าฟ้าจุฑาธุชฯ ในรัชกาลที่ 6) และสร้างพระราชวังจุฑาธุช ณ เกาะแห่งนี้อีกด้วย

ประวัติศาสตร์เกาะสีชัง

เกาะสีชังเป็นเกาะกลางทะเลที่มีประวัติความเป็นมายาวนาน ตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงสมัยรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ถือเป็นช่วงที่เกาะสีชังมีการพัฒนาที่เจริญที่สุดและเมื่อเกิดเหตุการณ์ ร.ศ. ๑๑๒ ทำให้การพัฒนาเกาะสีชังต้องหยุดชะงักลง การกล่าวถึงประวัติเกาะสีชังจึงขอกล่าวเป็นช่วงๆดังนี้

- นามเกาะสีชัง
- เกาะสีชังช่วงต้นรัตนโกสินทร์
- เกาะสีชังในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ( รัชกาลที่ ๔ )
- เกาะสีชังในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ( รัชกาลที่ ๕ )
- การเสด็จมาประทับรักษา ณ เกาะสีชังของพระราชวงศ์
- การสร้างพระจุฑาธุชราชฐาน ณ เกาะสีชัง
- จุดสิ้นสุดของพระจุฑาธุชราชฐาน
- การบูรณะพระจุฑาธุชราชฐาน
[Source: //phrachudadhuj.com/retrospe.htm]






[สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย, //phrachudadhuj.com/chudadhuj.htm]

สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย

สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย หรือทูลกระหม่อมติ๋ว อันเป็นพระนามที่เรียกในหมู่พระประยูรญาติและข้าราชบริพาร ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในรัชกาลที่ ๖ และรัชกาลที่ ๗ ประสูติเมื่อวันที่ ๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๓๕ ณ พระตำหนักมรกฎสุทธิ์ เกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี เมื่อเจริญพระชันษาได้เสด็จไปทรงศึกษา ณ ประเทศอังกฤษ นอกจากวิชาการหลักทรงได้ศึกษาวิชาการดนตรีและการละคร ที่ทรงโปรด นับเป็นชาวเอเชียพระองค์แรกที่มีความสามารถในการดีดพิณใหญ่ ๔๗ สาย ซึ่งเรียกว่า ฮาร์พ นอกจากนี้ยังมีความสามารถในการทรงเปียโนและไวโอลิน เมื่อสำเร็จการศึกษาทรงนำฮาร์พและเปียโนคู่หลังใหญ่กลับมาเมืองไทย ส่วนดนตรีไทย สามารถทรงระนาดและฆ้องวง

สำหรับวิชาการละครนั้น ทรงศึกษาวิธีการแสดง การจัดโรงละคร เครื่องแต่งกายให้เหมาะกับยุคสมัย การใช้ดนตรีประกอบการแสดง ตลอดจนการจัดฉากแสงและเสียง ทรงมีส่วนผลักดันให้เกิดหนังสือตำนานการฟ้อนรำขึ้น และทรงสนพระทัยในการแสดงละครดึกดำบรรพ์ จึงทรงนิพนธ์บทละครดึกดำบรรพ์ด้วยกัน ๓ เรื่องคือ สองกรวรวิก จันทกิรี และพระยศเกตุ

เกี่ยวกับด้านการช่างนั้น ทรงมีพื้นฐานมาแต่ทรงพระเยาว์ และทรงโปรดวิชาการแขนงนี้เป็นอย่างยิ่ง ทรงมีความรู้ทั้งทางด้านสถาปัตยกรรม การตกแต่งภายใน เฟอร์นิเจอร์ที่ทำด้วยไม้ ตลอดจนเครื่องประดับต่าง ๆ รวมทั้งวิชาการถ่ายภาพด้วย

เมื่อเสด็จกลับจากทรงศึกษาต่างประเทศ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานที่ดินก่อสร้างวังในบริเวณพระราชวังปทุมวัน ได้รับพระราชทานนามว่า “วังเพ็ชรบูรณ์” ทรงควบคุมดูแลการก่อสร้างอย่างใกล้ชิด โปรดให้สร้างตำหนักแรก คือ ตำหนักประถม ซึ่งเป็นตำหนักไม้สัก ๒ ชั้น ใต้ถุนสูง และตำหนัก รวมทั้งสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ อีกหลายรายการ เนื่องจากความสนพระทัยในการละครและดนตรีของไทย จึงโปรดให้ตั้งชื่อตำหนักและสถานที่ต่าง ๆ ตามชื่อเพลงไทยเดิมทั้งสิ้น อาทิ ตำหนักสันนิบาตน้อย เรือนกินนรรำ เรือนลมพัดชายเขา เป็นต้น

