Group Blog
 
 
เมษายน 2553
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
 
15 เมษายน 2553
 
All Blogs
 

สิ่งที่ท่านคงไม่รู้กี่ยวกับการดูแลสนามกอล์ฟ

สิ่งที่ท่านคงไม่รู้กี่ยวกับการดูแลสนามกอล์ฟ


เลือกกดเพื่อ Link ไปส่วนต่างๆ
ส่วนที่2 : ความรู้นิดหน่อยๆกับการดูแลสนาม
ส่วนของ Comments

กดเพื่อกลับไปหน้า Top Page MENU <---


สวัสดีปีใหม่ไทยครับ ช่วงนี้หลายๆท่านคงหยุดกันยาว มีกิจกรรมเล่นน้ำกันให้เมาว์มันส์ ส่วนผมเองดันป่วยเป็นหวัดเลยต้องนอนโทรมอยู่บ้าน แถมเบื่อเพราะว่างอีกวันนี้เลยหาเรื่องเขียนรีวิวเกี่ยวกับอาชีพการงาน เรื่องประจำวันที่อาจดูแปลกมานำเสนอ

เท่าที่จำความได้อดีตกีฬากอล์ฟเมื่อช่วงประมาณซักปี พ.ศ 2526 สมัยผมเด็กๆและเริ่มรู้จักกีฬากอล์ฟเนื่องจากท่านบิดามักนำเอาถ้วยรางวัลติดไม้ติดมือกลับมาบ้านเสมอๆทุกๆอาทิตย์จนท่านมารดามักบ่นว่า "นี่ถ้าเอาไปแลกเป็นเงินได้ สงสัยคงจะรวยกว่าใครๆ" ในยุคนั้นกอล์ฟเองเป็นกิจกรรมกีฬาที่มีแต่ผู้ใหญ่เล่นกัน และยังจัดอยู่ในกลุ่มที่ไม่ใหญ่โตเหมือนในปัจจุบันครับ สนามกอล์ฟเองในยุคนั้นก็จัดเป็นของทหารและส่วนราชการซะเป็นส่วนใหญ่ไม่ได้ดำเนินการจากนักลงทุนเช่นปัจจุบันนัก ความรู้ในการสร้างก็พื้นฐาน ศัพท์ง่ายๆเค้าจะเรียกว่าสนามแบนๆหรือสนามแบบ Flat ราบเรียบและค่อนข้างตรง เมื่อเปรียบเทียบกับปัจจุบันที่มีความนิยมมากขึ้นสามารถเล่นเป็นอาชีพได้ และการกำเนิดของ Tiger Woods (ความเก่งกาจในการเล่นกอล์ฟนะครับ ไม่ใช่เรื่องเมียน้อย อิอิ) ทำให้วัยรุ่นหันมากเล่นกอล์ฟกันเยอะจนผิดหูผิดตา เทคโนโลยีในการสร้างสนามในปัจจุบันเองมีการพัฒนาไปเยอะ มีการเล่นระดับสวยงามเป็นชั้นๆ เป็นก้อนๆ ลูกๆ (mount) จนดูเหมือนเป็นธรรมชาติบรรจงให้มา ต้องเข้าใจก่อนครับว่าบ้านเราภูมิประเทศจะแบน ไม่เป็นระดับสูงต่ำเหมือนอังกฤษหรืออเมริกา ดังนั้นการสร้างสนามให้เป็น mount เป็นคลื่นต้องใช้ทุนและการสร้าง (นอกจากบางสนามที่เลือกสร้างตามแนวเขา)

เมื่อหันมามองทางด้านธุระกิจแล้วการทำสนามกอล์ฟเองนั้นไม่ได้จัดเป็นธุระกิจที่ให้รายได้กับผู้ลงทุนที่ดีนักเมื่อเปรียบกับการลงทุนทำธุระกิจอื่นๆ ด้วยองค์ประกอบหลายๆอย่างของบ้านเรา แน่นอนครับคนไทยเราชอบของถูกเมื่อเวลาจะไปออกรอบก็มักจะคุยกันว่า

"เฮ้ยๆ... แล้วมรึงหาราคาได้เท่าไหร่ว่ะ?! กูได้ 300 จาก 1,000 นึงว่ะ มีถูกกว่านี้มั้ย?"



