กุมภาพันธ์ 2551

 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
 
 
มาทำความเข้าใจกับโยคะ ที่ถูกต้อง
ศิวะนันทะ..โยคะเพื่อสร้างดุลย์ชีวิต
เป็นโยคะเพื่อการผ่อนคลายร่างกายและจิตใจ การฝึกจะแยกอาสนะและปราณยามออกจากกัน และจะไม่ให้ร่างกายเหนื่อยเกินไป ปรับสมดุลย์ต่างๆ เน้นการเข้าใจในตนเอง เพื่อการเยียวยาตนเอง เป็นการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมท่าทางของโยคะแต่ละแบบไม่ได้แตกต่างกันมากนัก แต่ก็จะแตกต่างกันออกไปในเชิงของรูปแบบและจังหวะ ศิวะนันทะโยคะ จะค่อนข้างช้าแต่ไม่เนิบนาบ เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่เร่งรีบมากนัก โดยเฉพาะผู้ที่ปฏิบัติธรรมหรือบริหารจิตที่ใช้รูปแบบการฝึกแบบการกำหนดลมหายใจ เพราะสามารถจะฝึกควบคู่กันไปได้

Vinyasa Karma Yoga

“วินยาสะ” ซึ่งเป็นคำในภาษาสันสกฤตแปลว่า “ลมหายใจประกอบกับการเคลื่อนไหว” การฝึกในแบบนี้จะมีการเคลื่อนไหวช้าๆ แบบต่อเนื่อง บวกเข้ากับการหายใจ ทุกการเคลื่อนไหวจากท่าหนึ่งไปสู่อีกท่าหนึ่งจะประสานไปด้วยลมหายใจ ให้ทั้งความแข็งแรงแต่นุ่มนวล และมีมุมมองที่เห็นว่าแต่ละคนมีความแตกต่างกันและต้องการโยคะไม่เหมือนกัน และเน้นการฝึกโยคะเพื่อการฝึกจิตใจและเพื่อการเยียวยารักษา เช่นเดียวกับ
ศิวะนันทะ และการฝึกแบบนี้นี่เองที่เป็นต้นกำเนิดของบรรดา Flow Yoga ต่างๆ ที่เราเรียกว่าหฐโยคะ
Hatha Yoga นั่นเอง
ดังนั้นในการฝึก จึงมีวินยาสะ เชื่อมอาสนะหนึ่งไปสู่อาสนะต่อไปตามลำดับที่มีการจัดเรียงไว้อย่างเป็นแบบแผน การฝึก หากได้ปฏิบัติอย่างต่อเนื่องและถูกต้อง ภายใต้คำแนะนำจากครูผู้มีประสบการณ์แล้วจะมีประโยชน์อย่างยิ่งทั้งในแง่ของการกำจัดของเสีย หรือรักษาโรคภัย ทำให้ร่างกายโดยรวมแข็งแรงแล้ว ยังเป็นเสมือน Meditation in Motion คือทำให้จิตใจมีความสงบนิ่งมากขึ้นอีกด้วย นั้นจะคล้ายๆกับศิวะนันทะ

อัษฎางคะโยคะ...โยคะเพื่อคนกระฉับกระเฉง
จุดเด่นที่สุดของอัษฏางคโยคะอยู่ที่วินยาสะคือการเคลื่อนไหวอันประสานเข้าด้วยลมหายใจ การฝึกอาสนะของอัษฏางคโยคะนั้น จะฝึกด้วยวินยาสะตลอดตั้งแต่ต้นจนจบ ซึ่งทำให้นอกจากที่เราจะได้บริหารร่างกายแล้ว ยังเป็นการบริหารสมาธิของตนเองด้วย และผลลัพธ์เบื้องต้นที่ได้จากวินยาสะ ก็คือความร้อนที่เกิดจากภายใน ซึ่งช่วยชำระล้าง และขจัดของเสียที่สะสมในอวัยวะต่างๆ