ด้านการทรงงาน ด้วยความมุ่งมั่นพระทัยที่จะทรงรับราชการเป็นพระอาจารย์ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สมเด็จฯ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก จึงทรงมีลายพระหัตถ์ไปยังเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) เพื่อให้นำความขึ้นกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และได้รับพระบรมราชานุญาตตามพระประสงค์ต่อมา ทรงเป็นสมเด็จเจ้าฟ้าอาจารย์พระองค์แรกของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและของประเทศไทย ทรงมีตำแหน่งเป็นศาสตราจารย์ ทรงสอนวิชาภาษาอังกฤษของคณะรัฐประศาสนศาสตร์ เริ่มทรงงานเมื่อวันที่ ๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๖๑



[สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย, //phrachudadhuj.com/chudadhuj2.htm]

โดยบรรดาคณาจารย์และนิสิตนักศึกษาพร้อมใจกันตั้งแถวรอรับเสด็จ และได้จัดงานเลี้ยงรับรองเฉลิมฉลองในวันที่ ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๖๑ จากนั้นทรงได้รับพระมหากรุณาธิคุณให้ทรงดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาโรงเรียนเพาะช่างอีกตำแหน่งหนึ่ง ตั้งแต่วันที่ ๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๖๒ ทรงนำวิชาการที่ได้ทรงศึกษา ณ ต่างประเทศกลับมาพัฒนากิจการของโรงเรียนเพาะช่างให้มีความเจริญรุ่งเรืองยิ่งขึ้นดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน พร้อมกันนี้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระองค์ทรงดำรงตำแหน่งกรรมการพิเศษโรงเรียนมหาดเล็กหลวง (ปัจจุบันคือวชิราวุธวิทยาลัย) เมื่อวันที่ ๑๕ มกราคม พ.ศ. ๒๔๖๓ ด้วย

สมเด็จฯ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก ทรงอภิเษกกับหม่อมเจ้าหญิงบุญจิราธร ชุมพล พระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชุมพลสมโภช กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์และหม่อมบุญยืน ในวันศุกร์ที่ ๒๔ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๖๕ ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม ก่อนที่จะทรงอภิเษกกับหม่อมเจ้าหญิงบุญจิราธร ชุมพล พระองค์ทรงมีหม่อมแล้ว ๒ ท่าน คือ หม่อมลออ ศิริสัมพันธ์ ซึ่งเป็นธิดาพระนมอิน ศิริสัมพันธ์ และหม่อมระวี ไกยานนท์ ซึ่งทรงพบครั้งแรกที่วังสวนกุหลาบ เพราะท่านเป็นคณะละครของวังสวนกุหลาบ สมเด็จฯ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก ทรงมีพระโอรสและพระธิดา๒ พระองค์ คือ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุทธสิริโสภา หม่อมลออเป็นหม่อมมารดา และพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรานนท์ธวัช

สมเด็จฯ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก เริ่มมีอาการประชวรตั้งแต่เดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๖๖ เรื่อยมา ด้วยพระโรคบิดเรื้อรัง และพระโรคพระวักกะ (ไต) พิการ คณะแพทย์ได้ถวายการดูแลพระองค์อย่างใกล้ชิด ในวันที่ ๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๖๖ เวลา ๒๐.๑๘ น. สมเด็จฯ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย สิ้นพระชนม์ด้วยพระอาการอันสงบท่ามกลางความโศกเศร้า รวมพระชนมายุ ๓๑ พรรษา
[Source: //phrachudadhuj.com/chudadhuj.htm, //phrachudadhuj.com/chudadhuj2.htm]

สำหรับอีกข้อมูลหนึ่ง จาก Variety Siam


[Source: Facebook-Nubthong Atiruj Variety Siam]
[Link: https://www.facebook.com/photo.php?fbid=386624504771801&set=a.296308320470087.52164.227233897377530&type=1&relevant_count=1]

เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย

เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก
เจ้าฟ้าพระองค์นี้เองที่ประสูติ ณ พระตำหนักมรกฏสุทธิ์ ภายในเขตพระราชฐานบนเกาะสีชัง อันเป็นเหตุต่อมาให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ พระราชทานนามเขตพระราชฐานบนเกาะสีชังแห่งนี้ว่า "พระจุฑาธุชราชฐาน" ตามพระนามของสมเด็จเจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก

เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ประสูติแต่สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงในรัชกาลที่ ๖ เมื่อทรงพระเยาว์เจ้าฟ้าจุฑาธุชทรงพระนามว่า "ทูลกระหม่อมติ๋ว"

๐ ในวังแก้ว ๐
เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย

พระประวัติ
เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย
พระราชโอรสองค์ที่ ๗๒ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
และองค์ที่ ๙ ใน สมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ

ประสูติเมื่อวันอังคารที่ ๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๓๕
ณ พระตำหนักมรกฎสุทธิ์ เกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี

โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานนามเขตพระราชฐานว่า "พระจุฑาธุชราชฐาน" ตามพระนาม "สมเด็จเจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก" ซึ่งประสูติ ณ ที่แห่งนั้น เมื่อทรงพระเยาว์ทรงพระนามว่า "ทูลกระหม่อมติ๋ว"

