Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2559
 
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
3 สิงหาคม 2559
 
All Blogs
 
หลักการกำหนดตำแหน่ง จิ๊กและฟิ๊กเจอร์



ตอนที่ 2

หลักการกำหนดตำแหน่ง

(LocatingPrinciples)

การกำหนดตำแหน่งหมายถึงตำแหน่งที่ถูกต้องที่เราต้องการให้มีระหว่างการผลิตชิ้นงานและการใช้จิ๊กและฟิกซ์เจอร์ซึ่งจะทำให้ได้สินค้าที่มีคุณภาพคงที่ จิ๊กและฟิกซ์เจอร์ที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อกำจัดข้อบกพร่องในการผลิตชิ้นงานการวางตำแหน่งที่ดีจะช่วยควบคุมการทำงานในทุกทิศทางทุกครั้งที่ทำงานกับเครื่องต้องถูกวางไว้ในตำแหน่งที่ถูกต้อง

2.1 หลักการกำหนดตำแหน่งชิ้นงาน (Principlesof location)

การกำหนดตำแหน่งเราควรเข้าใจการเคลื่อนที่ของวัตถุก่อนซึ่งชิ้นงานรูปทรงเหลี่ยมพื้นฐาน (Prismatic) ซึ่งเป็นรูปทรงชิ้นงานทั่วไปนั้นจะมีระดับความเป็นอิสระได้ทั้งหมด 12 ทิศทาง ตามรูปที่ 2.1


รูปที่2.1 แนวของการเคลื่อนที่ (Movement is the space)

ทิศทางประกอบด้วย การเคลื่อนที่ตามแนว แกน X,Y และ Z โดยแต่ละแกนจะเคลื่อนได้ 2 ทางคือ ทางบวก และทางลบ รวมทั้งหมดขณะนี้จะได้6 แนว นอกจากนี้ยังมีการเคลื่อนที่โดยการหมุนรอบแต่ละแกนซึ่งการหมุนรอบแต่ละแกนสามารถเคลื่อนที่ได้ทั้งในทิศทางตามเข็มนาฬิกาและทวนเข็มนาฬิกา ซึ่งรวมทั้งหมด 12 ทิศทาง

2.2 กฏการกำหนดตำแหน่งแบบ 3-2-1(The3-2-1Principle)

กฎการกำหนดตำแหน่งแบบ 3-2-1(The3-2-1Principle)สำหรับการกำหนดตำแหน่งลักษณะนี้ โดยการกำหนดตำแหน่งแบบ 3-2-1เปรียบเหมือนเป็นการกำหนดตำแหน่งด้วยสลัก(pin)ได้ทั้งหมด6ตัว สามารถจำกัดระดับความเป็นอิสระได้ 9 ทิศทาง จากทั้งหมด 12ทิศทางระดับความเป็นอิสระของชิ้นงาน โดยในการกำหนดตำแหน่งนั้นเริ่มต้นด้วยการวางชิ้นงานบนระนาบอ้างอิง Primary ซึ่งเป็นระนาบขนานกับระนาบ X-Y ถ้ามีสลักใช้แทนระนาบนี้จะมีสลักอยู่3 ตัว สามารถดูได้ตามรูปที่ 2.2 ซึ่งการใช้สลัก 3ตัวแทนระนาบนี้สามารถจำกัดระดับความเป็นอิสระได้ 5ทิศทางคือ


รูปที่2.2 การเคลื่อนที่ที่เหลือจากการใช้สลัก 3 ตัวแทนระนาบ

การเคลื่อนที่ที่ถูกกำจัดไปได้แก่ 1. การเคลื่อนที่ในทิศทาง–Z, 2.ป้องกันการหมุนรอบแกน X ทั้งตามเข็มและทวนเข็ม 2 ทิศทาง และ3. ป้องกันการหมุนในทิศทางรอบแกน Y ทั้งตามเข็มและทวนเข็ม 2ทิศทาง รวม 5 แนวที่ถูกกำจัด เหลือทิศทางที่ยังเคลื่อนที่ได้อีก 7 ทิศทางตามรูป2.2

