มกราคม 2551

 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
16
17
18
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
19 มกราคม 2551
เทศกาลกินวอ


ในช่วงวันขึ้นปีใหม่ เดือนมกราคม หลายคนถือเป็นช่วงของการเริ่มต้นชีวิต การงาน ความรัก การค้นหาตนเอง การวางเป้าหมายของชีวิต เป็นเรื่องที่ต้องมุ่งมั่น ทุ่มเท กับมัน ถึงแม้ว่าเทศการปีใหม่ของสากลโลก ที่มีการสรวลเสเฮฮา จุดพรุหมดไปหลายล้านลูกทั่วโลก เสียงที่ดังกึกก้องน่าหวาดกลัว (เหมือนหนังสงครามอเมริกัน) จนทำให้หลายคนไม่กล้าออกจากบ้าน ได้ทำให้ความหมายความสำคัญ ของการขึ้นปีใหม่ที่ค่อยๆเลือนหายไป หายไป


ในชุมชนเล็กๆ ที่อยู่ห่างไกล แสง สี เสียง สิ่ง จอมปลอม แต่พี่น้องชนเผ่า “ลาหู่” หรือเป็นที่รู้จักกันคือ “มูเซอ” ได้มีการร่วมกันสืบทอดประเพณีปีใหม่ ชาวลาหู่ที่เรียกว่า “กินวอ” หรือ “ปีใหม่มูเซอ” ถือได้ว่าช่วงนี้เป็นช่วงเทศการกินวอพี่น้องชนเผ่าลาหู่


ต้นวอ กลางลานหมู่บ้าน เครื่องเซ่นไหว้ถูกนำไปรวมกันไว้บนหิ้ง โดยมีชาวบ้านช่วยกันทำ บริเวณรอบๆต้นวอ มีการประดับธง ตกแต่งสวยงาม เด็กๆหน้าตายิ้มแย้มมอมแมม แต่งตัวด้วยชุดประจำเผ่า วิ่งไล่เล่นกลางลานหมู่บ้าน บางคนนั่งร้องไห้ถือก้อนหินไว้ในมือ


หลังจากการทำงานหนักมาตลอดทั้งปี ซึ่งถือว่าหนักมากถ้าเปรียบกับคนเมือง ต้องตากแดดลมฝนอยู่กลางไร่ข้าว ข้าวโพด กลางป่าเขา เพื่อเป็นการตอบแทนคุณของดิน น้ำ ป่า เป็นการเคารพบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ที่ช่วยดลบันดาลให้พวกเขาได้มีผลผลิตจากไร่ไว้สำหรับบริโภคได้ตลอดปี และยังช่วยปกปักรักษาให้พวกเขาอยู่เย็นเป็นสุขตลอดมาและตลอดไป จึงได้มีการจัดประเพณีกินวอขึ้น โดยใช้เวลาในการจัดกิจกรรมนี้ 7 วัน 7 คืน ชาวบ้านในหมู่บ้านแต่ละบ้านทุกคนจะหยุดทำงาน และไม่ออกนอกบริเวณหมู่บ้าน ยกเว้นเดินทางไปประกอบพิธีกรรมวันปีใหม่ที่หมู่บ้านอื่น


“ไปเต้นจะคึ (การเต้นรำ) กันไหม ” ? จะโจ อะดอ ผู้นำหมู่บ้านกิ่วไฮ ต.ปิงโค้ง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ เอ่ยขึ้นเมื่อได้ยินเสียงแคนลาหู่ ดังมาแต่ไกล ขณะที่นั่งพูดคุยกันอยู่บนบ้านผู้นำ โดยมีการต้อนรับด้วยอาหารการกิน เครื่องดื่มเป็นจำนวนมาก และขาดไม่ได้คือ “ข้าวปุก” เป็นเอกลักษณ์ของงานเลยก็ว่าได้ จากนั้นจึงได้พาเดินลงไปที่ลานกลางหมู่บ้าน ผมมองเห็นชาวบ้านแต่งตัวประจำเผ่า ล้อมวงเต้นรำ ตามจังหวะชีวิต มีเครื่องบรรเลงคือ แคนลาหู่ กลอง ฉาบ คอยขับกล่อมบรรเลงเพลงชีวิต ผมยืนมองจังหวะลีลาการเต้นรำ มาหลายครั้งหลายปี จึงนึกขึ้นในใจว่าเหมือนกับการเพาะปลูกข้าว เจาะหลุมข้าว หยอดเมล็ดข้าว การตีข้าว จังหวะกลองกับจังหวะการก้าวเท้า สอดรับกันอย่างลงตัว