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าฯกรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัยทรงเดินทางไปศึกษาต่อที่ประเทศอังกฤษ พร้อมกับเจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธและเจ้าฟ้ามหิดลอดุยเดช เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๘ ทรงศึกษาใน Magdelen College มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ กลับมารับราชการเป็นอาจารย์ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทรงสอนวิชาภาษาอังกฤษที่คณะรัฐฏประศาสนศาสตร์ เมื่อวันที่ ๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๖๑ และทรงเป็นผู้บัญชาการโรงเรียนเพาะช่าง เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๑
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก มีพระทัยใฝ่งานศิลปะ โปรดการทรงแกรนด์เปียโน ฮาร์พ และไวโอลิน โปรดศิลปะการละคร ได้ทรงพระนิพนธ์บทละครดึกดำบรรพ์

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้า ฯ พระราชทานที่ดินบริเวณที่เป็นพระราชวังปทุมวันเดิม แก่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย ทรงสร้างวังเพชรบูรณ์เป็นที่ประทับ ซึ่งต่อมาถูกทุบทิ้งสร้างเป็นศูนย์การค้าเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๕ ปัจจุบันคือ เซ็นทรัลเวิลด์ ส่วนพระตำหนักเดิมถูกย้ายมาอยู่ที่ซอยอัคนี (ซอยงามวงศ์วาน ๒) อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี

วันเวลาแห่งการสิ้นพระชนม์
สมเด็จฯ เจ้าฟ้าจุฑาธุช มีพระวรกายไม่แข็งแรง ประชวรพระโรคพระวักกะ (ไต) พิการเรื้อรัง กอปรกับเกิดเป็นพระโรคบิดและพระหทัยอ่อนล้า แพทย์ได้ถวายพระโอสถประคับประคองอย่างเต็มที่ พระอาการทรงบ้างทรุดบ้างและพระอาการอ่อนเพลียลงตามลำดับ สิ้นพระชนม์ ณ วังปทุมวัน เมื่อวันที่ ๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๖๖ สิริพระชนมายุได้ ๓๒ พรรษา พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เชิญพระศพมาประดิษฐานบนแว่นฟ้า ๓ ชั้น ประกอบพระโกศทองน้อย ณ ตำหนักปารุสกวัน



ศาลเจ้าพ่อเขาใหญ่


ศาลเจ้าพ่อเขาใหญ่ [Source: Bigboy, //www.lib.ru.ac.th/journal2/?p=3601]


[Source: ศาลเจ้าพ่อเขาใหญ่, //phrachudadhuj.com/intere01.htm]

ศาลเจ้าพ่อเขาใหญ่ ตั้งอยู่บนเขาห่างจากท่าเรือเทววงษ์ไปทางด้านเหนือของเกาะ เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวเกาะสีชังให้ความเคารพนับถือ ลักษณะเป็นถ้ำซึ่งดัดแปลงเป็น ศาสนสถานที่ผสมผสานด้วยสถาปัตยกรรมจีนและไทย จากบริเวณศาลมองเห็นทิวทัศน์บ้านเรือนด้านหน้าเกาะได้ชัดเจน

เจ้าพ่อเขาใหญ่ตามตำนานเล่าว่า ในยุคสมัยที่ยังใช้เรือสำเภา เพื่อการติดต่อค้าขาย เกาะสีชังนับเป็นเกาะที่มีชัยภูมิที่เหมาะสมมากต่อการจอดพักเรือ เพราะว่ามีร่องน้ำลึก และปลอดภัยจากลมมรสุม พวกพ่อค้าชาวจีนจึงนิยมมาจอดพักเรือที่นี่เป็นประจำ พอตกค่ำก็จะมีคนเห็นแสงสว่างวูบวาบเกิดขึ้นบริเวณหัวเกาะเป็นประจำ ต่อมามีคนขึ้นไปสำรวจ พบว่าบนนั้นเป็นถ้ำ ภายในมีหินรูปร่างคล้ายคนนั่งตั้งตระหง่านอยู่ จึงเรียกขานกันต่อมาว่า “เจ้าพ่อเขาใหญ่” ซึ่งมีความเชื่อกันว่าหากผู้ใดได้มากราบไหว้เจ้าพ่อเขาใหญ่ติดต่อกัน 3 ปี จะได้โชคลาภอันวิเศษ
[Source: //phrachudadhuj.com/intere01.htm]