อัษฎางค์โยคะ มรรค 8 ของโยคะ

ผู้สนใจโยคะเบื้องต้น มักเข้าใจว่า การฝึกทำอาสนะ คือ ทั้งหมดของการฝึกทำโยคะ! ในความเป็นจริง โยคะประกอบด้วยขั้นตอน 8 ประการ ที่เอื้อซึ่งกันและกัน ผู้ที่จะได้รับประโยชน์จากโยคะ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้อง เรียนรู้ ทำความเข้าใจ และฝึกองค์ประกอบทั้ง 8 ประการนี้ ควบคู่กันไป เราสามารถเปรียบอัษฎางค์โยคะกับกงล้อ 8 ซี่ของวงล้อ ล้อที่ประกอบด้วยกงที่สมบูรณ์เท่านั้น ที่จะเคลื่อนไปข้างหน้าได้ ที่จะนำพาเราไปสู่เป้าหมายได้

1. ยะมะ หรือ Moral discipline (Yama)
คือศีลธรรมและจริยธรรม ที่จะช่วยให้คนอยู่ในสังคมได้อย่างเป็นสุข เป็นสังคมที่ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ไม่เบียดเบียนกันซึ่งมีองค์ประกอบที่สำคัญคือ
- การไม่ฆ่าฟันหรือทำร้ายผู้อื่น ต้องให้ความรักผู้อื่น
- ต้องรักษาความสัตย์ คิดและพูดสิ่งที่ดีและเป็นประโยชน์
- ไม่โลภ ไม่มีความอยากได้ของผู้อื่น ไม่อยากได้ หรืออยากมีเกินความเป็นจริง
- ทำงาน หรือทำหน้าที่ของตัวเอง ให้เต็มความสามารถ ฝึกจิตของตัวเอง ให้ควบคุมตัวเองในเรื่องของการคิด การพูดและการทำ
- ไม่สะสมสิ่งที่มีเกินความจำเป็น ยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้น
2. นิยะมะ Self-restraint (Niyama) หรือความมีวิถีแห่งตนได้แก่
- การรักษาร่างกายให้สะอาดด้วยการอาบน้ำ การรักษาจิตใจให้บริสุทธิ์ ด้วยการฝึกโยคะ และฝึกลมปราน
- ฝึกตนเองให้พอใจในสิ่งที่ตัวเองมีอยู่ จิตใจที่ไม่รู้จักพอจะขาดพลังจิต ขาดทิศทางและยากที่จะสงบลงได้
- ความเพียรพยายามในการควบคุมกาย วาจาและใจให้ทำในสิ่งที่ดีๆ
- ศึกษาเกี่ยวกับธรรมและตนเอง เพื่อที่จะหาทางแกไขปัญหาต่างๆได้อย่างเหมาะสม
- ฝึกปฏิบัติให้ลดความโลภ โกรธ หลง
3. อาสนะ Posture (Asana)
หมายถึงท่าในการฝึกโยคะ เป็นท่าสำหรับการบริหารร่างกาย ฝึกยืดกล้ามเนื้อกระตุ้นให้การทำงานประสาทและต่อมต่างๆ

4. ปรานายะมะ Breath control (Pranayama)
เป็นการฝึกกำหนดลมหายใจโดยเป็นการฝึกการหายใจเข้า การหายใจออก และการกลั้นหายใจ

5. ปรายาหาระ Sensory inhibition (Pratyahara)
หมายถึงการควบคุมความรู้สึกต่าง รู้สึกอยากได้ รู้สึกโกรธ เมื่อจิตใจไม่ติดยึดกับวัตถุหรืออารมณ์ ก็ทำให้จิตใจผู้นั้นบริสุทธิ์และมีพลังงานในการคิดหรือทำดี

6. ธารนะ Concentration (Dharana)
คือความมีสมาธิจดจ่อในสิ่งที่กระทำอยู่ เมื่อกายอยู่ในท่าโยคะ ให้จิตใจสนใจแต่เรื่องลมหายใจ ไม่คิดเรื่องอื่น

