Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2550
 
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
18 ตุลาคม 2550
 
All Blogs
 

ความอยาก...กับการปฏิบัติธรรม

นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น


ความอยาก...กับการปฏิบัติธรรม คนเราทุกวันนี้ ทำอะไร ก็ชอบที่จะ
เอาความอยากหรือไม่อยาก เป็นที่ตั้ง ทั้งที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว
จนเลยไปถึงเรื่อง ธรรมะ อยากปฏิบัติธรรม
อยากศึกษาธรรม หรือแม้แต่.......อยากพ้นทุกข์

ถ้าเราใช้ความอยาก นำการปฏิบัติ หรือศึกษาธรรม เราจะไม่ประสบกับความสำเร็จ เราก็จะไป...ไม่ถึงไหน อาจมีการเข้ารกเข้าพงโดยคิดว่าเป็น ทางลัด

เหตุเพราะ ความอยาก คือ ตัณหา
เมื่อขณะกระทำสิ่งใด และขณะนั้นจิตแนบแน่นด้วย ตัณหา ย่อมเป็นอกุศลจิต ขณะนั้นจึงไม่ใช่สัมมาสติ
เมื่อสัมมาสติไม่เกิด ย่อมมองไม่เห็นความเป็นจริงของรูปนาม

และเมื่อมองไม่เห็นความเป็นจริงของรูปนาม ปัญญาย่อมไม่เกิดตามมา

แล้วสิ่งที่เราจะใช้นำมาทดแทน ความอยากในการปฏิบัติ หรือ ตัวขับเคลื่อน
คืออะไร

อิทธิบาท๔ เป็นคำตอบสุดท้าย

อิทธิบาท คุณเครื่องให้สำเร็จความประสงค์มี ๔อย่างคือ
๑.ฉันทะ พอใจ รักใคร่ในสิ่งนั้น
๒.วิริยะ เพียรประกอบสิ่งนั้น
๓.จิตตะ เอาใจฝักใฝ่สิ่งนั้น ไม่วางธุระ
๔.วิมังสา หมั่นตริตรองพิจารณาในสิ่งนั้น
คุณ๔อย่างนี้มีบริบูรณ์แล้ว อาจชักนำบุคคลให้ถึงสิ่งที่ต้องประสงค์
ซึ่งไม่เหลือวิสัย

จาก สาราณุกรมพระพุทธศาสนา ประมวลจากพระนิพนธ์
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส หน้า๖๙
หรือ

อิทธิบาท 4 คุณเครื่องให้ถึงความสำเร็จ, คุณธรรมที่นำไปสู่ความสำเร็จ
แห่งผลที่มุ่งหมาย (path of accomplishment; basis for success)


1. ฉันทะ (ความพอใจ คือ ความต้องการที่จะทำ ใฝ่ใจรักจะทำสิ่งนั้นอยู่เสมอ และปรารถนาจะทำให้ได้ผลดียิ่งๆ ขึ้นไป – will; aspiration)

2. วิริยะ (ความเพียร คือ ขยันหมั่นประกอบสิ่งนั้นด้วยความพยายาม
เข้มแข็ง อดทน เอาธุระไม่ท้อถอย - energy; effort; exertion)

3. จิตตะ (ความคิด คือ ตั้งจิตรับรู้ในสิ่งที่ทำและสิ่งนั้นด้วยความคิด เอาจิตฝักใฝ่ไม่ปล่อยใจให้ฟุ้งซ่านเลื่อนลอยไป - thoughtfulness; active thought)

4. วิมังสา (ความไตร่ตรอง หรือ ทดลอง คือ หมั่นใช้ปัญญาพิจารณา
ใคร่ครวญตรวจตราหาเหตุผลและตรวจสอบข้อยิ่งหย่อนในสิ่งที่ทำนั้น
มีการวางแผน วัดผล คิดค้นวิธีแก้ไขปรับปรุง เป็นต้น - investigation; examination; reasoning; testing)

ค้นหาจาก
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=วิริยะ&detail=on


ความอยาก ต่างจากอธิบาท๔ อย่างไร

ความอยาก คือ การมองแต่ที่เป้าหมาย คือสิ่งที่ต้องการอยากได้
อยากเป็น หรือ ผล

แต่ไม่ค่อยใส่ใจในขั้นตอนหรือ วิธีการ ขาดความต่อเนื่องเหมือนไฟไหม้ฟาง มาเป็นวูบๆ แบบเบื่อๆอยาก ๆ(ติดๆดับๆ)ไปตาม ตัณหา ซ่อนความร้อนรน หงุดหงิดรำคาญใจ เมื่อไม่เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้เพราะต้องการที่จะได้ ผล
แต่อธิบาท๔ คือการมองถึงการกระทำ
รายละเอียด ขั้นตอน และวิธีการ การแก้ปัญหา โดยไม่สนใจเป้าหมายว่า
จะได้เมื่อไร เน้นที่การกระทำ ไม่เน้นที่เป้าหมายหรือผล มีความขยันตั้งใจ
มีความต่อเนื่อง ไม่มีความเร่าร้อน
มีแต่ความสงบเย็นอยู่ภายใน เพราะวิธีการ หรือขั้นตอน ในแต่ละขั้นก็เพื่อความสงบระงับอยู่ภายใน คือภาวะที่วาง หรือ ว่าง ยิ่งปฏิบัติไปยิ่งเบายิ่งว่างและวาง


ถ้าเปรียบการเข้าถึงสภาวะ นิพพาน เหมือนการเดินทางไกล
มรรค คือ แผนที่ ที่จะบอกทางไหนคือถนน ทางไหนคือทางแยก
สติ คือ พาหนะ
อิทธิบาท๔ ก็คือ ข้อแนะนำก่อนและระหว่างการเดินทาง การเตรียมตัวเตรียมใจ การแก้ปัญหาเมื่อเจออุปสรรค