แต่ถึงอย่างไรการรักษาประเพณี ที่สั่งสมสืบทอดมาหลายชั่วอายุคน ไม่ให้สูญหายหรือผิดเพี้ยนไปในยุคของเรา ถือได้ว่าเป็นการร่วมอนุรักษ์ สิ่งที่มีค่าของบรรพบุรุษเราไว้ได้ ดังนั้นถึงแม้ว่าการเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆที่ถั่งโถมเข้ามา จะทำให้คุณค่า ความสำคัญนั้นเลือนหายไป ทำให้ย้อนมองตัวเรา สิ่งหนึ่งที่วนเวียนอยู่ในความคิดผมคือ “เราลืมรักษาอะไรบางอย่างไว้ไหม”?





ครอบครัวของ จะโจ อะดอ ผู้นำหมู่บ้านกิ่วไฮ



ลูกสาววัยน่ารักของจะโจกับชุดประจำเผ่าลาหู่



ข้าวปุก





การเต้นจะคึ (การเต้นรำ) ของพี่น้องลาหู่


ภาพประกอบโดย ขวัญข้าว


อาโบอือย่ะ (ขอบคุณ)



Create Date : 19 มกราคม 2551
Last Update : 19 มกราคม 2551 12:04:06 น.
Counter : 2237 Pageviews.

25 comments
  
อ้ายดอกเสี้ยวขาวฮู้จัก "เจ๊าะเกอโด" ก่เจ้า...เป็นคนล่าหู่อ่ะ...
โดย: แม่ไก่ วันที่: 19 มกราคม 2551 เวลา:14:43:51 น.
  
น้องหนูลูกสาวคุณจะโอ น่าฮักขนาดเลย

"เราลืมรักษาอะไรไว้ไหมนะ"
น่าคิดต่อจริงๆ หนึ่งในนั้นคือ ภาษาค่ะ

จะรักษาอะไรก็ตามได้ต้องเคารพตนเอง
เคารพคนอื่น วัฒนธรรมอื่นด้วย

ที่บ้านพูดเรืองภาษาและความเคารพไว้ค่ะ นานมาแล้ว สนใจเชิญเน้อเจ้าที่นี่
//thehappysimmy.spaces.live.com/blog/cns!BE24349EB48E05FA!817.entry
โดย: หมี่เกี๊ยว IP: 198.142.231.181 วันที่: 19 มกราคม 2551 เวลา:19:47:39 น.
  
สวัสดีครับ แม่ไก่

บ่ฮู้จักครับ "เจ๊าะเกอโด"
บ่ฮู้ว่าอยู่ตี้ไหนครับแม่ไก่


สวัสดีครับ คุณหมี่เกี๊ยว

แล้วจะแวะไปเยี่ยมบ้านน่ะครับ

ด้วยมิตรภาพครับ
โดย: ดอกเสี้ยวขาว วันที่: 19 มกราคม 2551 เวลา:22:08:36 น.
  
“เราลืมรักษาอะไรบางอย่างไว้ไหม”?