ภาพงานสเกตซ์ดินสอจาก GolfPlan ที่ผมเคยไปฝึกงาน


แน่ล่ะครับทำให้มันสวนทางกับค่าการบริหารจัดการของสนามกอล์ฟ หลายสนามที่จัดอยู่ในขนาดกลางถึงเล็กที่มีค่าออกรอบไม่สูงนักผู้บริหารจึงต้องลดทุ่นต่างๆให้น้อยลง ทั้งบุคลากร ทั้งค่าการบริหารจัดการให้อยู่บนเส้นแดงถึงจะยังพอมีกำไรและโบบัสถ้าโชคดีพอให้แก่พนักงาน จะเปรียบเทียบกับต่างประเทศก็คงไม่แฟร์นัก งั้นลองเทียบกับประเทศเล็กอย่างญี่ปุ่นที่มีขนาดเท่าๆกับประเทศไทย ญี่ปุ่นมีสนามกอล์ฟอยู่ราวๆ 3,000 สนาม ส่วนพี่ไทยเรามีประมาณ 300 สนาม แต่ด้วยเหตุผลง่ายๆที่ทำให้เค้าอยู่ได้เพราะค่าออกรอบที่ราคาสูงมากจนสามารถสังเกตุได้ว่าหลายต่อหลายคนชาวญี่ปุ่นยินดีที่จะบินเพื่อมาเล่นกอล์ฟบ้านเราเพราะเค้าถือว่าคุ่มกว่าที่ถ้าเพิ่มเงินอีกแค่นิดๆหน่อยๆแล้วยังสามารถเที่ยวต่อได้ด้วย



ภาพงานสเกตซ์ดินสอจาก GolfPlan ที่ผมเคยไปฝึกงาน


Okay ครับนอกเรื่องมากซะยาว จริงๆวันนี้จะมาเล่าถึงเรื่องการดูแลสนามกอล์ฟแบบคล่าวๆที่คราวเดียวจบ ส่วนงานของสนามกอล์ฟเองประกอบไปด้วยหลายส่วนต่างๆดั่งเช่นบริษัททั่วไป และจะยิ่งมากกว่าเมื่อสนามนั้นๆมีองค์ประกอบอื่นเพิ่มเข้ามา เช่นสนามที่มี sport complex มีโรงแรม มีกิจกรรมอื่นเพิ่มเติมเข้ามา แต่การที่สนามจะอยู่ในสภาพที่ดีเป็นหน้าที่ของฝ่าย "ดูแลสนาม" ครับ

ในต่างประเทศเป็นที่รู้กันครับว่ามีอยู่ 2ต่ำแหน่งงานที่มีความรู้ด้านตัวสภาพสนามดีและเมื่อมาเจอกันเป็นต้องถบเถียงกันไม่มีที่สิ้นสุดเพราะความมั่นใจในความสามารถของตัวเองคือ

"ทางผู้สร้างส่งตัว Golf Course Architecture เข้ามุมแดง"

"ทางสนามกอล์ฟส่ง Golf Course Superintendent เข้ามุมน้ำเงิน"


ผู้สร้างเชื่อว่าตนมีความสามารถเพราะเป็นผู้วางรากฐานการออกแบบ แต่ทางสนามเองก็ต้องเชื่อและมั่นใจในตัวผู้ดูแลสนามเพราะมีความรู้เรื่องดิน เรื่องน้ำ เรื่องต้นไม้ใบหญ้า ผมเองสมัยอยู่บริษัทกอล์ฟที่อเมริกามักเห็นการบ่นเรื่องนี้ตลอดเวลา รวมถึงตามหนังสือ Golf ก็มักเอามาเล่นเป็นมุขตลก

