"Be the change you want to see in the world." - महात्मा (Mahatma Gandhi)

จอมเยอะเล่า
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]




สิ่งที่น่านับถือในจอมยุทธ์หาใช่วิทยายุทธไม่
Group Blog
 
 
กรกฏาคม 2555
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
8 กรกฏาคม 2555
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add จอมเยอะเล่า's blog to your web]
Links
 

 

แอร์ ขนาด BTU, กินไฟ unit/year, กระแส



เรื่องแอร์รำคาญใจผมมานานแล้ว
วันนี้เลยลงทุนอ่านอย่างจริงจัง (นิดหน่อย) จากอินเตอร์เนตหวังว่าคงเชื่อถือได้บ้างนะครับ
ถ้าผมเข้าใจอะไรผิดก็ช่วยแนะนำด้วยนะครับ

หน่วยที่ใช้บอก ขนาดความสามารถในการทำความเย็นของแอร์ คือ BTU/hour
หรือ ที่เขาเรียกย่อๆว่า BTU
โดย แอร์ขนาด 12,000 BTU/hour มักจะถูกเรียกว่า แอร์ 1 ตัน

โดย 1 BTU/hour = 0.293 Watt (กำลังงานในการทำความเย็น)

แอร์ 12,000 BTU/hr มีความสามารถในการทำความเย็น 3,517 Watt

แต่นี่คือความสามารถในการทำความเย็น ไม่ใช่ กำลังไฟที่จะปรากฎมาที่มิเตอร์ที่เราต้องจ่ายการไฟฟ้านะครับ

แอร์จะบอกค่า EER หรือประสิทธิภาพของแอร์มาด้วย
EER (Energy Efficiency Ratio) = Output Cooling Energy in BTU/Input Electrical Energy in Wh.

หรือพูดง่ายว่า
พลังงานที่เราใช้ในการเปิดแอร์ 1 ชั่วโมง คิดได้จาก
E = (ค่า BTU/hr ของแอร์)/EER

เช่น เปิด แอร์ขนาด 12,000 BTU/hour ที่มีค่า EER = 11 ไป 1 ชั่วโมง ใช้ไฟเท่ากับ 12,000/11 = 1,091 Wh.

เรียกว่า แอร์ตัวนี้กินไฟเท่ากับ 1,091 W.

และถ้าอยากรู้กระแสที่ใช้ ซึ่งจริงๆแล้ว แอร์หลายๆเจ้าจะบอกมาใน spec. เช่น ของ Daikin (//www.daikinac.com/commercial/docsSheets.asp)
จะบอกว่า:
min. circuit amp. 8.3 A
max. fusible amp. 15 A
rated load amp. 6.1 A.

หรือ หมายความว่า สายไฟที่ใช้กับแอร์ตัวนี้ต้องทนไฟได้อย่างน้อย 8.3 A.
เปิดใช้ทั่วๆไป จะใช้ไฟไม่เกิน 6.1 A
แต่ถ้าขอไฟจาก การไฟฟ้ามา 5A ก็จะไม่พอใช้เพราะ มันจะใช้อยู่แถวๆ 6.1 A
(ยังไม่รวมเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นเลย)

ใช้งานปกติยังไงไม่เกิน 15 A เพราะงั้นถ้าซื้อ fuse/breaker ก็ซื้อ 15A.

อีกนิดเรื่องไฟฟ้า
ถ้า กำลังงานไฟฟ้าที่ใช้คือ 1,091 W และเรารู้ว่าใช้ไฟ 220 V แปลว่ากระแส คือ 1,091/220 = 4.96 A หรือเปล่า?
คำตอบ: ไม่เชิง.

เพราะว่า สำหรับไฟฟ้ากระแสสลับแล้ว
กำลังงาน (watt) = แรงดัน (V) x กระแสไฟฟ้า (A) x PF
โดยตัวสุดท้ายคือ Power Factor ซึ่งโดยทั่วไป PF มีค่าราวๆ 0.6 - 0.8 ขึ้นอยู่กับเครื่องไฟฟ้า

ผมอ่านดูในเวปหลายๆที่เขาบอกว่า ถ้าไม่รู้ว่า PF เท่าไร ให้ใช้ค่า 0.6
เช่น
ถ้า แอร์เรากินไฟ 1,091 W กะคร่าวๆ มันน่าจะกินกระแส 1091/(220 x 0.6) = 8.26 A

ดังนั้น เราควรเตรียมไฟฟ้าให้พอจ่ายกระแส 8.26 A ถ้าจะเปิดแอร์ตัวนี้ครับ (เปิด 2 ตัวก็ 17 A)

ถ้าจะขอไฟการไฟฟ้า บางคนบอกว่า ขอ 15 A แต่ โหลดไปได้ถึง 45 A
ผมก็ไม่รู้ครับ แต่ถ้าเป็นผม จะติดแอร์แบบนี้ 2 ตัว ผมว่าผมขอไฟ 30 A (100A) จากการไฟฟ้ามาดีกว่าครับ

เรื่องกินไฟ ตีง่ายๆว่า unit ละ 3.28
และ 1 unit = 1 kWh

ดังนั้น
แอร์กินไฟ 1,091 W ถ้าเปิด 1 ชั่วโมงจะใช้ไฟ 1.091 kWh
ถ้าเปิดเฉลี่ย 4 hours/day ทุกวันทั้งปี จะใช้ไฟเท่ากับ 1.091 x 4 x 365 = 1,554 kWh/year หรือ 1,554 units/year.

เป็นเงินราวๆ 5,096 บาทต่อปี (คิดที่ 3.28B/unit)

แล้วห้องขนาดนี้ใช้ แอร์ขนาดกี่บีทียู
เวปไซต์นี้เลยครับ: Air Conditioner Calculator
ใส่ขนาดห้อง, บอกสภาพฉนวนของห้อง (เยี่ยม ดีมาก ดี กลางๆ แย่), บอกระดับแดดที่ห้องโดน, ห้องเป็นห้องครัว?
แล้วมันจะบอกขนาดแอร์เป็นบีทียูมาให้ (แต่อาจต้องบวกเพิ่มบ้างนะครับ มันเป็นเวปต่างประเทศ)

ขอ ความสงบ ร่มเย็น เป็นสุข มีแก่ทุกท่านครับ
ขอบคุณครับ

แหล่งข้อมูล
* Wikipedia: EER, BTU, Air Conditioner
* //www.powerknot.com/how-efficient-is-your-air-conditioning-system.html
* และอีกหลายๆที่




 

Create Date : 08 กรกฎาคม 2555
0 comments
Last Update : 18 พฤศจิกายน 2559 10:42:48 น.
Counter : 768 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.