เพียงเสี้ยวของอารมณ์ที่ไม่พึงปรารถนา
Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2549
 
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728 
 
6 กุมภาพันธ์ 2549
 
All Blogs
 

รองเท้านารี

กล้วยไม้รองเท้านารี
(Lady’s Slipper)

เป็นกล้วยไม้สกุล Paphiopedilum มีชื่อเรียกอื่นๆ อีกหลายชื่อ เช่น รองเท้านาง รองเท้าแตะนารี หรือ บุหงากะสุต ในภาษามาเลเซีย อันหมายถึงรองเท้าของสตรี เนื่องจากกลีบดอก หรือที่เรียกว่า “กระเป๋า” มีรูปร่างคล้ายกับรองเท้าของสตรีและรองเท้าไม้ของชาวเนเธอแลนด์ กระเป๋าของรองเท้านารีมีรูปร่างลักษณะและสีสรรแตกต่างกันไปตามชนิดพันธุ์
กล้วยไม้รองเท้านารี มีแหล่งกำเนิดอยู่ในเขตอบอุ่น และเขตร้อนแถบเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่อินเดีย ฟิลิปปินส์ พม่า มาเลเซีย และในประเทศไทยซึ่งพบกล้วยไม้รองเท้านารีขึ้นอยู่ในป่าทั่วๆ ไป บางชนิดเกาะอาศัยอยู่ตามต้นไม้ แต่ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นพวกที่ขึ้นอยู่ตามพื้นดินหรือซอกหินที่มีต้นไม้ใบหญ้าเน่าตายทับถมกัน เจริญงอกงามในที่โปร่ง ไม่ชอบที่รกทึบ แสงแดดส่องถึง
รองเท้านารี เป็นกล้วยไม้ประเภทแตกกอเช่นเดียวกับ หวาย คัทลียา และซิมบิเดียม ต้นที่แท้จริงเรียกว่า ไรโซม (เหง้า) ต้นหนึ่งหรือกอหนึ่งจะประกอบด้วยต้นย่อยหลายต้น รากออกเป็นกระจุกที่โคนต้นและมักจะทอดไปทางด้านราบมากกว่าหยั่งลึกลงไป หน่อใหม่จะแตกจากตาที่โคนต้นเก่า มีลำต้นสั้นมาก แต่ไม่มีลำลูกกล้วย ใบมีขนาดรูปร่างต่างกันไป บางชนิดมีใบยาว บางชนิดใบตั้งชูขึ้น บางชนิดใบทอดขนานกับพื้น บางชนิดใบมีลาย บางชนิดใบไม่มีลายแต่เป็นสีเดียวเรียบๆ การออกดอกจะออกที่ยอด มีทั้งชนิดออกดอกเป็นดอกเดี่ยว และออกดอกเป็นช่อ กลีบดอกชั้นนอกกลีบบนมีขนาดใหญ่สะดุดตา ส่วนกลีบชั้นนอกคู่ล่างจะเชื่อมติดกันและมีขนาดเล็กลงจนส่วนปากบังมิดหรือเกือบมิด กลีบคู่ในซึ่งมีลักษณะเหมือนกันกางออกไปทั้ง 2 ข้างซ้ายขวาของดอก ส่วนกลีบในกลีบที่ 3 จะเปลี่ยนเป็น “กระเปาะ” คล้ายรูปรองเท้า กระเปาะนี้มีหน้าที่รับน้ำฝนตกลงไปเพื่อชะล้างเกสรตัวผู้ไปตัดกับแผ่นเกสรตัวเมีย กล้วยไม้สกุลนี้จะมีทั้งเกสรตัวผุ้และเกสรตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกัน แต่จะมีเส้าเกสรแตกต่างจากกล้วยไม้ทั่วๆ ไป คือ ที่ปลายสุดของเส้าเกสร แทนที่จะเป็นอับเรณูกลับเป็นแผ่นบางๆ ซึ่งทางพฤษศาสตร์ถือเป็นเกสรที่เปลี่ยนรูปร่างไปใช้การไม่ได้ เรียกส่วนนี้ว่า “สตามิโนด” สำหรับเกสรตัวผู้ที่ใช้การได้มีอยู่ 2 ชุด โดยจะอยู่ถัดต่ำลงมาทั้ง 2 ข้างของเส้าเกสรข้างละ 1 ชุด ในแต่ละชุดจะมีอับเรณูลักษณะเป็นก้อนแข็งอยู่ 2 อัน ถัดต่ำลงมาจากส่วนนี้อีกจะเป็นยอดเกสรตัวเมียซึ่งเป็นแอ่งลึกลงไปยึดติดกับเส้าเกสร (ปกติส่วนนี้จะถูกหูกระเป๋าโอบหุ้มเอาไว้จนมิด) ภายในมีน้ำเมือกเหนียวสำหรับยืดเกสรตัวผู้ที่ตกลงไปในแอ่ง รังไข่อยู่ตรงส่วนของก้านดอก ภายในรังไข่ยังไม่มีการพัฒนาเป็นไข่อ่อน จนกระทั่งผสมเกสรแล้วจึงเกิดไข่อ่อนในรังไข่ รังไข่จะกลายเป็นฝักเมื่อฝักแก่จะแตกเมล็ดสามารถเจริญงอกงามเป็นต้ใหม่ได้
โดยธรรมชาติของกล้วยไม้สกุลรองเท้านารีทุกชนิด เมื่อออกดอกแล้วก็จะตายไป แต่ก่อนตายจะแตกหน่อทดแทน ซึ่งหน่อนี้ก็จะเจริญงอกงามเป็นต้นใหม่ต่อไป ชนิดพันธุ์ของกล้วยไม้รองเท้านารี ที่สำรวจพบ ได้แก่


รองเท้านารีขาวสตูล
Paphiopedilum niveum (Rchb. f. ) Pfitz.