ท่ายายทิม
ท่ายายทิมอยู่ทางทิศใต้ของเกาะสีชังโดยเส้นทางผ่านแหลมงู ถนนคอนกรีตอย่างดี เลยพระจุฑาธุชราชฐานขึ้นเขามา ตรงมาเรื่อย ๆ ข้างหลังเกาะก็จะเจอลักษณะเป็นหาดทรายเล็ก ๆ ไม่ยาวมากนัก มีทรายละเอียดขาว สวยงาม สามารถเล่นและว่ายน้ำได้ ท่ายายทิมช่วงเวลาน้ำลงจะสามารถเดินข้ามไปยังเกาะเล็ก ๆ ที่อยู่ตรงข้ามได้เหมือนเป็นทะเลแหวก ทิวทัศน์สวยงาม และเงียบสงบ แต่ควรระวังหิน หรือหอยบาดเท้า




พระจุฑาธุชราชฐาน [Source: พิพิธภัณฑ์พระจุฑาธุชราชฐาน, //phrachudadhuj.com/retrosp71.JPG]

พระจุฑาธุชราชฐาน
พระจุฑาธุชราชฐาน เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของเกาะสีชัง ห่างจากท่าเทววงศ์ลงมาทางใต้ของเกาะสร้างในสมัยรัชกาลที่ 5 เพื่อเป็นที่ประทับในฤดูร้อน มีสิ่งก่อสร้างตั้งอยู่ตามชั้นเนินเขาที่สูงต่ำลดหลั่นกันอย่างงดงามประกอบด้วยพระที่นั่ง 4 องค์ มีสวนดอกไม้ สระ ธารน้ำ น้ำพุ ถ้ำและหน้าผา ภายในบริเวณมีสภาพ ภูมิทัศน์ที่งดงามตกแต่งตามลักษณะอุทยาน

พระจุฑาธุชราชฐาน เป็นพระราชวังฤดูร้อนในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ตั้งอยู่ที่เกาะสีชัง โดยได้โปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้สร้างพระที่นั่งพระตำหนักตลอดจนสถานที่ต่างๆ และพระราชทานนามพระราชวังตามพระนามสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลกฯ ที่ประสูติ ณ ที่นั้นว่า "พระจุฑาธุชราชฐาน"

ในปีพุทธศักราช 2431 เกาะสีชังได้เป็นที่ประทับของสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ เนื่องจากเมื่อสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรีทรงพระประชวรคณะแพทย์ถวายความเห็นว่าควรจะเสด็จไปประทับอยู่ที่ซึ่งได้อากาศชายทะเล จึงเสด็จไปประทับเป็นระยะๆ ตั้งแต่นั้นมา โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินที่เกาะสีชังประทับแรมด้วยเนืองๆ


[Source: แผนผังพระจุฑาธุชราชฐาน, //phrachudadhuj.com/map.htm]


วัดจุฑาทิศธรรมสภารามวรวิหาร เกาะสีชัง


[Source: Facebook-Nubthong Atiruj Variety Siam]
[Link: https://www.facebook.com/photo.php?fbid=482980551802862&set=a.237327049701548.38143.227233897377530&type=1&relevant_count=1]

วัดจุฑาทิศธรรมสภารามวรวิหาร
วัดจุฑาทิศฯ เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร และเป็นวัดเก่าแก่ที่สร้างมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๕ ประกาศพระบรมราชูทิศไว้ ณ วันที่ ๙ กรกฎาคม รัตนโกสินทร์ศก ๑๑๑ พระพุทธศาสนากาล ๒๔๓๕ พรรษา เป็นวันที่ ๘๖๔๓

วัดจุฑาทิศธรรมสภาราม ตั้งอยู่บริเวณหมู่บ้านภาณุรังษี ทางส่วนเหนือของเกาะ บนที่ราบใกล้เชิงเขายอดพระจุลจอมเกล้่า พระอารามแห่งนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ มีพระราชประสงค์ให้สร้างขึ้นใหม่ เนื่องจากมีพระราชดำริว่า แต่เดิมเมื่อมีการสร้างวัดอังฏางค์นิมิตรนั้น บริเวณใกล้เคียงเป็นหมู่บ้าน พระสงฆ์สามารถออกบิณฑบาตในหมู่บ้านได้ โดยไม่ต้องเดินทางไกลนัก ในเวลาต่อเมื่อ เมื่อมีการตัดถนนอัษฎางค์ไปถึงหมู่บ้านเทววงษ์ และหมู่บ้านภาณุรังษี หมู่บ้านซึ่งอยู่ใกล้วัดอัษฎางค์นิมิตรก็ย้ายไปอยู่ในที่ซึ่งมีความเจริญแห่งใหม่ด้วย ด้วยเหตุนี้พระภิกษุสงฆ์แห่งวัดอัษฎางค์นิมิตรจึงต้องเดินทางในระยะไกลเพื่อบิณฑบาต ไม่เป็นการสะดวก จึงมีพระราชดำริว่า สมควรที่จะจัดสร้างพระอารามใหม่ใกล้ๆ กับหมู่บ้านภาณุรังษี เพื่อความสะดวกสำหรับพระภิกษุสงฆ์ในการภิขาจารบิณฑบาต เนื่องจากเป็นสถานที่ซึ่งอยู่ใกล้โคจรคาม จึงโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาพระอารามขึ้นใหม่อีกแห่งหนึ่ง พระราชทานนามว่า วัดจุฑาทิศธรรมสภาราม ได้พระราชทานที่อุปจารสีมา สำหรับพระรามใหม่นี้ เมื่อวันที่ ๙ กรกฎาคม ๒๔๓๕ แต่มิได้ทรงเลิกถอนที่อุปจารสีมาของวัดอัษฎางค์นิมิตร ยังทรงพระราชอุทิศเป็นสถานที่สำหรับสงฆ์ต่อไป