แต่เมื่อลงมาถึงงานในส่วนภายในของ "ฝ่ายดูแลสนาม" ในส่วนงานนี้จะมีคนเก่งอยู่ 2คนที่เป็นหัวหอกวางระบบงานต่างๆของการดูแลสนามกอล์ฟ (ผมจะอิงจากระบบของอเมริกานะครับของไทยเราเดี๋ยวว่ากันต่อ) และยังประกอบไปด้วยส่วนย่อยๆอีกเยอะ เช่นฝ่ายเคมีวิทยาศาสตร์ ฝ่ายจัดซื้อภายใน ฝ่ายช่างซ่อมบำรุงเครื่องจักร ฝ่ายพนักงานดูแลระดับล่างอีกเป็นร้อยๆ ฯลฯ แต่แน่ละเมื่อผู้ถึงผู้รับผิดชอบและเป็นใหญ่ก็ต้องนึกถึง

1. Golf Course Superintendent (ดูแลระบบตัวสภาพสนามทั้งหมด)
2. Green Keeper (มีความสามารถในการดูแลและแก้ไขปัญหาบน Green ได้ดีที่สุด)

Superintendent เป็นใหญ่ส่วน Green Keeper เป็นดั่งมือขวาอัศวินที่รู้ใจ ส่วนทางด้าน Golf Course Architecture จะหมดหน้าที่ไปเมื่อสนามได้ถูกสร้างจนแล้วเสร็จแต่จะแวะเวียนเข้ามาปีละ 2-3 ครั้งเพื่อดูความเป็นไป (มาเพื่อตีกอล์ฟฟรีซะส่วนใหญ่) สรุปคือหลักๆสนามจะอยู่ในสภาพอย่างไรก็ขึ้นอยู่กับ 2บุคคลนี้ในการนำพาให้ความสมบูรณ์คงอยู่ตลอดให้นานที่สุด

บ้านเรา "ฝ่ายดูแลสนาม" จะปกครองโดยผู้จัดการฝ่ายสนาม และรองผู้จัดการ หรือผู้ช่วยผู้จัดการ อะไรก็แล้วแต่ ซึ่งผู้จัดการส่วนนี้ก็ Superintendent น่ะแหละเหมือนๆกัน หรือกรณีที่สนามนั้นๆมีหลายรอบมากๆ (1รอบ = 9หลุม บางสนามอาจมีได้ถึง 4รอบ) ก็มักจะมี Superintendent อยู่หลายคนเพื่อความทั่วถึงสำหรับการดูแล กรณีนี้อาจมีการตั้งผู้จัดการฝ่ายดูแลสนามขึ้นมาหนึ่งคนเพื่อดูแลงานและเหล่า Superintendent อีกชั้นหนึ่งครับเพื่อความชัดเจนของตัวแทนที่รับผิดชอบ

แล้วพวก Superintendent เนี้ยเค้าเรียนอะไรกันมา!? เมืองนอกส่วนใหญ่เค้าจะจบพวก landscape มาซะเป็นหลัก ไม่ก็ติดตาม Superintendent จนมีประสบการณ์ขั้นเทพ บ้านเราก็จะจบเป็นพวกเกษตรอะไรประมาณนั้นแต่แน่ละมีความรู้เรื่อง ต้นไม้ใบหญ้า รวมถึงปุ๋ยต่างๆได้เป็นอย่างดี ในปัจจุบันถ้ามีการศึกษาดี ภาษาดี ก็มักได้ขึ้นเป็น Superintendent ที่เป็นใหญ่ แต่ถ้าไม่เพียบพร้อมก็อาจต้องถูกครอบด้วยผู้จัดการทับลงไปอีกทีนึงตามลำดับครับ บ้านเรานั้นเป็นฝ่ายดูแลสนามค่อนข้างเครียดเพราะจะถูกกดดันเรื่องค่าใช้จ่ายจากผู้บริหารอยู่ตลอดตามสภาวะเศรษฐกิจช่วงเวลานั้นๆ หลายคนคงไม่ทราบแต่จริงๆแล้วการดูแลสนามต่อเดือนต้องใช้เงินเป็นล้านสำหรับค่าน้ำมันและปุ๋ย ร่วมถึงเครื่องจักรต่างๆก็ราคาแสนแพง โดยปรกติเครื่องจักรเองก็มีอายุการใช้งานของมัน แต่ก็ต้องลากกันเป็นสิบปีๆ จนกว่าจะแหลกกันไปข้างด้วยเหตุความประหยัดเป็นหลัก

