การออมเงิน
สำหรับผู้เริ่มชีวิตการทำงาน โดยไม่มีทรัพย์สินมากมาย และหวังว่าเมื่อมีอายุพอสมควรแล้ว สามารถมีเงินพอสมควร ไม่เดือดร้อนนัก หรือ แม้กระทั่งเกษียณจากชีวิตการทำงานได้โดยไม่ต้องกังวลกับเงินที่มีว่าจะพอใช้ไปหรือไม่ คงต้องเริ่มจากการออมเงินเป็นสิ่งแรก การออมเงินมีส่วนสำคัญสองส่วน ส่วนแรกต้องรู้จักใช้จ่าย และ ต้องรู้จักการนำเงินส่วนที่เหลือจากการใช้จ่ายไปออม หรือ ลงทุนเพื่อให้งอกเงย ตามเวลา

การรู้จักใช้จ่ายไม่เหมือนกับความตระหนี่ คือใช้จ่ายในสิ่งที่จำเป็น ตัวอย่างหนึ่ง คือ การซื้อบ้านที่อยู่อาศัย ถ้าจำเป็นก็ซื้อ แต่ต้องซื้ออย่างถูกต้อง ต้องมีการวางแผน เช่น จะมีผู้อยู่อาศัยกี่คน เขาก็มีสูตรว่า คนหนึ่งใช้พื้นที่ประมาณ 50 ตารางเมตร ฉะนั้น ถ้ามีสามีภรรยาและบุตรสองคน รวม 4 คน ก็อาจซื้อบ้านขนาดพื้นที่ใช้สอยสัก 200 ตารางเมตร เป็นต้น ไม่จำเป็นต้องไปซื้อขนาด 100 ตารางวา และยังต้องพิจารณาตำแหน่งที่ตั้งของบ้านที่จะซื้อด้วย เพราะค่าใช้จ่ายในการเดินทางสูงขึ้นทุกปี หรือไปเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจก็ถือได้ว่ามีความจำเป็นตามสมควร เพราะ การดำเนินชีวิตต้องเป็นไปด้วยความสุขตลอดการเดินทาง ตั้งแต่เด็กจนวัยชราและจากโลกนี้ไปด้วยความสุข ไม่ใช่การไปหวังมีความสุขตอนอายุ 65 ปี เลยไม่ต้องทำอะไรกัน โดยทั่วไปถ้าสามารถเก็บเงินได้ประมาณ 10 -15 เปอร์เซนต์ของรายได้ก็จะเป็นการดี นอกจากนี้ถ้าสามารถเพิ่มรายรับได้จะเป็นการดี เช่น การไปเรียนเพิ่มเติมเพื่อนำความรู้ที่ได้มาเพิ่มพูนรายได้ อันนี้ก็ถือเป็นการลงทุนทีดีประการหนึ่ง

ส่วนการนำเงินที่เหลือไปออมหรือลงทุน อันนี้มีตั้งแต่ ฝากประจำ ลงทุนในหุ้นกู้ ลงทุนในกองทุนประเภทต่างๆ หรือแม้กระทั่ง ลงทุนในหุ้น บางท่านอาจบอกว่าการลงทุนในหุ้นมีความเสี่ยง ในความเป็นจริง การออมทุกประเภทมีความเสี่ยงทั้งสิ้น เช่น การฝากประจำ ก็มีความเสี่ยงที่อัตราดอกเบี้ยในตลาดจะเพิ่มขึ้น แต่ดอกเบี้ยเงินฝากประจำที่เราฝากไว้เท่าเดิม ดังนั้นก่อนที่จะนำเงินไปออม ด้วยวิธีต่างๆจำเป็นต้องศึกษา และ พิจารณาจัดการ ว่าจะมีสัดส่วนของเงินออมอย่างไร โดยปรกติการจัดการเงินออมนั้น ผมมีความคิดว่าน่าจะมีดังนี้

