Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2554
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
4 พฤศจิกายน 2554
 
All Blogs
 
ทันกระแสเศรษฐกิจและพลังงาน : จีน...ในความผันผวนของศก.โลกและทางออกของไทย

ทันกระแสเศรษฐกิจและพลังงาน : จีน...ในความผันผวนของศก.โลกและทางออกของไทย



จีน...ในความผันผวนของศก.โลก

ทันกระแสเศรษฐกิจและพลังงาน : จีน...ในความผันผวนของศก.โลกและทางออกของไทย โดย....ดร.โชติชัย สุวรรณาภรณ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่นโยบายและเศรษฐกิจพลังงาน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) Chodechai.energyfact@gmail.com

วันนี้ทุกคนมีความวิตกกังวลเป็นอย่างมากเกี่ยวกับวิกฤติหนี้สาธารณะของกลุ่มยูโรโซนและเศรษฐกิจสหรัฐ ที่ยังคงซบเซาต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ในระยะต่อจากนี้ไป ข่าวร้ายของเศรษฐกิจโลกอาจมิได้มาจากเศรษฐกิจยุโรปและสหรัฐ เพียงอย่างเดียว ซึ่งในขณะนี้ เราจะเริ่มเห็นถึงสัญญาณว่าเศรษฐกิจจีนอาจจะชะลอตัวลงหลังจากทศวรรษของการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วในช่วงที่ผ่านมา

สัญญาณการชะลอตัวทางเศรษฐกิจสะท้อนได้จากดัชนีการจัดซื้อของผู้จัดการ (Purchasing Managers Index) ล่าสุด ในเดือนกันยายน 2554 ที่พบว่าอยู่ในระดับต่ำติดต่อกันสองเดือน ที่ระดับ 49.4 ในเดือนกันยายน และ 49.9 ในเดือนสิงหาคม ซึ่งตัวเลขที่ต่ำกว่าระดับ 50 หมายถึงธุรกรรมเศรษฐกิจที่หดตัว ในส่วนของภาคอสังหาริมทรัพย์พบว่า ราคาที่อยู่อาศัยใน 100 เมืองใหญ่ในจีนลดลงเล็กน้อยในเดือนกันยายนหลังจากที่ได้มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง

หรือนี่จะเป็นจุดเริ่มต้นของการชะลอตัวทางเศรษฐกิจในประเทศจีน?

แม้ว่าจะยังอยู่ในช่วงต้นที่อาจจะเร็วเกินไปที่จะยืนยันชัดเจน แต่เราก็จำเป็นที่จะต้องติดตามอย่างใกล้ชิด ในพัฒนาการของเศรษฐกิจจีนในอนาคตอันใกล้นี้

ใครจะได้รับผลกระทบหากเศรษฐกิจจีนชะลอตัวจริง?

ก่อนที่เราจะวิเคราะห์ไปถึงตรงนั้น คงจะต้องทำความเข้าใจก่อนว่า เศรษฐกิจจีนไม่น่าจะเกิดภาวะชะงักงันรุนแรงขึ้น โดยหลายฝ่ายยังคาดว่า จีดีพีของจีนในปีนี้ ยังคงสามารถที่จะขยายตัวสูงถึงร้อยละ 9.5 ต่อปี อย่างไรก็ตาม การเริ่มชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนจะส่งผลกระทบถึงประเทศต่างๆ อย่างหลีกเลี่ยงมิได้ ด่านแรกของประเทศที่ได้รับผลกระทบจะเป็นผู้ผลิตและส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์ส่วนใหญ่ที่ขายไปยังประเทศจีนหรือพึ่งพาความต้องการของจีน โดยทางอ้อม ซึ่งจะรวมถึงประเทศออสเตรเลีย (ถ่านหิน, แร่เหล็ก, ก๊าซธรรมชาติ) แอฟริกาใต้และบราซิล (โลหะอุตสาหกรรม) และชิลี (ทองแดง)

ส่วนเศรษฐกิจไทยก็จะได้รับผลกระทบเช่นกัน โดยเศรษฐกิจจีนในปัจจุบันถือเป็นประเทศคู่ค้าใหญ่ที่สุดของประเทศไทยที่แซงหน้าเศรษฐกิจสหรัฐมาได้เมื่อสองปีที่ผ่านมา สินค้าที่ประเทศไทยเราส่งออกไปจีนส่วนใหญ่เป็นสินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าและยางพารา ซึ่งน่าจะเป็นอุตสาหกรรมแรกๆ ที่จะได้รับผลกระทบค่อนข้างมาก

คงจะหนีไม่พ้นที่ถึงวันที่เศรษฐกิจโลกไม่สามารถรักษาระดับการเจริญเติบโตเหมือนในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ซึ่งจะเกิดอะไรขึ้นสำหรับประเทศไทยบ้าง มองไปข้างหน้า ประเทศไทยจะต้องไม่เพียงขึ้นอยู่กับการขยายตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้ากลุ่ม "บิ๊กโฟร์" คือ จีน สหรัฐอเมริกา ยุโรปและญี่ปุ่น แต่ต้องพึ่งพาเศรษฐกิจภายในประเทศและการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันมากขึ้น

มองว่า สถานการณ์ในประเทศไทยในวันนี้ไม่ได้เป็นเพียงการนำเศรษฐกิจให้อยู่ในระดับที่มีศักยภาพในการขยายตัวทางเศรษฐกิจเต็มที่ ซึ่งภาครัฐมักจะกำหนดเป้าหมายอัตราเจริญเติบโตของจีดีพีที่ร้อยละ 6 ต่อปี แต่ยังเกี่ยวข้องกับแนวทางการยกระดับศักยภาพของเศรษฐกิจไทยโดยการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตของประเทศ (Productivity)

ทั้งนี้ การเพิ่มประสิทธิภาพผลผลิตนี้เป็นหัวข้อที่ได้รับการกล่าวถึงมาก แต่เราทุกคนรู้ว่าเพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว สิ่งที่จำเป็นคือการลงทุนที่เพียงพอทั้งในทุนทางกายภาพ (Physical) และทุนมนุษย์ (Human Capital) คิดว่ามีความท้าทายหลายด้านที่รัฐบาลเผชิญอยู่ (นอกเหนือจากการแก้ไขปัญหาวิกฤติน้ำท่วมในวันนี้และในอนาคต)

ส่วนแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพผลผลิตจะเป็นอย่างไรนั้น คงต้องมาว่ากันต่อไปสัปดาห์หน้าครับ

------------------------
(ทันกระแสเศรษฐกิจและพลังงาน : จีน...ในความผันผวนของศก.โลกและทางออกของไทย โดย....ดร.โชติชัย สุวรรณาภรณ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่นโยบายและเศรษฐกิจพลังงาน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) Chodechai.energyfact@gmail.com)





Create Date : 04 พฤศจิกายน 2554
Last Update : 4 พฤศจิกายน 2554 0:14:25 น. 0 comments
Counter : 448 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

JitJai
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]




Friends' blogs
[Add JitJai's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.