"สิ่งที่เลวร้ายที่สุดของการอยู่ฝ่ายดูแลสนามคงเป็นการที่มีผู้บริหารสนามกอล์ฟที่ไม่มีความรู้เรื่องสนามกอล์ฟ"

ตามหลักการของการบริหารจัดการสนามกอล์ฟเค้าสอนไว้ว่า ผู้เป็นใหญ่ในการบริหารคือ ผู้จัดการของสนาม แต่เมื่อสนามนั้นๆมีโรงแรมหรือที่พักลักษณะโรงแรม ผู้จัดการโรงแรมจะเป็นใหญ่กว่าผู้จัดการสนามกอล์ฟ ผมเองบอกตรงๆว่ามันคือหลักการที่เลวร้ายที่สุดที่ผมขัดแย้งไม่เห็นด้วยมาโดยตลอด ส่วนตัวผมเห็นว่ามันควรแยกออกจากกันด้วยเหตุผลง่ายๆ บ้านเราผู้จัดการสนามกอล์ฟหลายๆคนมีความรู้เรื่องการดูแลสนามพอๆกับ Superintendent ซึ่งควรที่จะเป็นแบบนั้นเพราะหัวใจหลักของสนามกอล์ฟเองคือตัวสนามกอล์ฟไม่ใช่ร้านอาหารหรือโปรช๊อป ดังนั้นผู้เป็นใหญ่ต้องมีความรู้เรื่องการดูแลจัดการสนามไม่ใช่น้อย ส่วนผู้จัดการโรงแรมมักเก่งเรื่องการบริหารจัดการคนแต่ไม่มีซักคนที่เข้าใจเรื่องลึกๆของสนามกอล์ฟ โรคหญ้า สูตรปุ๋ย และงานระดับล่างๆซึ่งถือเป็นหัวใจของสนามกอล์ฟเอง จะมาใส่สูทยืนเป็นเทวรูปเอาแต่จัดงบ ตรวจชุดพนักงาน "กรูมมิ่งๆ" มันน่ารำคาญในสายตาลูกน้องนะผมว่า ใช่ครับผมเคยเจอมากับตัวถึงกับตะลึงไปพักใหญ่ แต่แน่นอนครับคนจำพวกนี้จะอยู่ไม่ได้นาน สุดท้ายก็ต้องเปลี่ยน ผมเองอยากบ่นเรื่องนี้เยอะๆแต่ไม่อยากให้ร้ายใครเพราะใครทำอะไรไว้สุดท้ายความจริงก็จะโผล่ออกมาในที่สุด การบริหารสนามกอล์ฟไม่หมูครับโดยเฉพาะเศรษฐกิจแบบทุกวันนี้ผู้บริหารคนที่เอาแต่แต่งตัวโก้หรู "เอาแต่เลียไขนายทุนหุ่นส่วน" อยู่ไม่ได้นานครับเพราะระบบจะพังไปหมด

โฮ่ะๆ บ่นมาซะยาวก็นั้นล่ะครับเรื่องราวง่ายๆของฝ่ายดูแลสนามที่ท่านๆนักกอล์ฟมาตีกันแล้วเห็นว่าที่นั้นเขียวสวย ที่นุ้นเหลืองหญ้าตาย เอ๋... ทำไมสนามนั้นถึงสวยกว่าสนามนี้ จริงๆมีอีกเยอะไว้ว่างๆผมจะมาอธิบายเรื่องอื่นๆกันต่อวันนี้เหนื่อยแล้ว เรื่องพิมพ์เยอะๆไม่ค่อยถนัดครับ :-)



ภาพงานสเกตซ์ดินสอจาก GolfPlan ที่ผมเคยไปฝึกงาน


......................................................................................................................................


