"Be the change you want to see in the world." - महात्मा (Mahatma Gandhi)

จอมเยอะเล่า
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]




สิ่งที่น่านับถือในจอมยุทธ์หาใช่วิทยายุทธไม่
Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2554
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
4 กรกฏาคม 2554
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add จอมเยอะเล่า's blog to your web]
Links
 

 
Internal Sense of Security: ความมั่นคงภายใจ กุญแจแก่ความมั่นใจ ปัจจัยของความสุข

มาสโลว์จัด ความต้องการความมั่นคงปลอดภัย อยู่ในลำดับที่ 2 ถัดจากความต้องการพื้นฐานทางกายภาพ ซึ่งหมายถึงว่า ถ้าเรายังไม่รู้สึกมั่นคงปลอดภัย ยากที่เราจะพัฒนาไปสู่เป้าหมายอื่นๆได้

ความมั่นคงปลอดภัย คือ ความรู้สึกว่าเราโอเค ทุกๆอย่างโอเค อะไรต่างๆที่เราต้องการจะเรียบร้อยไม่มีปัญหา ... ไม่มีปัญหาเรื่องงาน เรื่องเงิน เรื่องอะไรสารพัดที่เรารู้สึกว่าเป็นความอยู่รอดทั้งทางกายภาพและทางสังคมของเราจะเรียบร้อยดีไม่มีปัญหา

ไม่มีใครที่โตมาอย่างสมบูรณ์แบบ อะไรผ่านมาแล้วได้ผ่านไปแล้ว ตอนนี้ถ้าเรารู้สึกไม่มั่นคง ทั้งๆที่ไม่ควรจะรู้สึกอย่างนี้ งาน..ไม่มีใครรับประกันอะไร แต่ก็น่าจะโอเค เงิน..ไม่เยอะ..แต่ก็น่าจะโอเค แล้วทำไมยังไม่รู้สึกมั่นคง อะไรที่ขาดไป แล้วจะแก้ไขได้ยังไง

ถ้าความมั่นคง เกิดจากฐานะทางสังคม ฐานะทางการเงิน ทำไมเศรษฐีที่สร้างตัวเองขึ้นมาหลายๆคน ก็ผ่านขาดทุน ผ่านเจ๊ง ผ่านเป็นหนี้ ไมเคิล จอร์แดน ก็พลาดมาไม่รู้กี่หน และอีกหลายๆตัวอย่างของบุคคลที่เรียกว่า ลุกขึ้นมาจากสถานะที่แย่ๆมาก ทำไมพวกเขายังรู้สึกมั่งคงได้

หรือว่า คนพวกนั้นเขามีระดับความต้องการความมั่นคงต่ำกว่าคนอื่นๆเหรอ? สตีฟ พาวีน่า ถ้าไปดูประวัติแต่ละคน ส่วนใหญ่แล้วเขาก็ผ่านจุดที่ไม่มั่นคงซะเลย (ถ้ามองแบบผิวเผิน จากภายนอกแล้ว ทั้งงาน เงิน ..)

แล้วคนที่อยู่ในสถานะที่เรามองแล้วเขาน่าจะเรียกว่ามีฐานะการเงินที่มั่นคง แต่ทำไมดูเหมือนเขาทำอะไรไม่ได้เลย เขามีเงินในธนาคาร มีชื่อเสียง มีตำแหน่ง ทำไมเขายังไม่รู้สึกมั่นคง

เป็นไปได้หรือไม่ว่า คนส่วนใหญ่ยึดปัจจัยภายนอกเป็นความมั่นคง ในขณะที่คนที่ประสบความสำเร็จเหล่านั้นยึดปัจจัยภายใน

เป็นไปได้หรือไม่ว่า ปัจจัยภายในที่คนที่ประสบความสำเร็จเหล่านั้นยึด มาจากความเชื่อความศรัทธาในตัวเอง ... ในความสามารถที่จะคิด ความกล้าที่จะลงมือกระทำ ดังนั้นตราบที่เขายังคิดได้ ยังลงมือกระทำได้ เขายังจะคงรู้สึกมั่นคง ไม่ว่าสถานะทางการเงินเขาจะเป็นอย่างไร หรือว่า เพื่อนเขา ญาติเขา คนข้างบ้าน หรือใครจะดูถูก จะเยอะเย้ยว่าอย่างไร

ถ้าเขายังคิดได้ ยังทำงานได้ ... ขาดทุน เจ๊ง เป็นแค่จังหวะขาลงชั่วคราว ถูกคนดูถูก ถูกคนนินทา เป็นแค่เรื่องชั่วคราว ดังนั้นเรื่องเหล่านี้ไม่อาจกวนความรู้สึกมั่นคงได้ หากความมั่นคงนั้นมีปัจจัยมาจากภายใน

คนส่วนใหญ่แล้ว มักจะอาศัยความมั่นคงจากปัจจัยภายนอก เขาจะรอจนฐานะการเงินมั่นคง มีเงินมากพอแล้วจะทำนู้น จะทำนี่ แต่โชคร้ายที่ส่วนใหญ่ไม่เคยมีพอซะที แม้บางครั้งเขาจะรู้สึกว่ามีพอ แต่ดันมีเหตุการณ์ที่ทำให้เขารู้สึกว่าปัจจัยของเริ่มไม่มั่นคงซะแล้ว เช่น มีคู่แข่งมาเปิด เกิดการเปลี่ยงแปลงกฎหมาย เปลี่ยนแปลงโครงสร้างตลาด เปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี หรือบริษัทเปลี่ยนแปลงนโยบาย เปลี่ยนตัวผู้บริหาร ... เขาก็จะต้องกลับมาหวาดผวา รู้สึกไม่มั่นคงอีก อะไรต่างๆที่อยากจะทำมานานแม้จะเริ่มทำไปแล้ว ก็ต้องหยุดทำ กลับมาจัดการเรื่องงาน เรื่องเงิน เพื่อจะได้กลับมารู้สึกมั่นคงอีก

