space
space
space
 
พฤษภาคม 2562
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
space
space
14 พฤษภาคม 2562
space
space
space

วิธีรับมือการสัมภาษณ์งานให้ผ่านฉลุย
วิธีรับมือการสัมภาษณ์งานให้ผ่านฉลุย
Written by: Sasicha Isarasriroj – Start Thailand
 
             เมื่อคุณเข้าสู่สนามการสัมภาษณ์งาน คุณอาจเริ่มต้นวันที่ดีด้วยการสอบถามพนักงานต้อนรับก่อนรับการเข้าสัมภาษณ์ โดยก้าวไปข้างหน้าด้วยความมั่นใจ และแนะนำตัวเองด้วยชื่อเต็มของคุณ และชื่อตำแหน่งงานที่คุณสมัครงานเอาไว้
       
            ตัวอย่าง

          “สวัสดีครับ ผมชื่อสมชัย ชะเนียด ผมมาที่นี่เพื่อสัมภาษณ์งาน ในช่วงเวลาบ่ายสามโมงเย็น ตำแหน่ง Call Center operator ครับ“
           
           เมื่อคุณตรวจสอบวัน เวลาสัมภาษณ์และแนะนำตัวแล้ว ให้รอฝ่ายทรัพยากรบุคคลเชิญเข้าห้องสัมภาษณ์ ระหว่างนั้นให้หยุดเล่นโทรศัพท์มือถือเพื่อแสดงถึงมารยาทที่ดีขณะที่คุณนั่งรอคอย
         
           อย่างไรก็ตาม ถ้าคุณนั่งอยู่ ให้วางแขนไว้บนที่วางแขน หรือในตำแหน่งหน้าตักให้เรียบร้อย ส่วนเท้าของคุณให้วางสงบนิ่งบนพื้น หรือให้ข้อเท้าของคุณอยู่ในลักษณะกากบาท
         
           และเมื่อมีคนเข้ามาทักทายคุณ ให้ลุกขึ้นยืนและทำความรู้จักกับเขา แนะนำตัวคุณเองให้เขาได้รู้จัก โดยมีวิธีการรับมือเมื่อเข้าสู่ขั้นตอนการสัมภาษณ์งานมีดังนี้
         
          ให้คุณยิ้มอย่างจริงใจ หากบริษัทที่คุณสมัครงานไว้ นายจ้างเป็นชาวต่างชาติ ให้คุณจับมือกับเขาอย่างหนักแน่น แต่ไม่ใช่การบีบมือมากจนเกินไป หรือถ้าหากนายจ้างของคุณเป็นคนไทย ให้ยกมือไหว้สวัสดีด้วยความอ่อนน้อมถ่อมตน พร้อมทั้งแนะนำตัวคุณเองด้วยชื่อเต็มในน้ำเสียงที่เต็มไปด้วยความมั่นใจ
         
           และเมื่อเขาแนะนำตัวเองให้คุณรู้จัก ให้คุณตอบรับเขาด้วยประโยคที่ว่า “It’s nice to meet you” หรือยินดีที่ได้พบคุณ และหลังจากนั้นให้กล่าวชื่อของเขาซ้ำอีกครั้ง ด้วยเสียงดัง ฟังชัด ซึ่งมันจะทำให้คุณดูน่าเชื่อถือในการสร้างการจดจำที่ดีเมื่อพบกันครั้งแรกอีกด้วย
           
           ถ้าคุณได้พูดคุยกับบุคคลนี้ทางโทรศัพท์หรือทางอีเมลในการนัดสัมภาษณ์ คุณสามารถที่จะแจ้งเขาก่อนสักเล็กน้อย และกล่าวว่ายินดีที่ได้พบคุณจริงๆ
          
           เมื่อคุณได้พูดคุย ยิ้ม และมองพวกเขาด้วยสายตาแห่งความตั้งใจ ลำดับต่อไป เขาอาจพาคุณเยี่ยมชมสถานที่ หรือพาคุณไปยังห้องสัมภาษณ์ทันทีทันใด แต่ถ้าบุคคลนี้เป็นเพียงแค่ผู้นำทางพาไปยังห้องสัมภาษณ์ ให้คุณกล่าวคำขอบคุณก่อนที่พวกเขาจะเดินออกไปด้วยใบหน้าที่ยิ้มแย้ม
 
ระหว่างการสัมภาษณ์งาน
          ให้คุณนั่งรอในห้องสัมภาษณ์จนกว่าจะพบกับผู้สัมภาษณ์ของคุณด้วยความสงบ เรียบร้อย โดยคุณอาจจะใช้เวลานี้ไปกับการจดบันทึก พร้อมทั้งดื่มน้ำเปล่าควบคู่กับการกำหนดลมหายใจเข้าออกช้าๆ ทำตัวสบายๆ ไม่ต้องเกร็ง
       