หากตอบแบบองค์รวมคือเราลืมกันมากมายเหลือเกินค่ะ
ตลกไหมคะ...เมื่อฉันเอ่ยถึงเครื่องดนตรีอันมีอยู่ในแถบอีสานใต้ให้กับอาจารย์สถาบันอุดมศึกษาท้องถิ่นฟัง
มันสูญหายไปจากอีสานใต้นานแล้ว
แต่ ณ วันนี้มันอยู่อีกฝั่งพรมแดน
ที่ชาวขแมร์กำลังอนุรักษ์
กลุ่มอาจารย์ที่ดูแลวัฒนธรรมพื้นบ้านยังไม่ทราบเรื่องนี้เลย

หนนี้เป็นการเดินทางที่เหนื่อยเหลือเกินค่ะ
ฉันไม่ใช่แค่อยากให้ชาวบ้านและคนพื้นถิ่นรับฟังความคิดที่บอกเล่า
หากฉันอยากให้เขารู้...ตระหนักรู้
เพราะเมื่อตระหนักรู้ย่อมเกิดจิตสำนึกและความรับผิดชอบตามมา

อันที่จริงมันไม่ใช่หน้าที่ฉันเลย
ฉันแค่มาเก็บข้อมูลบางอย่างเพิ่ม และรับทริปทัวร์จากกรุงเทพฯ มาท่องประวัติศาสตร์แถบอีสาน
บางค่ำคืนที่อยู่คนเดียวฉันถามตัวเองเหมือนกัน
กับการพยายามช่วยให้ชาวบ้านรู้สิทธของตน
แต่แหม...คำพูดที่อาจารย์พร่ำสอนฉันว่า "ข้าราชการ" คือ ผู้รับใช้ประชาชนนั้น ไม่ว่าจะอธิบายยังไงชาวบ้านก็ยังคงไม่เชื่อ และยังคงคิดว่า พวกเขาเหล่านั้นที่กินเงินเดือนภาษีประชาชนคือเจ้านาย

เห็นลูกสาวจะโอแล้วฉันอยากกดชัตเตอร์เก็บแววตาที่เต็มไปด้วยความสงสัยนั่นนัก

ด้วยมิตรภาพ
โดย: เพลงฝนต้นลมหนาว วันที่: 19 มกราคม 2551 เวลา:22:47:53 น.
  
สวัสดีครับ คุณหมี่เกี๊ยว

อ่านสุนทรียะของภาษา
กับความหลากหลายทางภาษา
ช่างงดงามเหลือเกิน
แล้วบทกวีซูฟีคืออะไร
ลองซักบทได้ไหมครับ

ตอนนี้ผมตั้งใจไว้อยากจะเรียนภาษาเพิ่มเติม (เริ่มใหม่ทั้งหมด)
คงต้องรบกวน คุณหมี่เกี๊ยว บ้างน่ะครับ
ทีแรกว่าจะเรียนผ่านสื่อ หรือหนังสือต่างๆแต่เปลี่ยนใจแล้วครับ ต้องเรียนกะ "คน" ดีกว่า
เพราะมันไม่ได้สอนให้คุณเป็นคน มันสอนให้คุณโต้ตอบตามสิ่งกระตุ้น ไม่ได้สอนให้คุณคิดและเห็นความงามตามคนในภาษานั้นๆ อย่างที่คุณหมี่เกี๊ยวบอกไว้

ขอบคุณมากครับสำหรับความดิดดีๆ
โดย: ดอกเสี้ยวขาว วันที่: 19 มกราคม 2551 เวลา:22:51:29 น.
  