พบตามธรรมาชาติบนพื้นผิวภูเขาหินปูนในภาคใต้ของประเทศไทย เลยเข้าไปถึงในดินแดน ประเทศมาเลเซีย ตามบันทึก ประวัติพันธุ์ไม้ของมาเลเซียกล่าวไว้ว่า พบเป็นจำนวนมากในบริเวณหมู่เกาะลังกาวี ส่วนในประเทศซึ่งพบแถบภูเขาหินปูนในภาคใต้ มีลักษณะเป็นเอกลักษณ์ซึ่งผู้มีประสบการณ์ย่อมบอกได้ คงกล่าวอย่างคร่าวๆ ว่า มีลักษณะสูงชัน ได้รับไอน้ำทะเลเล็กน้อย
ทั้งที่อยู่ บนเกาะและบนผืนแผ่นดินใหญ่ จะพบกล้วยไม้รองเท้านารีชนิดนี้ขึ้นอยู่ตามซอกหิน ซึ่งมีอัตราการผุพังจากการ ถูกชะล้างโดยน้ำฝนค่อนข้างสูง ในร่มเงาของชะง่อนหินและพุ่มไม้เตี้ยๆ ที่ค่อนข้างหนาทึบ และเป็นที่น่าสังเกตว่า จุดที่พบกล้วยไม้ ขึ้นอยู่นั้นนอกจากอยู่ในซอกซึ่งกระแสฝนไม่อาจสัมผัสโดยตรงได้แล้ว บางจุดจะเป็นที่ลาดชันร่วม ๙๐ องศา ในเขตประเทศไทย ได้เคยพบอยู่บนภูเขาแถบจังวหวัดตรัง เช่น ที่อำเภอ ห้อยยอด และมีแนวพื้นที่พบได้ เชื่อมโยงลงไปถึงจังหวัดสตูล และบริเวณ หมู่เกาะตะรุเตา
ดอกมีสีขาว มีจุดสีม่วงน้ำตาลละเอียดมาก กระจายอยู่ในบริเวณใกล้โคนกลีบ หรือใกล้ใจกลางของดอก ความหนาแน่นของ จุดค่อนข้างบาง เคยพบต้นซึ่งมีดอกสีขาวบริสุทธิ์ด้วย แต่ค่อนข้างหายากใบมีลาย ระหว่างสีเขียวแก่กับสีเขียวอ่อน ใต้ท้องใบสีม่วง คล้ำ ดอกมีขนาดกว้างระหว่าง ๔-๕ ซม. รูปลักษณะมองจากด้านหน้าค่อนข้างกลม เนื่องจากสัณฐานกลีบกว้าง ก้านช่อดอก ตั้งยาวประมาณ ๑๐-๑๒ ซม. ปลายช่ออาจมีดอกได้ถึง ๒ ดอก หากปลูกไว้เป็นกอใหญ่ สักหน่อยอาจให้ดอกคราวเดียวกันได้ ระหว่าง ๔-๕ ช่อหรืออาจมากกว่านี้ ในแต่ละปีสามารถให้ดอกติดต่อกันได้ไม่ต่ำกว่า ๘ เดือนหากปลูกไว้ในปริมาณพอสมควร
เป็นรองเท้านารีชนิดหนึ่ง ซึ่งสามารถนำมาปลุกและให้ดอกได้ผลดีในภาคกลาง ลงไปถึงภาคใต้ของประเทศไทย ผู้เขียน ได้ทดลอง ผสมพันธุ์ข้ามชนิดกับชนิดอื่นๆ บางชนิดซึ่งมีแหล่งกำเนิดในประเทศไทย และได้เห็นดอกลูกผสมแล้ว
อนึ่งเป็นรองเท้านารีชนิดหนึ่ง ซึ่งมีผู้นำมาปลูกลงกระบะ ซึ่งทำในลักษณะเป็นโต๊ะ โดยที่ปลูกไว้หลายต้นจนกระทั้งแตกเป็น กอใหญ่ เมล็ดจากต้นเดิม ซึ่งเกิดตามธรรมชาติได้กระจายและงอกเป็นต้นเล็กๆ ปรากฎทั่วไปบนผิวพื้นเครื่องปลูกใกล้ๆ ต้นแม่ และปล่อยให้เจริญเติบโตขึ้นมาจนมีดอกด้วย




รองเท้านารีช่องอ่างทอง
Paphiopedilum niveum 'Ang Thong'