ผมไม่มีปัญหาเรื่องการวางใจก่อนการปฏิบัติ ไม่มี ความอยากที่จะปฏิบัติธรรม
ใช่ ผมอธิฐาน นิพพานัง ปัจจโย โหตุ ทุกครั้งที่มีโอกาส
แต่แปลก รู้ว่าเป้าหมายอยู่ในใจ แต่ไม่เคยคิดอยากได้ หรือต้องการได้มา

นิพพานอยู่ในใจ แต่ไม่เคยจงใจทำอะไรเพื่อจะได้ นิพพาน

แต่เป็นคนชอบฟังธรรม และปฏิบัติตามที่ท่านสอน แต่ก็จะเลือกครูบาอาจารย์เหมือนกัน ก็รู้สึกว่าธรรมก้าวหน้าไป ความทุกข์น้อยลงมาก เหมือนทิ้งของหนักที่แบกมาไปครึ่งหนึ่ง โดยไม่รู้ตัวว่าแบกของหนักไว้อยู่

แต่ผมเองก็ต้องมาเสียท่า เสียเวลาเปล่าไปเกือบปี
เพราะไม่นำหลักอิทธิบาท๔มาใช้

ปฏิบัติตามคำสอนของหลวงพ่อมาได้ประมาณ 7-8 เดือน
ความอยากมันดับให้เห็น

เห็นการเกิดดับ ไม่เลือกว่ากุศลหรืออกุศล เกิดได้ ดับเอง ต่อหน้าต่อตา ทันทีทันใด

เลือกไม่ได้ว่า อกุศลอยากให้ดับ แต่กุศลไม่ให้ดับ กำลังของสติเท่านั้น
จะเป็นตัวกำหนด

ผมยินดี พอใจกับการดับ อย่างมาก เพราะส่วนใหญ่ที่เกิดและดับมันคือ อกุศล

แต่ผมก็พลาด เพราะปล่อยให้กุศลดับ ไปอย่างไม่รู้สึก เอ๊ะใจ

แม้ความอยากที่จะมากราบหลวงพ่อ เพื่อจะส่งการบ้าน มันก็ดับ
ผมเป็นลูกศิษย์หลวงพ่อปราโมทย์ มาปีกับ8เดือน เคยแต่ไปฟังธรรม
อยากจะส่งการบ้าน(อยากอีกแล้ว) แต่ไม่มีโอกาสได้ส่งการบ้าน อาจเพราะศิษย์น้องศิษย์พี่มีมาก และทุกคนก็ต้องการ
ที่จะส่งการบ้านให้หลวงพ่อ เห็นความอยากส่งการบ้านของตัวเอง
แล้วมันทุกข์ มันก็ดับ

ได้แต่เอาซีดีหลวงพ่อเป็นสรณะ เพิ่งจะได้ไปส่งการบ้านเมื่ออาทิตย์ที่แล้วนี่เอง

หลายครั้งที่คิดจะไปส่งการบ้านแล้วความอยากมันดับและผมก็ปล่อยให้มันผ่านไป

การดับของกุศลไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะเป็นนามชนิดหนึ่ง เหมือนกัน บุญกุศล ก็เป็นการปรุงแต่งของจิต ชนิดหนึ่งเหมือนกัน (อันนี้หลวงพ่อเคยสอน)

แต่การไม่รู้จักนำ อิทธิบาท๔ มาพิจารณา เป็นความบกพร่องอย่างน่าเสียดาย ผมไม่รู้ตัวเลยว่าผมขาดวิริยะ จิตตะและวิมังสามันเป็นบทเรียนที่ผมต้องจดจำ และข้อสำคัญต้องนำมาใช้เตือนสติตัวเองบ่อยๆ
จึงนำข้อคิดมาฝากเพื่อนๆ อย่าได้ทำพลาดเหมือนผม

ตราบใดที่เรายังไปไม่ถึงที่หมาย
อิทธิบาท๔ ก็ยังสำคัญและจำเป็นเสมอ



ขอบอก

ลูกศิษย์หลวงพ่อปราโมทย์
วันพฤหัสบดีที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๕๐





 

Create Date : 18 ตุลาคม 2550
3 comments
Last Update : 18 ตุลาคม 2550 17:11:12 น.
Counter : 2037 Pageviews.

 

สวัสดีค่ะ
มาทักทายค่ะ
ขอบคุณสำหรับคำแนะนำดีๆ
กำลังอยากจะลองทำดูบ้างเพราะจิตไม่ค่อยสงบเลย
แล้วจะมาอีกนะคะ
ขออนุญาติแอดนะคะ

 

โดย: โสนบ้านนา 18 ตุลาคม 2550 16:01:55 น.  

 

มาสาธุนะจ๊ะ

 

โดย: พี่ฝน IP: 124.121.40.109 22 ตุลาคม 2550 18:29:17 น.  

 

สาธุอีกครั้งสำหรับบทความดีๆ
ที่จริงเพิ่งทราบว่า จขบ ก็เป็นศิษย์พี่ของผมนะเนี่ย
เหมือนกันตรงที่ได้แต่ฟังซีดีของหลวงพ่อแล้วหัดรู้สึกตัวเอา
ยังไม่ได้มีโอกาสไปส่งการบ้านเลยและไปกราบท่านเลย

 

โดย: รมม IP: 66.237.109.194 28 ตุลาคม 2550 7:36:14 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


รังสิโยภาส
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add รังสิโยภาส's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.