7. ธยานะ Meditation (Dhyana)
คือการที่จิตใจที่เพ่งอย่างต่อเนื่องจนเกิดสมาธิ ไม่ว่าจะเปลี่ยนท่าโยคะไปท่าใดผู้ฝึกก็ยังมีจิตใจไม่วอกแวก หากฝึกถึงขั้นนี้ร่างกายจะรู้สึกเบาสบาย มั่นคง จิตใจแจ่มใส

8. สมาธิหรือฌาณ Ecstasy (Samadhi)
เป็นเป้าหมายสูงสุดของการฝึกโยคะ ทางพุทธเรียกฌาณ ร่างกายจิตใจอยู่ในสภาวะพัก มีความสงบนิ่งสมดุล ผู้ฝึกจะมีสติและรู้ตัวอยู่ตลอดเวลา เป้าหมายของการฝึกโยคะ R?ja-Yoga คือการปลดปล่อยตัวเองจากโลภ โกรธ หลงและมีสมาธิ

ประเภทของโยคะ

1. ราชาโยคะ (Raja-Yoga) โยคะสำหรับผู้ฝึกที่มีจุดมุ่งหมายเน้นไปที่ความสงบของจิตใจเป็นหลัก เป็นโยคะที่ฝึกง่าย ใช้หลักการฝึกที่เป็นวิทยาศาสตร์ ผู้ที่ตั้งใจฝึกซ้อมอย่างจริงจังจะได้ทั้งความสงบของจิตใจ และแสงสว่างแห่งปัญญาเป็นรางวัล แต่กว่าจะสงบได้ถึงระดับนั้น ผู้ฝึกอาจพบว่าตัวเอง ได้ปลีกตัวออกไปจากสังคมเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

2. กรรมโยคะ (Kamar-Yoga) จัดเป็นโยคะที่อิงความเชื่อทางด้านศาสนามากที่สุด มีการเข้าญาณ การทำพิธีกรรม บวงสรวงและสวดบูชาเทพเจ้า เช่น พระวิษณุ สิ่งที่ผู้ฝึกโยคะตามแนวทางนี้ จะได้รับคือการลด ละ เลิกไม่เป็นคนที่เห็นแก่ตัวอีกต่อไป

3. ภักติโยคะ (Bhakti-Yoga) โยคะประเภทนี้เหมาะมากสำหรับผู้ซึ่งมีจุดมุ่งหมายจริงจังที่จะปลีกวิเวกไปอยู่ตามป่าเขาลำเนาไพร เป็นโยคะอีกประเภทหนึ่งซึ่งมุ่งเน้นความสำคัญไปที่ด้านของจิตใจให้รู้จักการให้ การเสียสละ

4.ญาณโยคะ (Jnana-Yoga) เป็นโยคะที่เชื่อในเรื่องของความจริง และเชื่อว่าความรู้ที่ได้จากการฝึกปฏิบัติโยคะอย่างมีสมาธิ รวมทั้งการปลีกวิเวกจะสามารถช่วยให้ผู้ปฏิบัติโยคะแยกแยะระหว่างความจริง (Reality) และ การหลงผิด (Maya) ได้

5. ตันตระโยคะ (Tantra-Yoga) เป็นโยคะที่ชี้นำให้ผู้ปฏิบัติทราบว่าด้านมืดและด้านสว่างของชีวิตนั้นแตกต่างกันอย่างไร เป็นโยคะประเภทเดียวที่รวบรวมเอาข้อดีของโยคะประเภทต่างๆ มาประยุกต์ใช้ มีการทำพิธีบวงสรวงเน้นการทำสมาธิให้ได้ถึงระดับญาณเพื่อปลุกพลังภายในร่างกาย และพลังจิตสามารถทำงานผสานกันได้ในขณะที่ทำท่าอาสนะ