ชื่อไทยของรองเท้านารีชนิดนี้ ได้จากชื่อแหล่งกำเนิดแห่งหนึ่งในทะเลบริเวณอ่าวไทย คือ หมู่เกาะช่องอ่างทอง ในเขต จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีลักษณะต้นและใบคล้ายกันกับรองเท้านารีขาวสตูลมากยกเว้นแต่ว่าต้นและใบของแต่ละต้นในกลุ่ม เดียวกัน มีความหลากหลายของลักษณะที่เห็นได้กว้างขวางมาก เช่น สีใบ จุดที่กระจายอยู่ในดอกของแต่ละต้น ก็มีความแตกต่างหลากหลาย จนกระทั้งทำให้เกิดการสันนิษฐานว่า น่าจะเป็นลูกผสมธรรมชาติระหว่างรองเท้านารีขาวสตูลกับฝาหอย นำมาปลูกเลี้ยงได้ง่าย และให้ดอกง่ายในสภาพแวดล้อมของกรุงเทพฯ แต่ไม่สู้จะทนทานต่อโรค ไส้เดือนฝอย ชนิดที่เข้าไปอาศัยในใบและทำลายทำให้ เกิดเน่าทั้งกอเมื่อเจริญเป็นกอใหญ่ๆ ผู้เขียนไม่คิดว่าการควบคุมปัญหานี้ โดยใช้สารเคมีจะเป็นสิ่งควรสนับสนุน หากคิดว่าแม้ใน ธรรมชาติก็สามารถอยู่ได้ น่าจะมีวิธีการบนพื้นฐาน ธรรมชาติที่สามารถแก้ไขได้ ซึ่งกำลังศึกษาค้นคว้าต่อไปอีก เช่นอาจขาดธาตุบางอย่าง ซึ่งมีอยู่ในธรรมชาติที่ช่วยให้พันธุ์ไม้ สามารถต้านทานศัตรูนี้ได้ดี
แหล่งกำเนิดหาใช่มีเฉพาะในบริเวณหมู่เกาะช่องอ่างทองเท่านั้น พบตามภูเขาหินปูนตั้งแต่เขตจังหวัด ประจวบคีรีขันธ์ ลงไปทางใต้ มีความหลากหลายในลักษณะรายละเอียดด้วย ทำให้กล้วยไม้รองเท้านารีชนิดนี้น่าสนใจและรู้สึกท้าทาย ต่อการนำมาปลูกเลี้ยงและศึกษา รวมทั้งใช้ประโยชน์บนความหลากหลายอย่างลักษณะดอก






รองเท้านารีอ่างทอง
Paphiopedilum angthong

ถิ่นกำเนิดอยู่ตามหมู่เกาะบริเวณอ่าวไทย เช่น หมู่เกาะอ่างทอง เกาะสมุย เป็นต้น ลักษณะเด่นของกล้วยไม้พันธุ์นี้ คือ ปลายใบมน ด้านบนสีเขียวคล้ำประลาย ด้านใต้ท้องใบสีม่วงแก่ ก้านดอกยาวมีขน ดอกค่อนข้างเล็กขนาดไม่สม่ำเสมอ การประจุดกระจายจากโคนกลีบ พื้นกลีบดอกสีขาว กลีบค่อนข้างหนา



รองเท้านารีเหลืองกาญจน์
Phaph. concolor var. striatum

แหล่งเกิด สังขละและเจดีย์สามองค์ - กาญจนบุรี ฤดูดอก ตลอดปี



รองเท้านารีเมืองกาญจน์ หรือรองเท้านารีหนวดฤาษี
Papiopedilum parishii (Rchb. f.) Pfitz.

เป็นกล้วยไม้รองเท้านารีชนิดหนึ่งในสองชนิดที่พบขึ้นบนพื้นผิวของต้นไม้ใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นต้นไม้ที่มีลักษณะ ผิวหนาสามารถอุ้มความชื้นได้ดี และช่วยให้ระบบรากพึ่งพาอาศัยได้มาก รวมทั้งมีอัตราการผุของผิวสามารถป้อนอาหารจากอินทรีย์วัตถุ ให้กับรากได้อย่างดีด้วย พบในทำเลซึ่งอยู่บนภูเขา ซึ่งมีระดับความสูงจากน้ำทะเลไม่ต่ำกว่า ๗๐๐ เมตร เช่นในบริเวณตอนเหนือของจังหวัดกาญจนบุรี และบริเวณเทีอกเขาภูหลวงจังหวัดเลย และอาจเลยเข้าไปถึงจังหวัดใกล้เคียงใบมีสีเขียวปลอด ทรงต้นมีขนาดค่อนข้างใหญ่กว่าประเภทใบลายที่ได้กล่าวมาแล้ว ช่อดอกอาจยาวถึง ๓๐ ซม. และมีดอกบนก้านช่อได้ถึง ๗-๘ ดอก กลีบดอกสีเขียว ปลายกลีบสีม่วงปนน้ำตาลคล้ำ กลีบในเรียวแคบ และบิดเป็นเกลียวเล็กน้อยฤดูดอกประมาณ ระหว่าง เดือนพฤศจิกายน ถึง ธันวาคม ในจังหวัดภาคเหนือของประเทศไทย แม้ในบรรยากาศของเมืองซึ่งอยู่ในที่ราบก็มีผู้สามารถปลูกและให้ดอกได้ดี แต่จากกรุงเทพลงไปสู่ภาคใต้ปลูกค่อนข้างยาก







รองเท้านารีคางกบ
Paphiopedilum callosum (Rchb. f.) Pfitz.