[Source: Facebook-Nubthong Atiruj Variety Siam]
[Link: https://www.facebook.com/photo.php?fbid=482980551802862&set=a.237327049701548.38143.227233897377530&type=1&relevant_count=1]




[Source: พิพิธภัณฑ์พระจุฑาธุชราชฐาน เกาะสีชัง, //phrachudadhuj.com/index.htm]

พิพิธภัณฑ์พระจุฑาธุชราชฐาน เกาะสีชัง
[//phrachudadhuj.com/index.htm]

ปีพุทธศักราช 2432 ได้โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สร้างตึกวัฒนา ตึกผ่องศรี ตึกอภิรมย์ พระราชทานให้เป็นสถานที่สำหรับผู้ป่วยไข้รักษาตัว

ปีพุทธศักราช 2434 โปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ขุดบ่อน้ำ พระราชทานชื่อว่า "บ่ออัษฎางค์" โปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้สร้าง "สะพานอัษฎางค์" สร้าง "อัษฎางค์ประภาคาร " สร้างศาลเจ้าชื่อว่า "ศาลศรีชโลธรเทพ" โปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ตัดถนนภายในเกาะ และสร้างสถานที่ต่างๆ อีกหลายแห่ง

ปีพุทธศักราช 2435 โปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้สร้างพระราชฐานให้มั่นคงยิ่งขึ้น เพื่อเป็นที่ประทับในฤดูร้อนได้แก่ พระที่นั่ง 4 องค์ พระตำหนัก 14 พระตำหนัก บ่อ 14 บ่อ สระ 3 สระ ธาร 2 ธาร บันได 21 บันได เป็นต้น และพระราชทานชื่อสถานที่ต่างๆ เหล่านี้ให้ไพเราะคล้องจองกัน

ปัจจุบันพระจุฑาธุชราชฐาน เกาะสีชัง มีพื้นที่ 224 ไร่ อยู่ในความดูแลของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งได้รับมอบสิทธิการใช้ที่ดินจากกรมธนารักษ์ ในปีพุทธศักราช 2521 โดยได้ใช้พื้นที่ส่วนหนึ่งเป็นสถานีวิจัยวิทยาศาสตร์ทางทะเลและศูนย์ฝึกนิสิต พร้อมทั้งดูแลโบราณสถานโบราณวัตถุในเขตที่ดินดังกล่าวให้อยู่ในสภาพที่เป็นประโยชน์แก่สาธารณชนสืบไป
[Source: พิพิธภัณฑ์พระจุฑาธุชราชฐาน เกาะสีชัง
[หอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย], //www.memohall.chula.ac.th/article/%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%93%E0%B8%91%E0%B9%8C%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%88%E0%B8%B8%E0%B8%91%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B8%8A%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%90%E0%B8%B2%E0%B8%99/



พิพิธภัณฑ์พระจุฑาธุชราชฐาน เกาะสีชัง [หอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย], //www.memohall.chula.ac.th/downloader/35030c51f10dc76ce7841b4a2580e7ec/]




เรือนเขียว หรือ เรือนไม้ริมทะเล [Source: Bigboy, //www.lib.ru.ac.th/journal2/?p=3601]

เรือนเขียว หรือ เรือนไม้ริมทะเล

ในสมัยรัชกาลที่ 4 ทรงโปรดเสด็จมายังเกาะสีชังเป็นประจำโดยเรือกลไฟ และประทับแรมบนเรือพระที่นั่งโดยมิได้สร้างพลับพลาที่ประทับ แต่ในเวลานั้นก็มีเรือนไม้พักผ่อนริมทะเล ปลูกสร้างอยู่แล้วหลังหนึ่ง คือ “เรือนเขียว” ซึ่งปัจจุบันยังอยู่และมีสภาพที่สมบูรณ์

เรือนไม้หลังนี้ไม่ทราบประวัติความเป็นมาที่แน่ชัด สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นเรือนพักตากอากาศของชาวต่างประเทศมาแต่ก่อน ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ปรับปรุง เป็นที่ประทับแรมของพระราชวงศ์ในคราวเสด็จมารักษาพระองค์ก่อนที่จะมีการสร้างพระจุฑาธุชราชฐานใน พุทธศักราช 2435

