องค์กรตรวจสอบภาครัฐ
องค์กรตรวจสอบที่สำคัญในประเทศไทย

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)
Office of the National Anti-Corruption Commission (NACC)
//www.nacc.go.th

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช ๒๕๔๐ กำหนดองค์กรอิสระขึ้นรวม ๘ องค์กร องค์กรหนึ่งที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการป้องกันและ ปราบปรามการทุจริต เรียกว่าคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ

การทำหนังสือร้องเรียนต่อสำนักงาน ป.ป.ช.
1. หนังสือทำถึง เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. หรือเข้าร้องทุกข์ กล่าวโทษ ต่อพนักงานสอบสวน ณ สถานีตำรวจในเขตอำนาจสอบสวน โดยพนักงานสอบสวนจะส่งเรื่องไปยังสำนักงาน ป.ป.ช. เพื่อดำเนินการต่อไป
2. ให้มีรายละเอียดการร้องเรียน ดังนี้
2.1 ชื่อ - สกุล ที่อยู่ และ หมายเลขโทรศัพท์ของผู้กล่าวหา
2.2 ชื่อ - สกุล ตำแหน่ง สังกัด ของผู้ถูกกล่าวหา
2.3 ระบุข้อกล่าวหาการกระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ การกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ ราชการ การกระทำความผิดต่อตำแหน่ง หน้าที่ในการยุติธรรม ร่ำรวยผิดปกติ หรือ มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้น ผิดปกติ
2.4 บรรยายการกระทำความผิดอย่างละเอียด ดังนี้
ก. การกระทำความผิดเกิดขึ้นเมื่อใด
ข. มีขั้นตอนหรือรายละเอียดการกระทำความผิดอย่างไร
ค. มีพยานบุคคลรู้เห็นเหตุการณ์ หรือไม่
3. ลงลายมือชื่อ พร้อมแจ้งที่อยู่ของผู้กล่าวหาให้ชัดเจน สำนักงาน ป.ป.ช. จะติดต่อกับผู้ร้องเรียนโดยตรงกับผู้ร้องเรียนที่แจ้งชื่อ - สกุล และที่อยู่ เท่านั้น
หมายเหตุ หากกล่าวหาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง จะต้องระบุชื่อ - นามสกุล และลงลายมือชื่อผู้กล่าวหา โดยเฉพาะผู้กล่าวหาจะต้องเป็นผู้รับได้รับความเสียหายโดยตรงจากการกระทำนั้น




สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.)
Office of Public Sector Anti-Corruption Commission (PACC)
//www.pacc.go.th

เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายสำคัญและเร่งด่วนในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต แต่ยังไม่มีส่วนราชการของฝ่ายบริหารที่มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริตโดยตรง ทำให้รัฐบาลไม่สามารถกำกับดูแลและผลักดันเพื่อให้การดำเนินการตามนโยบายดังกล่าวเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและตรงตามเป้าหมายที่วางไว้ จึงสมควรจะมีส่วนราชการในฝ่ายบริหารที่รับผิดชอบการดำเนินการด้านนโยบายดังกล่าว และเป็นศูนย์กลางประสานงานกับหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องทั้งหมด รวมทั้งกำหนดมาตรการต่างๆ เพื่อให้การป้องกันและปราบปรามการทุจริตในฝ่ายบริหารสามารถดำเนินการในลักษณะบูรณาการและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เพื่อดำเนินการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ

อำนาจในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ ได้แก่ “เจ้าหน้าที่ของรัฐที่ดำรงตำแหน่ง ต่ำกว่าผู้บริหารระดับสูง หรือข้าราชการที่ดำรงตำแหน่ง ต่ำกว่า ผู้อำนวยการกอง ลงมา” ซึ่งเจ้าหน้าที่ของรัฐดังกล่าวได้แก่ ข้าราชการพลเรือนสามัญทุกกระทรวง ทบวง กรม ข้าราชการตำรวจ ข้าราชการทหาร ข้าราชการครู พนักงานองค์กรมหาชน พนักงานรัฐวิสาหกิจ ข้าราชการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตลอดจนข้าราชการ และพนักงานหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งในรูปแบบพิเศษอื่น

กรณีที่ต้องทำการไต่สวนข้อเท็จจริง (มาตรา 23)
1. เมื่อได้รับการกล่าวหาว่า เจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการหรือเกี่ยวข้องกับการกระทำการทุจริตในภาครัฐ
2. เมื่อมีเหตุอันควรสงสัยว่า เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใดกระทำการทุจริตในภาครัฐ
3. เมื่อได้รับเรื่องจากพนักงานสอบสวน กรณีที่มีการร้องทุกข์หรือกล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ อันเนื่องมาจากการกระทำการทุจริตในภาครัฐ
4. เมื่อได้รับเรื่องจากคณะกรรมการ ป.ป.ช. เพื่อดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริง

ผู้ได้รับความเสียหายจากการกระทำการทุจริตในภาครัฐของเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือผู้ที่ได้พบเห็นการทุจริตในภาครัฐของเจ้าหน้าที่ของรัฐ สามารถกล่าวหาเจ้าหน้าที่ของรัฐว่ากระทำการทุจริตในภาครัฐ จะกระทำด้วยวาจาหรือเป็นหนังสือก็ได้โดย
(1) กล่าวหาต่อพนักงาน ป.ป.ท. หรือเจ้าหน้าที่ ป.ป.ท.
(2) กล่าวหาโดยร้องทุกข์หรือกล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวน ซึ่งเมื่อพนักงานสอบสวนได้รับเรื่องแล้วจะส่งเรื่องให้คณะกรรมการ ป.ป.ท. เพื่อดำเนินการต่อไปภายใน 30 วัน

ประชาชนสามารถร้องเรียนมายังสำนักงาน ป.ป.ท. ได้ทางช่องทางใดบ้าง
1. สายด่วน 1206 ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน
2. เดินทางมาร้องเรียนด้วยตนเอง ณ สำนักงาน ป.ป.ท.

สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.)
Office of the Auditor General (OAG)
//www.oag.go.th

สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินมีอำนาจหน้าที่ตรวจสอบถึงประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และความประหยัดของการใช้จ่ายเงินงบประมาณ ตลอดจนตรวจสอบการจัดเก็บภาษีอากร เสริมสร้างวินัยทางงบประมาณและการคลัง รวมถึงการกำหนดมาตรฐานหรือมาตรการเกี่ยวกับการตรวจสอบการบริหารงบประมาณ สำหรับหน่วยรับตรวจ

อำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบ
ตรวจสอบการเงินแผ่นดิน (ม.39(2))
 ตรวจสอบการรับจ่าย การเก็บรักษาและการใช้จ่ายเงินและทรัพย์สิน รวมทั้งตรวจสอบผลการดำเนินงาน
 ตรวจสอบรายงานการรับจ่ายเงินประจำปีและงบแสดงฐานะการเงินแผ่นดิน
 ตรวจสอบบัญชีทุนสำรองเงินตราประจำปี
 ตรวจสอบการจัดเก็บและการประเมินภาษีอากร ค่าธรรมเนียมและรายได้อื่น
กำหนดมาตรฐานหรือมาตรการเกี่ยวกับการตรวจสอบการบริหารงบประมาณ สำหรับหน่วยรับตรวจ (ม.15(3)) รวมทั้งการพิจารณาและกำหนดโทษปรับทางปกครองเบื้องต้น แก่เจ้าหน้าที่หรือพนักงานของหน่วยรับตรวจที่ฝ่าฝืนมาตรการเกี่ยวกับการควบคุมการเงินของรัฐที่คณะกรรมการกำหนด (ม.19)

ช่องทางการร้องเรียน
ร้องเรียนผ่านทางเว็บไซต์, ร้องเรียนทางโทรศัพท์, ส่งหนังสือแจ้งเรื่องร้องเรียน

โดยการร้องเรียนอย่างน้อยต้องมีรายละเอียดที่ชัดเจนและเพียงพอ ดังนี้
ชื่อหรือตำแหน่งของเจ้าหน้าที่ ที่พบว่ามีการกระทำความผิด และชื่อหน่วยงาน
และอธิบายพฤติการณ์การกระทำผิด ช่วงเวลา และสถานที่ที่มีการกระทำความผิด และอาจระบุเลขที่สัญญา ชื่อโครงการ
และให้ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับชื่อ ที่อยู่ หรือข้อมูลอื่นใดของผู้ร้องเรียนที่สามารถติดต่อได้



Create Date : 14 พฤษภาคม 2558
Last Update : 14 พฤษภาคม 2558 15:59:54 น.
Counter : 2472 Pageviews.

2 comments
  
สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน
Office of the Ombudsman Thailand
www.ombudsman.go.th

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 กำหนดให้มีการตราพระราชบัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา เพื่อให้เป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญองค์กรหนึ่งเพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ และมีการเปลี่ยนแปลงชื่อจาก “ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา” เป็น “ผู้ตรวจการแผ่นดิน”

