มกราคม 2554
 
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
9 มกราคม 2554
 

ทรัพย์สิน ลักษณะที่1

ทรัพย์สิน ลักษณะที่1
ประมวลกฏหมายแพ่งและพานิชย์ ก่อตั้งทรัพยสิทธิ
มาตรา 1298 การได้มาซึ่งทรัพยสิทธิทั้งหลายกฏหมายว่าจะก่อตั้งก็ด้วยอาศัยอำนาจตามประมวลกฏหมายนี้และกฏหมายอื่น
จาก หลักกฏหมายการได้มาซึ่งทรัพยสิทธิ
1.โดยผลของกฏหมาย เช่น สิทธครอบครอง สิทธิครอบครองปรปักษ์ การปลูกสร้างโรงเรือนรุกล้ำ
2.โดยนิติกรรมสัญญา
จาก โดยผลของกฏหมาย กฏหมายวางหลักการได้มาตามบทบัญญัตตามที่กฏหมายบัญญัติไว้เฉพาะว่าการได้มากฏหมายกำหนดไว้เฉพาะตามบทบัญญัติของกฏหมายตามประมวลกฏหมายหรือตามประมวลกฏหมายอื่น
จาก โดยนิติกรรมสัญญา การกระทำซึ่งทำให้เกิดผลในทางกฏหมายจากเจตนาของบุคคล
เช่น โดยผลของกฏหมาย การได้มาซึ่งสิทธิครอบครอง บุคคลใดยึดถือทรัพย์สินโดยเจตนายึดถือเพื่อตนบุคคลนั้นได้สิทธิครอบครองโดยผลของกฏหมาย
เช่น การซื้อขายที่ดินระหว่างบุคคล2ฝ่ายเป็นสัญญาที่ก่อให้เกิดนิติกรรมสัญญา
ประมวลกฏหมายแพ่งและพานิชย์ กฏหมายคุ้มครองบุคคลผู้จะทะเบียนซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์มาตรา 1299 ภายในบังคับแห่งประมวลกฏหมายนี้หรือกฏหมายอื่น ท่านว่าการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์นั้นไม่บริบูรณ์ เว้นแต่นิติกรรมจะได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนกับพนักงานเจ้าหน้าที่
จาก มาตรา 1299 วรรค1 เป็นหลักกฏหมายทั่วไปการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์นั้นต้องทำเป็นหนังสือกล่าวคือ นิติกรรมต้องทำเป็นหนังสือระหว่างคู่สัญญา การทำเป็นหนังสือระหว่างคู่สัญญานั้น หมายถึง ลงลายมือชื่อคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายและผู้ลงลายมือชื่อต้องเป็นผู้มีอำนาจทำนิติกรรม การได้อสังหาริมทรัพย์หรือทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ต้องได้รับโอนจากผู้มีอำนาจจะโอนให้ จากหลักกฏหมายที่ว่า ผู้รับโอนมีมีสิทธิดีกว่าผู้โอน
และต้องจดทะเบียนกับพนักงานเจ้าหน้าที่ หมายถึง พนักงานเจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจหน้าที่ถูกต้องตามกฏหมาย ถ้าเป็นที่ดินต้องตามประมวลกฏหมายที่ดิน
และ ไม่บริบูรณ์ ดังกล่าวหมายถึง ไม่บริบูรณ์ในฐานะทรัพยสิทธิแต่ก็ยังสามารถบังคับกันได้ในฐานะบุคคลสิทธิระหว่างคู่สัญญา คือ นิติกรรมระหว่างคู่สัญญา
การได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์กฏหมายกฏหมายบัญญัติวิธีการได้มา 2 กรณี
1. การได้มาโดยทางนิติกรรม (มาตรา1299วรรค1)
2. การได้มาโดยทางอื่นนอกจากนิติกรรม (มาตรา1299วรรค2)
มาตรา1299วรรค2 ถ้ามีผู้ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์โดยทางอื่นนอกจากนิติกรรม สิทธิของผู้ได้มาถ้ายังมิได้จดทะเบียนไซร์ ท่านว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนไม่ได้และสิทธิอันยังมิได้จดทะเบียนนั้น มิให้ยกขึ้นเป็นข้าต่อสู้บุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริตและได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้ว