สลัก 2 ตัวถัดมาจากกฎ 3-2-1 คือ กำหนดตำแหน่งชิ้นงานให้ไปสัมผัสกับระนาบอ้างอิงSecondary ซึ่งเป็นระนาบขนานกับระนาบY-Z สลักที่สามารถมาใช้แทนระนาบนี้ต้องใช้กำหนดตำแหน่ง2 ตัว สามารถจำกัดระดับความเป็นอิสระได้ 3 ทิศทางคือการเคลื่อนที่ในทิศทาง–X และรอบแกน Z สองทิศทางและทำให้เกิดเวกเตอร์ตั้งฉากหนึ่งหน่วย กับระนาบอ้างอิง Secondary ทิศทางที่ยังสามารถเคลื่อนที่ยังเหลืออยู่ 4ทิศทาง ดังรูปที่ 2.3


รูปที่2.3 การเคลื่อนที่ที่เหลือจากการใช้ระนาบอ้างอิง

สุดท้ายเลื่อนชิ้นงานไปสัมผัสกับระนาบอ้างอิงTertiary ซึ่งเป็นระนาบขนานกับระนาบX-Z มีตัวกำหนดตำแหน่งอยู่1 ตัว สามารถจำกัดระดับความเป็นอิสระได้ 1ทิศทางและทำให้เกิดเวกเตอร์ตั้งฉากหนึ่งหน่วย ดังรูปที่ 2.4


รูปที่ 2.4 หกตัวสลักบังคับตำแหน่ง

ทิศทางการเคลื่อนที่ที่สามารถเคลื่อนที่ได้3 ทิศทางคือ ทิศทาง +Z, +Xและ+Yตามรูปที่ 3.2เมื่อพิจารณาจากแรงที่ใช้ในการจับยึดจะหยุดการเคลื่อนไหวในทิศทางระบบกำหนดตำแหน่งต้องหยุดการเคลื่อนไหวในทิศทางที่หกและแรงในการจับยึดต้องหยุดในตรงข้ามกับทิศทางหกของการเคลื่อนไหวตัวอย่างสามารถดูได้จากรูปที่2.5

รูปที่ 2.5 ทิศทางการบังคับชิ้นงาน

2.3 กฏการกำหนดตำแหน่งชิ้นงานในกรณีชิ้นงานมีส่วนโค้งเป็นทรงกระบอกหรือเคลื่อนที่เป็นแนวเส้นโค้ง

2.3.1.กำหนดตำแหน่งแบบแนวราบ (Planar Location)

รูปที่ 2.6 กำหนดตำแหน่งที่ตั้งชิ้นงานมีการอ้างอิงเฉพาะพื้นผิว

เริ่มต้นการกำหนดตำแหน่งด้วยการวางบนระนาบการกำหนดในส่วนนี้จะคล้ายกับการวางบนสลัก 3 ตัว ในกรณีของ กฏสลัก 3-2-1การกำจัดองศาอิสระในส่วนนี้จะกำจัดไป 5 ทิศทาง ตามรูปที่ 2.6

2.3.2. กำหนดตำแหน่งแบบร่วมศูนย์ (ConcentricLocation)

รูปที่ 2.7 การกำหนดตำแหน่งที่ตั้งชิ้นงานจากชิ้นส่วนทรงกระบอก

ในกรณีงานวางบนระนาบการกำจัดการเคลื่อนที่ต่อจากนี้คือทำเป็นรูตัวเมียกับเดือยตัวผู้โดยชิ้นงานจะทำเป็นรูตัวเมียหรือเดือยตัวผู้ก็ได้ ตามรูปที่ 2.7 การกำจัดองศาอิสระในส่วนนี้จะกำจัดได้ทั้งหมด9 องศาอิสระ เหลือการเคลื่อนที่เพียง 3 องศาอิสระ คือ

1.หมุนทางซ้าย

2.หมุนทางขวาและ

3.การเคลื่อนที่สู่ด้านบน (Z+)

2.3.3. กำหนดตำแหน่งแบบรัศมี (Radial Location)

จากการกำหนดตำแหน่งแบบร่วมศูนย์การเคลื่อนที่ยังคงเหลือ 3 องศาอิสระ การกำจัดองศาอิสระเพิ่มเติมสามารถทำได้โดยใช้สลักปักกั้นการเคลื่อนที่ในกรณีชิ้นงานเป็นแนวยาวการกำหนดตำแหน่งแบบนี้สามารถในสลัก 2 ตัวเพื่อให้ชิ้นงานเหลือการเคลื่อนที่ในแนวขึ้น (+z) ทางเดียวตามรูปที่ 2.8