บทบาท อำนาจ หน้าที่
(๑) พิจารณาและสอบสวนหาข้อเท็จจริงตามคำร้องเรียนในกรณี
(ก) การไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย หรือปฏิบัตินอกเหนืออำนาจหน้าที่ตามกฎหมายของข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น
(ข) การปฏิบัติหรือละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้าง ของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่นที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ร้องเรียนหรือประชาชนโดย ไม่เป็นธรรม ไม่ว่าการนั้นจะชอบหรือไม่ชอบด้วยอำนาจหน้าที่ก็ตาม
ค) การตรวจสอบการละเลยการปฏิบัติหน้าที่หรือการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายขององค์กรตามรัฐธรรมนูญและองค์กรในกระบวนการยุติธรรม ทั้งนี้ไม่รวมถึงการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีของศาล
(๒) ดำเนินการเกี่ยวกับจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ
(๓) ติดตาม ประเมินผล และจัดทำข้อเสนอแนะในการปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ รวมตลอดถึง ข้อพิจารณาเพื่อแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญในกรณีที่เห็นว่าจำเป็น
การใช้อำนาจหน้าที่ตาม (๑) ให้ผู้ตรวจการแผ่นดินดำเนินการเมื่อมีการร้องเรียน เว้นแต่เป็นกรณีที่ผู้ตรวจการแผ่นดินเห็นว่าการกระทำดังกล่าวมีผลกระทบต่อความเสียหายของประชาชนส่วนรวมหรือเพื่อคุ้มครองประโยชน์สาธารณะ ผู้ตรวจการแผ่นดินอาจพิจารณาและสอบสวนโดยไม่มีการร้องเรียนได้
มาตราทางจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ข้าราชการ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐแต่ละประเภท ให้เป็นไปตามประมวลจริยธรรมที่กำหนดขึ้น ซึ่งได้มีการจัดทำประมวลจริยธรรมสำหรับหน่วยงานต่างๆ ของภาครัฐ
มาตราฐานทางจริยธรรมตามวรรคหนึ่ง จะต้องมีกลไกและระบบในการดำเนินงานเพื่อให้การบังคับใช้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งกำหนดขั้นตอนการลงโทษตามความร้ายแรงแห่งการกระทำ
การฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตราฐานทางจริยธรรมตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าเป็นการกระทำผิดทางวินัย ในกรณีที่ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม ให้ผู้ตรวจการแผ่นดินรายงานต่อรัฐสภา คณะรัฐมนตรี หรือสภาท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง แล้วแต่กรณี และหากเป็นการกระทำผิดร้ายแรงให้ส่งเรื่องให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติพิจารณาดำเนินการ โดยให้ถือเป็นเหตุที่จะถูกถอดถอนจากตำแหน่ง
ผู้ตรวจการแผ่นดินมีอำนาจหน้าที่เสนอแนะหรือให้คำแนะนำในการจัดทำหรือปรับปรุงประมวลจริยธรรม และส่งเสริมให้ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ของรัฐ มีจิตสำนึกในด้านจริยธรรม รวมทั้งมีหน้าที่รายงานการกระทำที่มีการฝ่าฝืนประมวลจริยธรรมเพื่อให้ผู้ที่รับผิดชอบในการบังคับการให้เป็นไปตามประมวลจริยธรรมดำเนินการบังคับ การร้องเรียน
ทางเว็บไซต์ ทางโทรศัพท์ ไปรษณีย์ ร้องเรียนผ่าน สส สว ร้องเรียนผ่านผู้ตรวจฯ ร้องเรียนด้วยตนเอง

กรมสอบสวนคดีพิเศษ
Department of Special Investigation (DSI)
www.dsi.go.th

สืบเนื่องจากสถานการณ์ของโลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วการพัฒนาด้านเทคโนโลยีส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ สังคมการเมืองวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม ตลอดถึงการก่ออาชญากรรม ซึ่งพัฒนาจากการใช้ความรุนแรง เป็นอาชญากรรมที่ก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจที่มีมูลค่ามหาศาล ส่งผลกระทบต่อประชาชนเป็นจำนวนมาก การใช้เทคโนโลยีคุณภาพสูงและช่องว่างของกฎหมายปิดบังความผิดของตน มีอิทธิพลและเครืองข่ายองค์กร โยงใยทั้งภายในและภายนอกประเทศ ทำให้ยากต่อการสืบสวนสอบสวนดำเนินคดี จึงต้องมีการจัดตั้งกรมสอบสวนคดีพิเศษขึ้นโดยอยู่ภายใต้สังกัดกระทรวงยุติธรรม

ภารกิจ
เกี่ยวกับการป้องกัน การปราบปราม การสืบสวนและการสอบสวนคดีความผิดทางอาญาที่ต้องดำเนินการสืบสวนและสอบสวนโดยใช้วิธีการพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยการสอบสวนคดีพิเศษ

อำนาจหน้าที่
ป้องกัน ปราบปราม สืบสวน และสอบสวนคดีพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยการสอบสวนคดีพิเศษ และตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการคดีพิเศษกำหนดหรือตามมติของคณะกรรมการคดีพิเศษ ตลอดจนปฏิบัติงานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและกฎหมายอื่นอันเกี่ยวกับความผิดทางอาญาที่เป็นคดีพิเศษ ที่มีผลกระทบร้ายแรงต่อเศรษฐกิจ สังคม ความมั่นคง และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ อาทิ
สามารถ แจ้งเบาะแส ข้อมูลการกระทำความผิด ความคิดเห็น และเรื่องราวร้องทุกข์มายังกรมสอบสวนคดีพิเศษ ทางจดหมาย ไปรษณียบัตร โทรศัพท์ โทรสาร หรือผ่านทางเว็บไซต์

สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
Anti-Money Laundering Office (ALMO)
www.amlo.go.th

สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน หรือ สำนักงาน ปปง. เป็นหน่วยงานของรัฐซึ่งมีอำนาจหน้าที่ในการวางหลักเกณฑ์ และดูแลให้มีการปฏิบัติตามกฎหมาย ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน รวมทั้งเป็นหน่วยงานตรวจสอบวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับการฟอกเงิน ในหน้าที่ของหน่วยงานวางหลักเกณฑ์ (Regulator)
สำนักงาน ปปง.มีบทบาทในการศึกษาหามาตรการในการป้องกัน และปราบปรามการฟอกเงิน โดยมีฐานะเป็นฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (คณะกรรมการ ปปง.) ส่วนในฐานะของหน่วยงานผู้บังคับใช้กฎหมาย (Law Enforcement) สำนักงาน ปปง. มีอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบและดำเนินการเกี่ยวกับธุรกรรมหรือทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดฟอกเงิน อาทิ การรับหรือส่งรายงานหรือข้อมูลเกี่ยวกับการทำธุรกรรม เก็บ รวบรวม ติดตาม ตรวจสอบ ยึด อายัด และบริหารจัดการทรัพย์สินตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ตามมติของคณะกรรมการธุรกรรม ตลอดจนดูแลให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินดังกล่าว
การฟอกเงิน (Money Laundering) คือ การเปลี่ยนแปลงเงิน หรือทรัพย์สินที่ได้มาจากากรกระทำความผิดมูลฐานให้กลายเป็นเงิน หรือทรัพย์สินที่ดูเสมือนหนึ่งว่าได้มาโดยชอบด้วยกฎหมาย หรือพิสูจน์ไม่ได้ว่าได้มาโดยไม่ชอบ ซึ่งสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การนำเงินออกไปนอกประเทศ การฝากเงินกับสถาบันการเงิน การตั้งบริษัท หรือกิจการขึ้นบังหน้าการซื้อขายที่ดิน การแลกเปลี่ยนเงินตราสกุลอื่น การให้ผู้อื่นถือเงิน หรือทรัพย์สินไว้แทน โดยแหล่งที่มาของการฟอกเงินนั้นจะมีแหล่งใหญ่ๆ คือ เงินจากการค้ายาเสพติด, เงินจากวงการเมือง, เงินที่ได้จากการฉ้อโกงประชาชน, เงินจากวงการพนัน, เงินสินบน, เงินจากบริษัท, เงินส่วนตัวที่ต้องปกปิด, เงินจากกลุ่มเศรษฐี, เงินจากรัฐ รวมถึงเงินนอกระบบอื่นๆ
โดย: JKN (สมาชิกหมายเลข 1158799 ) วันที่: 14 พฤษภาคม 2558 เวลา:19:53:00 น.
  
ดิฉันไม่เข้าใจว่าเวลานี้มีรัฐบาล คสช ทำงานบริหารบ้านเมืองอยู่และก็มี ปปช คอยตรวจสอบการทุจริตอยู่แต่ทำไมการไฟฟ้านครหลวงเปิดสอบคัดเลือกพนักงานหลายตำแหน่งแต่ทำไมถึงมีการทุจริตในการเล่นพักเล่นพวกรับเงินค่าฝากรายละไม่ตำ่กว่า 300,000 ทั้งๆที่การสอบปฏิบัติมิใช่เรื่องง่ายที่จะเข้ามาได้ แต่ความพยายามอันนี้แพ้เงินเสียได้ไม่เข้าใจแล้วจะมีการสอบทำไมก็ฮั้วกันเขามาเลยไม่ต้องเปิดสอบให้เสียเวลาในการเ่ตรียมตัวก่อนสอบทำไมถ้าองค์กรใดยังมีบุคคลหากินในองค์กรแบบนี้ถามหน่อยเถอะพนักงานที่มีคุณภาพนะมีมั้ยเอาคนไร้ความสามารถมาด้วยการทุจริตของรัฐแล้วจะเปิดสอบทำไม
โดย: ศิริภัสสร ลูกจันทร์สุก IP: 58.136.124.22 วันที่: 28 สิงหาคม 2558 เวลา:15:00:07 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สมาชิกหมายเลข 1158799
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



พฤษภาคม 2558

 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31