เป็นรองเท้านารีในประเภทใบลาย ปลายใบเรียวแหลม ไม่มนเช่นชนิดใบลายต่างๆ ที่ได้กล่าวมาแล้ว ดอกมีไฝ (warts) คล้ายจุดใหญ่ๆ แต่มีขนที่จุดประปรายอยู่ตามผิวของกลีบในทั้งคู่ กลีบนอกบนตั้งและกว้างเล็กน้อย ริมกลีบสีขาว ด้านในมีเส้น สีม่วงคล้ำบนพื้นสีเขียว กลีบในทั้งคู่แคบ เฉียงลงด้านล่างเล็กน้อย ก้านดอกยาวประมาณ ๑๕-๒๐ ซม. ก้านดอกแข็ง ให้ดอก เดี่ยว ในทำเลซึ่งเป็นถิ่นกำเนิด ให้ดอกประมาณเดือนกรกฏาคมถึงสิงหาคม ซึ่งเป็นช่วงกลางฤดูฝน แหล่งกำเนิดอยู่ใน พื้นที่ซึ่งมี ระดับสูงจากน้ำทะเลค่อนข้างสูงหรือประมาณ ๕๐๐-๗๐๐ เมตร ในเขตภาคเหนือ นำมาปลูกให้ดอกได้ดีในภาคเหนือด้วย แม้จะเป็นพื้นที่ราบ แต่ก็มีความสูงระดับน้ำทะเลปานกลาง เคยเป็นที่นิยมกันอย่างกว้างขวาง ในกลุ่มประเทศยุโรปตะวันตก ที่เอาเงินมาล่อคนท้องถิ่น ให้ขนขายกันอย่างขาดเหตุ และผลทางด้านผู้ซื้อก็มีการกดราคา มาก จนกระทั้งกำหนดวิถีชีวิตคนท้องถิ่นสมัยนั้น ให้จำต้องเก็บจากป่า
ในตลาดยุโรป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเยอรมัน และเนเธอร์แลนด์ เคยนิยมกล้วยไม้ชนิดนี้กันอย่างกว้างขวาง โดยที่มีการนำไปปลูกพักไว้ในเรือนกระจก ระยะหนึ่งไม่เกิน ๑ ปี เมื่อมีดอกจะนำออกจำหน่ายตามร้านค้าดอกไม้ ให้คนนำไปใช้เป็นไม้กระถาง ตั้งประดับในอาคารบ้านเรือนและร้านค้า








รองเท้านารีเหลืองปราจีน
Paphiopedilum concolor

ค้นพบเมื่อปี พ.ศ. 2402 มีถิ่นกำเนิดอยู่แถบอำเภออรัญประเทศ จังหวัดปราจีนบุรี ลักษณะเด่นของกล้วยไม้พันธุ์นี้ คือ มีใบลาย ท้องใบสีม่วง ก้านดอกยาวมีขน อาจมี 2–3 ดอกบนก้านเดียวกันได้ กลีบดอกด้านบนผายออกคล้ายพัด ปลายมนสูง กลีบในกางพอประมาณ เมื่อดอกบานจะคุ้มมาข้างหน้าแลดูคล้ายดอกบานไม่เต็มที่ พื้นดอกสีเหลืองอ่อน มีประจุดเล็กๆ สีม่วงประปราย กระเปาะสีเดียวกับกลีบดอก ปลายกระเปาะค่อนข้างเรียวแหลมและงอนปลายเส้าเกสรเป็นแผ่นใหญ่





รองเท้านารีขาวชุมพร
ลักษณะ ออกดอกเดียว ก้านดอกสีม่วงแดงเรื่อ มีขนสั้น กลีบและกระเป๋าสีขาว
มีจุดสีม่วงกระจาย มีมากที่กลีบนอกบน ดอกขนาด 5 - 6 เซนติเมตร
ดอกเติบโตได้ดีในที่ที่มีอากาศชุ่มชื้นในอากาศสูง ค่อนข้างร่ม ดอกจะบานนาน
ออกเดือนเมษายน - สิงหาคม และพฤศจิกายน - ธันวาคม






รองเท้านารีเหลืองกระบี่
Pahpiopedilum exul (O' Brien) Pfitz.