6. หฐโยคะ (Hatha-Yoga) โยคะชนิดนี้ นำเอาท่าอาสนะของโยคะสมัยโบราณมาดัดแปลงให้เข้ากับยุคสมัย เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ฝึกให้มากที่สุด ใช้ศิลปการบริหารร่างกาย ภายใต้การควบคุมของจิตใจก่อให้เกิดพลังด้านลบและบวก รักษาโรคบางอย่างได้ เน้นการเตรียมร่างกายและจิตใจให้มีพลังที่จะบรรลุสู่ความสำเร็จ มีการกำหนดลมปราณ ในขณะทำท่าอาสนะเพื่อความมีสมาธิ เพราะผลที่ได้จากการฝึกฝนที่ให้ความสำคัญทั้งด้านร่างกายและจิตใจ จึงทำให้ผู้ฝึกปฏิบัติสม่ำเสมอมีสุขภาพที่ทั้งร่างกายและจิตใจ ก่อให้เกิดสมาธิและเข้าถึงญาณได้ง่าย อย่างไรก็ตามหฐโยคะยังแตกแขนงแยกย่อยออกไปได้อีก

7. มนตราโยคะ (Montra-Yoga) โยคะร่วมสมัยที่นำเอาท่าอาสนะสมัยเก่ามาดัดแปลงประยุกต์ เน้นการเอ่ยคำว่า “โอม” ฝึกได้ด้วยท่าง่ายๆ

สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ สิริรดา โยคะ โทร 089-544-1441

144 / 1 ถนน มาตยาวงษ์ ต.ท่าราบ อ.เมือง จ.เพชรบุรี 76000

มาตรฐานหลักสูตรการสอนของ อาจารย์โทน (ธนยุทธร พรธิสาร)

อำนวย การสอนโดย ครูตรี (สิริรดา พิบูลย์สมบัติ)



บริหารกายสไตล์โยคะเพื่อหน้าใส – ผิวสวย

1. ท่ายืดอก(อัดรา จักราสนะ)
ประโยชน์ ช่วยกระชับทรวงอก ลดไขมันบริเวณแผ่นหลัง กระชับกล้ามเนื้อสะโพก ขา ทำให้โลหิตไปเลี้ยงใบหน้าได้มากขึ้นทำให้มีเลือดฝาดผิวสวยหน้าอ่อนใส
วิธีปฏิบัติ
* ยืนตัวตรง ดึงแขนทั้งสองไปข้างหลัง ประสานมือเข้าด้วยกันพร้อมเอนตัวไปข้างหลัง หายใจออกช้า ๆ
*ก้มตัวไปข้างหลังดึงแขนที่ประสานให้สูงขึ้นพร้อมหายใจเข้าลึก ๆ
* หายใจออกพร้อมแขม่วท้องโน้มศีรษะให้หน้าผากจรดเข่าค้างท่า พร้อมนับ1-10 ผ่อนคลาย


สะพานโค้ง (กัมดาราสนะ)
ประโยชน์ ช่วยกระชับเนื้อแผ่นหลัง สะโพก น่องข้อพับ
วิธีปฏิบัติ
* นอนหงายชั้นเข่าสูง พยายามใช้เท้าเลื่อนมาใกล้กับก้นให้มากที่สุด มือทั้งสองวางคว่ำที่พื้นหายใจเข้าให้ลึก ๆ
* หายใจออกดันลำตัวขึ้น โดยออกแรงดันจากเข่าและแขนทั้งสองพร้อมยกลำตัวให้ลอยเหนือพื้น น้ำหนักตัวอยู่ที่มือและขาทั้งสอง ค้างท่าไว้นับ1-10กลับสู่ท่าเดิมผ่อนคลายและทำซ้ำ