           เมื่อผู้สัมภาษณ์ของคุณเข้ามาในห้อง ให้คุณลุกขึ้นยืนและกล่าวทักทาย พร้อมทั้งจับมือเขาด้วย ความมั่นใจ หรือยกมือไหว้สวัสดีก่อนที่เขาจะนั่งลง พร้อมทั้งกล่าวชื่อของคุณด้วยใบหน้ายิ้มแย้ม แจ่มใส
       
           ทั้งนี้ มันก็น่าจะมีความเป็นไปได้ว่า ผู้สัมภาษณ์งานจะรู้ถึงบทบาท หน้าที่ในการทำงานของคุณผ่านใบสมัครงานและจากเรซูเม่ของคุณมาก่อนบ้างแล้ว
       
           แม้กระนั้นก็ตาม คุณควรที่จะเตรียมพร้อมในการบรรยายสั้นๆ เกี่ยวกับประวัติการทำงานของคุณเพื่อให้เกิดความมั่นใจ และทำให้เขาได้รู้ว่าคุณเป็นใคร และมีอะไรที่เกี่ยวข้องกับการสมัครงานครั้งนี้ อะไรทำนองนั้น
     
           ทันทีที่แนะนำตัวเสร็จ คุณสามารถที่จะยื่นเรซูเม่หรือผลงานของคุณให้แก่พวกเขาหากเขาไม่มีเรซูเม่ของคุณ และหากเป็นไปได้คุณอาจจะแลกเปลี่ยนเรื่องราวอย่างอารมณ์ดีและทำให้การตอบคำถามการสัมภาษณ์เป็นไปอย่างราบรื่น
         
           ถ้าหากเกิดความเงียบขึ้นระหว่างการสัมภาษณ์ ไม่ต้องกลัวหากจะเป็นผู้เปิดประเด็นโดยทันทีในการสรุปภูมิหลังเกี่ยวกับอาชีพและสิ่งที่ทำให้เขาสนใจในงานของคุณ
     
           และนี่คือตัวอย่างบทสนทนาของคนที่สมัครงานตำแหน่งบริหารที่น่าจะนำไปใช้ประโยชน์ได้ระหว่างการสัมภาษณ์งาน
       
           “ฉันเคยทำตำแหน่งเลขานุการ โดยมีประสบการณ์ในสายอาชีพเป็นเวลา 3 ปี ในการจัดระเบียบงานบริหารให้มีประสิทธิภาพ การจัดเตรียมประชุม และเอกสารประกอบที่เป็นการแปลภาษาอังกฤษของบริษัท ซึ่งฉันมองเห็นว่าบริษัทจะเติบโตขึ้นได้ด้วยความรู้ ความสามารถและความเชี่ยวชาญของฉัน ซึ่งฉันคาดหวังไว้ว่าบริษัทจะเกิดการพัฒนาขึ้น และเพื่อเป็นแรงบันดาลใจให้แก่คนในทีมและเพื่อนร่วมงานใหม่ของฉันได้ก้าวต่อไปข้างหน้าด้วยกัน”
         
           ทั้งนี้ หนึ่งในคำถามระหว่างการสัมภาษณ์ที่คุณอาจจะถูกถามในช่วงต้นชั่วโมง คือ “Tell me about yourself.”  หรือบอกฉันเกี่ยวกับตัวคุณเองให้รู้หน่อย โดยให้คุณเตรียมตอบคำถามไว้อย่างคร่าวๆ เช่นจุดแข็ง จุดอ่อน ประสบการณ์การทำงานที่ผ่านมา และความสำเร็จของตัวเอง ในการมุ่งเน้นไปที่ความเป็นมาของคุณก่อน เพื่อเปิดโอกาสที่ดีที่สุดที่จะได้ทำในงานนี้

         อย่างไรก็ตาม การเตรียมตัวให้พร้อมก่อนเวลาสัมภาษณ์งานจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยลดความตึงเครียดลงได้ ด้วยเหตุนี้ตามที่ได้มีการศึกษา วิจัยบริษัทและความเป็นไปได้ในการสัมภาษณ์งานเบื้องต้นที่ได้นำเสนอตัวอย่างไว้คร่าวๆ จึงเป็นสิ่งที่จะช่วยกำหนดทิศทางในบทสนทนา ที่คุณสามารถจัดเตรียมการฝึกซ้อม ถาม-ตอบคำถาม เพื่อให้โต้ตอบระหว่างการสัมภาษณ์งานได้อย่างชาญฉลาด รวมถึงการใช้คำถามที่สมบูรณ์ที่ควรเต็มไปด้วยความรอบรู้ในการตั้งคำถามเสียก่อน เพื่อให้การสัมภาษณ์งานลุล่วงไปด้วยดี

        การนำเสนอตัวคุณในการสัมภาษณ์งานควรเต็มไปด้วยความรอบรู้และแสดงให้เห็นถึงความมั่นใจต่อนายจ้างเพื่อเพิ่มโอกาสในการถูกเลือกเข้าทำงานในตำแหน่งที่คุณทำการสมัครไว้