เป็นรองเท้านารีชนิดซึ่งมีใบสีเขียวปลอด ไม่มีลายเช่นชนิดอื่นๆ ที่พบในบริเวณภาคใต้ของประเทศไทย พบขึ้นอยู่บนชะง่อนหินปูน เช่นในบริเวณอ่าวพังงา และภูเขาหินปูนในเขตจังหวัดกระบี่ ตลอดจนบริเวณใกล้เคียง
ลักษณะของภูมิประเทศที่พบกล้วยไม้ชนิดนี้ แม้บางครั้งอาจพบบนภูเขาลูกเดียวกันกับขาวสตูล หรือเหลืองตรัง แต่ก็อยู่ในจุดซึ่งมีสภาพแวดล้อมแตกต่างกันเด่นชัดมาก แทนที่จะอยู่ตามซอกหิน ซึ่งค่อนข้างซ่อนเร้น จากแสงแดดที่แรงกล้า และกระแสความแรงของสายฝน กลับขึ้นอย่างท้าทายอยู่กลางแสงแดด บนโขดหินอย่างเปิดเผย แม้ในบางจุด จะพบอยู่บนชะง่อนหิน ที่ยื่นออกมาจากหน้าผาชันมาก แต่ก็ยังคงอยู่กลางที่โล่งแจ้ง ในระหว่างเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์ หรือเลยไปถึงมีนาคม จะออกดอกสีเหลืองอร่ามปกคลุมโขดหินอยู่ทั่วๆ ไป การนำมาปลูกเลี้ยงจึงควรให้แสงแดดมากกว่าชนิดอื่นๆ แต่ก็ไม่ควรให้อยู่ในบริเวณที่อับลมมากนัก
การปลูกเลี้ยงไว้เป็นกอใหญ่ๆ กระทำได้ไม่ยาก และสามารถให้ดอกได้คราวเดียวกันหลายๆ ดอก ก้านดอกยากประมาณ ๑๕ ซม. มีดอกเดี่ยว กลีบดอกไม่กว้างเช่นชนิดอื่นๆ ที่กล่าวมาแล้ว กลีบบนมีริมสีขาวในกลีบมีบริเวณสีเขียว และมีจุดขนาดใหญ่สีม่วงน้ำตาลคล้ำกลีบในค่อนข้างแคบ ริมกลีบเป็นคลื่นเล็กน้อยงุ้มมาสู่ด้านหน้า ปากหรือหัวรองเท้าสีเหลืองอมเขียว ผิวเป็นเงางามจัดได้ว่าเป็นกล้วยไม้รองเท้านารีชนิดหนึ่งที่สามารถนำมาปลูกเลี้ยง และให้ดอกได้ดีในบรรยากาศของท้องถิ่นที่ร้อน และชุ่มชื้นพอสมควร






รองเท้านารีสุขะกุล
Pahiopedilum sukhakulii Schoser & Senghas

ชื่อนี้ได้รับจากนามสกุลครอบครัวหนึ่ง ซึ่งเป็นเจ้าของบริษัท กล้วยไม้ "บางกระบือเนิสเซอรี่" ซึ่งในยุคหนึ่งเคยเน้นการส่งกล้วยไม้ป่าแต่ต่อมาก้ได้ศึกษาหาแนวทางการผลิต และเพราะเมล็ดตลอดจนขยายพันธุ์ในสว่นเพื่อการส่งเสริมและการผลิดเป็นการค้าด้วย การเปลี่ยนแปลงวิถีเช่นนี้ก็เป็นสิ่งที่นาสนับสนุนในการเรียนนรู้ และการปรับเปลี่ยนไปสู่แนวทางใหม่ด้วยความตั้งใจที่ดี
รองเท้านารีชนิดนี้มีลักษณะต้นและใบโดยทั่วไป คล้ายคลึงกันกับรองเท้าคางกบ แต่หากสังกัดได้ถึงรายละเอียด จะพบความแตกต่าง เช่น โคนต้นหรือกาบใบในขณะที่มีสภาพอากาศค่อนข้างแล้งสักหน่อย จะปรากฏสีม่วงเล็กน้อย มีกลีบในทั้งคู่ค่อนข้างกางและปลายแหลม มีจุดกระจายอยู่ทั่วไปบนกลีบ และมีพื้นซึ่งมีเส้นขนานเล็กๆ สีเขียวยาวตามความยาวของกลีบ ในช่วงหลังๆ นี้ ปรากฏผลงานผสมพันธุ์ผลิตลูกผสมที่สวยงามน่าสนใจ อย่างกว้างขวางจากกล้วยไม้ชนิดนี้ ซึ่งเป็นผลงานจากต่างประเทศ แต่ขณะเดียวกัน ในต่างประเทศก็ได้นำพันธุ์ธรรมชาติไปรวบรวมสะสม ไว้แล้วเป็นจำนวนมาก เพื่อใช้เป็นฐานการพัฒนาและสร้างผลประโยชน์แก่เขาเองด้วย




รองเท้านารีเหลืองเลย
Paphiopedilum hirsutissimum (Lindl.ex Hook.) Stein var. esquirolei (Schltr.) Cribb

สกุลย่อย Paphiopedilum
หมู่ Paphiopedilum
จำนวนโครโมโซม 2n=26
ถิ่นกำเนิด มีการกระจายพันธุ์ทางตะวันออกเฉียงเหนือของจีน เวียดนาม และทางภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือของไทย เช่น จังหวัดเพชรบูรณ์ เลย ซึ่งสูงจากระดับน้ำทะเล ๑,๒๐๐-๑,๘๐๐ เมตร
ลักษณะทั่วไป มีการเจริญเติบโตแบบพืชอาศัยบนดินหรือพืชอิงอาศัย
ต้น มีพุ่มใบขนาด ๒๘-๓๒ เซนติเมตร
ใบ รูปแถบ กว้าง ๑-๒ เซนติเมตร ยาว ๒๘-๓๒ เซนติเมตร แผ่นใบหนาสีเขียวเป็นมัน
ดอก เป็นดอกเดี่ยว ก้านดอกตั้งตรง สีเขียว ยาว ๑๗-๒๕ เซนติเมตร และมีขนสีม่วงแดงปกคลุมจำนวนมาก เมื่อดอกบานเต็มที่มีขนาด ๘-๑๐ เซนติเมตร กลีบนอกบนมีสีเหลืองอมเขียว หรือเขียวอ่อน มีจุดสีน้ำตาลอมม่วงจำนวนมาก โคนกลีบสีเหลือง ถัดมามีจุดประสีน้ำตาลอมเหลือง ปลายกลีบสีชมพูและบิดเล็กน้อย ขอบกลีบบนย่นเป็นคลื่นและมีขนสั้นปกคลุม กระเป๋ามีสีเหลืองและจุดประสีม่วงกระจายทั่ว โล่สีเหลือง และมีจุดประสีน้ำตาลจำนวนมาก รูปทรงเป็นรูปสี่เหลี่ยม ขนาด ๑ เซ็นติเมตร มีจุดสีขาวนวล ๓ จุด
ฤดูออกดอก ธันวาคม - มีนาคม
ลักษณะนิสัย ชอบอากาศเย็น ถ้านำมาปลูกในกรุงเทพฯ จะไม่ออกดอก






