รูปบล็อคนอก
Photobucket - Video and Image Hosting
Group Blog
 
 
ตุลาคม 2554
 
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
23 ตุลาคม 2554
 
All Blogs
 
จิตคือพุทธะ หลวงปู่ดุลย์ อตุโล ตอนที่ 3

จิตคือพุทธะ ตอนที่ 3



หลวงปู่ดุลย์ อตุโล

สัตว์ชาติแรก มีแต่สร้างกรรมชั่ว สัตว์กินสัตว์ และมีความโกรธ โลภ หลง ตามเหตุปัจจัยภายนอก ภายใน ที่มากระทบ กรรมที่สัตว์แสดง มีตา หู จมูก ลิ้น กาย 5 อย่าง ไปกระทบกับรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส 5 อย่าง แล้วก็มาประทับ บรรจุ บันทึกถ่ายภาพติดอยู่กับ รูปปรมาณู ซึ่งเป็นสุขุมรูปแฝงอยู่ในความว่าง เราไม่สามารถมองเห็นด้วยตาได้ ที่แฝงอยู่ในความว่างระวางคั่นตา หู จมูก ลิ้น กาย นั้นไว้ได้หมดสิ้น

เมื่อสัตว์ชาติแรกเกิดนี้ได้ตายลง มีกรรมชั่วอย่างเดียวเป็นเหตุให้สัตว์เกิดอีก เพื่อให้สัตว์ต้องใช้หนี้กรรมชั่วที่ได้ทำไว้ แต่สัตว์เกิดขึ้นมาแล้วหายอมใช้หนี้เกิดกันไม่ มันกลับเพิ่มหนี้ให้เป็นเหตุเกิดทวีคูณด้วยเพศผู้ เพศเมีย เป็นสุขุมรูปติดอยู่ใน 5 กองนี้เป็นทวีคูณ จนปัจจุบันชาติ ดังนั้นด้วยอำนาจกรรมชั่วในสุขุมรูป 5 กอง ก็เกิดหมุนกันเข้าเป็น รูปปรมาณูกลม คงรูปอยู่ได้ด้วยการหมุนรอบตัวเอง ไม่หยุดนิ่ง เป็นคูหาให้จิตได้อาศัยอยู่ข้างใน เรียกว่า รูปวิญญาณ หรือจะเรียกว่า รูปถอดก็ได้ เพราะถอดมาจากนามระวางคั่นตา หู จมูก ลิ้น กายนั้นเอง ซึ่งเป็นสุขุมรูปแฝงอยู่ในความว่างรูปวิญญาณ จึงมีชีวิตคงทนอยู่นานกว่ารูปหยาบ มีกรรมชั่วคอยรักษาให้หมุน คงรูปอยู่ ไม่มีเทพเจ้าองค์ใดฆ่าให้ตามได้ นอกจากนิพพานเท่านั้น รูปวิญญาณจึงจะสลาย

ส่วนการแสดงกรรมของสัตว์ที่ประทับอยู่ในสุขุมรูป มีรูปตา หู จมูก ลิ้น กาย 5 กองนั้น รวมกันเข้าเรียกว่า จิต จึงมีสำนักงานของจิตติดอยู่ในวิญญาณ 5 กองรวมกัน เป็นที่ทำงานของจิตกลาง แล้วไปติดต่อกับตา หู จมูก ลิ้น กายภายนอก ซึ่งเป็นสื่อติดต่อของจิต ดังนั้น จิต กับ วิญญาณ จึงไม่เหมือนกัน จิตเป็นผู้รู้สึกนึกคิด ส่วนวิญญาณเป็นคูหาให้จิตได้อาศัยอยู่ และเป็นยานพาหนะพาจิตไปเกิด หรือจะไปไหนๆ ก็ได้ เป็นผู้รักษารูปสุขุม (รูปที่ถอดจากรูปหยาบมีรูปเพศผู้ เพศเมีย รูปตา หู จมูก ลิ้น กาย) อยู่ในวิญญาณไว้ได้ เป็นเหตุเกิด สืบภพ ต่อชาติ