วันนี้มีความรู้เล็กๆน้อยๆเกี่ยวกับการดูแลสนามมานำเสนอครับ

การเจาะกรีน

โดยปรกติกรีนที่สร้างตามอย่างถูกต้องควรจะทนต่อการเหยียบย่ำของเครื่องมือบำรุงสนาม และนักกอล์ฟได้ในช่วงเวลาหนึ่งแต่เมื่อผ่านการใช้งานไปจะเกิดการอัดแน่นของดิน การถ่ายเทของอากาศและของเสียจะทำได้ไม่ดีนักอีกทั้งยังมีการสะสมของชั้นเศษหญ้า (thatch) และตะไคร่ (algae) ซึ่งจะส่งผลต่อการเจริญเติบโตของลำต้นหญ้า การสะสมดังกล่าวยยังจะส่งผลทำให้การระบายน้ำทำได้ไม่ดีเกิดเป็นตะไคร่ที่ผิวกรีน


ปัจจุบันผู้ดูแลสนามต่างๆมีโอกาสเลือกโดยใช้เครื่องมือในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวข้างต้นหลักๆอยู่ 2 วิธี คือ :

1. เครื่องเจาะเดือยสั้น (coring) มีทั้งเดือยกลวง (hollow tine) เดือยตัน (solid)
ใช้ เจาะลงลึก 5-7.5 ซ.ม (2-3 นิ้ว) ความกว้าง 13-16 ม.ม
2. เครื่องเจาะเดือยยาว (verti-drain) ใช้เจาะความลึกได้ตั้งแต่ 5-40 ซ.ม (2-16 นิ้ว)
เดือยกลวงสามารถลงลึกประมาณ 25 ซ.ม และเดือยตันลงลึกประมาณ 40 ซ.ม

โดยการดำเนินการดังกล่าวจะส่งผลต่อสภาพผิวกรีนครับจะเกิดเป็นร่องรอยและอาจสร้างความไม่สะดวกต่อการเล่นของท่านนักกอล์ฟบ้างระยะหนึ่ง






การซอยหญ้า (Verti-Cutting)

ท่านเพื่อนๆและนักกอล์ฟอาจเคยสังเกตุพื้นผิวกรีนตามสนามต่างๆที่ไปออกรอบบางครั้งมีลักษณะเป็นแนวเส้นซึ่งเกิดจากการดูแลของผู้ดูแลสนามนั้นๆแล้วสงสัยว่าทำไปเพื่ออะไร เรื่องของเรื่องคือโดยปรกติสนามกอล์ฟทั่วไปจะมีการตัดหญ้าทุกวันเพื่อความมาตราฐานของความยาวซึ่งส่งผลต่อความเร็วที่ลูกเดินทางนั้น การตัดจะทำให้เกิดเศษหญ้าสะสมที่เก็บออกไม่หมดตกค้างอยู่บนกรีน นานๆเข้าก็จะสะสมจนเกิดเป็นชั้นหนาทำให้การซึมผ่านของน้ำและการคายน้ำจากผิวกรีนเป็นไปอย่างไม่ปรกติครับ จึงจำเป็นต้องกำจัดชั้นดินเหล่านี้ออกไป โดยสามารถแก้ไขได้ด้วยการใช้เครื่องสะกิดผิว หรือการใช้ซอยหญ้า เป็นต้น ซึ่งนอกจากวิธีเหล่านี้จะสามารถแก้ไขการสะสมของชั้นเศษหญ้าแล้วยังสามารถควบคุมการเอียงตัวของลำต้นและใบหญ้าให้อยู่ในทิศทางที่ไม่เป็นอุปสรรคต่อการวิ่งของลูกกอล์ฟ (grain control) เพราะบางครั้งเช่นกระจุกหญ้าบนกรีนสามารถเปลี่ยนแปลงทิศทางการวิ่งของลูกได้ซึ่งไม่ยุติธรรมต่อนักกอล์ฟ



เศษหญ้าที่เหลือจากการทำ Verti-Cut ยังสามารถนำกลับไปใช้ปลูกอีกครั้ง เช่น การนำกลับไปหว่านเพื่อทำแปลงเพาะหญ้า