รองเท้านารีเหลืองตรัง
Paphiopedilum godefroyae (Godefr. ) Pfitz.

ลักษณะต้นและอุปนิสัยการเจริญงอกงาม คล้ายคลึงกันกับรองเท้านารีขาวสตูลมาก แต่ช่อดอกสั้นกว่า และโดยทั่วๆ ไปแต่ละช่อ จะให้ดอกเพียงดอกเดียว อาจมี ๒ ดอก ที่ปลายช่อได้แต่พบเพียงดอกเดียว อาจมี ๒ ดอก ที่ปลายช่อได้แต่พบ ไม่บ่อยนัก ดอกมีขนาด ๔-๖ ซม. ใหญ่กว่าดอกรองเท้านารีขาวสตูลเล็กน้อย กลีบดอกค่อนข้างหนา พื้นกลีบสีเหลืองนวลฝนน้ำตาลอ่อนๆ ประจุดขนาดใหญ่กว่า สีจุดม่วงน้ำตาลแก่ บางดอกมีจุดติดๆ กันหน้าทึบพอสมควร เป็นรองเท้านารีอีกชนิดหนึ่งซึ่งพบอยู่ในทำเลซึ่งมีสภาพแวดล้อมคล้ายคลึงกันกับรองเท้านารีขาวสตูล อาจแยกทำเลกันบ้าง บางแห่งก็พบขึ้น ปนกันอยู่ ความหนาแน่นในแหล่งกำเนิดของพันธุ์ไม้ชนิดนี้ ไม่มากเท่ากับขาวสตูล จัดเป็นรองเท้านารีที่สวยงามน่าสนใจอีกชนิดหนึ่ง





รองเท้านารีฝาหอย
Paphiopedilum bellatulum (Rchb. f.) Pfitz.

เป็นกล้วยไม้รองเท้านารี อีกชนิดหนึ่งที่น่าสนใจ นำมาปลูกเลี้ยงและผสมพันธุ์ พัฒนาพันธุ์ให้เกิดลูกผสมชนิดใหม่แปลกๆ หรือใครที่ไม่สนใจผสม ก็อาจนำมาปลูกไว้เพื่อเสริมสร้างรากฐานการศึกษาและสั่งสมจิตวิญญาณ ความรักธรรมชาติให้ลึกซึ้ง มากขึ้นในตนเองได้ เป็นชนิดที่ใบมีลายสีเขียวแก่สลับเขียวอ่อนคล้ายคลึงกันกับเหลืองปราจีน แต่ผู้มีประสบการณ์อาจสามารถ จำแนกแยกแยะออกจากกันได้ไม่อยากนัก เนื่องจากความแตกต่างในรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ โดยไม่ต้องอาศัยตำราบนแผ่น กระดาษ ดอกมีกลีบหนามากรูปลักษณะกลมหากมองจากด้านหน้า มีจุดสีม่วงน้ำตาลคล้ำจุดค่อนข้างใหญ่หากเปรียบเทียบกับ ชนิดอื่นๆ ที่ได้กล่าวมาแล้วก้านดอกอ่อนจนถึงห้อยลงด้านล่าง ไม่สามารถพยุงน้ำหนักดอกได้ฤดูที่มีดอกมากอยู่ในราวเดือน พฤศจิกายนถึงกุมภาพันธุ์ แต่ก็มีประปราย ตั้งแต่ในราวกลางฤดูฝน หรือระหว่างเดือนสิงหาคม เป็นต้นไปแหล่งกำเนิดอยู่บนเขา หินปูนในจังหวัดภาคเหนือของประเทศไทยดังเช่นที่รู้ๆ กันว่า พบในเขตดอยเชียงดาว ในบริเวณซึ่งมีความสูงจากระดับน้ำทะเล ไม่ต่ำกว่า ๗๐๐ เมตร นำลงมาปลูกออกดอกได้ดีในที่ราบของเมืองเชียงใหม่ แต่ในกรุงเทพฯ ออกดอกยาก
ในวงการกล้วยไม้ไทย เมื่อมีการจัดงานแสดง และประกวดกล้วยไม้ และมี่กล้วยไม้รองเท้านารีชนิดนี้ร่วมแสดง เจ้าของ มักใช้ไม้เล็กๆ พยุงก้านดอกให้ตั้งขึ้นเนื่องจากปกติ หรือโดยธรรมชาติ จะห้อยลงแต่เมื่อได้ไปพบเห็นในประเทศอื่นซึ่งมาเอา ไปปลูก เขานิยมปลูกไว้เป็นกอใหญ่ ใช้กระถาง ซึ่งสามารถนำมาแขวนได้แล้วปล่อยให้ดอก ซึ่งมีหลายดอกห้อยลงมาโดยรอบ นับว่าเป็นการใช้ศิลปะ ที่ไม่ฝืนธรรมชาติและทำให้ดูสวยงามได้