ลักษณะทางสถาปัตยกรรม : เรือนไม้ริมทะเล เป็นอาคารไม้ชั้นเดียวติดกับสองชั้น รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ยกพื้นสูงประมาณ 0.90 เมตร ขนาดประมาณ 9X18 เมตร หันหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ส่วนที่เป็น 2 ชั้น หลังคาทรงปั้นหยามุงสังกะสี ส่วนที่เป็นชั้นเดียว หลังคาปั้นหยา ส่วนที่ติดกับสองชั้นยกเป็นจั่วด้านหน้า มุงสังกะสีเช่นกัน ส่วนที่เป็นชั้นเดียวยาว 2 เท่าของส่วนที่เป็น 2 ชั้น มีเฉลียงยาวตลอดส่วนที่เป็นชั้นเดียว ทั้งด้านหน้าและด้านหลังมีลูกกรงไม้กันตก ส่วนใต้ถุนก่ออิฐถือปูนปิด มีบันไดขึ้นด้านหน้า แต่งชายคาด้วยไม้ฉลุลายเป็นรูปโค้ง มีเสารับชายคาที่เฉลียง ส่วนที่เป็นชั้นเดียวมี 2 ห้อง ส่วนที่เป็น 2 ชั้นมีห้องชั้นล่าง 1 ห้อง ชั้นบน 1 ห้อง ส่วนที่เป็นชั้นเดียวมีประตูด้านหน้า 6 ประตู ด้านหลัง 6 ประตู มีหน้าต่างด้านสกัด 1 บาน ส่วนที่เป็น 2 ชั้นมีหน้าต่างชั้นล่างและชั้นบนเท่ากัน คือด้านละ 3 บาน รวม 3 ด้าน
[Source: //phrachudadhuj.com/chudad09.htm]




เรือนผ่องศรี [Source: Bigboy, //www.lib.ru.ac.th/journal2/?p=3601]

เรือนผ่องศรี
จัดแสดงนิทรรศการพระราชประวัติ และประวัติบุคคลผู้ที่มีบทบาทสำคัญกับเกาะสีชังในอดีต

เรือนผ่องศรี เป็นเรือนที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงบริจาคพระราชทรัพย์ส่วนพระคลังข้างที่จ้างเหมาสร้าง เพื่อใช้เป็นที่พักอาศัยสำหรับผู้ป่วยที่เดินทางมารักษาตัวที่เกาะสีชังเรียกกันว่า อาไศรยสถาน ในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาเมื่อปีพุทธศักราช 2431

ในปีพุทธศักราช 2432 เมื่อการก่อสร้างอาไศรยสถานแล้วเสร็จ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทำพิธีฉลองอาไศรยสถานแห่งนี้ โดยมีพิธีสวดมนต์ ถวายภัตตาหารพระสงฆ์และพระราชทานชื่อเรือนแห่งนี้ว่า เรือนผ่องศรี ตามพระนามพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระวรราชเทวี ที่ทรงบริจาคทรัพย์จัดซื้อเครื่องตกแต่งสำหรับเรือนแห่งนี้

เรือนแห่งนี้เข้าใจว่าในระหว่าง ปีพุทธศักราช 2434-2436 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เสด็จพระราชดำเนินประทับ ณ เกาะสีชัง ดังนั้นจึงไม่อนุญาตให้บุคคลทั่วไปเข้าพักอาศัยเนื่องจากอยู่ในบริเวณพระราชฐานและใช้เป็นที่ประทับส่วนพระองค์และพระราชวงศ์ เมื่อพระที่นั่งและพระตำหนักต่างๆยังอยู่ในระหว่างการก่อสร้าง
[Source: //phrachudadhuj.com/chudad05.htm]





เรือนวัฒนา [Source: Bigboy, //www.lib.ru.ac.th/journal2/?p=3601]

เรือนวัฒนา
จัดแสดงนิทรรศการที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์สำคัญ ในเกาะสีชังในสมัยรัชกาลที่ 5

เรือนวัฒนา เป็นเรือนที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงบริจาคพระราชทรัพย์ส่วนพระคลังข้างที่จ้างเหมาสร้าง เพื่อใช้เป็นที่พักอาศัยสำหรับผู้ป่วยที่เดินทางมารักษาตัวที่เกาะสีชังเรียกกันว่า อาไศรยสถาน ในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาเมื่อปีพุทธศักราช 2431

ในปีพุทธศักราช 2432 เมื่อการก่อสร้างอาไศรยสถานแล้วเสร็จ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทำพิธีฉลองอาไศรยสถานแห่งนี้ โดยมีพิธีสวดมนต์ ถวายภัตตาหารพระสงฆ์และพระราชทานชื่อเรือนแห่งนี้ว่า เรือนวัฒนา ตามพระนามสมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี ที่ทรงบริจาคทรัพย์จัดซื้อเครื่องตกแต่งสำหรับเรือนแห่งนี้