รูปที่ 2.8 เสริมตัวบังคับตำแหน่งร่วมศูนย์กลางเพื่อให้มีความสัมพันธ์คงที่

ที่ระบุถึงการระบุตำแหน่งศูนย์กลาง

ตัวอย่างที่ 2.1

แผ่นฐาน ใช้ตัวกำหนดตำแหน่ง2 แบบใช้หลักการกำหนดตำแหน่งแบบร่วมศูนย์และกำหนดตำแหน่งแบบรัศมี ตามรูปที่ 2.9

รูปที่2.9อุปกรณ์กำหนดตำแหน่งจากภายใน

จากการกำหนดตำแหน่งที่กล่าวมาในกรณีมีส่วนโค้งหรือการใช้จุดหมุนเป็นจุดอ้างอิงตำแหน่งกรณีศึกษาการกำหนดตำแหน่งที่ใช้งานโดยทั่วไปจะใช้ความรู้ทั้ง 3แบบมาประยุกต์รวมกันตามรูปทึ่ 3.0 เป็นจิ๊กซ์สำหรับกำหนดตำแหน่งเจาะรูหรือ Indexingjig

Description: combined

รูปที่ 2.10 งานที่จับยึดส่วนใหญ่ใช้การรวมเข้าด้วยกันของวิธีการกำหนดตำแหน่งที่ตั้ง

ที่สมบูรณ์ของชิ้นงาน ที่มา:Edward G.Hoffman หน้า13

ตัวอย่าง1 การกำหนดตำแหน่ง ในกรณีชิ้นงานเป็นทรงกระบอก

ถ้าต้องการกำหนดตำแหน่งของชิ้นงานทรงกระบอกตามรูปที่2.10 จะสามารถกำหนดตำแหน่งโดยใช้หลักการที่เรียนมาอย่างไรและวิเคราะห์องศาอิสระที่เกิดขึ้นหลังจากกำหนดตำแหน่งแล้ว

รูปที่ 2.11 ตัวกำหนดตำแหน่งแบบตัววีมีความเป็นอิสระทั้ง12ทิศทางสำหรับทรงกระบอก

รูปที่2.12 ตัวกำหนดตำแหน่งและแนวทางเคลื่อนที่

จากองศาอิสระทั้งหมด12 ทิศทาง ด้วยเครื่องมือบอกตำแหน่งตามรูปที่ 2.12 แนวทางเคลื่อนที่สมารถเคลื่อนที่ที่5 ทิศทาง และสามารถกำจัดการเคลื่อนที่ได้ทั้งหมด 7 ทิศทาง คือ ในระนาบแนวนอน –Z,การเคลื่อนที่ลง Y-, การเคลื่อนที่ทางซ้าย x-, การหมุนรอบแกน X(CW และ CCW) และการหมุนรอบแกน Y (CW และ CCW)

การกรณีชิ้นงานเป็นทรงกระบอกเครื่องมือที่ใช้กำหนดตำแหน่งสามารถออกแบบได้ตามหลักของ3 การกำหนดการเคลื่อนที่ในหัวข้อถัดไป

2.4 การกำหนดตำแหน่งเพื่อระนาบ

การกำหนดตำแหน่งแบบนี้เพื่อให้ได้ผิวราบด้านล่างชิ้นงานซึ่งสลักที่สามารถรองรับชิ้นงานได้จะมีอยู่ด้วยกัน 3 แบบ คือ ตัวรองรับแบบมั่นคง และตัวรองรับแบบปรับได้

สลักกำหนดตำแหน่งเพื่อใช้สำหรับรองรับชิ้นงานด้านล่างส่วนใหญ่จะใช้แบบที่มีบ่า ส่วนที่ไม่มีบ่าสามารถใช้สำหรับอ้างอิงตำแหน่งด้านข้างสลักบางตัวมีบางส่วนที่มีความแข็งพิเศษเพื่อป้องกันการสึกหรอด้วย ตามรูปที่ 2.13 สลักบางแบบสามารถปรับได้ขึ้นกับลักษณะชิ้นงานที่มีผิวไม่เรียบหรืออาจเกิดจากการสึกหรอหรือเป็นสลักขึ้นลงตามโหลดน้ำหนัก ตามรูปที่ 2.14 และ 2.15 ตามลำดับ

สลักบางชนิดออกแบบให้มีจุดสัมผัสชิ้นงานให้น้อยที่สุดเพื่อหลีกเลี่ยงการสัมผัสและติดขัดในส่วนใดส่วนหนึ่งเพื่อป้องกันเศษฝุ่นละอองหรือเศษโลหะที่เกิดจากการกัด