เมื่อสัตว์ตาย ชีวิตร่างกายหยาบของภพภูมิชาตินั้นๆ ก็หมดไปตามอายุขัยชีวิตร่างกายหยาบของภูมิชาตินั้นๆ ส่วนชีวิตแท้ รูปปรมาณูวิญญาณ จะไม่ตายสลายตาม จะต้องไปเกิดตามภพภูมิต่างๆ ตามเหตุปัจจัยของวัฏฏะ หมุนเวียนเปลี่ยนไปด้วยชีวิตแท้ รูปถอดหรือ วิญญาณหมุนรอบตัวเอง นี้เองเป็นเหตุให้จิตเกิด - ดับสืบต่อ คอยรับเหตุการณ์ภายนอกภายในที่มากระทบจะดีหรือชั่วก็สะสมเข้าไว้เป็นทุนเหตุเกิด เหตุดับ หรือปรุงแต่งต่อไป จนกว่ากรรมชั่วเหตุเกิดจะหมดไป ชีวิตรูปถอด หรือวิญญาณ ก็จะหยุดการหมุน รูปสุขุม "รูปวิญญาณ" ซึ่งเกิดมาจากกรรมชั่วสืบต่อมาแต่ชาติแรกเกิดก็จะสลายแยกออกจากกันไป คงรูปอยู่ไม่ได้มันก็กระจายไป

ส่วนกิจกรรมดี ธรรมะที่ติดอยู่กับวิญญาณมันก็กระจายไปกับรูปปรมาณู คงเหลือแต่ความว่างที่คั่นช่องว่างของรูปปรมาณูทุกๆ ช่อง ฉะนั้นโดยปราศจากรูปปรมาณู ความว่างนั้นจึงบริสุทธิ์และสว่าง รวมเข้ากับความว่างบริสุทธิ์สว่างของจักรวาลเดิมเข้าเป็นหนึ่งเรียกว่า "นิพพาน"

เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ทรงสร้างชีวิตพุทธศาสนาให้ก่อเกิดเป็นชีวิตอย่างบริบูรณ์ดังพระประสงค์แล้ว พระพุทธองค์จึงได้ทรงละวิภวตัณหานั้น เสด็จสู่อนุปาทิเสสนิพพาน คือเป็นผู้หมดสิ้นทุกตัณหา เป็นผู้ดับรอบโดยลักษณาการแห่งอนุปาทิเสสนิพพานของพระพุทธองค์ ก็คือ ลำดับแรกก็เจริญฌานดิ่งสนิทเข้าไปจนถึง สัญญาเวทยิตนิโรธ หมายความว่า เข้าไปดับลึกสุดอยู่เหนืออรูปฌาน ในวาระแรกนั้นพระองค์ยังไม่ได้ทรงดับขันธ์ต่างๆ ให้สิ้นสนิทเป็นเด็ดขาดแต่อย่างใดยังเพียงเข้าไปเพื่อทรงกระบวนการแห่งการสู่นิพพาน หรือนิโรธเป็นครั้งสุดท้ายแห่งชีวิต พูดง่ายๆ ก็คือ สู่สิ่งที่พระองค์ได้ทรงสร้างได้ทรงพากเพียรก่อเป็นทาง เป็นแบบอย่างไว้เป็นครั้งสุดท้ายเสียหน่อย ซึ่งเรียกได้ว่า สิ่งอันเกิดจากที่พระองค์ได้ทรงยอมอยู่กับธุลีทุกข์ อันเป็นธุลีทุกข์ที่มนุษย์ธรรมดาผู้มีจิตหยาบเกินกว่าจะสัมผัสว่ามันเป็นทุกข์

นี่แหละ กระบวนการกระทำจิตตนให้ถึงซึ่ง สัญญาเวทยิตนิโรธ นั้น เป็นกระบวนการที่พระอนุตรสัมมาสัมพุทธเจ้าพระผู้เป็นยอดแห่งศาสดาในโลกเท่านั้นที่ทรงค้นพบ ทรงนำมาตีแผ่เผยแจ้งออกสู่สัตว์โลกให้พึงปฏิบัติตาม เมื่อทรงสิ่งซึ่งสุดท้ายนี้แล้ว จึงได้ถอยกลับมาสู่ภาวะต้น คือ ปฐมฌาน แล้วจึงตัดสินพระทัยสุดท้าย เสด็จดับขันธ์ต่างๆ ไปทีละขันธ์ วิญญาณขันธ์ แห่งชีวิตและร่างกายนั้น ได้ดับไปเสียตั้งแต่ก่อนจะสู่ปฐมฌานนานแล้ว เพราะต้องดับสังขารขันธ์หรือสังขารธรรมขั้นแรกเสียก่อน วิญญาณขันธ์จึงได้ดับ ดังนั้นจึงไม่มีเชื้อใดเหลืออยู่แห่งวิญญาณขันธ์ที่หยาบนั้น