ท่ายืนด้วยไหล่ (สว่างอาสนะ)
ประโยชน์ ช่วยควบคุมน้ำหนัก และกระตุ้นต่อมไทรอยด์ให้ทำงานได้ดีขึ้น
วิธีปฏิบัติ
* นอนหงายวางอุ้งมือราบกับพื้นพร้อมออกแรงยันพื้น เกร็งกล้ามเนื้อขา และกล้ามเนื้อหน้าท้อง
* ยกขาทั้งสองขึ้น กระดกตัวให้สูงไปข้างหลังจนกระทั้งสะโพกขึ้นจากพื้น ใช้มือพยุงสะโพกไว้โดยให้ศอกตั้งตลอดเวลา ออกแรงดึงลำตัวขึ้นตั้งตรง ทิ้งน้ำหนักไปที่บ่าและไหล่ควบคุมการทรงตัวค้างท่าไว้นับ1-10 ผ่อนคลายและทำซ้ำ

เคยมั้ยว่า ไปเรียนโยคะที่ไหนๆ ก็ซ้ำๆ เหมือนๆกันหมด วนเวียนอยู่อย่างนั้น 

ด้วยเหตุนี้เอง เราจึงได้บรรจงสร้างสรรปรับเปลี่ยนรูปแบบการสอนโยคะไม่ให้เหมือนใครและไม่มีใครเหมือน

เพราะท่าโยคะที่แกะจากท่าร่ายรำนาฎลีลาโยคสูตร นาฎลีลาที่ร่ายรำถวายแด่พระศิวมหาเทพ

ล้วนแล้วแต่เป็นท่าศักดิ์สิทธิ์ เมื่อมาฝึกแล้วจะทำให้ร่างกายแช็งแรง สุขภาพพลานามัย ภูมิต้านทานโรคจะดีขึ้น

ผิวสวยหน้าใส เพิ่มความเปล่งปลั่งอย่างเห็นได้ชัดภายใน 30 วัน

พื้นฐานการฝึกเรียนโยคะที่ถูกต้อง ต้องเริ่มด้วยการฝึก " ฤ ษี ดั ด ต น " ของ " อ ง ค์ ป ฐ ม โ ย คี "
ด้วยการเคลื่อนไหวแบบ "น า ฎ ลี ล า " ไม่ใช่ฝึกเรียนโยคะแบบ " ทำ ท่ า ใ ห้ เ ห มื อ น "
และ " ทำ ท่ า ใ ห้ ไ ด้ " แค่นั้ัน แล้วเที่ยวได้ไปสอนอย่างผิดวิธี ขาดความเข้าใจในหลักการฝึกเรียนโยคะ
ที่ถูกต้อง

เมื่อได้ฝึกโยคะ ตามโยคะสูตรดั้งเดิมแล้ว เราก็จะได้ " ค ว า ม เ ข้ ม แ ข็ ง "
มาแทนที่ " ค ว า ม เ ป ร า ะ บ า ง " ร่างกายดี จิตใจย่อมมีพลัง " ค ว า ม อ้ า ง ว้ า ง "
ก็จะเลือนหาย ถูกแทนที่ ด้วย " ค ว า ม อ บ อุ่ น " คลื่นจักระในร่างกายจะหมุนเวียนอย่างเป็นระบบ
ด้วย " ร อ ย ยิ้ ม ห ว า น ล ะ มุ น " แทนที่ " ค ว า ม เ ฉ ย ช า " ที่เราเคยมีอยู่บนใบหน้า
และ อาการต่างๆ ที่เรา " เ จ็ บ ป่ ว ย " ย่อมถูกแทนที่ด้วย " ด้ ว ย ภู มิ คุ้ ม กั น ",,
บนพื้นฐานแห่ง " ค ว า ม เ ข้ า ใ จ " ที่ถูกต้อง

มาตรฐานรูปแบบการสอนของ อาจารย์โทน พรธิสาร

โดย ครูตรี (สิริรดา พิบูลย์สมบัติ) จากศูนย์ฝึกอบรมครูโยคะ เป็นผู้ถ่ายทอดรูปแบบการฝึกโยคะ