ส่วนแรก เป็นเงินที่สามารถนำมาใช้จ่ายได้ทันที เรียกว่ามีสภาพคล่องสูง เงินกลุ่มนี้เช่น เงินที่ใช้จ่ายประจำวัน จะฝากกับบัญชีออมทรัพย์ วงเงินประมาณเท่ากับค่าใช้จ่ายประมาณ 6 เดือน

ส่วนที่สอง เงินที่มีสภาพคล่องปานกลาง จุดประสงค์เพื่อใช้เป็นเงินฉุกเฉิน และสำรองสำหรับเงินส่วนแรก เช่น การฝากประจำ เป็นต้น การฝากประจำนั้นทำให้ได้ผลตอบแทนมากกว่าฝากออมทรัพย์ และสามารถถอนออกมาได้ถ้ามีความจำเป็นต้องการใช้เงินส่วนนี้ โดยบางธนาคารก็เปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยเป็นเท่ากับการฝากออมทรัพย์ บางธนาคารก็ไม่จ่ายดอกเบี้ย แต่ความสำคัญของเงินส่วนนี้คือเงินฉุกเฉิน ใช้เมื่อจำเป็นเท่านั้น โดยได้ผลตอบแทนสูงกว่าการฝากออมทรัพย์ถ้าไม่มีการถอนมาใช้จ่าย

ส่วนที่สาม เงินลงทุน ซึ่งมีสภาพคล่องต่ำ คือไม่สามารถถอนออกมาใช้จ่ายได้สะดวก เช่น หุ้นกู้ พันธบัตร หรือ หุ้น ซึ่งจะเป็นส่วนที่ให้ผลตอบแทนมากกว่าส่วนที่หนึ่งและส่วนที่สอง และเพิ่มมูลค่ามากที่สุดในระยะยาว การจัดการเงินส่วนที่สามนี้ จำเป็นต้องมีความรู้ ต้องศึกษาแง่มุมต่างๆ ของการลงทุนในแต่ละชนิดให้ถ่องแท้

ดังนั้นการออม จึงต้องเริ่มต้นจากออมส่วนที่หนึ่งก่อน พอได้จำนวนที่มากพอแล้ว ค่อยเพิ่มในส่วนที่สอง พอคิดว่าในส่วนที่สองเพียงพอแล้ว ก็เริ่มต้นใช้ออมในการลงทุนเพื่อเพิ่มมูลค่า ตลอดเวลาจึงต้องมีการบริหารเงินของตัวเอง มีสองอย่าง อย่างแรกคือการทำบัญชีรายจ่ายประจำวัน ซึ่งจะมีประโยชน์มากทำให้รู้ว่าในแต่ละเดือนใช้จ่ายอะไรไปบ้าง สิ่งที่น่าอัศจรรย์คือจะพบว่ามีเงินจำนวนหนึ่งที่เราใช้จ่ายไปโดยไม่คุ้มค่า หรือ บางอันซื้อของไว้แต่ไม่ได้ใช้เป็นต้น และอย่างที่สองสำหรับการจัดการเงินออมก็คือการทำตารางรายละเอียดเงินออม ว่าอยู่ส่วนใหนเท่าไหร่ ซึ่งจะทำให้สะดวกเวลาพิจารณาปรับสัดส่วนหรือโยกย้านเงินลงทุน เวลาสถานการณ์ เปลี่ยนแปลงไป ตามสภาพเศรษฐกิจ

หวังว่าผู้อ่านคงนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์บ้างตามสมควร



Create Date : 16 กุมภาพันธ์ 2553
Last Update : 16 กุมภาพันธ์ 2553 22:04:34 น.
Counter : 768 Pageviews.

1 comments
  
ขอบคุณมากครับ กับแนวทางออมเงิน
จะได้แบ่งออก 2กองล่ะครับ
โดย: ชายเอ ทุ่งรังสิต วันที่: 16 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:23:31:36 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Depulis
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]



กุมภาพันธ์ 2553

 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
18
19
20
22
23
24
25
26
27
28
 
 
16 กุมภาพันธ์ 2553