โรคไหม้และรากเน่าพิเทียม (Phythium blight and root rot)

ตัวหญ้าเองก็เป็นสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งครับ มีเกิด มีตาย และแน่นอนต้องมีป่วยจากโรคต่างๆเช่นกัน ท่านเคยสังเกตุมั้ยครับเวลาไปออกรอบสนามต่างๆบางครั้งอาจเห็นหญ้าตายเป็นดวงๆ บางครั้งถ้าไม่สนใจจะคิดว่าเป็นรอยลูกตกแผลเก่าๆ จริงๆแล้วบางรอยไม่ใช่ครับ มันอาจเกิดจากโรคหญิงชนิดที่เรียกว่ารากเน่า


อาจรักษาโดยการใช้ยา ถ้าปล่อยไว้จะขยายออกได้ครับโดยปรกติผู้ดูแลจะจัดการโดยทันทีเมื่อพบเห็น วิธีง่ายสุดคือปั๊มบริเวณนั้นออกไปเลยครับแล้วแทนด้วยหญ้าชุดใหม่



รากที่เน่าจะกลายเป็นสีน้ำตาลไปหมด ขณะเดียวกันกับรากทั่วไปจะมีสีขาวอมเขียวครับ


การแพร่ระบาด

• เชื้อราแพร่กระจากในดินโดยสปอร์ที่ว่ายน้ำได้
• ติดไปกับน้ำหรือละอองน้ำ
• ติดไปกับเครื่องตัดหญ้าหรืออุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ในสนามกอล์ฟ
• ชอบความชื้นสูง
• การใส่ปุ๋ยไนโตรเจนสูงมีส่วนทำให้เชื้อราชนิดนี้เจริญเติบโตได้


......................................................................................................................................



ภาพงาน Green Master จาก GolfPlan ที่ผมเคยไปฝึกงาน


ท้ายสุดผมอยากจะกล่าวว่า Superintendent อาจเป็นอาชีพที่แปลกใหม่สำหรับหลายๆคน ฟังดูไม่คุ้ยเลย ไม่เห็นรู้จัก เพราะอาชีพนี้เหมือนแปะทองหลังพระครับ แต่เชื่อผมมั้ยว่าเป็นอาชีพที่เลี้ยงปากเลี้ยงท้องได้ดี มีอัตตราเงินเดือนที่สูง xx,xxx - xxx,xxx บาท ทั้งนี้ทั้งนั้นมันขึ้นอยู่กับความสามารถด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะถ้าคุณมีองค์ประกอบตามสมัยนิยมที่ผู้ว่าจ้างต้องการด้วยแล้ว คุณก็จะจับจองกับอาชีพนี้เป็นอาชีพหลักที่หาเลี้ยงครอบครัวได้อย่างสุขสบายไม่แพ้อาชีพไหนๆ

วันนี้ขอจบลงเพียงเท่านี้ครับ มึนหัวขอตัวไปกินยานอนต่อล่ะครับ โอกาสหน้าจะมานำเสนอเรื่องราวอื่นๆต่อๆไป... ท้ายสุดสวัสดีปีใหม่ของไทยวันสงกรานต์ ขอให้ท่านๆมีความสุขประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานครับ



Happy Jiving
JoeIke



กดเพื่อกลับไปด้านบน




 

Create Date : 15 เมษายน 2553
16 comments
Last Update : 23 เมษายน 2553 3:01:21 น.
Counter : 7201 Pageviews.

 

พี่โจเปนผู้ดูแลสนามหรอครับ ที่ไหนๆเดวผมไปตี ^^

 

โดย: ณัฐ IP: 124.121.220.172 28 เมษายน 2553 23:47:28 น.  

 

สวัสดีครับ ทั้งดูแลทั้งสร้างและทั้งซ้อมแซมเลยครับ
ที่ไหน ชื่ออะไร และงานเก่าๆขออนุญาตไม่เปิดเผยนะครับ มันจะดูไม่ดี :-)

 

โดย: JoeIke (Ike the Ronin ) 29 เมษายน 2553 1:46:19 น.  