สร้างความสมดุลย์ เพิ่มพลังความแข็งแกร่ง กระตุ้นต่อมและฮอร์โมนต่างๆช่วยให้เป็นหนุ่มเป็นสาว ผิวสวยหน้าใส



Create Date : 06 กุมภาพันธ์ 2551
Last Update : 21 มกราคม 2556 11:10:45 น.
Counter : 6192 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

jarurazzi
Location :
เพชรบุรี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



สิริรดา พิบูลย์สมบัติ ( ครูตรี )

ประวัติการสอน เป็นครูผู้นำการออกกำลังกายมากว่า 15 ปี

เปิดสอนโยคะในนามสิริรดาโยคะ ตั้งแต่ พ.ศ.2550 จนถึงปัจจุบัน

องค์กรที่ได้รับเชิญ

ศูนย์ฝึกอบรมครูโยคะ จังหวัดนนทบุรี

ศูนย์สุขภาพตึกส้ม หมู่บ้านปรีชาร่มเกล้า มีนบุรี กทม.

โรงพยาบาลทัพทัน จ.อุทัยธานี

โครงการสุขภาพกายฟิต สุขภาพจิตดี ด้วยวิถีโยคะ โดย อบต. หนองขาม อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี

สวัสดีโยคะ ศูนย์โยคะ รามอินทรา 117 กรุงเทพมหานคร

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรี

วิทยาลัยอาชีวศึกษาเพชรบุรี

สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดอุบลราชธานี

คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรี

สะพานใหม่โยคะ พหลโยธิน บางเขน กทม.

บริษัท เอ็มเมอรัลด์ นอนวูเว่น อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด

บมจ.ซ๊อาร์ซี ครีเอชั่น บางพลัด กทม.

ติดต่องานฝึกอบรม ,สัมมนา ,โยคะ ฯลฯ โทร 089-249-4999 or 08-555-44-999

สิ่งที่ควรทราบ

โยคะเป็นกระบวนการที่มีจุด เริ่มต้น เป้าหมายและการสิ้นสุด สิ่งสำคัญที่เราต้องมุ่งไปสู่เป้าหมายสูงสุด การฝึกโยคะ ประกอบด้วย การหายใจเป็นแหล่งก่อให้เกิดพลังของชีวิต การควบคุมการหายใจ
การฝึกท่า โยคะและการหายใจ ซึ่งเป็นพื้นฐานในการทำสมาธิ หากฝึกได้จะทำให้ผู้ฝึกมีสุขภาพที่แข็งแรง จิตใจผ่องใสและเข้มแข็ง

สิ่ง สำคัญ โยคะไม่ใช่ยาวิเศษที่จะรักษาโรคได้ โยคะไม่ใช่ปาฏิหาริย์ หลักของโยคะ จะต้องเป็นเหตุเป็นผล เมื่อเราคอยดูแลเอาใจใส่ร่างกาย จิตใจของเราอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง ร่างกายและจิตใจย่อมต้องดีแน่นอน โอกาสที่จะเจ็บป่วยก็น้อยลง

โยคะ สามารถป้องกันโรคภัยไข้เจ็บได้ดีมาก และหากมีโรคภัยไข้เจ็บเกิดขึ้น ผู้ฝึกทำโยคะอย่างเป็นประจำ ย่อมมีโอกาสหายจากโรคได้เร็วกว่าผู้ที่ไม่ได้ทำอะไร

การฝึกโยคะ ทำให้ร่างกายแข็งแรง มีความสมดุลของระบบประสาท และรู้ความหมายแท้จริงของชีวิต จิตใจมั่นคงไม่หวั่นไหวตามสิ่งแวดล้อม ไม่เสียใจ ไม่ดีใจเกินไป เป็นการฝึกจนเกิดปัญญา

ในทางกายภาพ โยคะจะช่วยให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย ผ่อนคลายความเครียด และอาการปวดเมื่อย ทำให้รูปร่างและทรวดทรงดีขึ้น รวมทั้งการทรงตัว เป็นต้น