ตามรูปที่ 2.16

รูปที่ 2.13 สลักกำหนดตำแหน่งแบบต่างๆ

รูปที่2.14 สลักรองรับแบบปรับ

รูปที่2.15 ตัวรองรับแบบปรับได้ชนิดสปริงซึ่งใช้เกลียวล็อก

รูปที่2.16 ตัวกำหนดตำแหน่งแบบลดจุดสัมผัส

2.5 การกำหนดตำแหน่งด้านข้าง

ในการกำหนดตำแหน่งด้านข้างสามารถใช้สลักแบบเดียวกับสลักที่ใช้วางรองฐานที่เป็นระนาบได้แลยแต่ควรจะพิจารณาถึงความเหมาะสมซึ่งจะกล่าวถึงในหัวข้อเทคนิคการกำหนดตำแหน่ง

2.5.1การกำหนดตำแหน่งจากเส้นรอบรูปภายนอกหรือแบบรัง (Nest)

การกำหนดเส้นรอบรูปเต็ม (Full Nest) เป็นการกำหนดตำแหน่งเป็นหลุมเพื่อให้ชิ้นงานสัมผัสกับตัวกำหนดทุกด้าน แต่มีข้อเสีย เช่น ยกชิ้นงานยาก เศษและครีบสามารถติดอยู่ในรัง

รูปที่3.11 ตัวกำหนดตำแหน่งแบบรัง

2.5.2 ตัวกำหนดตำแหน่งแบบสัมผัสบางส่วน

การกำหนดสัมผัสแบบบางส่วนนี้จะกำหนดตำแหน่งอ้างอิงให้กับชิ้นงานเฉพาะจุดสัมผัสที่พิจารณาแล้วจากรูปที่ 3.12จะสัมผัสทั้งส่วนมุมของชิ้นงานโดยที่มุมจะมีร่องไว้หลบครีบของชิ้นงานด้วยการออกแบบแบบนี้ถ้าเกิดการสึกหรออาจต้องเปลี่ยนทั้งชิ้นงานดังนั้นอาจมีการออบแบบอุปกรณ์ให้เป็นแบบถอดเปลี่ยนได้ ตามรูปที่ 3.13

ร่องหลบครีบ

รูปที่ 3.12 การออกแบบและผลิตชิ้นงานแบบตายตัว

รูปที่ 3.13 การกำหนดตำแหน่งแบบประกอบ

การกำหนดจุดอ้างอิงทางด้านข้างสามารถกำหนดตำแหน่งแบบปรับได้ถ้าชิ้นงานมีลักษณะไม่เรียบหรือเกิดการสึกหรอ ทั้งชิ้นงานและสลักกำหนดตำแหน่งอาจเลือกใช้สลักที่มีเซทสกรูกำหนดตำแหน่งได้ตามรูปที่ 3.14หรืออาจมีตัวหยุดเพื่อเพิ่มพื้นที่ในการอ้างอิงตำแหน่งตามรูปที่ 3.15

2 set screws

รูปที่3.14ตัวกำหนดตำแหน่งแบบปรับได้

Application stop pin

รูปที่ 3.15

ที่มา: //www.misumi-techcentral.com/tt/en/lca/2009/12/

อุปกรณ์อื่นๆที่ช่วยในการกำหนดตำแหน่ง

1.สลักสปริง
ไม่เป็นอุปกรณ์กำหนดตำแหน่งแต่ทำให้แน่ใจว่าชิ้นงานสัมผัสกับตัวกำหนดตำแหน่งทั้งหมดใช้สำหรับชิ้นส่วนที่มีขนาดเล็กกะทัดรัด

รูปที่ 3.15 สลักสปริง

2.สปริงหยุด (Buttons)

การทำงานเช่นเดียวกับสลักสปริงแต่ออกแบบมาสำหรับชิ้นงานขนาดใหญ่

รูปที่3.17สปริงหยุดButtons

หลักการของการวางตำแหน่ง สามารถอธิบายให้เข้าใจได้ด้วยตัวอย่าง คือ 1.Six points location of rectangular block และ 2.Location of cylinder ona vee block จะอธิบายเกี่ยวกับ Jigs และ Fixturesซึ่งสำคัญมากที่จะทำให้เราเข้าใจ

3.4ข้อคำนึงถึงวิธีการใช้การกำหนดตำแหน่ง (Trick Design)

