space
space
space
<<
มกราคม 2558
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
space
space
13 มกราคม 2558
space
space
space

นับถอยหลังไปแข่งดนตรีที่ไต้หวัน - 11 วัน
นับถอยหลังไปแข่งดนตรีที่ไต้หวัน - 11 วัน

เหลือเวลาเพียงแค่ 11 วันเองหรือ? เวลาช่างผ่านไปอย่างรวดเร็วเสียจริง . . . . 

วันก่อนๆ ที่ไม่ได้มาบอกกล่าวให้ท่านผู้อ่านได้ฟัง นอกจากอ่านและดูวีดีโอเรื่อง "การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475" กระผมได้ศึกษาเพลงจีน 3 เพลง สำหรับรอบแรก รอบสอง และรอบชิงชนะเลิศ ครับ เป็นครั้งแรกที่ลองเอา Metronome (เครื่องบอกจังหวะ) มาใช้กับเพลงทั้ง 3 เพลง คือ ลองเปิดจังหวะที่ผู้แต่งได้กำหนดไว้และร้องไล่เรียงไปตั้งแต่ต้นเพลงจนจบเพื่อให้ชินกับความเร็วที่ถูกต้องและรับรู้ถึงปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในช่วงเปลี่ยน Section จนไปถึงการหาทางออกสำหรับปัญหาเหล่านั้น 

*จะบอกว่าบางทีจังหวะที่ผู้แต่งกำหนดให้มันไม่ได้เหมาะสมไปเสียหมด ยุคสมัยเปลี่ยนไปแล้วบ้าง เล่นไม่ได้บ้าง ฟังแล้วประหลาดบ้าง เร็วไปช้าไปบ้าง ชอบอันนี้ไม่ชอบอันนั้น - ปัญหาเหล่านี้เป็นเรื่องนามธรรม (Subjective) มากๆ ไม่มีถูก ไม่มีผิด ประสบการณ์ของคนแต่ละคนต่างกัน จึงเกิดการตีความที่แตกต่างกัน จึงต้องอ่าน ต้องศึกษาเรื่องประวัติศาสตร์ เรื่องวัฒนธรรม เรื่องเครื่องดนตรี และการตีความที่เหมาะสมกับยุคปัจจุบันด้วย จะได้ไม่หลงทางไปไกลนักจากเพลงที่กำลังศึกษาอยู่

วันนี้กระผมได้เริ่มศึกษาเพลงใหม่อีกเพลงที่ (หวังว่าจะ) ต้องใช้แข่งในรอบชิงชนะเลิศครับ เป็นเพลงสำหรับ Guzheng (กู่เจิ้ง) และออเคสตราเครื่องดนตรีจีน แต่งโดย Shih-Hui Chen ซึ่งขณะนี้มีตำแหน่งเป็น Associate Professor (รองศาสตาจารย์) of Theory and Composition อยู่ที่ Shepherd School of Music, Rice University ที่เมือง Houston รัฐ Texas ครับ 

เพลงนี้เป็นเพลงที่ใช้ทำนองเพลงพื้นเมืองของประเทศจีน ชื่อ "Guang Lin San" หรือ 廣陵散 เป็นฐานในการแต่ง เขาว่าเป็นเพลงเกี่ยวกับนักรบ คุณสมบัติที่น่าสนใจของเพลงนี้ คือ การแบ่งวงออเคสตราออกเป็น 2 วงย่อยๆ ท่านผู้อ่านรู้จักเพลง Music for Strings, Percussion, and Celesta ของ Bela Bartok ไหมครับ? Bartok แต่งให้แบ่งวง Strings ออกเป็นวงเล็กๆ 2 วง ซึ่งตั้งอยู่ทางซ้ายและขวาของคอนดั๊กเตอร์ ส่วนตำแหน่งของ Celesta กับ Percussion จะอยู่ตรงกลาง หน้าคอนดั๊กเตอร์ เพลงจีนที่ผมกำลังศึกษาอยู่นั้น ผู้แต่งได้กระทำเช่นเดียวกับเพลงของ Bartok เพียงแต่ว่ามีการใช้เครื่องเป่าเพิ่มขึ้นมาในวงทั้ง 2 วง ราวกับว่ามีวงออเคสตราวงเล็กๆ 2 วงอยู่ที่ข้างซ้ายและขวาเลยครับ (แต่เป็นเครื่องดนตรีจีนนะ) การแบ่งวงออเคสตราออกเป็นกลุ่มย่อยๆ เมื่อจัดการกับ Orchestration ให้ดีจะก่อให้เกิด Effect ที่เรียกว่า Antiphonal หรือ Sterio-phonal คือ การที่แหล่งกำเนิดเสียงมิได้มาจากตำแหน่งเดียว แต่ละวงเล็กจะมีการเล่นโต้ตอบกันอยู่เนืองๆ เหมือนเมื่อเราดูหนังกำลังภายในแล้วต้องมีการผลักเบ่งพลังกันไปมา อาจจะมี 2-3 มิติ ก็ว่ากันไป เสียงจะมาจากทางซ้ายหรือขวกคงต้องตั้งใจฟังกันเสียหน่อยครับ