รองเท้านารีดอยตุง
Paphiopedilum Charlesworthii (Rolfe) Pfitzer

สกุลย่อย Paphiopedilum
หมู่ Paphiopedilum
จำนวนโครโมโซม 2n=26
ถิ่นกำเนิด มีการกระจายพันธุ์ในพม่าและไทย ซึ่งสูงจากระดับน้ำทะเล ๑,๒๐๐-๒,๐๐๐ เมตร
ลักษณะทั่วไป มีการเจริญเติบโตแบบพืชอาศัยบนดิน
ต้น มักเจริญเป็นกลุ่ม มีพุ่มใบขนาด ๒๐-๒๕ เซนติเมตร
ใบ รูปแถบ กว้าง ๒.๕ - ๓ เซนติเมตร ยาว ๑๕-๒๐ เซนติเมตร แผ่นใบสีเขียวเข้มเป็นมัน โคนกาบใบมีจุดสีม่วงเข้ม
ดอก เป็นดอกเดี่ยว ก้านดอกตั้งตรงสีม่วงแดง ยาว ๑๕-๒๐ เซนติเมตร และมีขนสั้นๆปกคลุม เมื่อดอกบานเต็มที่มีขนาด ๗-๙ เซนติเมตร กลีบนอกบนมีสีชมพูเป็นมัน โคนกลีบมีสีม่วงเข้ม และเส้นร่างแหสีม่วงกระจายทั่ว กลีบดอกงุ้มมาด้านหน้า ขอบกลีบย่นเล็กน้อย มีสีเหลืองอมน้ำตาล และเส้นร่างแหสีน้ำตาลแน่นหนา กระเป๋าสีเหลืองอมน้ำตาลเป็นมัน รูปทรงเป็นรูปหัวใจกลับขนาด ๐.๘ - ๑ เซ็นติเมตร กึ่งกลางมีติ่งสีเหลือง ด้านล่างหยักและมีติ่งแหลมเล็กน้อย
ฤดูออกดอก ตุลาคม - กุมภาพันธ์
ลักษณะนิสัย ชอบความอากาศเย็น ปลูกเลี้ยงง่าย ถ้าปลูกในที่ร่มดอกจะบานได้หลายวัน ปัจจุบันสูญพันธุ์ไปจากธรรม ชาติแล้ว(ในประเทศไทย) ยังพบอยู่ในรัฐฉาน พม่า จัดเป็นพันธุ์ที่หายาก ราคาแพง ถ้าฟอร์มดอกใหญ่และมีสีเข้ม










รองเท้านารีดอยตุงกาญจน์
(P. vetwaruttianum)




รองเท้านารีอินทนนท์
Paphiopedilum villosum (Ldl.) Pfitz.

เป็นกล้วยไม้รองเท้านารี อีกชนิดหนึ่งที่พบขึ้นอยู่บนต้นไม้ใหญ่ ในลักษณะคล้ายคลึงกันกับรองเท้านารีเมืองกาญจน์ พบในทำเลซึ่งอยู่บนภูเขาที่มีระดับสูงจากน้ำทะเลไม่ต่ำกว่า ๑,๒๐๐ เมตร เช่น ที่บริเวณดอยอินทนนท์ และดอยสูงๆ ในเขตจังหวัดเลยและชัยภูมิ เช่น บริเวณภูหลวงและภูกระดึง
ก้านดอกยาวประมาณ ๑๐-๑๒ ซม. มีดอกเดี่ยว ดอกกว้างประมาณ ๑๐-๑๒ ซม. กลีบดอกหนา พื้นกลีบเป็นมันเงา พื้นกลีบเป็นมันเงา พื้นดอกสีเหลืองปนน้ำตาล กลีบในทั้งคู่ แต่ละกลีบมีเส้นแบ่งตามความยาวของกลีบ ทำหให้รู้สึกว่าเป็นสองซีก ซีกหนึ่งมีสีแก่กว่าอีกซีกหนึ่ง ให้ดอกในช่วงเดือน ธันวาคม - กุมภาพันธ์ เป็นกล้วยไม้รองเท้านารีชนิดหนึ่ง ซึ่งในกลุ่มประเทศตะวันตก นำไปใช้ประโยชน์ เป็นพื้นฐานการผสมพันธุ์มาช้านานแล้ว เนื่องจากแหล่งกำเนิดอยู่บนเทือกเขาหิมาลัย ซึ่งมิใช่มีเพียงในภาคเหนือของประเทศไทยเท่านั้น หากยาวเหยียดผ่านประเทศพม่า ไปสู่อินเดีย ซึ่งเป็นดินแดนที่เคยถูกยึดครองโดยอังกฤษมาเป็นเวลานาน