พระองค์ทรงเริ่มดับ สังขารขันธ์หรือสังขารธรรมชั้นในสุดอีกที อันจะส่งผลให้ก่อ วิภวตัณหา ได้ชั้นหนึ่งเสียก่อน แล้วจึงได้เลื่อนเข้าสู่ ทุติยฌาน แล้วจึงดับสัญญาขันธ์ เลื่อนเข้าสู่ ตติยฌาน เมื่อพระองค์ดับสังขารขันธ์หรือสังขารธรรมชั้นในสุดอีกที ก็เป็นอันเลื่อนขึ้นสู่ จตุตถฌาน คงมีแต่เวทนาขันธ์สุดท้ายแห่งชีวิต นั้นแลคือลักษณาการแห่งขั้นสุดท้ายของการจะดับสิ้นไม่เหลือ

เมื่อพระองค์ดับสังขารขันธ์หรือสังขารธรรม ใหญ่สุดท้ายที่มีทั้งสิ้นแล้ว แล้วก็มาดับเวทนาขันธ์อันเป็น จิตขันธ์หรือนามขันธ์ ที่ในจิตส่วนในคือภวังคจิตเสียก่อน แล้วจึงได้ออกจากจตุตถฌาน พร้อมกับมาดับจิตขันธ์หรือนามขันธ์สุดท้ายจริงๆ ของพระองค์เสียลงเพียงนั้น นี้พระองค์เข้าสู่พระนิพพานอย่างจริงๆ อยู่ตรงนี้ พระองค์ไม่ได้เข้าสู่พระนิพพานในฌานสมาบัติอะไรที่ไหนดอก เมื่อพระองค์ออกจากจตุตถฌานแล้ว จิตขันธ์หรือนามขันธ์ก็ดับพร้อมไม่มีอะไรเหลือ นั่นคือพระองค์ทรงดับเวทนาขันธ์ในภาวะจิตตื่น หรือวิถีจิตอันปกติของมนุษย์ครบพร้อมทั้งสติและสัมปชัญญะ ไม่ถูกภาวะอื่นใดที่มาครอบงำอำพรางให้หลงใหลใดๆ ทั้งสิ้น เป็นภาวะแห่งตนเองอย่างบริบูรณ์

เมื่อเวทนาขันธ์สุดท้ายแท้ๆ จริงๆ ได้ถูกทำลายลงอย่างสนิท จึงเป็นผู้บริสุทธิ์หมดสิ้นแล้วซึ่งสังขารธรรม และหมดเชื้อจิตขันธ์หรือนามขันธ์ทั้งปวงใดๆ ในพระองค์ท่านไม่มีเหลือ คงทิ้งแต่รูปขันธ์อันจะมีชีวิตนั้นไม่ได้แน่ เพราะรูปไม่ใช่ชีวิต หากสิ้นนามเสียแล้วก็คือแท่ง คือก้อนวัตถุหนึ่งเท่านั้นเอง นั่นแลคือลำดับฌานที่พระอนุรุทธเถระเจ้าได้นำฌานจิตเข้าไปดู เป็นวิธีการดับโดยแท้ ดับโดยจริง โดยพระองค์เป็นผู้ดับเองเสียด้วย.
- จบ -


......

เว็บไซต์หลวงปู่

//www.wimutti.net/pudule

<<ย้อนกลับ





Create Date : 23 ตุลาคม 2554
Last Update : 23 ตุลาคม 2554 21:30:57 น. 0 comments
Counter : 445 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Jจุ้ย
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




ข่าวจากหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ


facebookฝากข้อความได้ครับ
Google

ฟังวิทยุออนไลครับ
ฟังวิทยุออนไลน์ กดที่รูปครับ




หลับฝันดี
๑ หลับคืนนี้ฝันดีนะที่รัก...
หลับตาพักหลับตาฝันถึงวันใหม่...
หลับคืนนี้คนดีฝันถึงใคร...
รู้บ้างไหมฉันตั้งใจฝันถึงเธอ...


Friends' blogs
[Add Jจุ้ย's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.