ด้านกายภาพบำบัด กล้ามเนื้อ ข้อต่อ และเอ็น มีความยืดหยุ่นมากขึ้น ทำให้การเดินคล่องขึ้น การทรงตัวดีขึ้น กระดูกสันหลังถูกปรับให้เข้าสภาพปกติ ป้องกันอาการปวดหลัง ปวดต้นคอ หรือ ปวดศีรษะ และปรับรูปร่างให้สมดุล กระดูกไม่งอ ไหล่ไม่เอียง ซึ่งท่าบริหารโยคะบางท่าถูกดัดแปลงใช้กับคนชรา และคนพิการเพื่อสามารถฝึกบนเตียง หรือบนรถเข็นได้

ด้านจิตบำบัด โยคะจะช่วยให้จิตสงบและมีสมาธิมากขึ้น ลดความวิตกกังวลและอาการที่ตื่นกลัว รวมทั้งผู้ที่ปัญหาเพศสัมพันธ์บกพร่อง สามารถบรรเทา หรือแก้ไขได้ด้วยท่าโยคะหลายๆ ท่า

โยคะแตกต่างกับการออกกำลังกาย
- โยคะ-สบาย การออกกำลังกาย-เครียดต่อผลการแข่งขัน โยคะ-ใช้แรงน้อย การออกกำลังกาย-ออกแรงมาก
- โยคะ-มีสติในการฝึก การออกกำลังกาย-สติไปอยู่ที่ภายนอก

หลักง่ายๆ ของผู้ที่จะฝึกโยคะ คือควรฝึกตามศักยภาพของตัวเอง ป้องกันการบาดเจ็บ ส่วนการออกกำลังกายก็เป็นสิ่งดีที่เราพอมีเวลาควรลองทำ แต่ส่วนใหญ่ คนทำงานหนักในแต่ละสัปดาห์ ไม่สามารถออกกำลังกายได้สม่ำเสมอ ทำให้ร่างกายอ่อนแอ พอมีเวลาว่างในวันหยุด เราจึงมักโหมออกกำลังหนักๆ ทำให้ร่างกายยิ่งทรุดมากขึ้น จนอาจได้รับอันตรายร้ายแรง

โยคะจึงเป็น อีกหนึ่งทางเลือก ที่เราสามารถนำไปปฏิบัติได้ทุกเวลาและทุกสถานที่ แทนการออกกำลังกาย ซึ่งเราไม่ต้องไปหักโหมหรือเครียด เพียงใช้เวลาไม่มากในการนำไปปฏิบัติ


ประโยชน์ของการฝึกโยคะ
การ ฝึกโยคะดั้งเดิมต้องการค้นหาความสุขที่แท้จริง ความสุขที่ไม่ใช่เกิดจากความพอใจหรือความรื่นรมย์ การฝึกโยคะจะทำให้ร่างกายแข็งแรง มีความสมดุลของระบบประสาท และมีรู้ความหมายแท้จริงของชีวิต จิตใจมั่นคงไม่หวั่นไหวตามสิ่งแวดล้อม ไม่เสียใจ ไม่ดีใจเกินไป เป็นการฝึกจนเกิดปัญญา เพื่อประโยชน์ดังต่อไปนี้

* ช่วยให้เลือดไหวเวียนไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย
* ช่วยผ่อนคลายความเครียด และอาการปวดเมื่อย
* ช่วยทำให้รูปร่างและทรวดทรงดีขึ้น รวมทั้งการทรงตัว
* ทำให้การเคลื่อนไหวของข้อดีขึ้น
* ทำให้มีสมาธิในการทำงานดีขึ้น
* ทำให้มีสติดีขึ้นรู้ว่าเรากำลังทำอะไร เพื่ออะไร
* ทำให้ใจเย็นลง
* ช่วยลดอาการปวดประจำเดือน
เราจะเคียงข้างกันไปสู่จุดหมาย