สวัสดีครับ คุณเพลง

เหนื่อยมากก็พักผ่อนคลายบ้างน่ะครับ
เรื่องของคน ต้องใช้เวลามากในการทำความเข้าใจ
เพื่อให้เกิดการตระหนักรู้ อย่างที่คุณเพลงบอก
และยิ่งเรื่อง ข้าราชการ เป็นข้าของแผ่นดิน ยิ่งแล้วใหญ่ เพราโดยพฤติกรรมของข้าราชการ(บางคน) ทำตัวกดขี่และมองไม่เห็นหัวชาวบ้าน ยังคิดว่าชาวบ้านไม่มีความรู้ จึงทำให้ภาพของข้าราชการโดยรวมเป็นเจ้าเป็นนาย สูงส่ง
ภาพของข้าราชการก็ยังวนอยู่อย่างนั้น

คราบใดที่แววตาของเด็กน้อยยังเต็มไปด้วยความสงสัย

ด้วยมิตภาพครับ
โดย: ดอกเสี้ยวขาว วันที่: 19 มกราคม 2551 เวลา:23:06:38 น.
  
คุณดอกเสี้ยวเจ้า
สิ่งที่คุณดอกเสี้ยวเขียน
และทำอยู่ ก็งดงามมากๆเลยเจ้า
ชื่นชมมากค่ะ
มีคนที่เห็นความงามของวัฒนธรรมแล้วถ่ายทอดมาให้เราอ่านกัน นี่เราว่ามันงามมากเลย ความงามมันเริ่มที่ใจค่ะ

ช่วยกันคนละไม้คนละมือเนาะ

ดีใจค่ะที่ชอบเพราะนั่นน่ะ
กลั่นมาจากใจเลยทีเดียว
หลังจากที่ได้ข่าวเรื่องห้ามใช้ภาษา

ด้วยความที่เป็นนักภาษาศาสตร์นอกกรอบแบบหมดทั้งใจ
มันเลยพรั่งพรูแบบไม่หยุด

ยินดีมากๆค่ะ ยินดีให้รบกวน อิอิ
ถ้าหากจะช่วยคุณได้

ด้วยมิตรภาพเช่นกันค่ะ

โดย: หมี่เกี๊ยว IP: 192.43.227.18 วันที่: 20 มกราคม 2551 เวลา:8:35:11 น.
  
EXCELLENT

It is GOOD looking and is a real value.หุหุ
โดย: *ลิงน้อย* IP: 203.113.50.14 วันที่: 20 มกราคม 2551 เวลา:12:02:03 น.
  

พี่ๆๆต้นวอมันเป็นยังไงงะไม่คอยเห็น

โดย: *ลิงน้อย* IP: 203.113.50.14 วันที่: 20 มกราคม 2551 เวลา:12:08:26 น.
  
นี้ใช่ไหมค่ะที่เรียกว่า
ความงานท่ามกลางธรรมชาติ
ปราศจากแสงสีเสียงครึกโครม
งามแบเรียบๆเรียบง่ายตามวิถีความเป็นเอกลักษณ์ของบรรพบุรุษที่สั่งสมกันมา


นั้นนะสิค่ะต้นวอคือต้นแบบไหนค่ะ
โดย: เบญจวรรณ IP: 61.7.231.130 วันที่: 20 มกราคม 2551 เวลา:13:40:39 น.
  
มาสวัสดีต๋อนบ่าย ๆ วันอาติ๊ดเจ้า...

เจ๊าะเกอะโดตี้แม่ไก่อู้ถึงเป๋นป้อจายล่าหู่คนหนึ่งเจ้า...ตี้มีคุณลักษณะพิเศษก่ะคือเปิ้นเป๋นคนขี้คร้านแต่ได้ดี...แหะ ๆ อยู่ในนิทานของชนเผ่าล่าหู่น่ะเจ้า เอาไว้ว่าง ๆ แม่ไก่จะรวบรวมมาเล่าหื้อฟังเจ้า...
โดย: แม่ไก่ วันที่: 20 มกราคม 2551 เวลา:15:58:09 น.
  