 

สวัสดีครับ วันนี้แวะมาอ่านเรื่องงานคุณโจ้ ปกติ ไปอ่านแต่เรื่อง ยีนส์ ผมจับถาปัด ปวส ตอนจบใหม่ๆ ผมเคยทำงาน บ. แลนสเคป งานก้อสนุกดี ผมอ่านเรื่องงานในสนามกอล์ฟ ท่าทางจะสนุกเหมือนกัน ผม อยากทราบว่า คุณโจ้ เรียนจบสาขาอะไรมาครับ ผมอยาก ศึกษาต่อ เพื่อหางานทำแบบคุณโจ้บ้าง

 

โดย: limarch IP: 124.120.184.168 16 สิงหาคม 2553 14:26:52 น.  

 

คุณ limarch :-)

ผมเรียนมาเยอะมากเลย (หลายที่) ผมเป็นคนเบื่อง่าย ไม่ชอบทำอะไรจำเจครับ แต่เรื่องกอล์ฟมันเหมือนเป็นสิ่งที่ถูกล็อกเอาไว้เพราะเป็นธุระกิจที่บ้าน

เรียนช่างศิลป์ลาดกระบัง (รุ่น40) แล้วไปเรียนต่อคอมที่นิวซีแลนด์ (Christchurch Polytech) กลับมาเรียนบริหาร (BBA อินเตอร์) ที่ ABAC และท้ายสุดอีกอันที่พึ่งจบหมาดๆบริหารการจัดการกอล์ฟที่รามคำแหงครับ (รุ่น02)

งานสนามก็สนุกครับ แต่ก็ขึ้นอยู่กับกรณีไปนะ ถ้าอย่างสมัยก่อนช่วงที่ไปเป็นลูกน้องเค้า ช่วงที่ได้มีโอกาศสำผัสกับเจ้านายโง่ๆ ก็เหนื่อยครับเหมือนสีซอให้ควายฟัง อิอิ

 

โดย: JoeIke (Ike the Ronin ) 17 สิงหาคม 2553 3:40:16 น.  

 

 

โดย: jodtabean (loveyoupantip ) 6 สิงหาคม 2554 2:45:17 น.  

 

วันนี้ไทยเรามีเครื่องตัดกรีนท่ีได้มาตราฐานแล้วครับผลิตเองพร้อมมีชุดมินิเวอร์ติคัทกรีนให้ด้วยเหมาะสำหรับกรีนในบ้านและสนามไดร์ฟไม่ต้องซื้อมือ2นอกพร้อมอะไหล่ดูแลบำรุงรักษาได้ง่ายมากสนใจพร้อมให้คำแนะนำ
08-1515-0626
sanaessj@hotmail.com

 

โดย: เสน่ห์ IP: 124.122.203.86 7 มิถุนายน 2555 17:35:24 น.  

 

ทางร้านจำหน่ายอุปกรณ์ที่ใช้ในสนามกอล์ฟอธิ เสาธง,ใบธง,หลุมกอล์ฟ,คราดทราย.หมุดทีออฟ ,พวงใบมีดและรับซ่อมเครื่องตัดหญ้ากรีนเก่าทุกยี่ห้อ เป็นต้น พร้อมทั้งมีเครื่องตัดหญ้ากรีนและเครื่องมินิเวอร์ติคัทกรีนใหม่จำหน่ายสินค้าผลิตในไทยทดสอบตัดหญ้ากรีนสนามกอล์ฟแล้วคุณภาพเท่าของนอกราคาถูกกว่าเกือบ4เท่า หาอะไหล่และดูแลซ่อมบำรุงง่ายสนใจปรึกษาได้ที่
คุณเสน่ห์ 08-1515-06262/08-1513-6482
E -mail :sanaessj@hotmail.com //www.facebook.com/golfsanae

 

โดย: เสน่ห์ IP: 124.121.109.201 8 กุมภาพันธ์ 2556 9:14:16 น.  