เรือนแห่งนี้เข้าใจว่าในระหว่าง ปีพุทธศักราช 2434-2436 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เสด็จพระราชดำเนินประทับ ณ เกาะสีชัง ดังนั้นจึงไม่อนุญาตให้บุคคลทั่วไปเข้าพักอาศัยเนื่องจากอยู่ในบริเวณพระราชฐานและใช้เป็นที่ประทับส่วนพระองค์และพระราชวงศ์ เมื่อพระที่นั่งและพระตำหนักต่างๆยังอยู่ในระหว่างการก่อสร้าง
[Source: //phrachudadhuj.com/chudad06.htm]





[Source: อ่าวอัษฎางค์ (หาดถ้ำพัง), //phrachudadhuj.com/intere04.htm]

อ่าวอัษฎางค์ (หาดถ้ำพัง)

อ่าวอัษฎางค์ อยู่ทางตะวันตกค่อนมาทางใต้ของเกาะสีชัง เป็นจุดชมพระอาทิตย์ตกที่เหมาะอีกจุดหนึ่ง บริเวณนี้มี หาดถ้ำพัง ทางเหนือของหาดมีแหลมถ้ำพัง ทางใต้มีแหลมตุ๊กตา ทั้ง 3 แหงล้วนเป็นสถานที่ที่มีทิวทัศน์งดงาม

ถ้ำพัง เป็นจุดที่นักท่องเที่ยวนิยมไปเล่นน้ำ หรือพักผ่อนรับลมและหลายคนนิยมไปตกปลาอีกด้วย
[Source: //phrachudadhuj.com/intere04.htm]




สะพานอัษฎางค์ [Source: Bigboy, //www.lib.ru.ac.th/journal2/?p=3601]

สะพานอัษฎางค์
อยู่ในบริเวณพระตำหนัก เป็นสะพานที่รัชกาลที่ 5 ท่านทรงใช้เป็นท่าขื้นเทียบเรือหลังจากที่เสด็จประพาสฝรั่งเศส

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างสะพานทอดลงไปในทะเลบริเวณแหลมวัง ด้านหน้าเขตพระราชฐานด้วยมีพระราชดำริว่า ที่เกาะสีชังเวลาน้ำขึ้นลงเป็นที่ลำบาก บางครั้งถูกกาบหอยบาด สะพานที่โปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นนี้ พระราชทานนามว่า สะพานอัษฎางค์ เป็นสะพานท่าเรือขนาดใหญ่ สร้างด้วยไม้สักทาสี มีป้ายบอกนามสะพานทั้งภาษาไทย ภาษาจีน ภาษาอังกฤษเป็นข้อความดังนี้ “สะพานอัษฎางค์ รัตนโกสินทร์ศก 110 สร้างสมัย ร. 5”

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าขจรจรัสวงษ์จ้างลูกจ้างออกมาทำการไม้ ขุนพรหมรักษาเป็นนายด้าน ส่วนการต่อยและขนศิลากับทั้งก่อเสารับสะพานนั้นใช้แรงลูกจ้างบ้าง พวกช่างเกณฑ์บุญบ้าง พระยาสมุทรบุรานุรักษ์เป็นนายด้านทำการตามตัวอย่างของพระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นสรรพศาสตร์ศุภกิจนายช่างใหญ่ การทั้งปวงแล้วเสร็จในบัดนี้คิดระยะวันที่ได้ลงมือทำการประมาณ 30 วันเศษ
[Source: //phrachudadhuj.com/chudad11.htm]





ช่องเขาขาด [Source: Bigboy, //www.lib.ru.ac.th/journal2/?p=3601]

ช่องอิศริยาภรณ์ (ช่องเขาขาด)
ช่องเขาขาดอยู่ทางด้านหลังเกาะ ทางทิศตะวันตก หากนั่งเรือผ่านจะเห็นเป็นช่องเขา ในบริเวณมีสะพานสำหรับเดินชมทิวทัศน์ สามารถชมพระอาทิตย์ตกได้สวยงาม มีหาดหินกลม ซึ่งเต็มไปด้วยหินกลม ๆ ขนาดต่าง ๆ มากมาย ในอดีตเคยเป็น ที่ตั้งพลับพลาที่ประทับชมทิวทัศน์ของรัชกาลที่ 5 นอกจากนี้ยังมีแหลมมหาวชิราวุธ เป็นจุดชมวิวที่สวยมาก มีลักษณะคล้ายกับแหลมพรมเทพ แต่เล็กกว่าเป็นแหลมที่สวยงามอีกแห่งหนึ่งของเกาะสีชัง มีสะพานที่ทอดยาวยื่นออกไปยังแหลม นักท่องเที่ยวนิยมไปตกปลาที่นั่นกันมากเพราะเป็นโขดหินมากมายเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของฝูงปลาหลายชนิด และสวยงามเป็นอย่างมาก แหลมสลิดยังเป็นจุดชมพระอาทิตย์ตกในยามเย็นอีก ด้วยในฤดูหนาวพระอาทิตย์ตกน้ำจะมีดวงใหญ่โตเป็นพิเศษ