สวัสดีครับ คุณหมี่เกี๊ยว
ใช่แล้วครับเราต้องช่วยกันคนละไม้คนละมือ ไม่ต้องฝากความหวังให้กับใครคนหนึ่งคนใดครับ


สวัสดีครับ *ลิงน้อย*
ต้นวอ ก็คือการนำเอาไม้ไผ่มาปักไว้แล้วประดับตกแต่ง ด้วยของต่างๆ
เหมือนกับต้นฉลากกพัตรบ้านเรา
แต่ต้นวอจะสูงกว่ามากโดยใช้ไม้ไผ่ลำสวยๆเลาๆ จะมีหนึ่งต้นอยู่ตรงกลาง อีกสี่ต้นจะปักเป็นสี่มุม เป็นการแสดงว่าเพื่อ เกื้อกูล และพึ่งพา

สวัสดีครับ เบญจวรรณ

ความงดงามอยู่ที่คนมองครับ ??


สวัสดึครับ แม่ไก่

"เจ๊าะเกอะโด"
ต้องรบกวนแม่ไก่เล่าสู่กันฟังเน้อครับ

ด้วยมิตรภาพครับทุกคน
โดย: ดอกเสี้ยวขาว วันที่: 20 มกราคม 2551 เวลา:22:28:09 น.
  
ทุกครั้งที่ได้เข้ามาอ่านเรื่องราวดี ๆ ...
ที่คุณดอกเสี้ยวขาว...
เก็บเกี่ยวมาขับขาน ...
เหมือนได้ไปเที่ยวด้วย..จิตและวิญญาณทุกครั้งเลย...
เทกเรื่องที่อ่านดีดี...มากมาย
... ด้วยมิตรภาพ ...


โดย: ใบเลี้ยงเดี่ยว วันที่: 21 มกราคม 2551 เวลา:8:18:27 น.
  
สวัสดีครับ ใบเลี้ยงเดี่ยว

ยินดีมากครับที่ได้ร่วมเดินทาง
ด้วยจิตและวิญญาณด้วยกันครับ
และคงต้องก้าวไปด้วยกัน...ต่อไป

ด้วยมิตรภาพครับ
โดย: ดอกเสี้ยวขาว วันที่: 22 มกราคม 2551 เวลา:11:12:51 น.
  
สวัสดีค่ะ วันนี้เอาเรื่องการเรียนภาษามาฝากค่ะ การทักทาย และวิธีการเรียนค่ะ
ประสพการณ์ตรง
//thehappysimmy.spaces.live.com/blog/cns!BE24349EB48E05FA!392.entry
โดย: หมี่เกี๊ยว IP: 192.43.227.18 วันที่: 23 มกราคม 2551 เวลา:11:51:34 น.
  
เกิดมาเพิ่งเคยได้ยินเนี่ยแหละ เทศกาลกินวอ อิอิ
ขอบคุณสำหรับความรู้ใหม่ๆนะคร้า

ต้องขอโทษด้วยนะค้าที่ตอบเมนท์ช้า(มากกกกกก)
ตั้งแต่ปีใหม่มาจนช่วงนี้ไม่ค่อยได้เข้ามาดูแลบล็อกเลยอ่ะ ฮือๆ
จะเม้นท์คืนทีไรก็ไม่สะดวกทุกที วันนี้ถือโอกาสเลยละกานเนอะ
ขอบคุณที่ยังสละเวลาแวะเข้ามาส่งเสียงถึงบ้านนะคะ
(แม้ว่าเจ้าของบ้านจะไม่ค่อยได้อยู่ก็ตาม) T_T

ปล.ยังคิดถึงเหมือนเดิมน้า อย่าเพิ่งลืมกันเน้อ วันหน้ามาอัพบล็อกแน่ๆจ้า
โดย: สวนลอยแห่งบาบิโลน วันที่: 23 มกราคม 2551 เวลา:23:02:15 น.
  
ไม่ได้ไปกินวอนานแล้ว พี่เคยไปอยู่ช่วงหนึ่งเรียกว่าเกือบทุกปี ช่วงนั้นยังเยาว์เพื่อนไปทำงานเป็นครูสาอยู่ที่ห้วยโป่ง เคยเอามาเขียนถึง ดอกเสี้ยวขาวได้อ่านไหมไปเอามาวางไว้ให้นะ

https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=prajaru&month=08-2007&date=17&group=1&gblog=17

โดย: แพรจารุ วันที่: 25 มกราคม 2551 เวลา:7:36:20 น.
  