รองเท้านารีอินทนนท์ลาว



รองเท้านารีอินทนนท์ใบแคบ



รองเท้านารีเหลืองพังงา
Paphiopedilum leucochilum

ค้นพบเมื่อปี พ.ศ. 2435 ถิ่นกำเนิดอยู่บนภูเขาหินปูนแถบฝั่งทะเล ในจังหวัดภาคใต้ ลักษณะเด่น คือ มีลักษณะคล้ายกับรองเท้านารี “เหลืองตรัง” แต่รองเท้านารีเหลืองพังงาจะมีสีครีมออกเหลือง และที่กระเปาะมีจุดประเล็กๆ สีน้ำตาล



รองเท้านารีเชียงดาว
Paphiopedilum dianthum

ค้นพบเมื่อปี พ.ศ. 2483 ถิ่นกำเนิดอยู่บนดอยเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ลักษณะเด่นของกล้วยไม้พันธุ์นี้ คือ มีลักษณะคล้ายคลึงกับรองเท้านารีเมืองกาญจน์ แต่กระเปาะของรองเท้านารีเชียงดาวกว้างกว่า กลีบนอกบนสีเขียว มีเส้นเขียว



รองเท้านารีปีกแมลงปอ หรือรองเท้านารีสุขะกูล
Paphiopedilum sukhakulii Schoser & Senghas

กล้วยไม้ดิน สูง ๑๐-๑๕ เซนติเมตร ใบ ใบเดี่ยว ออกสลับ๕-๘ ใบ รูปขอบขนานกว้าง ๔ เซนติเมตร ยาว ๒๐ เซนติเมตรด้านบนสีเขียวแก่สลับเขียวอ่อน ด้านล่างสีเขียวอ่อนปลายแหลมโคนซ้อนกัน ดอก มีหลายสีในดอกเดี่ยวกัน คือ สีเขียว ม่วงอมนำ้ตาล ขาว และชมพู ออกเดี่ยวที่ปลายยอด มีก้านดอกยาว ๒๕เซนติเมตร กลีบเลี้ยงด้านบนรูปหัวใจ ปลายแหลม สีขาว และมีเส้นเขียวพาดตามยาว กลีบเลี้ยงด้านล่าง ๒ กลีบ เชื่อมกันและแคบ กลีบดอก ๒ ข้างรูปขอบขนานปลายเรียว กว้าง ๑.๕เซนติเมตร ยาว ๖ เซนติเมตร สีเขียวอ่อน และมีเส้นสีเขียวเข้มพาดตามความยาวมีจุดสีม่วงอมน้ำตาลทั่วกลีบขอบมีขนสีน้ำตาลกระเป๋ารูปรองเท้าแตะปลายสีเขียวเหลือบโคนสีม่วงอมน้ำตาลมีเส้นสีม่วงเป็นตาข่ายกระจายทั่วไป เมื่อบานกว้างประมาณ ๑๐ เซนติเมตร ยาวประมาณ ๑๒.๕ เซนติเมตร เกสรตัวผู้ ๒ อัน รังไข่อยู่ใต้ส่วนของดอก ผล ฝักรูปขอบขนานยาวประมาณ ๓ เซนติเมตร เมล็ดจำนวนมาก
นิเวศวิทยา ถิ่นกำเนิด ไทย ขึ้นที่ระดับความสูงจากน้ำทะเล ๑,๐๐๐ เมตร บริเวณใบไม้ผุตามโคนต้นไม้ริมลำธาร และที่มีความชื้นสูง
ออกดอก พฤษภาคม - มิถุนายน
ขยายพันธ์ เมล็ด หน่อ








รองเท้านารีเขาค้อ



รองเท้านารีม่วงสงขลา
Paphiopedilum barbatum
ถิ่นกำเนิดอยู่ที่อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา ลักษณะเด่นของกล้วยไม้พันธุ์นี้ คือ มีลักษณะคล้ายคลึงกับรองเท้านารีฝาหอย แต่ดอกมีสีม่วงเข้มกว่า



รองเท้านารีเหลืองอุดร



รองเท้านารีอินซิกเน่ (P. insigne)



....Paph. amandaj...



Paph.miranthum



Paph_volonteanum_X_fowliei_IraGlass
อะนี้เป็นลูกผสม หลายสายพันธุ์หน่อยนะ






 

Create Date : 06 กุมภาพันธ์ 2549
4 comments
Last Update : 6 กุมภาพันธ์ 2549 16:12:21 น.
Counter : 3623 Pageviews.

 

สวยจับใจเลย

 

โดย: Aisha 6 กุมภาพันธ์ 2549 21:08:29 น.  

 

มามจับใจ

 

โดย: ภัทร IP: 202.28.35.245 29 กันยายน 2549 18:55:39 น.  

 

สุขสมภพวันคริสตสมภพปี2549
คริสตจักรโปรเตสแตนต์สถาน
สภาคริสตจักรในประเทศไทย

 

โดย: สภาคริสตจักรในประเทศไทย IP: 203.150.139.33 19 มีนาคม 2550 12:34:00 น.  

 

สวยจังเลยคับ

 

โดย: จอม IP: 125.25.198.82 4 กรกฎาคม 2551 12:11:34 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


maip
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]








Friends' blogs
[Add maip's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.