การใช้ทำนองของผู้แต่งท่านนี้มิได้เอาทำนองมาใช้ทื่อๆ แต่เอามาแตกออกเป็นกลุ่มโน้ตย่อยๆ หลายกลุ่ม กระจายอยู่ตามเครื่องดนตรีต่างๆ เรื่องของ Melodic Fragment ผมยังมองไม่ค่อยเห็นและฟังไม่ค่อยออกเท่าไรครับ คงต้องใช้เวลากับมันมากกว่านี้ แต่วันนี้มองเห็นโครงสร้างใหญ่ของเพลงลางๆ ที่ถูกแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ช้า-เร็ว-ช้า ท่อนช้าที่อยู่รอบนอกนั้นลักษณะวิธีการแต่งแทบจะเหมือนกัน มีการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ท่อนเร็วเองก็ยังใช้ Melodic Fragment เดียวกันจากท่อนช้า น่าสนใจตรงท่อนเชื่อมระหว่างท่อนเร็วไปท่อนช้าที่ผู้แต่งใช้เทคนิค Aleatory ค่อยๆ Build Up สู่ Climax 

ลองเอาเพลงมานั่งเล่นบนเปียโนดูแล้วก็ฟังเพราะดีครับ สงสัยเพราะมีการใช้ Pentatonic Scale เยอะ หากนึกถึง Pentatonic Scale ไม่ออก ก็ลองร้องเพลง "เปาบุ้นจิ้น" ดูครับ ใช่เลย มีโน้ต 5 ตัวเท่านั้นเอง   

หลังจากปวดหัวกับเพลงใหม่ไปประมาณ 3 ชั่วโมง ก็ได้ฤกษ์ไปอ่านดูอะไรเกี่ยวกับเครื่องดนตรีจีนที่ไม่รู้จักเท่าไร คือ Dizi, Sheng, และ Suona ครับ เครื่องทั้ง 3 ชนิดเป็นเครื่องเป่า หากจะเปรียบกับเครื่องดนตรีฝรั่งตระกูล Woodwind คงจะได้ผลลัพธ์เช่นนี้ Dizi - Flute และ Souna - Oboe ส่วน Sheng นี่จะเหมือน "แคน" บ้านเรา ต้องขอบคุณ Youtube มากเลยครับ ที่หากจะหาฟังเพลงจีน (หรืออะไรก็ตาม) ไม่ต้องไปหาที่ไหนไกล ทำให้ไม่ต้องไปหาซื้อซีดีเหมือนแต่ก่อน แถมทุกอย่างที่ผมอ่าน ฟังวันนี้นั้นฟรีไม่มีค่าบริการทั้งสิ้น 

เอาเท่านี้ก่อนแล้วกันครับ ขอลาไปอ่านหนังสือเพิ่มเติมเสียหน่อย!




Create Date : 13 มกราคม 2558
Last Update : 13 มกราคม 2558 7:53:27 น. 0 comments
Counter : 1032 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
space

drparinyamusic
Location :
Ann Arbor, Michigan United States

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




I am a classical musician who conducts, arranges, composes, performs, and administers musical events. Besides classical music, I am an avid cook who specializes in Thai comfort food, as well as an amateur stock-market investor. I live in Ann Arbor, Michigan but spend summer months in Bangkok, Thailand.

Please visit https://www.joeparinya.com to learn more about me.

space
space
[Add drparinyamusic's blog to your web]
space
space
space
space
space