3.4.1 ความมีเสถียรภาพ

ชิ้นงานมีแนวโน้มที่จะเสถียรภาพมากขึ้นถ้าชิ้นงานมีน้ำหนัก แต่ถ้าชิ้นงานมีน้ำหนักจะมีความเสี่ยงต่อจำนวนตำแหน่งของสลักที่มีไม่พอดังนั้น จำนวน 6 สลัก ในหลักการ 3-2-1จึงเป็นการพิจารณาถึงจำนวนที่น้อยที่สุดที่ใช้

3.4.2แรงกดในการตัด

ตัวบังคับตำแหน่ง(Locating) ควรให้อยู่ในทิศทางตรงข้ามกับแรงของเครื่องมือตัดและแรงจับยึดควรจะอยู่ในทิศทางเดียวกับแรงกระทำจากเครื่องมือตัดดังนั้นเพื่อหลีกเลี่ยงการเคลื่อนที่ของชิ้นงานเมื่อมีแรงจับชิ้นงานไม่เพียงพอดังรูปที่ 3.24

รูปที่ 3.24แรงกดในการตัด

แรงจับยึดควรจะเพียงพอหรือมากกว่าผลกระทบของแรงตัดและเพื่อป้องกันการเคลื่อนที่ของชิ้นงานจากตัวบังคับตำแหน่ง

3.4.3ทบทวน-ตรวจสอบ

การออกแบบควรจะออกแบบให้ทำงานง่ายที่สุดและคำนึงถึงสภาพแวดล้อมการทำงานที่เปลี่ยนแปลงเช่นความไม่สม่ำเสมอของพื้นผิวการสึกหรอของตัวบังคับตำแหน่งความสกปรกของชิ้นงานและอุปกรณ์จับงานและความแตกต่างของอุณหภูมิ

3.4.4 ป้องกันความผิดพลาด (Fool-Proofing)

การป้องกันและแก้ไขปัญหาความผิดพลาดในการทำงาน โดยการป้องกันปัญหาไม่ให้เกิดซ้ำและการแก้ไขความผิดพลาดที่ต้นเหตุเพื่อให้ปัญหาหมดไปอย่างถาวร โดยใช้เครื่องมือต่าง ๆ เช่นการใช้ระบบป้องกันความผิดพลาด หรือภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า Pokayoke (Mistake– Proofing) เพื่อป้องกันความผิดพลาดที่เกิดจากความหลงลืม การเข้าใจคลาดเคลื่อนหรือเข้าใจผิด การขาดประสบการณ์และความไม่รู้โดยที่ผู้ปฏิบัติงานไม่จำเป็นต้องมีความรู้หรือให้ความสนใจมากก็ไม่ทำให้เกิดความผิดพลาดจากการปฏิบัติงาน เช่น การออกแบบซิมการ์ดให้มีมุมด้านหนึ่งเป็นมุมตัดเพื่อป้องกันการใส่ซิมการ์ดผิดด้านควรออกแบบอุปกรณ์ที่ถูกตั้งขึ้นเพื่อป้องกันการผิดพลาดของการทำงาน หรือออกแบบตามรูปที่ 5การประกอบต้องการประกอบได้ทิศทางเดียว บวกต้องใส่บวก ลบต้องสวมกับลบแต่ถ้าออกแบบให้ขนาดเท่ากันตามรูปที่ 5 ก ชิ้นงานสามารถสวมได้ทั้งสองทิศทางแม้ว่าจะเขียนและกำชับแล้วก็ตามความผิดพลาดสามารถเกิดขึ้นได้แต่ถ้าออกแบบโดยใช้หลักการป้องกันความผิดพลาด สามารถให้บวกใหญ่กว่าลบการประกอบจะสามารถทำได้อย่างเดียวเท่านั้น ความผิดพลาดสามารถขจัดได้อย่างสิ้นเชิง

Description: image_279-2

รูปที่ 3.25การป้องกันความผิดพลาดชิ้นงานรูปทาง

3.4.5 การกำจัดเศษ

เศษและครีบบนพื้นผิวของชิ้นงานอาจทำให้ทำให้ชิ้นงานอยู่ในตำแหน่งที่ไม่เหมาะสมวิธีป้องกันและกำจัดเศษชิ้นงานมีดังนี้