สวัสดีครับทุกคน

ขอโทษด้วยครับที่ไม่ได้ทักทายกัน
วันนี้ต้องรีบไปบ้านแม่คองซ้าย ต.เมืองคอง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ 25-28 ม.ค. 51
แล้วจะนำเรื่องราวมาเล่าสู่กันฟังน่ะครับ




**
ฝากบ้านด้วยน่ะครับ
โดย: ดอกเสี้ยวขาว วันที่: 25 มกราคม 2551 เวลา:12:29:54 น.
  

คุณดอกเสี้ยวขาว..

มาซึมซับรับรู้วัฒนธรรม ประเพณีงดงามของมูเซอค่ะ ขอบคุณที่นำมาให้คนต่างภาคได้เข้าอกเข้าใจนะคะ

จะรออ่านเรื่องราวที่นำมาฝากอีกค่ะ

โดย: Nok_Noah วันที่: 26 มกราคม 2551 เวลา:11:08:10 น.
  
เพลงมาปูเสื่อรอฟังเรื่องเล่าดีดีค่ะ
โดย: เพลงฝนต้นลมหนาว วันที่: 26 มกราคม 2551 เวลา:23:18:16 น.
  
มารอฟังด้วยคนค่ะ อิอิ
ตื่นเต้นลลลลล์
โดย: หมี่เกี๊ยว IP: 198.142.231.89 วันที่: 27 มกราคม 2551 เวลา:13:16:27 น.
  
มาเฝ้าบ้านบนดอยให้เจ้า..
อยากกินวอ แต่ไปไม่ถึงซะที
กินหมูยอก่อนได้ไหมคะ..แหะๆ
โดย: ยิปซีสีน้ำเงิน IP: 58.8.115.72 วันที่: 28 มกราคม 2551 เวลา:15:37:23 น.
  
สวัสดีครับทุกคน

พึ่งกลับลงมาจากแม่คองซ้ายครับ
สนุกมาก แต่ตอนนี้หมดแรงคงต้องขอตัวพักผ่อนก่อนน่ะครับ แล้วจะเล่าขานให้ฟัง...

โดย: ดอกเสี้ยวขาว วันที่: 28 มกราคม 2551 เวลา:17:58:03 น.
  
อยากกินวอเหมือนกัลลล

ได้แต่ ดูคางคกขึ้นวอ บางทีก็เป็นคางคกขึ้นวอ ..5555555

อย่าโกรธ..กันเน้อ

ให้มีความสุขกับกิจกรรมเน้อ
โดย: โมกสีเงิน วันที่: 30 มกราคม 2551 เวลา:14:49:35 น.
  
ช่วยบอกเล่าถึงประวัติของข้าวปุกหน่อยคร้า ว่ามาจากไหน ถึงได้มาเป็นเอกลักษณ์ของการกินวอ ขอบพระคุณอย่างสูงคร้า
โดย: สาวลาหู่ยี IP: 182.52.192.163 วันที่: 16 มิถุนายน 2554 เวลา:14:09:26 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ดอกเสี้ยวขาว
Location :
เชียงใหม่  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]



.....ร้อยพันคำ แฝงฝัง.....

.....อยู่ในความเงียบ.....

.....บนหน้าผา ผาสูงชัน.....

.....ใต้แสงตะวัน.....

.....มีเงาตะวัน.....

.....ความฝันของเธอ ....

.....เหมือนใจของเธอ.....

.......................................................
เพลงดอกเสี้ยวบนไหล่ดอยหลวงเชียงดาว
โดย คุณสุวิชานนท์ รัตนภิมล
อัลบั้มเพลงรักเชียงดาว
โค๊ดเพลง โดย คุณแพรจารุ