ถ้าเรายังต้องอาศัยปัจจัยภายนอกในการสร้างความรู้สึกมั่นคงแบบนี้ เราจะเป็นเหยื่อของปัจจัยภายนอกที่เราควบคุมไม่ได้ตลอด (บางคนยิ่งแย่ใหญ่ที่ พยายามจะเข้าไปควบคุมสิ่งที่เขาควบคุมไม่ได้) ดังนั้นความรู้สึกมั่นคงควรจะถูกสร้างขึ้นจากปัจจัยภายใน

เพื่อที่จะเปลี่ยนจากปัจจัยภายนอก มาเป็นปัจจัยภายใน สิ่งที่ต้องทำก็เพียงแค่ เลือกที่จะเชื่อในตัวเอง ให้รู้สึกมั่นคงจากปัจจัยภายใน ให้รู้สึกมั่นคงจากความสามารถในการคิด ความสามารถในการลงมือ ของเราเอง

เลือกที่จะเชื่อว่า เราโอเค เราจัดการได้

Helen Keller: “Security is mostly a superstition. It does not exist in nature, nor do the children of men as a whole experience it. Avoiding danger is no safer in the long run than outright exposure. Life is either a daring adventure, or nothing.”

"ความมั่นคงเป็นสิ่งที่งมงายที่สุด มันไม่มีในธรรมชาติ หรือว่ามีมนุษย์คนไหนที่จะมีความมั่นคงได้ หลีกเลี่ยงความเสี่ยงไม่ได้ปลอดภัยในระยะยาวไปกว่า การเผชิญหน้ากับมันเลย ชีวิตเราเป็น การผจญภัยที่ท้าทายหรือไม่ก็ไม่มีอะไรเลย"

หลักการคือ เราต้องพัฒนาความเชื่อที่ว่า เราโอเค เราจัดการได้ ขึ้นมา และยึดปัจจัยภายในสำหรับความมั่นคงของเรา

เกร็ดเล็กน้อยที่ผมเก็บๆมาอาจใช้เป็นจุดเริ่มเพื่อช่วยในการยึดปัจจัยภายในสำหรับความมั่นคงได้

(1) บอกตัวเองวันละ 30 ครั้งว่า เรารักตัวเอง เราดีพอ เรามีคุณค่า เรามีศักยภาพ
(2) เริ่มจากทำสิ่งที่เราถนัดหรือทำได้ดี แล้วค่อยๆขยายออกไป ... เป็นการสร้างความเชื่อมั่นในตัว
(3) ทำอะไรใหม่ๆ โดยเริ่มเล็กๆก่อน ศึกษา เข้าใจ และเห็นภาพทั้งแต่ต้นจนจบ
(4) เมื่อมีปัญหา ให้เริ่มถามตัวเอง ว่า ปัญหาคืออะไร สำคัญขนาดไหน ผลเสียร้ายแรงขนาดไหน เร่งด่วนขนาดไหน วิธีแก้ปัญหามีอะไรบ้าง ดูผลจากอะไรว่าการแก้ไขได้ผลหรือไม่ และ จะป้องกันปัญหาไม่ให้เกิดใหม่ได้อย่างไร ... หลังจากไตร่ตรองวิเคราะห์แล้วให้ลงมือทำ
(5) ให้ทำในสิ่งที่เราเห็นคุณค่าอย่างสม่ำเสมอ ... คนแต่ละคนมีเรื่องที่เราให้คุณค่าต่างๆกัน เช่น บางคนเห็นคุณค่าของการช่วยเหลือสัตว์ ให้หาโอกาสในการการช่วยเหลือสัตว์ อาจจะเป็นการช่วยทำเวปไซต์หาเจ้าของให้กับหมาจรจัดก็ได้ หรือให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพสัตว์เลี้ยงก็ได้
(6) ยึดมั่นในหลักการและคุณค่าของตัวเอง ... ถ้าเราละทิ้งหลักการและคุณค่าที่เราเชื่อมั่น ปล่อยตัวลอยไปตามกระแสสังคม เท่ากับ เรามอบพลังมอบความมั่นคงของเราไปกับกระแสสังคม ซึ่งมักจะถูกชักจูงจากกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ

ขอ เมตตา ปัญญา ความกล้า พลัง และ ความรู้สึกมั่นคง จงมีแก่ทุกท่านครับ
ขอบคุณครับ

=== แหล่งข้อมูล ===

* Leonard Holmes, Building an Internal Sense of Security, on //mentalhealth.about.com/od/beingmentallyhealthy/a/security.htm; Updated November 05, 2005 (retrieved on July 4th, 2011)
* //www.stevepavlina.com/blog/2005/01/what-do-you-need-to-feel-secure/
* //www.cmha.ca/bins/content_page.asp?cid=2-29-68
* //www.wikihow.com/Feel-More-Secure
* //th.wikipedia.org/wiki/ลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์


Create Date : 04 กรกฎาคม 2554
Last Update : 10 กรกฎาคม 2554 16:52:13 น. 0 comments
Counter : 1199 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.