1.ทำให้ตัวบังคับตำแหน่งทำความสะอาดง่าย

2.ทำให้ชิ้นส่วนที่ต้องทำความสะอาดให้น้อยลงหรือสามารถทำความสะอาดด้วยตัวเอง

ตัวอย่างรูปที่ 3.26 ก.ชิ้นงานอาจจะมีครีบหรือเศษสกปรกทำให้ชิ้นงานไม่สามารถแนบได้บนพื้นระนาบของฟิกเจอร์การออกแบบสามารถปรับปรุงได้ในรูป ขซึ่งมีจุดสัมผัสน้อยกว่าโอกาสของเศษสกปรกหรือครีบที่จะค้ำชิ้นงานก็จะลดลงแต่ขณะเดียวกันจำนวนจุดสัมผัสที่น้อยอาจนำไปสู่การสึกหรอของเครื่องมือซึ่งการออกแบบที่ดีนั้นควรคำนึงถึงการผลิตและการบำรุงรักษาด้วยการออกแบบจึงสามารถพัฒนาได้ ดังรูป ค

รูปที่ 3.26เศษสามารถทำความสะอาดได้ง่าย

ในกรณีของการสวมใส่รูการออกแบบสลักที่มีลักษณะเรียวยาวจะทำให้ใส่ชิ้นงานได้ง่ายกว่าและการทำร่องเบาที่ขอบรูของสลักสามารถขจัดปัญหา การลบครีบไม่หมด ตามรูปที่ 3.27กรณีการเลือกใช้สลักอาจใช้ชนิดของสลักที่มีร่อง (Groove) เพื่อลบครีบตรงมุมของชิ้นงานได้ด้วยตามรูปที่ 3.28

รูปที่ 3.27ตัวบังคับตำแหน่งแหลมมน

รูปที่ 3.28การบรรเทาเศษและครีบ

รูปที่3.10สลักกำหนดตำแหน่งรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน

ที่มา: //www.misumi-techcentral.com/tt/en/lca/2009/12/

4.7 Clamping

ในการผลิตชิ้นงานให้สมบูรณ์จะต้องมีการใช้เครื่องหนีบควบคู่กับการวางตำแหน่งเนื่องจากเครื่องหนีบช่วยยึดให้ชิ้นงานอยู่ในตำแหน่งอย่างมั่นคงเครื่องหนีบนี้ใช้ร่วมกับ Fixtureเพราะการใช้ร่วมกันอย่างถูกต้องทำให้เกิดความแม่นยำในการทำงานทำให้เกิดคุณภาพที่ดีของชิ้นงานและช่วยในด้านระยะเวลาการทำงานต่อรอบ

ความต้องการพื้นฐานของเครื่องหนีบที่ดี ได้แก่

 ควรยึดชิ้นงานให้แน่น

 ชิ้นงานที่ถูกหนีบไม่ควรเสียหายจากแรงหนีบ

 แรงหนีบควรมากพอที่จะต้านกับแรงที่ชิ้นส่วนได้รับจากการผลิตเนื่องจากแรงทั้งสองที่จะเกิดขึ้นจะเกิดในทิศทางที่แตกต่างกัน

 เครื่องหนีบควรต้านทานแรงสั่นสะเทือนจากการทำงานของเครื่องจักรการผลิตได้

 เครื่องหนีบควรใช้ได้สะดวกการหนีบและปล่อยควรเป็นไปได้อย่างง่ายและไม่เสียเวลาการบำรุงรักษาก็ควรจะง่ายเช่นกัน

 แรงกดจากเครื่องหนีบควรส่งแรงไปที่ตัวช่วยรับแรงกดหรือจุดช่วยรับแรงกดโดยตรงเพื่อป้องกันชิ้นส่วนที่จะกระเด็นหลุดจากตำแหน่ง

 ด้านหน้าพื้นผิวของเครื่องหนีบควรมีการขัดถูให้ใหม่เสมอเพื่อนลดการสึกหรอ

 การใช้กับชิ้นงานที่ทำจากวัสดุที่บอบบางตัวหนีบควรคลุมด้วยแผ่นไฟเบอร์ เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นกับชิ้นงาน




Create Date : 03 สิงหาคม 2559
Last Update : 3 สิงหาคม 2559 11:32:42 น. 0 comments
Counter : 13751 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

สมาชิกหมายเลข 3317938
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




รวบรวมบทความเกี่ยวกับ จิ๊กและฟิกซ์เจอร์ในไทย
Friends' blogs
[Add สมาชิกหมายเลข 3317938's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.