จาก หลักกฏหมายผู้ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์โดยทางอื่นนอกจากนิติกรรม ถ้ายังไม่ได้จดทะเบียนการได้มา กฏหมายวางหลักไว้ว่าสิทธิที่ได้มาไม่ให้ยกเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริตและได้จะทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้ว
มาตรา1299วรรค2 ผู้รับโอนจากผู้ทรงสิทธิเดิมมีสิทธิดีกว่า
1.เป็นบุคคลภายนอก หมายถึง บุคคลอื่นที่ไม่ใช้เจ้าของ ผู้สืบสิทธิ หรือทายาทของเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ เช่น ทายาทโดยธรรมไม่เป็นบุคคลภายนอก
2.ได้มาโดยเสียค่าตอบแทน หมายถึง สิทธิที่ได้มาโดยเสียค่าตอบแทนที่เป็นราคาแต่ไม่จำเป็นต้องเป็นเงินตอบแทนเสมอไป
3.ได้สิทธิมาโดยสุจริต หมายถึง สุจริตในการได้สิทธิ เช่น ไม่รู้ว่ารับโอนจากผู้สิ้นสิทธิ แต่ถ้าบุคคลนั้นประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงถือว่าสุจริตไม่ได้
4.ได้จดทะเบียนสุจริตแล้ว หมายความว่า สุจริตตั้งแต่แรกและได้จะทะเบียนรับโอนโดยสุจริต เช่น นายสีครอบครองปรปักษ์ที่ดินนายแสงนานเกินกว่า 10 ปีแต่ยังมิได้จดทะเบียนการได้มาต่อมานายแสงเจ้าของที่ดินเดิมโอนที่ดินนั้นให้นายใสโดนายใสย่อมมีสิทธิดีกว่านายสี
ประมวลกฏหมายแพ่งและพานิชย์ บุคคลผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อน
มาตรา1300 ถ้าได้จดทะเบียนการโอนอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์เป็นทางเสียเปรียบแก่บุคคลผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนไซร้ท่านว่าบุคคลนั้นอาจเรียกให้เพิกถอนการจดทะเบียนนั้นได้แต่การโอนอันมีค่าตอบแทนซึ่งผู้รับโอนกระทำการโดยสุจริตนั้นไม่ว่ากรณีใดท่านว่าจะเรียกให้เพิกถอนทางทะเบียนไม่ได้
จาก หลักกฏหมายมาตรา1300วางหลักไว้ว่า การที่บุคคลผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนสามารถเพิกถอนการจดทะเบียนการโอนอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ได้แต่ถ้าการโอนการจดทะเบียนได้โอนโดยมีค่าตอบแทนและโอนโดยสุจริตแล้วไม่ว่ากรณีใดไม่สามารถเพิกถอนได้
และ บุคคลผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อน หมายความว่า บุคคลผู้รับโอนต้องได้รับโอนมาในรูปแบบทรัพยสิทธิบังคับถึงบุคคลภายนอกได้แล้วไม่ใช้เพียงบุคคลสิทธิบังคับได้เฉพาะคู่กรณี เช่น สัญญาจะซื้อจะขายเป็นเพียงสัญญาซึ่งบุคคลสิทธิบังคับได้ซึ่งบังคับได้ระหว่างคู่สัญญา




 

Create Date : 09 มกราคม 2554
0 comments
Last Update : 9 มกราคม 2554 20:19:14 น.
Counter : 1621 Pageviews.

 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

cholpitak
 
Location :
สระแก้ว Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




[Add cholpitak's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com