 

กำลังหาความรู้เรื่อง การดูแลหญ้าอยู่ครั

 

โดย: น้อย IP: 49.48.154.76 15 มีนาคม 2556 21:09:11 น.  

 

ขอบคุณสำหรับความรู้นะครับ ผมกำลังมองหาโอกาสสำหรับสายงานนี้ พอดีจบทางด้าน Landscape มา แต่ตอนนี้ผมค่อนข้างจะไปกับงานเขียนแบบ และออกแบบไม่ได้แล้ว เกินทนครับ เลยอยากจะมาศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเรื่องงานดูแล แต่ยังไม่แน่ใจว่าต้องศึกษาเพิ่มเติมทางด้านนี้เพิ่ม

 

โดย: หญ้า IP: 223.206.181.88 30 มกราคม 2557 12:47:48 น.  

 

ทางเรามีอุปกรณ์ที่ใช้ในสนามกอล์ฟและเครื่องตัดหญ้ากรีนสนามกอล์ฟทั้งมือ1และมือ2จำหน่ายพร้อมให้คปรึกษาเรื่องกรีนได้ยินดีครับ
08-1515-0626/08-1513-6482

 

โดย: เสน่ห์ IP: 115.87.7.22 19 พฤษภาคม 2557 12:09:13 น.  

 

สวัสดีครับ
เมื่อคืนได้รับโทรศัพท์จากรุ่นพี่ อยากให้ไปช่วยงานเกี่ยวกับดูแลสนามกอล์ฟแห่งใหม่ ประมาณปลายปีนี้
ผมไม่มีประสบการณ์ด้านดูแลสนามเลย แต่ชอบเล่น ชอบกีฬากอล์ฟ อยากได้ความรู้เป็นวิทยาทานครับ ไม่รู้ว่าจะหาได้จากไหน ในช่วงระยะเวลาอันสั้นนี้
หากจะมีใครเมตตา ชี้แนะช่องทาง การเรียนรู้ ผมจักขอบพระคุณล่วงหน้าเป็นอย่างสูงเลยครับ

 

โดย: ChadChad IP: 171.99.128.83 8 กันยายน 2558 15:38:44 น.  

 

งานสนามกอล์ฟหรือกรีนพัตต์ในบ้านหรือรีสอร์ททางเรามีทีมงานพร้อมเครื่องจักรสนใจพูดคุยปรึกาาได้ครับ 08-1515-0626

 

โดย: เสน่ห์ IP: 171.96.245.60 28 ธันวาคม 2558 21:46:17 น.  

 

อยากต้ดต่อคึยโดยตรงคับ

 

โดย: โนด IP: 182.232.65.86 15 พฤศจิกายน 2560 17:24:54 น.  

 

ข้อมูลดีมาก อยากรู้จักคับผมทำสนามกอลฟขอเบอร์line^faceเป็นที่ปรึกษาคับ

 

โดย: โนด IP: 182.232.65.86 15 พฤศจิกายน 2560 17:33:37 น.  

 

ข้อมูลดีมาก อยากรู้จักคับผมทำสนามกอลฟขอเบอร์line^faceเป็นที่ปรึกษาคับ

 

โดย: โนด IP: 182.232.65.86 15 พฤศจิกายน 2560 17:33:38 น.  

 

ข้อมูลดีมาก อยากรู้จักคับผมทำสนามกอลฟขอเบอร์line^faceเป็นที่ปรึกษาคับ

 

โดย: โนด IP: 182.232.65.86 15 พฤศจิกายน 2560 17:33:41 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


Ike the Ronin
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 32 คน [?]




About JoeIke
As known in MySpace Astist by the name of JoeIke, this up-and-coming local sound engineer has marched his way through various kinds of music and lessons. But the introduction of music sequential got him addicted and completely lost his soul to Eletronic Music. Inspired by the routine of Drum and Bass tempo snap, beautiful grand piano riffs and sinful synthesizer loops, JoeIke combines all of his favorites into his own musical creation. With the profound knowledge of sequencer software and computer hardware.

Friends' blogs
[Add Ike the Ronin's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.