ช่องอิศริยาภรณ์ ( ช่องเขาขาด ) อยู่ทางทิศตะวันตกของเกาะสีชัง เป็นบริเวณที่ถ้ามองจากที่ไกลดูเหมือนเขาขาดจากกัน เป็นที่ตั้งของ “ ที่แลราชโกษา” ซึ่งรัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นเป็นที่ประทับเพื่อทอดพระเนตรพระอาทิตย์ตกน้ำทะเลและคลื่นซัดกระทบโขดหิน ปัจจุบันบริเวณโดยรอบปรับปรุงภูมิสถานเพื่อเป็นจุดชมทัศนียภาพบริเวณหลังเกาะ
[Source: //phrachudadhuj.com/intere03.htm]




ก่อนถึงวันเดินทาง ผู้จัดฯได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติม เป็นที่น่าสนใจมาก

1. สถานที่สำคัญภายในเกาะสีชัง ๓ แห่ง
-- -- รอยพระพุทธบาทจำลอง
-- -- ศาลเจ้าพ่อเขาใหญ่
-- -- วัดจุฑาทิศธรรมสภาราม

2. จุดชมวิวเขาน้อยภายในพระจุฑาธุชราชฐาน

3. ประภาคาร ๗ สี บนเกาะสีชัง สวยงามมากในยามรัติกาล
ประภาคารแห่งนี้สร้างขึ้นโดยกรมศุลกากร เพื่อใช้เป็นท่าเทียบเรือ และด่านกักกันตรวจสอบสินค้าและตรวจคนเข้าเมืองและท่าเรือน้ำลึกตามแผนพัฒนาฯ ของกรมศุลกากร



สถานที่สำคัญภายในเกาะสีชัง ๓ แห่ง


[Source: Facebook-Nubthong Atiruj Variety Siam]
[Link: https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10151959442552522&set=a.89591332521.95886.734717521&type=1&relevant_count=1]

จากภาพนี้จะเห็นที่ตั้งของสถานที่สำคัญภายในเกาะสีชัง ๓ แห่งที่ตั้งลดหลั่นกัน

ด้านบนสุดบนไหล่เขาคยาศิริ (รูปศาลาสีขาวบนเขา) เป็นที่ตั้งของรอยพระพุทธบาทจำลองที่กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้อัญเชิญมาจากเมืองพุทธคยา และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ มีพระราชประสงค์ให้นำมาประดิษฐานไว้บริเวณไหลเขาแห่งนี้ ซึ่งใกล้กับจุดสูงสุดของเกาะสีชังคือยอดเขาจุลจอม (ถัดขึ้นไปด้านบน)

ถัดลงมาที่เห็นเป็นลักษณะเหมือนศาลเจ้าจีน คือ ศาลเจ้าพ่อเขาใหญ่ ที่ผู้คนบนเกาะสีชังและนักเดินเรือเคารพและศรัทธาในความศักดิ์สิทธิ์กันอย่างมาก

และเบื้องล่างที่แลเห็นว่าติดกับท่าเรือเทววงษ์เป็นที่ตั้งของวัดจุฑาทิศธรรมสภาราม วัดที่สร้างตามพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ วัดนี้จัดเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี มีพระพุทธรูปปางมารวิชัยที่สวยงามประดิษฐานเป็นพระประธานอยู่ภายในพระอุโบสถ



ประภาคาร ๗ สี บนเกาะสีชัง



.

.
[Source: Facebook-Nubthong Atiruj Variety Siam]
[Link: https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10151959400127522&set=pcb.10151959401382522&type=1]

ประภาคาร ๗ สี บนเกาะสีชัง สวยงามมากในยามรัติกาล
ประภาคารแห่งนี้สร้างขึ้นโดยกรมศุลกากร เพื่อใช้เป็นท่าเทียบเรือ และด่านกักกันตรวจสอบสินค้าและตรวจคนเข้าเมืองและท่าเรือน้ำลึกตามแผนพัฒนาฯ ของกรมศุลกากร



ต้องขอขอบคุณ ผู้ที่ให้ข้อมูลไว้ในเว็บต่างๆ ที่ได้กล่าวถึง และค้นหาสาระ ในโอกาสนี้ด้วย

สำหรับทริปนี้ คงได้ไปเห็นของจริงสักครั้ง น่าสนใจดีมาก





 

Create Date : 24 มีนาคม 2557
1 comments
Last Update : 16 เมษายน 2557 15:50:36 น.
Counter : 4539 Pageviews.

 

สุขสันต์วันปีใหม่ไทยค่ะ

 

โดย: pantawan 13 เมษายน 2557 0:15:57 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


yoadjarust
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




:Users Online
Jy Horseman
New Comments
Friends' blogs
[Add yoadjarust's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.