       อย่างไรก็ตาม มันจึงเป็นเรื่องเหมาะสมที่จะจดบันทึกลงไปในขณะที่กำลังสนทนากับนายจ้าง โดยคุณสามารถที่จะอ้างอิงการบันทึกข้อความเหล่านี้เพื่อใช้ในการถามคำถามในตอนท้ายของการสัมภาษณ์และสามารถอ้างอิงถึงการพูดคุยกับนายจ้าง เมื่อคุณใช้ติดตามผลของการสัมภาษณ์เพื่อแสดงหลักฐานซึ่งเป็นการให้ความสนใจและทำให้การสัมภาษณ์มีมูลค่าระหว่างคุณกับพวกเขา

       ทั้งนี้ ผู้สัมภาษณ์ยังต้องการว่าจ้างคนที่มีคุณสมบัติเหมาะสม โดยตรงกับความต้องการของเขาสำหรับหน้าที่ และภารกิจที่ต้องรับผิดชอบ นอกจากนี้พวกเขาอาจต้องการใครบางคนที่จะร่วมงานด้วยที่สามารถเข้ากับวัฒนธรรมขององค์กรได้เป็นอย่างดี และในขณะทึ่คุณตอบคำถามกับพวกเขา และสอบถามคำถามที่คุณวางแผนไว้ล่วงหน้า จงอย่าลืมที่จะเป็นตัวของตัวเอง และปลดปล่อยลักษณะเฉพาะตัวของคุณให้นายจ้างได้เห็น

       อย่างไรก็ตาม ระหว่างบทสนทนา การสัมภาษณ์ที่กำลังดำเนินไป อย่าลืมกำหนดลมหายใจเข้าออกเพื่อความผ่อนคลาย ในการใช้เวลาการพูดคุยไปทีละขั้นตอน มันจึงเหมาะมากหากจะหยุดระหว่างพูดชั่วคราวเพื่อรวบรวมความคิดและพูดว่า “ฉันขอใช้เวลาชั่วครู่เพื่อพิจารณาเกี่ยวกับเรื่องนั้น”ก่อนที่จะเริ่มตอบคำถามตามข้อเท็จจริงต่อไป

        ถึงเพียงนี้ การปล่อยพลังความคิดเชิงบวกนับว่าเป็นสัญญาณที่ดีที่ผู้สัมภาษณ์ของคุณจะลงทุนความเป็นไปได้ที่ดีที่สุดในการตัดสินใจว่าจ้างคุณ
 
ภายหลังจากการสัมภาษณ์งาน
          ไม่มีการแนะนำตัวครั้งไหน ที่จะจบบทสนทนาลงด้วยการไม่กล่าวคำอำลา
 
          ภายหลังการสัมภาษณ์ของคุณเมื่อสิ้นสุดลงแล้ว ให้ติดตามผู้ที่สัมภาษณ์คุณ และยืนขึ้นเมื่อเขายืน พร้อมทั้งจับมือพวกเขาอีกครั้ง หรือยกมือไหว้เพื่อแสดงการขอบคุณแก่พวกเขาและยิ้มอย่างเป็นธรรมชาติ โดยคุณสามารถที่จะวางแผนการพูดคุย ในการการกล่าวอำลาด้วยถ้อยคำเชิงบวกสักเล็กน้อยเพื่อจบบทสนทนา และนี่คือตัวอย่างการกล่าวอำลาที่คุณสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้

        “การพบคุณวันนี้ มันคือความสุขของฉัน ฉันรู้สึกว่ามันมีคุณค่าในการใช้เวลาร่วมกับคุณ

       “ขอบคุณสำหรับการสนทนาที่ยอดเยี่ยม หวังว่าคุณจะเพลินเพลินไปกับวันพักผ่อนที่มีอยู่ของคุณ

        “มันเป็นเรื่องที่ดี ที่ได้ฟังเกี่ยวกับบทบาทของคุณที่นี่ ฉันหวังว่าจะได้ทำงานร่วมกับคุณในอนาคต

      สำหรับการสัมภาษณ์งาน บริษัทบางแห่งอาจจะสัมภาษณ์คุณมากกว่าหนึ่งรอบ ซึ่งผู้สัมภาษณ์อาจจะติดต่อคุณกลับไปเพื่อนัดวัน เวลาในการสัมภาษณ์อีกครั้ง หรือคุณอาจจะส่งการบันทึกข้อความระหว่างการสัมภาษณ์ไปที่นายจ้างภายหลังการพูดคุยเสร็จสิ้นลง เพื่อเป็นการแสดงออกถึงความตั้งใจ และสนใจในงานที่คุณสมัคร ซึ่งคุณอาจจะรอโทรศัพท์ หรือการตอบรับนัดช่วงเวลาการสัมภาษณ์อีกครั้งทางอีเมล ตามกระบวนการของบริษัทนายจ้าง ในการตัดสินใจว่าจ้างคุณ
 


Create Date : 14 พฤษภาคม 2562
Last Update : 14 พฤษภาคม 2562 10:43:11 น. 0 comments
Counter : 483 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
space

สมาชิกหมายเลข 5133598
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 5133598's blog to your web]
space
space
space
space
space